ข่าวจากสมาคม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://fathailand.org/news/5042
มีผู้เข้าร่วมประมูลที่ยื่นมูลค่าสูงสุดใกล้เคียงกัน เป็นจำนวน 2 ราย จากทั้งหมด 8 ราย โดยเป็นบริษัทในประเทศ 1 ราย และจากต่างประเทศ 1 ราย
ค่าลิขสิทธิ์ปีละ 2000 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ฤดูกาล 2021-2028 สูงกว่าปีก่อนๆเกือบ 4 เท่า
ต้องบอกก่อนว่า ค่าลิขสิทธิ์ที่สูงขึ้นมากนี้ เป็นเพราะสมาคมเราขายแบบเหมารวม ไม่ใช่แค่เฉพาะฟุตบอลไทยลีกเท่านั้น แต่จะรวมไปถึงทีมชาติไทยทุกชุด ฟุตซอล ฟุตบอลชายหาด ดังนั้นเงินดังกล่าวจึงนำมาแบ่งพัฒนาให้ทั่วถึง ทั้งแจกให้ทีมในฟุตบอลลีก และนำมาพัฒนาในส่วนโครงสร้างพื้นฐานของทีมชาติเองด้วย
ซึ่งศูนย์ฝึกประจำภูมิภาคนั้นไม่ได้สร้างมาเพื่อฟุตบอลเท่านั้น จากบทสัมภาษณ์ของนายกสมาคม ยังรวมไปถึงสนามฟุตซอล และสนามฟุตบอลชายหาดด้วย โดยสอดคล้องกับการขายลิขสิทธิ์ที่ครอบคลุมทั้งฟุตบอลลีก ฟุตบอลทีมชาติ ฟุตซอล พอดี เมื่อได้เงินมาแล้วก็ต้องนำมาพัฒนาทุกด้านอย่างทั่วถึง ทั้งทีมในไทยลีก ทีมชาติฟุตบอล ฟุตซอล ฟุตบอลชายหาด โดยประโยชน์ของศูนย์ฝึกประจำภูมิภาคนั้นไม่ใช่มีแค่การเป็นสิ่งก่อสร้างอันสิ้นเปลืองใช้ฝึกนักฟุตบอลอย่างเดียว แต่ยังเป็นสถานที่ที่ใช้ในการหล่อหลอมฟุตบอลไทยทั้งระบบ เป็นสถานที่พัฒนาครูพละโค้ชเยาวชน กรรมการผู้ตัดสิน นักวิทยาศาสตร์การกีฬา รวมถึงพัฒนาศักยภาพของนักฟุตบอลเยาวชนเองในภาคนั้นๆที๋ศูนย์ฝึกตั้งอยู่ และใช้เป็นสถานที่ในการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกเยาวชนทุกรุ่นอายุ 14 16 18 ปีประจำภาคนั้นๆตลอดทั้งปีอีกด้วย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นรากฐานของวงการฟุตบอลไทย
ค่าลิขสิทธิ์เหมารวมฟุตบอลไทย 1 ใน 10 รายปี ตกปีละ 200 ล้านบาทรวม 2 ปีจะเป็น 400 ล้าน สามารถนำมาพัฒนาในส่วนโครงสร้างพื้นฐานฟุตบอลไทยทั้งระบบโดยการสร้างศูนย์ฝึกประจำภูมิภาค เพิ่มขึ้นมา โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินจากภาครัฐหรือภาษี รวมระยะเวลา 10 ปี จะได้ศูนย์ฝึกครอบคลุมทุกภาคทั่วประเทศ ทั้งภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ตามแผนพัฒนาฟุตบอลไทย 20 ปีของสมาคมเอง เมื่อครบแล้วก็ไม่ต้องสร้างอีกเพียงแต่ปรับปรุงให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
