4 ปีที่เปลี่ยนไป กับการพัฒนาของสมาคมฟุตบอลเวียดนาม
เวียดนามพัฒนาฟุตบอลทีมชาติอย่างเป็นระบบ เริ่มจากรากฐานคือการพัฒนาเยาวชน สมาคมฟุตบอลเวียดนาม สร้างศูนย์ฝึกฟุตบอลของตัวเอง ควบคู่ไปกับอคาเดมีของสโมสรฟุตบอล เหมือนกับที่เยอรมัน หรือชาติตะวันตก เพื่อสร้างนักฟุตบอลคุณภาพให้ได้มากที่สุด
เวียดนามฝึกให้เด็กเล่นฟุตบอลตั้งแต่ตัวเล็กๆ อายุ 6-7 ชวบ จับเข้าแคมป์ฝึกเข้มงวดเหมือนโรงเรียนประจำตั้งแต่อายุเท่านี้ เพื่อปลูกฝังเรื่องวิธีการเล่นและระเบียบวินัย
ทีมชาติเวียดนามตั้งแต่ชุดยู-16 จนถึงชุดใหญ่ ถูกปลูกฝังให้เล่นแทคติคเดียวกันหมด ตอนเด็กแพ้ไม่เป็นไร แต่พอโตขึ้นนักเตะจะมีความเข้าใจในแทคติค เล่นเป็นทีม เล่นเป็นระบบ ตัวจริงตัวสำรองทดแทนกันได้ ไม่ต้องเน้นนักเตะซูเปอร์สตาร์
จุดแข็งของเวียดนามตอนนี้ คือเขาหาแนวทางของตัวเองเจอแล้ว ว่าเล่นฟุตบอลแบบทีมเวิร์คผสมกับเน้นความฟิตและพละกำลัง พอเขามีแนวทางที่ชัดเจน เวียดนามจึงสามารถพัฒนาทีมชาติได้อย่างเป็นระบบ
ทีมชาติเวียดนามชุดนี้ ตั้งแต่ยังเล่นอยู่รุ่นยู 19 เขามีการพัฒนาที่ชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องความฟิตและสรีระร่างกาย ที่เปลี่ยนแปลงไปมาก และมีการพัฒนาเล่นฟุตบอลเป็นทีม เคลื่อนที่หาตำแหน่ง จ่ายบอลเท้าสู่เท้าดีมาก
เวียดนามรู้ว่าต้องใช้โค้ชญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ มาพัฒนาเรื่องความฟิตและระเบียบวินัยให้นักเตะ การพัฒนานักเตะก็ปลูกฝังเรื่องพวกนี้ไปตั้งแต่รุ่นเด็ก พอพวกแข้งเยาวชนขึ้นสู่ชุดใหญ่ ก็สามารถเล่นทดแทนกันได้ทันที
ย้อนกลับมาดูทีมชาติไทย เรายังไม่รู้เลยว่าทีมชาติเราจะเล่นแบบไหน ชุดเยาวชนกับชุดใหญ่ไม่ได้เล่นระบบเดียวกัน พอแนวทางไม่ชัด ก็ไม่รู้ว่าสรุปต้องใช้โค้ชสไตล์ไหน การพัฒนานักเตะของเรามันไม่ต่อเนื่อง พอผลงานไม่ดีก็เปลี่ยนตลอด ของเวียดนามแนวทางชัดเจนและมั่นคงกว่า
ต้องเอ่ยถึงผลงานในระดับเยาวชน ที่แสดงให้เห็นว่า พวกเขาก้าวขึ้นมานั่งบัลลังก์จ้าวอาเซียนไปเรียบร้อย ด้วยการโค่น "อดีต" เบอร์หนึ่งของภูมิภาคอย่างไทยแลนด์เกือบทุกชุด
นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน แต่มันเกิดขึ้นจากการเอาใจใส่แบบจริงจังของสมาคมฟุตบอลเวียดนาม
พวกเขาวางแผนการทำงานไว้ 3 ระยะ
1. แผนระยะสั้น
