ชวนดู "สุริยุปราคาบางส่วน 21 มิถุนายน 2563"

สุริยุปราคาวงแหวน 21 มิถุนายน 2563


.
สุริยุปราคาวงแหวนที่จะเกิดครั้งนี้ มีแนวศูนย์กลางคราสวงแหวนพาดผ่านทวีปแอฟริกา โดยเริ่มที่ประเทศ Central African Republic, Congo, และ Ethiopia แล้วผ่านเอเชียตะวันตกคือประเทศ Yemen และ Oman แล้วผ่านทางใต้ของประเทศ Pakistan และทางเหนือของ India ประเทศสุดท้ายคือ China ก่อนที่จะสิ้นสุดแนวคลาสวงแหวนในทะเลฟิลิปินส์ นั่นหมายความว่าผู้คนในบางเมืองของประเทศเหล่านี้จะได้เห็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน โดยลักษณะปรากฏการณ์ดังกล่าว เกิดจากดวงจันทร์เคลื่อนตัวมาบดบังดวงอาทิตย์ เเต่บังไม่มิด ทำให้เห็นดวงอาทิตย์เป็นเหมือนวงแหวน อยู่ขอบๆ ของดวงจันทร์ นั่นเอง

ในขณะที่ ประเทศอื่นๆ ของแอฟริกาและเอเชีย นอกเหนือที่กล่าวถึงข้างบน ยุโรป เเละทางเหนือของออสเตรเลียจะเห็นเป็นสุริยุปราคาครั้งนี้เพียงบางส่วน
.
สำหรับประเทศไทย แม้จะเห็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนเท่านั้น เเต่เราสามารถเห็นได้ตลอดปรากฏการณ์ทั่วทั้งประเทศ ตั้งแต่ประมาณบ่ายโมงจนถึงสี่โมงเย็น โดยเกือบบ่ายสามจะเป็นเวลาที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้มากที่สุด เเละถ้าสังเกตการณ์ที่ภาคเหนือจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังมากกว่าภาคใต้อีกด้วย
.

แผนที่แนวเกิดคราส


- จุดกลางคราส (The Greatest Eclipse, GE) ของสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้อยู่ทางเหนือของประเทศอิเดียที่เมือง Uttarakhand เป็นจุดที่ดวงอาทิตย์ถูกบังมากที่สุดคือ 98.8% จุดนี้อยู่ประเทศอินเดียที่เวลามาตรฐาน 06:40:06.0 UT (11:40:06.0 เวลาท้องถิ่น, 13:40:06.0 เวลาประเทศไทย) โดยสุริยุปราคาวงแหวนยาวนานเพียง 38.2 วินาที พิกัดจุดนี้คือ ละติจูด 30.5195 องศาเหนือ และลองติจูด 79.6646° องศาตะวันออก
 
ลำดับการเกิดสุริยุปราคาวงแหวน ณ จุด GE (เวลาท้องถิ่นจะบวกอีก 5 ชั่วโมงจาก เวลามาตรฐาน, UT) รวมเวลาการเกิดคราสทั้งสิ้นราวสามชั่วโมงครึ่ง ลำดับดังนี้
 
 Start of partial eclipse (C1) : คราสเริ่มจับเวลา 04:57:50.6 UT (ตำแหน่งดวงอาทิตย์ อยู่ที่มุมเงย 65.5° และมุมทิศ 100.4° จากทิศเหนือ)
 Start of annular eclipse (C2) : เริ่มคราสวงแหวน เวลา 06:39:46.8 UT (ตำแหน่งดวงอาทิตย์ อยู่ที่มุมเงย 82.9° และมุมทิศ 173.7° จากทิศเหนือ)
 Maximum eclipse : กลางคราสวงแหวน 98.8% เวลา 06:40:06.0 UT (ตำแหน่งดวงอาทิตย์ มุมเงย 82.9° และมุมทิศ 174.2° จากทิศเหนือ)
 End of annular eclipse (C3) : สิ้นสุดคราสวงแหวน เวลา 06:40:25.1 UT (ตำแหน่งดวงอาทิตย์ อยู่ที่มุมเงย 82.9° และมุมทิศ 174.8° จากทิศเหนือ)
และ End of partial eclipse (C4) : สิ้นสุดคราสเวลา 08:24:43.7 (ตำแหน่งดวงอาทิตย์ มุมเงย 66.4° และมุมทิศ 258.7° จากทิศเหนือ)
 
แต่จุดที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนได้นานที่สุด (Greatest Duration, GD) คือ จุดแรกที่เห็นคราสวงแหวน ประเทศ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง นานถึง 1 นาที 22.4 วินาที
 

เรียบเรียง : ณรงค์ ภูทัดดวง
ที่มา NASA eclipse website
ภาพสุริยุปราคาวงแหวน โดย BrijeshPookkottur เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 ณ Nilambur ประเทศอินเดีย
#AnnularSolarEclipse2020 #สุริยุปราคาวงแหวน #สุริยุปราคาเมืองไทย #สุริยุปราคาบางส่วนเมืองไทย #สุริยุปราคา2563
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่