ตอนนี้เราได้ศูนย์ฝึกมวกเหล็กภาคอีสานตอนล่างแน่ๆแล้ว โดยที่สมาคมไม่ต้องออกค่าก่อสร้างใดๆ
เนื่องจากบริษัท King Power ซึ่งเป็นบริษัทที่รวยอันดับที่ 6 ของประเทศ ออกให้ทั้งหมด
ต่อไปก็อาจจะเป็ฯศูนย์ฝึกภาคใต้และภาคเหนือ
เพราะเหตุใดสมาคมฟุตบอลชุดปัจจุบันจึงวางแผนที่จะสร้างศูนย์ฝึกให้ครบทุกภาค
ข้อบกพร่องของการพัฒนาทีมชาติไทยชุดเยาวชนในปัจจุบันคือ มีนักฟุตบอลชุดเยาวชนเพียงชุดเดียวที่ได้รับการพัฒนายกระดับอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่าง ทีมเยาวชนชุด 16 ปี ปัจจุบัน ซึ่งดูแลโดยทีมงานเอคโคโน่ เก็บตัวกันยาวนานหลายปีจากทีมอัสสัมชัญ ธนบุรี เป็นหลัก ทำให้การพัฒนาค่อนข้างแคบและกระจุกตัว เกิดความไม่เท่าเทียมในการพัฒนาเยาวชน และเด็กที่ไม่มีรายชื่อในทีม โดยเฉพาะเด็กในภูมิภาคอื่นที่ไม่ได้อยู่ในโรงเรียนอัสสัมชัญ ธนบุรี ก็จะไม่ได้รับโอกาสในการเรียนรู้ฟุตบอลแบบเข้มข้น
ดังนั้นการมีศูนย์ฝึกประจำภูมิภาค 6 แห่งจะทำให้เรามีทีมเยาวชนที่ได้รับการพัฒนายกระดับมากขึ้นเป็น 6 ทีมใน 1 รุ่นอายุ และมีตัวเลือกสเกลนักฟุตบอลคุณภาพจำนวนมากขึ้น ในการดันเด็กที่มีคุณภาพไปสู่ทีมในลีกอาชีพ ซึ่งในแต่ละภาคจะมีลีกเยาวชนกันทุกภาคอยู่แล้ว ในขณะที่ลีกเยาวชนกำลังดำเนินการแข่งขันหรือหยุดพักการแข่งกัน ศูนย์ฝึกจะทำการส่งคำขอถึงสโมสรทีมต้นสังกัดในลีกเยาวชนภาคที่ศูนย์ฝึกตั้งอยู่ เพื่อทำการเรียกตัวเยาวชนฝีเท้าดีในภาคของตัวเองเข้ามายังศูนย์ฝึก เดือนละ 2 ถึง 3 ครั้ง นำเยาวชนมาฝึกรวมตัวกัน พัฒนาความคิด ซึมซับปรัชญาการเล่นแบบไทยแลนด์เวย์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เยาวชนจำนวน 20-30 คนฝีเท้าดีในภูมิภาคที่ศูนย์ฝึกตั้งอยู่มารวมตัว หากมีทัวนาเม้นระดับชาติ ให้เลือกตัวแทนจากศูนย์ฝึกซึ่งเยาวชนสังกัดสโมสรต่างๆอยู่แล้ว เลือกที่ฝีเท้าโดดเด่น ศูนย์ฝึกละ 4 คนมาติดทีมชาติไทย รวม 6 ศูนย์ฝึก เล่นในนามทีมชาติไทย ไปเล่นอุ่นเครื่องระดับชาติหรือต่างๆต่อไป หรือเอาเยาวชนจากศูนย์ฝึกภาคนั้นๆ ยกชุดไปอุ่นเครื่องนอกประเทศ หรือจัดการแข่งขันโดยให้เยาวชนจากศูนย์ฝึกแต่ละภาคมาแข่งขันกันเอง
ตัวอย่างศูนย์ฝึกประจำภูมิภาค