เน้นผลงานในทีมชาติชุดใหญ่ เพื่อสร้างโอกาสในเรื่องของอันดับสำหรับการถูกจัดวางตามระเบียบการแข่งขันฟุตบอลรายการต่างๆ ของทวีป รวมไปถึงการรักษาศรัทธาจากแฟนบอลด้วยผลงาน, การสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ รุ่นใหม่ด้วยคุณภาพการเล่นของนักเตะทีมชาติ
ส่วนระดับเยาวชนนั้น เน้นการผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายของเอเชียเพื่อต่อเติมประสบการณ์รวมไปถึงพัฒนาการด้านต่างๆ
2. แผนระยะกลาง
เวียดนามเดินหน้าอบรมผู้ฝึกสอนเพื่อเติมคุณภาพให้แข็งแกร่งก่อนกลับไปกระจายตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อสร้างคุณภาพผู้เล่นกลับมาสู่ทีมชาติอีกครั้ง
ขณะเดียวกันในทีมชาติทุกชุดจะมีการดึงเอาอดีตนักเตะระดับทีมชาติที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานร่วมกับโค้ชต่างชาติเพื่อถ่ายทอดประการณ์ซึ่งกันและกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเตะที่เคยเป็นตำนานหรือโค้ชที่เคยทำงานมีความสามารถสูงมาปรับองค์ความรู้เพื่อร่วมมือกันพัฒนาโครงสร้างฟุตบอลถึงรากแก้วคอนเซ็ปต์ ประสบการณ์ส่งต่อประสบการณ์
3. แผนระยะยาว
สมาคมฟุตบอลเวียดนาม เริ่มต้นว่าจ้าง "พ่อมดขาว" ฟิลลิปป์ ทรุสซิเย่ร์ ยอดโค้ชชาวฝรั่งเศส เข้ามาจัดการวางแผนการพัฒนาฟุตบอลเวียดนามอย่างจริงจัง โดยเริ่มรับงานตั้งแต่ปี 2018 อดีตกุนซือทีมชาติญี่ปุ่นรายนี้ เข้ามาทำงานแบบเต็มเวลาทั้งเรื่องของการวางระบบฟุตบอลในประเทศ
เน้นหนักไปที่แผนการพัฒนาฟุตบอลสู่อนาคต สมาคมฟุตบอลเวียดนามมีเด็กเข้ามาสู่โครงการของทีมชาติตั้งแต่ 8 ปี พร้อมเก็บรายละเอียดข้อมูลแบบจริงจังสำหรับการพัฒนาผู้เล่นแต่ละคน
นอกจาการว่าจ้าง ทรุสซิเย่ร์ แล้ว ทางสมาคมฟุตบอลเวียดนามร่วมกับภาคเอกชนสร้างศูนย์ฝึกฟุตบอลชั้นดี ในฮานอย ชื่อ "The Promotion Fund for Vietnamese Football Talent (PVF)" ด้วย
ทุกอย่างทันสมัยสุดในภูมิภาคนี้ ภายในศูนย์ฝึกแห่งนี้มีสนามมาตรฐาน หญ้าจริง 4 สนาม, สนามหญ้าเทียม 3 สนาม โดยหญ้าที่ใช้ปูพื้นสนามได้รับการรับรองจากฟีฟ่า พร้อมกับมีทีมงานดูแลพื้นสนามอย่างดีซึ่งเป็นชาวต่างชาติผ่านประสบการณ์การทำงานจาก สกอตแลนด์, อังกฤษ, สวีเดน, นอร์เวย์ และ จีน มีห้องพัก,สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
ศูนย์ฝึกแห่งนี้ เพิ่มความพิเศษในการพัฒนาเยาวชนคือเครื่องมือทันสมัยต่างๆ ที่ดึงเข้ามาช่วยพัฒนาการของฟุตบอลเวียดนามไม่ว่าจะเป็นห้องแล็บฟุตบอลที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีสามารถวัดความแม่นยำด้านต่างๆ ทั้งเรื่องของการยิงประตู การให้บอล ระบบของร่างกาย ความเร็วฯ โดยจะมีการประมวลผลเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ
นอกจากเรื่องของเครื่องมือที่ทันสมัยแล้วเรื่องของบุคคลการ ดึงเอาโค้ชต่างชาติมาคุมทีมเยาวชนชุดต่างๆ แต่มีเงื่อนไขคือทีมงานต้องเป็นชาวเวียดนามเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน
ปัจจุบันในศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งนี้มีโค้ชต่างชาติรวมไปถึงนักวิทยาศาสตร์ด้านกีฬามาทำงานให้กับสมาคมฟุตบอลเวียดนามรวมๆ แล้วเกือบ 30 ชีวิต
สิ่งที่เวียดนามเน้นเป็นพิเศษในการว่าจ้างคือเน้นผู้ที่ประสบการณ์ ถ่ายทอดได้ แบบมีคุณภาพ เพื่อจะได้ส่งต่อโดยตรงมาสู่คนฟุตบอลของเวียดนาม โดยในอนาคตอันใกล้นี้ทางด้านเวียดนามเตรียมดำเนินการสร้างศูนย์ฝึกเพิ่มอีกแห่งที่มีลักษณะเดียวกันแบบครบวงจรที่โฮจิมิน
ส่วนศูนย์ฝึกซ้อมเดิมแถวสนามมิดิ่ง สเตเดี้ยม ก็ยังคงทนุบำรุงดูแลเพื่อเป็นที่เพาะบ่มความสามารถนักกีฬาเวียดนาม
เป้าหมายของสมาคมฟุตบอลเวียดนามที่ลงทุนสร้างอย่างสุดแรงในครั้งนี้คือ ฟุตบอลโลก 2030
ระยะเวลา4 ปีของฟุตบอลเวียดนาม กับ 4 ปีของฟุตบอลไทย มันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ยอมรับเถอะว่าฟุตบอลไทยด้อยกว่าเวียดนาม ทั้งระบบ
เวียดนามพัฒนาฟุตบอลทีมชาติอย่างเป็นระบบ เริ่มจากรากฐานคือการพัฒนาเยาวชน สมาคมฟุตบอลเวียดนาม สร้างศูนย์ฝึกฟุตบอลของตัวเอง ควบคู่ไปกับอคาเดมีของสโมสรฟุตบอล เหมือนกับที่เยอรมัน หรือชาติตะวันตก เพื่อสร้างนักฟุตบอลคุณภาพให้ได้มากที่สุด
เวียดนามฝึกให้เด็กเล่นฟุตบอลตั้งแต่ตัวเล็กๆ อายุ 6-7 ชวบ จับเข้าแคมป์ฝึกเข้มงวดเหมือนโรงเรียนประจำตั้งแต่อายุเท่านี้ เพื่อปลูกฝังเรื่องวิธีการเล่นและระเบียบวินัย
ทีมชาติเวียดนามตั้งแต่ชุดยู-16 จนถึงชุดใหญ่ ถูกปลูกฝังให้เล่นแทคติคเดียวกันหมด ตอนเด็กแพ้ไม่เป็นไร แต่พอโตขึ้นนักเตะจะมีความเข้าใจในแทคติค เล่นเป็นทีม เล่นเป็นระบบ ตัวจริงตัวสำรองทดแทนกันได้ ไม่ต้องเน้นนักเตะซูเปอร์สตาร์
จุดแข็งของเวียดนามตอนนี้ คือเขาหาแนวทางของตัวเองเจอแล้ว ว่าเล่นฟุตบอลแบบทีมเวิร์คผสมกับเน้นความฟิตและพละกำลัง พอเขามีแนวทางที่ชัดเจน เวียดนามจึงสามารถพัฒนาทีมชาติได้อย่างเป็นระบบ
ทีมชาติเวียดนามชุดนี้ ตั้งแต่ยังเล่นอยู่รุ่นยู 19 เขามีการพัฒนาที่ชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องความฟิตและสรีระร่างกาย ที่เปลี่ยนแปลงไปมาก และมีการพัฒนาเล่นฟุตบอลเป็นทีม เคลื่อนที่หาตำแหน่ง จ่ายบอลเท้าสู่เท้าดีมาก
