สุริยุปราคาบางส่วน สำหรับประเทศไทย 26 ธันวาคม 2562
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน ณ กรุงเทพมหานคร พิกัดละติจูด 13° 45' 39.79" เหนือ, ลองติจูด 100° 30' 12.89" ตะวันออก มีระยะเวลาการเกิดคราส (ช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เริ่มบังดวงอาทิตย์จนถึงดวงจันทร์เคลื่อนออกหมด) ทั้งหมด 3 ชั่วโมง 39 นาที 18.8 วินาที ลำดับการเกิดคราสครั้งนี้ที่กรุงเทพฯ คือ
C1 คราสเริ่มจับเวลา 10:18:28.2 น. (ตำแหน่งดวงอาทิตย์ อยู่ที่มุมเงย 42.7° และมุมกวาด 141.4° จากทิศเหนือ) ซึ่งดวงอาทิตย์ถูกบังมากที่สุด 56.8% เวลา 12:05:26.8 น. (ตำแหน่งดวงอาทิตย์ มุมเงย 52.7° และมุมกวาด 175.1° จากทิศเหนือ) และ C4 สิ้นสุดคราสเวลา 13:57:47.0 น. (ตำแหน่งดวงอาทิตย์ มุมเงย 45.6° และมุมกวาด 213.5° จากทิศเหนือ) ส่วนตัวอย่างสถานที่อื่นๆ ของประเทศไทยนั้น ลำดับการเกิดคราสและเปอร์เซนต์การถูกบังมากที่สุดจะแตกต่างกันไปตามภาพ และเวลาดังนี้
เชียงราย 12:01 น.
บึงกาฬ 12:16 น.
อุบลราชธานี 12:22 น.
ตาก 11:59 น.
ภูเก็ต 12:00 น.
นราธิวาส 12:14 น.
หมายเหตุ: เฉพาะสถานที่ที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนเท่านั้น ที่จะเห็นคราสย่อย C2 (จุดที่เริ่มเห็นเป็นวงแหวน) และ C3 (คือจุดที่เริ่มออกจากวงแหวน)
ที่มา:
http://xjubier.free.fr/en/index_en.html
รวบรวมข้อมูล/เรียบเรียง: ณรงค์ ภูทัดดวง
รวมข้อมูลเกี่ยวกับสุริยุปราคาวงแหวน 2562
https://www.facebook.com/pg/AstronomyByMoGolf/photos/?tab=album&album_id=116912093112325
สุริยุปราคาบางส่วน เหนือฟ้าเมืองไทย 26 ธ.ค. 62
สุริยุปราคาบางส่วน สำหรับประเทศไทย 26 ธันวาคม 2562
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน ณ กรุงเทพมหานคร พิกัดละติจูด 13° 45' 39.79" เหนือ, ลองติจูด 100° 30' 12.89" ตะวันออก มีระยะเวลาการเกิดคราส (ช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เริ่มบังดวงอาทิตย์จนถึงดวงจันทร์เคลื่อนออกหมด) ทั้งหมด 3 ชั่วโมง 39 นาที 18.8 วินาที ลำดับการเกิดคราสครั้งนี้ที่กรุงเทพฯ คือ
C1 คราสเริ่มจับเวลา 10:18:28.2 น. (ตำแหน่งดวงอาทิตย์ อยู่ที่มุมเงย 42.7° และมุมกวาด 141.4° จากทิศเหนือ) ซึ่งดวงอาทิตย์ถูกบังมากที่สุด 56.8% เวลา 12:05:26.8 น. (ตำแหน่งดวงอาทิตย์ มุมเงย 52.7° และมุมกวาด 175.1° จากทิศเหนือ) และ C4 สิ้นสุดคราสเวลา 13:57:47.0 น. (ตำแหน่งดวงอาทิตย์ มุมเงย 45.6° และมุมกวาด 213.5° จากทิศเหนือ) ส่วนตัวอย่างสถานที่อื่นๆ ของประเทศไทยนั้น ลำดับการเกิดคราสและเปอร์เซนต์การถูกบังมากที่สุดจะแตกต่างกันไปตามภาพ และเวลาดังนี้
เชียงราย 12:01 น.
บึงกาฬ 12:16 น.
อุบลราชธานี 12:22 น.
ตาก 11:59 น.
ภูเก็ต 12:00 น.
นราธิวาส 12:14 น.
หมายเหตุ: เฉพาะสถานที่ที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนเท่านั้น ที่จะเห็นคราสย่อย C2 (จุดที่เริ่มเห็นเป็นวงแหวน) และ C3 (คือจุดที่เริ่มออกจากวงแหวน)
ที่มา: http://xjubier.free.fr/en/index_en.html
รวบรวมข้อมูล/เรียบเรียง: ณรงค์ ภูทัดดวง
รวมข้อมูลเกี่ยวกับสุริยุปราคาวงแหวน 2562
https://www.facebook.com/pg/AstronomyByMoGolf/photos/?tab=album&album_id=116912093112325