ฮอลแลนด์ในปัจจุบัน มีศูนย์ฝึกประจำภูมิภาคครบทุกภาคแล้ว ห้าเหลี่ยมสีแดง
ญี่ปุ่นตอนนี้มี ศูนย์ฝึกประจำภูมิภาค 4 ภาค อีก 2 ภาคกำลังก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์ครบ 6 แห่งในอีกสามปีข้างหน้า
DAZN จะให้ค่าลิขสิทธิ์ฟุตบอลไทยปีละ 2000 ล้านบาท ถ้าแบ่งมาสร้างศูนย์ฝึกเพิ่มต่อเนื่องจะดีมาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ค่าลิขสิทธิ์ปีละ 2000 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ฤดูกาล 2021-2028 สูงกว่าปีก่อนๆเกือบ 4 เท่า
ต้องบอกก่อนว่า ค่าลิขสิทธิ์ที่สูงขึ้นมากนี้ เป็นเพราะสมาคมเราขายแบบเหมารวม ไม่ใช่แค่เฉพาะฟุตบอลไทยลีกเท่านั้น แต่จะรวมไปถึงทีมชาติไทยทุกชุด ฟุตซอล ฟุตบอลชายหาด ดังนั้นเงินดังกล่าวจึงนำมาแบ่งพัฒนาให้ทั่วถึง ทั้งแจกให้ทีมในฟุตบอลลีก และนำมาพัฒนาในส่วนโครงสร้างพื้นฐานของทีมชาติเองด้วย
ซึ่งศูนย์ฝึกประจำภูมิภาคนั้นไม่ได้สร้างมาเพื่อฟุตบอลเท่านั้น จากบทสัมภาษณ์ของนายกสมาคม ยังรวมไปถึงสนามฟุตซอล และสนามฟุตบอลชายหาดด้วย โดยสอดคล้องกับการขายลิขสิทธิ์ที่ครอบคลุมทั้งฟุตบอลลีก ฟุตบอลทีมชาติ ฟุตซอล พอดี เมื่อได้เงินมาแล้วก็ต้องนำมาพัฒนาทุกด้านอย่างทั่วถึง ทั้งทีมในไทยลีก ทีมชาติฟุตบอล ฟุตซอล ฟุตบอลชายหาด โดยประโยชน์ของศูนย์ฝึกประจำภูมิภาคนั้นไม่ใช่มีแค่การเป็นสิ่งก่อสร้างอันสิ้นเปลืองใช้ฝึกนักฟุตบอลอย่างเดียว แต่ยังเป็นสถานที่ที่ใช้ในการหล่อหลอมฟุตบอลไทยทั้งระบบ เป็นสถานที่พัฒนาครูพละโค้ชเยาวชน กรรมการผู้ตัดสิน นักวิทยาศาสตร์การกีฬา รวมถึงพัฒนาศักยภาพของนักฟุตบอลเยาวชนเองในภาคนั้นๆที๋ศูนย์ฝึกตั้งอยู่ และใช้เป็นสถานที่ในการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกเยาวชนทุกรุ่นอายุ 14 16 18 ปีประจำภาคนั้นๆตลอดทั้งปีอีกด้วย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นรากฐานของวงการฟุตบอลไทย
ค่าลิขสิทธิ์เหมารวมฟุตบอลไทย 1 ใน 10 รายปี ตกปีละ 200 ล้านบาทรวม 2 ปีจะเป็น 400 ล้าน สามารถนำมาพัฒนาในส่วนโครงสร้างพื้นฐานฟุตบอลไทยทั้งระบบโดยการสร้างศูนย์ฝึกประจำภูมิภาค เพิ่มขึ้นมา โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินจากภาครัฐหรือภาษี รวมระยะเวลา 10 ปี จะได้ศูนย์ฝึกครอบคลุมทุกภาคทั่วประเทศ ทั้งภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ตามแผนพัฒนาฟุตบอลไทย 20 ปีของสมาคมเอง เมื่อครบแล้วก็ไม่ต้องสร้างอีกเพียงแต่ปรับปรุงให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