เวียดนามรู้ว่าต้องใช้โค้ชญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ มาพัฒนาเรื่องความฟิตและระเบียบวินัยให้นักเตะ การพัฒนานักเตะก็ปลูกฝังเรื่องพวกนี้ไปตั้งแต่รุ่นเด็ก พอพวกแข้งเยาวชนขึ้นสู่ชุดใหญ่ ก็สามารถเล่นทดแทนกันได้ทันที
ย้อนกลับมาดูทีมชาติไทย เรายังไม่รู้เลยว่าทีมชาติเราจะเล่นแบบไหน ชุดเยาวชนกับชุดใหญ่ไม่ได้เล่นระบบเดียวกัน พอแนวทางไม่ชัด ก็ไม่รู้ว่าสรุปต้องใช้โค้ชสไตล์ไหน การพัฒนานักเตะของเรามันไม่ต่อเนื่อง พอผลงานไม่ดีก็เปลี่ยนตลอด ของเวียดนามแนวทางชัดเจนและมั่นคงกว่า
ต้องเอ่ยถึงผลงานในระดับเยาวชน ที่แสดงให้เห็นว่า พวกเขาก้าวขึ้นมานั่งบัลลังก์จ้าวอาเซียนไปเรียบร้อย ด้วยการโค่น "อดีต" เบอร์หนึ่งของภูมิภาคอย่างไทยแลนด์เกือบทุกชุด
นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน แต่มันเกิดขึ้นจากการเอาใจใส่แบบจริงจังของสมาคมฟุตบอลเวียดนาม
พวกเขาวางแผนการทำงานไว้ 3 ระยะ
1. แผนระยะสั้น
เน้นผลงานในทีมชาติชุดใหญ่ เพื่อสร้างโอกาสในเรื่องของอันดับสำหรับการถูกจัดวางตามระเบียบการแข่งขันฟุตบอลรายการต่างๆ ของทวีป รวมไปถึงการรักษาศรัทธาจากแฟนบอลด้วยผลงาน, การสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ รุ่นใหม่ด้วยคุณภาพการเล่นของนักเตะทีมชาติ
ส่วนระดับเยาวชนนั้น เน้นการผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายของเอเชียเพื่อต่อเติมประสบการณ์รวมไปถึงพัฒนาการด้านต่างๆ
2. แผนระยะกลาง
เวียดนามเดินหน้าอบรมผู้ฝึกสอนเพื่อเติมคุณภาพให้แข็งแกร่งก่อนกลับไปกระจายตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อสร้างคุณภาพผู้เล่นกลับมาสู่ทีมชาติอีกครั้ง
ขณะเดียวกันในทีมชาติทุกชุดจะมีการดึงเอาอดีตนักเตะระดับทีมชาติที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานร่วมกับโค้ชต่างชาติเพื่อถ่ายทอดประการณ์ซึ่งกันและกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเตะที่เคยเป็นตำนานหรือโค้ชที่เคยทำงานมีความสามารถสูงมาปรับองค์ความรู้เพื่อร่วมมือกันพัฒนาโครงสร้างฟุตบอลถึงรากแก้วคอนเซ็ปต์ ประสบการณ์ส่งต่อประสบการณ์
3. แผนระยะยาว
สมาคมฟุตบอลเวียดนาม เริ่มต้นว่าจ้าง "พ่อมดขาว" ฟิลลิปป์ ทรุสซิเย่ร์ ยอดโค้ชชาวฝรั่งเศส เข้ามาจัดการวางแผนการพัฒนาฟุตบอลเวียดนามอย่างจริงจัง โดยเริ่มรับงานตั้งแต่ปี 2018 อดีตกุนซือทีมชาติญี่ปุ่นรายนี้ เข้ามาทำงานแบบเต็มเวลาทั้งเรื่องของการวางระบบฟุตบอลในประเทศ