ตอนนี้เราได้ศูนย์ฝึกมวกเหล็กภาคอีสานตอนล่างแน่ๆแล้ว โดยที่สมาคมไม่ต้องออกค่าก่อสร้างใดๆ
เนื่องจากบริษัท King Power ซึ่งเป็นบริษัทที่รวยอันดับที่ 6 ของประเทศ ออกให้ทั้งหมด
ต่อไปก็อาจจะเป็ฯศูนย์ฝึกภาคใต้และภาคเหนือ
ข้อบกพร่องของการพัฒนาทีมชาติไทยชุดเยาวชนในปัจจุบันคือ มีนักฟุตบอลชุดเยาวชนเพียงชุดเดียวที่ได้รับการพัฒนายกระดับอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่าง ทีมเยาวชนชุด 16 ปี ปัจจุบัน ซึ่งดูแลโดยทีมงานเอคโคโน่ เก็บตัวกันยาวนานหลายปีจากทีมอัสสัมชัญ ธนบุรี เป็นหลัก ทำให้การพัฒนาค่อนข้างแคบและกระจุกตัว เกิดความไม่เท่าเทียมในการพัฒนาเยาวชน และเด็กที่ไม่มีรายชื่อในทีม โดยเฉพาะเด็กในภูมิภาคอื่นที่ไม่ได้อยู่ในโรงเรียนอัสสัมชัญ ธนบุรี ก็จะไม่ได้รับโอกาสในการเรียนรู้ฟุตบอลแบบเข้มข้น
ดังนั้นการมีศูนย์ฝึกประจำภูมิภาค 6 แห่งจะทำให้เรามีทีมเยาวชนที่ได้รับการพัฒนายกระดับมากขึ้นเป็น 6 ทีมใน 1 รุ่นอายุ และมีตัวเลือกสเกลนักฟุตบอลคุณภาพจำนวนมากขึ้น ในการดันเด็กที่มีคุณภาพไปสู่ทีมในลีกอาชีพ ซึ่งในแต่ละภาคจะมีลีกเยาวชนกันทุกภาคอยู่แล้ว ในขณะที่ลีกเยาวชนกำลังดำเนินการแข่งขันหรือหยุดพักการแข่งกัน ศูนย์ฝึกจะทำการส่งคำขอถึงสโมสรทีมต้นสังกัดในลีกเยาวชนภาคที่ศูนย์ฝึกตั้งอยู่ เพื่อทำการเรียกตัวเยาวชนฝีเท้าดีในภาคของตัวเองเข้ามายังศูนย์ฝึก เดือนละ 2 ถึง 3 ครั้ง นำเยาวชนมาฝึกรวมตัวกัน พัฒนาความคิด ซึมซับปรัชญาการเล่นแบบไทยแลนด์เวย์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เยาวชนจำนวน 20-30 คนฝีเท้าดีในภูมิภาคที่ศูนย์ฝึกตั้งอยู่มารวมตัว หากมีทัวนาเม้นระดับชาติ ให้เลือกตัวแทนจากศูนย์ฝึกซึ่งเยาวชนสังกัดสโมสรต่างๆอยู่แล้ว เลือกที่ฝีเท้าโดดเด่น ศูนย์ฝึกละ 4 คนมาติดทีมชาติไทย รวม 6 ศูนย์ฝึก เล่นในนามทีมชาติไทย ไปเล่นอุ่นเครื่องระดับชาติหรือต่างๆต่อไป หรือเอาเยาวชนจากศูนย์ฝึกภาคนั้นๆ ยกชุดไปอุ่นเครื่องนอกประเทศ หรือจัดการแข่งขันโดยให้เยาวชนจากศูนย์ฝึกแต่ละภาคมาแข่งขันกันเอง
ตัวอย่างศูนย์ฝึกประจำภูมิภาค