เน้นหนักไปที่แผนการพัฒนาฟุตบอลสู่อนาคต สมาคมฟุตบอลเวียดนามมีเด็กเข้ามาสู่โครงการของทีมชาติตั้งแต่ 8 ปี พร้อมเก็บรายละเอียดข้อมูลแบบจริงจังสำหรับการพัฒนาผู้เล่นแต่ละคน
นอกจาการว่าจ้าง ทรุสซิเย่ร์ แล้ว ทางสมาคมฟุตบอลเวียดนามร่วมกับภาคเอกชนสร้างศูนย์ฝึกฟุตบอลชั้นดี ในฮานอย ชื่อ "The Promotion Fund for Vietnamese Football Talent (PVF)" ด้วย
ทุกอย่างทันสมัยสุดในภูมิภาคนี้ ภายในศูนย์ฝึกแห่งนี้มีสนามมาตรฐาน หญ้าจริง 4 สนาม, สนามหญ้าเทียม 3 สนาม โดยหญ้าที่ใช้ปูพื้นสนามได้รับการรับรองจากฟีฟ่า พร้อมกับมีทีมงานดูแลพื้นสนามอย่างดีซึ่งเป็นชาวต่างชาติผ่านประสบการณ์การทำงานจาก สกอตแลนด์, อังกฤษ, สวีเดน, นอร์เวย์ และ จีน มีห้องพัก,สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
ศูนย์ฝึกแห่งนี้ เพิ่มความพิเศษในการพัฒนาเยาวชนคือเครื่องมือทันสมัยต่างๆ ที่ดึงเข้ามาช่วยพัฒนาการของฟุตบอลเวียดนามไม่ว่าจะเป็นห้องแล็บฟุตบอลที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีสามารถวัดความแม่นยำด้านต่างๆ ทั้งเรื่องของการยิงประตู การให้บอล ระบบของร่างกาย ความเร็วฯ โดยจะมีการประมวลผลเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ
นอกจากเรื่องของเครื่องมือที่ทันสมัยแล้วเรื่องของบุคคลการ ดึงเอาโค้ชต่างชาติมาคุมทีมเยาวชนชุดต่างๆ แต่มีเงื่อนไขคือทีมงานต้องเป็นชาวเวียดนามเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน
ปัจจุบันในศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งนี้มีโค้ชต่างชาติรวมไปถึงนักวิทยาศาสตร์ด้านกีฬามาทำงานให้กับสมาคมฟุตบอลเวียดนามรวมๆ แล้วเกือบ 30 ชีวิต
สิ่งที่เวียดนามเน้นเป็นพิเศษในการว่าจ้างคือเน้นผู้ที่ประสบการณ์ ถ่ายทอดได้ แบบมีคุณภาพ เพื่อจะได้ส่งต่อโดยตรงมาสู่คนฟุตบอลของเวียดนาม โดยในอนาคตอันใกล้นี้ทางด้านเวียดนามเตรียมดำเนินการสร้างศูนย์ฝึกเพิ่มอีกแห่งที่มีลักษณะเดียวกันแบบครบวงจรที่โฮจิมิน
ส่วนศูนย์ฝึกซ้อมเดิมแถวสนามมิดิ่ง สเตเดี้ยม ก็ยังคงทนุบำรุงดูแลเพื่อเป็นที่เพาะบ่มความสามารถนักกีฬาเวียดนาม
เป้าหมายของสมาคมฟุตบอลเวียดนามที่ลงทุนสร้างอย่างสุดแรงในครั้งนี้คือ ฟุตบอลโลก 2030
ระยะเวลา4 ปีของฟุตบอลเวียดนาม กับ 4 ปีของฟุตบอลไทย มันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง