เหรียญ วิคทอเรีย ครอส (Victoria Cross)
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอังกฤษ มีทหารอินเดียจำนวนมากกว่า 2.5 ล้านนาย เข้าร่วมรบกับกองทัพอังกฤษในฐานะกองทัพของเครือจักรภพอังกฤษ พวกเขาทำการรบในป่าฝนร้อนชื้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลางทะเลทรายอันร้อนระอุของแอฟริกาเหนือ ไปจนถึงยุโรปตอนกลาง
ทหารอินเดียต่อสู้กับกองกำลังอักษะ เคียงข้างกับทหารอังกฤษในทุกทุกสมรภูมิรบ กว่าหกปีของสงคราม มีทหารอินเดียเสียชีวิตเป็นจำนวนทั้งสิ้น 96,000 นาย และนี่คือ 6 ทหารอินเดียที่วีรกรรมความกล้าหาญพวกเขาซึ่งประกอบวีรกรรมจนได้รับเหรียญ วิคทอเรีย ครอส (Victoria Cross) ซึ่งเป็นเหรียญกล้าหาญสูงสุดของกองทัพอังกฤษ นี่คือตัวแทนของความกล้าและความเสียสละของชาวอินเดียทั้งหมด ที่แสดงออกให้ทั้งมิตรและศัตรูได้เห็นในมหาสงครามครั้งนี้
เยชชวาน กาดเก
ทหารหนุ่มอินเดียอายุ 22 ปี ตำแหน่ง Naik เนคเคอะ หรือ Nayak นายาค ซึ่งเป็นยศสิบโทในกองทัพอินเดีย สิบโทกาดเก ประจำการอยู่ใน กรมทหารราบอาวุธเบาที่ 5 มหาราช (5th Mahratta Light Infantry Regiment) เขาถูกส่งเข้าสู่สนามรบในอิตาลี บริเวณเทือกเขาไทเบอร์ และที่นี่เองคือสถานที่ประกอบวีรกรรมของเขา
วันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 หน่วยทหารของสิบโทกาดเก ถูกโจมตีอย่างหนัก มีทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก กองร้อยทหารราบของข้าศึกเครื่องพลเข้ามาประชิดแนวรบใกล้กับที่ตั้งของหน่วยทหารที่กาดเกประจำการอยู่ ด้วยจิตใจที่กล้าหาญไม่หวั่นไหว แม้ข้าศึกจะระดมยิงอย่างหนัก แต่เขาก็วิ่งไปที่บังเกอร์ปืนกล และระดมยิงใส่สกัดกั้นการรุกเข้ามาของข้าศึก
สิบโทกาดเกทั้งยิงปืนกล และขว้างลูกระเบิดมือใส่หมู่ทหารข้าศึก แต่มีทหารข้าศึกจำนวนสองนาย สามารถฝ่าแนวรับบุกเข้ามาได้ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่กระสุนปืนกลของเค้าหมดพอดี ทหารราบข้าศึกสองนายบุกเข้ามาประชิดยังบังเกอร์ปืนกลที่กาดเกประจำการอยู่ เขาหยิบปืนไรเฟิลประจำกายขึ้นมาและใช้พานท้ายปืนกระแทกใส่หน้าทหารข้าศึกทั้งสองนายจนล้มลง
แต่ทว่าพลซุ่มยิงของข้าศึกเล็งปืนมาที่เขาและยิงใส่เข้าที่ศีรษะของกาดเกเสียชีวิตทันที การกระทำที่กล้าหาญของเขาช่วยชีวิตเพื่อนทหารเอาไว้หลายนาย เขายอมสละชีวิตตนเองและหาญกล้ายืนสู้กับข้าศึกอย่างทระนงองอาจ กองทัพอังกฤษจึงมอบเหรียญ วิคทอเรีย ครอส แก่ญาติของเขาเพื่อเชิดชูเกียรติและวีรกรรมของกาดเก นอกจากนี้ยังมีการสร้างอนุสาวรีย์ของสิบโทกาดเกที่บ้านเกิดของเขา ณ เมืองมะเกา ประเทศอินเดีย อีกด้วย
อับดุล ฮาฟิซ
ฮาฟิซอายุเพียงแค่ 18 ปีเท่านั้นตอนที่เขาเข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพเครือจักรภพอังกฤษ ในตำแหน่งJamadar จามาดา หรือ ร้อยเอก ในกรมทหารราบที่ 9 จาท (9th Jat Regiment) ในเดือนเมษายนปี ค.ศ. 1944 เขาถูกส่งไปรบในยุทธภูมิอิมฟาล ในพม่า เขาได้รับคำสั่งให้นำหมวดทหารราบเครื่องพลเข้าตีที่มั่นทหารญี่ปุ่น ผู้กองฮาฟิซ ต้องนำหน่วยทหารข้ามทางลาดชัน และปีนป่ายขึ้นไปบนเนิน
ในระหว่างที่กำลังปีนอยู่นั้นทหารข้าศึกตรวจพบและเปิดฉากยิงใส่หมวดทหารของฮาฟิซ แต่พวกเขาก็ยังไม่ละความพยายาม แม้จะมีทหารถูกยิงเสียชีวิตไประหว่างการปีนเนิน แต่ฮาฟิซก็ยังนำหมวดของเขา ขึ้นไปจนถึงบังเกอร์ข้าศึกซึ่งอยู่บนยอดเนินเขาคว้าปืนกลจากมือของทหารของเขาที่นอนเสียชีวิต และใช้มันระดมยิงใส่ข้าศึกพร้อมกับปลุกใจนำหน้าลูกน้องวิ่งเข้าชาร์จใส่ทหารข้าศึกอย่างไม่หวาดหวั่น
แต่ท่ามกลางการรบอันสับสนวุ่นวาย กระสุนปืนข้าศึกพุ่งชนร่างของเขาล้มลง แต่ผู้กองฮาฟิซก็ยังรวบรวมกำลังยกปืนกลยิงโต้ตอบข้าศึกกลับไป ลูกน้องของฮาฟิซ เคลื่อนพลต่อไปจนสามารถยึดที่มั่นของข้าศึกเอาไว้ได้ แต่น่าเสียดายที่ผู้กองฮาฟิซเสียชีวิตในการรบ
คารามจิท ซิงก์ เงอลาทิซ
เขาคือผู้หมวดหนุ่มจากกองพันที่ 4 กรมทหารราบที่ 15 ปันจาป (4th Battalion, 15th Punjab Regiment) ผู้หมวดเงอลาทิซ เข้าร่วมรบในการรบที่มทิรา ในเมืองมัณฑะเลย์ พม่า ในปี ค.ศ. 1945
ซึ่งการรบครั้งนี้ เขาได้นำหน่วยทหารของของตนเข้าตีแนวรบข้าศึก จนสามารถยึดหรือทำลายบังเกอร์ข้าศึกได้เป็นจำนวนมาก การรบดำเนินไปในระยะประชิดตัวจนมองเห็นหน้าของกันและกันในระยะเพียง 10 หลา ผู้หมวดเงอลาทิซ จัดการกับทหารข้าศึกทีละคนและเขาค่อยๆรุกเข้าประชิดบังเกอร์ของทหารญี่ปุ่นทีละแห่งและจัดการกับทหารข้าศึกที่อยู่ภายในจนถึงบังเกอร์แห่งสุดท้าย
เขาเครื่องพลเข้าไปในระยะ 10 หลาแต่ข้าศึกเปิดฉากระดมยิงสกัดออกมาอย่างหนาแน่น จนเขาถูกยิงล้มลงได้รับบาดเจ็บสาหัส ทหารของเขาก็ยังทำการรบต่อไปจนสามารถยึดบังเกอร์ทุกแห่งเอาไว้ได้ ผู้หมวด ถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลสนาม แต่เขาทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตในที่สุด
ประกาซ ซิงก์ ชิบ
เขาเข้าเป็นทหารในสังกัด กองร้อยอาวุธเบาลาดตระเวนชายแดนที่ 13 กองพันที่ 14 (13th Frontier Force Rifles ,14th Battalion) ในตอนนั้นเขาดำรงตำแหน่งร้อยเอก และได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าทั้งสองข้าง การรบช่วงระหว่างวันที่ 16 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 1945 ในกาลาน วาทธิซ พม่า
และจากอาการบาดเจ็บของเขาทำให้เขาต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง แต่ทว่าเมื่อผู้บังคับหน่วยที่มาทำหน้าที่แทนเขาได้ไม่นานบาดเจ็บจนไม่สามารถบังคับหน่วยต่อได้ ผู้กองชิบแม้จะบาดเจ็บที่ข้อเท้า เขาก็ยังแข็งใจกลับมาบัญชาการหน่วยทหารของเขาอีกครั้งหนึ่ง
แม้ขาจะเดินได้ไม่เต็มแรง ผู้กองชิบก็ยังออกไปบัญชาการรบและต่อสู้กับข้าศึกอย่างองอาจ และก็เป็นอีกครั้งที่เขาบาดเจ็บจาดการถูกยิงเข้าที่ขาทั้งสองข้างระหว่างการรบต้านทานการบุกของทหารญี่ปุ่น ขาทั้งสองข้างเดินไม่ได้แล้ว แต่เขากลับใช้มือทั้งสองข้างแทนขาและลากตัวเองไปมาในสนามรบ
เขายิงต่อสู้และเปลี่ยนมุมยิงไปมาด้วยการเคลื่อนที่ไปมาด้วยมือทั้งสองข้าง แต่เขาก็ถูกทหารญี่ปุ่นยิงใส่จนบาดเจ็บสาหัสฟุบลงกับพื้น ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตเขาได้ตะโกนออกมาว่า “Jawala Mata Ki Jai! หรือ ชัยชนะแด่เจ้าแม่ชาวาลา” เพื่อเป็นแรงใจให้แก่ลูกน้องของตนทำการรบต่อไป หลังจากเขาเสียชีวิตมีการสร้างอนุสาวรีย์รำลึกความกล้าหาญของเขาที่หมู่บ้านนัด ในเมืองจัมมู และมีการจัดงานรำลึกในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกๆปี
ฟาซาล ดิน
สิบโทฟาซาล ดิน อายุ 23 ปี ประจำการอยู่ใน กองพันที่ 7 กรมทหารที่ 10 บาลุช (7th Battalion 10th Baluch Regiment) เขาต่อสู้อย่างกล้าหาญกับทหารญี่ปุ่นในการรบที มทิรา ในเมืองมัณฑะเลย์ พม่า หน่วยทหารของสิบโทดินถูกซุ่มโจมตีและถูกทหารญี่ปุ่นล้อม ซึ่งเขาและเพื่อนทหารต้องตกอยู่ในกลางพื้นที่สังหารของทหารญี่ปุ่น ซึ่งมีบังเกอร์อยู่สามทิศทางระดมยิงเข้ามาใส่พวกเขาอย่างหนักหน่วง
สิบโทดินตัดสินใจทำการรบบุกฝ่าวงล้อมทหารข้าศึกออกไปให้ได้ เขาคว้าลูกระเบิดมือและขว้างใส่บังเกอร์ทหารญี่ปุ่นที่อยู่ใกล้ที่สุด และสามารถทำลายบังเกอร์แรกลงได้ หลังจากนั้นเขานำหมู่ทหารของเขารุกต่อไปข้างหน้า และเข้าเผชิญหน้ากับทหารญี่ปุ่นแบบตัวต่อตัวไม่หวาดหวั่น
ทหารอินเดียและญี่ปุ่นวิ่งเข้าตะลุมบอนกันอย่างสับสนอลหม่าน สิบโทดินเข้าต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นและใช้ดาบปลายปืนแทงทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตไปสองนายก่อนที่ทหารญี่ปุ่นอีกนายจะเข้ามาประชิดตัวเขา และใช้ดาบแทงเข้าที่ลำตัวของสิบโทดิน
แต่เหลือเชื่อ แม้การถูกข้าศึกแทงจะเจ็บปวดสักเพียงใด สิบโทดินกลับดึงเอาดาบของทหารญี่ปุ่นออกมาจากลำตัวของเขาและใช้ดาบนี้แทงกลับคืนทหารญี่ปุ่นคนที่ใช้ดาบแทงเขาไปจนเสียชีวิต และยิ่งเหลือเชื่อที่เขาไม่แยแสต่อความเจ็บปวดแต่กลับใช้ดาบที่ทหารญี่ปุ่นพึ่งแทงเขาเมื่อครู่ไล่ฟันทหารญี่ปุ่นคนอื่นๆเสียชีวิตและมีบางส่วนวิ่งหนีแตกกระเจิงหายเข้าไปในป่า สิบโทดินเสียชีวิตในเวลาต่อมาแต่การกระทำของเขาสร้างแรงบัลดาลใจให้กับทุกๆคนในหน่วย และทำให้ทหารทุกนายฮึกเหิมสู้กับข้าศึกแบบลืมความตาย
ราม สารูป ซิงก์
ผู้กองซิงก์ เข้าประจำการอยู่ในกองพันที่ 2 กรมทหารปัญจาบที่ 1 (2nd Battalion, 1st Punjab Regiment) เขาสร้างวีรกรรมด้วยการนำหมวดของเขาทำการรบในเมืองทิดดิม ประเทศพม่า เดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1944
และในระหว่างการรบนั้นเองเขาถูกยิงเข้าที่ต้นขา แต่ยังฝืนใจนำทหารจู่โจมเข้าไปในบังเกอร์ของทหารญี่ปุ่น และจัดการกับข้าศึกที่อยู่ภายในจนทหารญี่ปุ่นพากันถอยออกไป แต่ก็มิวายที่ข้าศึกจะยิงถูกเขาอีกครั้ง คราวนี้เขาโดนยิงเข้าที่ลำคอและหน้าอก ทหารญี่ปุ่นรวมพลกันใหม่และทำการรุกเข้าตีเพื่อยึดที่มั่นของตนกลับคืน แต่ผู้กองซิงก์แม้จะบาดเจ็บสาหัสขนาดนี้ เขายังแข็งใจลุกขึ้นมาทำการรบเคียงข้างลูกน้องของตนเอง และใช้ปืนกลระดมยิงสกัดกั้นการบุกของข้าศึก
เมื่อลูกน้องของเขาเห็นผู้กองซิงก์ที่แม้จะบาดเจ็บจนเลือดท่วมกายแต่ยังแข็งใจยืนสู้อยู่เคียงข้างพวกเขา มันทำให้ทหารใต้การบังคับบัญชาของผู้กองซิงก์ ทำการรบต่อไปอย่างหาญกล้าจนสามารถทำลายการรุกเข้าตีโต้ตอบทหารญี่ปุ่นและผลักดันให้ถอยกลับไปอีกครั้ง ช่างโชคร้ายที่ผู้กองซิงก์ไม่ได้อยู่ชื่นชมในชัยชนะร่วมกันกับลูกน้อง เขาเสียชีวิตคาปืนกลที่เขายิงสกัดทหารญี่ปุ่น โดยที่ปืนกระสุนหมดและนิ้วมือของเขายังเหนี่ยวไกปืนเอาไว้แน่น
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Website :
https://www.thebetterindia.com/…/6-indian-soldiers-martyre…/
Website :
https://en.wikipedia.org/wiki/Yeshwant_Ghadge
Website :
https://en.wikipedia.org/wiki/Abdul_Hafiz
Website :
https://en.wikipedia.org/wiki/Karamjeet_Singh_Judge
Website :
https://en.wikipedia.org/wiki/Prakash_Singh_Chib
Website :
https://en.wikipedia.org/wiki/Fazal_Din
Website :
https://en.wikipedia.org/wiki/Ram_Sarup_Singh
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
Cr.War History with Teacher Panyanat
Cr.
https://www.facebook.com/pg/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-20-502091946518622/posts/
ทหารกล้าแดนภารตะ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ทหารอินเดียต่อสู้กับกองกำลังอักษะ เคียงข้างกับทหารอังกฤษในทุกทุกสมรภูมิรบ กว่าหกปีของสงคราม มีทหารอินเดียเสียชีวิตเป็นจำนวนทั้งสิ้น 96,000 นาย และนี่คือ 6 ทหารอินเดียที่วีรกรรมความกล้าหาญพวกเขาซึ่งประกอบวีรกรรมจนได้รับเหรียญ วิคทอเรีย ครอส (Victoria Cross) ซึ่งเป็นเหรียญกล้าหาญสูงสุดของกองทัพอังกฤษ นี่คือตัวแทนของความกล้าและความเสียสละของชาวอินเดียทั้งหมด ที่แสดงออกให้ทั้งมิตรและศัตรูได้เห็นในมหาสงครามครั้งนี้
เยชชวาน กาดเก
ทหารหนุ่มอินเดียอายุ 22 ปี ตำแหน่ง Naik เนคเคอะ หรือ Nayak นายาค ซึ่งเป็นยศสิบโทในกองทัพอินเดีย สิบโทกาดเก ประจำการอยู่ใน กรมทหารราบอาวุธเบาที่ 5 มหาราช (5th Mahratta Light Infantry Regiment) เขาถูกส่งเข้าสู่สนามรบในอิตาลี บริเวณเทือกเขาไทเบอร์ และที่นี่เองคือสถานที่ประกอบวีรกรรมของเขา
วันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 หน่วยทหารของสิบโทกาดเก ถูกโจมตีอย่างหนัก มีทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก กองร้อยทหารราบของข้าศึกเครื่องพลเข้ามาประชิดแนวรบใกล้กับที่ตั้งของหน่วยทหารที่กาดเกประจำการอยู่ ด้วยจิตใจที่กล้าหาญไม่หวั่นไหว แม้ข้าศึกจะระดมยิงอย่างหนัก แต่เขาก็วิ่งไปที่บังเกอร์ปืนกล และระดมยิงใส่สกัดกั้นการรุกเข้ามาของข้าศึก
สิบโทกาดเกทั้งยิงปืนกล และขว้างลูกระเบิดมือใส่หมู่ทหารข้าศึก แต่มีทหารข้าศึกจำนวนสองนาย สามารถฝ่าแนวรับบุกเข้ามาได้ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่กระสุนปืนกลของเค้าหมดพอดี ทหารราบข้าศึกสองนายบุกเข้ามาประชิดยังบังเกอร์ปืนกลที่กาดเกประจำการอยู่ เขาหยิบปืนไรเฟิลประจำกายขึ้นมาและใช้พานท้ายปืนกระแทกใส่หน้าทหารข้าศึกทั้งสองนายจนล้มลง
แต่ทว่าพลซุ่มยิงของข้าศึกเล็งปืนมาที่เขาและยิงใส่เข้าที่ศีรษะของกาดเกเสียชีวิตทันที การกระทำที่กล้าหาญของเขาช่วยชีวิตเพื่อนทหารเอาไว้หลายนาย เขายอมสละชีวิตตนเองและหาญกล้ายืนสู้กับข้าศึกอย่างทระนงองอาจ กองทัพอังกฤษจึงมอบเหรียญ วิคทอเรีย ครอส แก่ญาติของเขาเพื่อเชิดชูเกียรติและวีรกรรมของกาดเก นอกจากนี้ยังมีการสร้างอนุสาวรีย์ของสิบโทกาดเกที่บ้านเกิดของเขา ณ เมืองมะเกา ประเทศอินเดีย อีกด้วย
อับดุล ฮาฟิซ
ฮาฟิซอายุเพียงแค่ 18 ปีเท่านั้นตอนที่เขาเข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพเครือจักรภพอังกฤษ ในตำแหน่งJamadar จามาดา หรือ ร้อยเอก ในกรมทหารราบที่ 9 จาท (9th Jat Regiment) ในเดือนเมษายนปี ค.ศ. 1944 เขาถูกส่งไปรบในยุทธภูมิอิมฟาล ในพม่า เขาได้รับคำสั่งให้นำหมวดทหารราบเครื่องพลเข้าตีที่มั่นทหารญี่ปุ่น ผู้กองฮาฟิซ ต้องนำหน่วยทหารข้ามทางลาดชัน และปีนป่ายขึ้นไปบนเนิน
ในระหว่างที่กำลังปีนอยู่นั้นทหารข้าศึกตรวจพบและเปิดฉากยิงใส่หมวดทหารของฮาฟิซ แต่พวกเขาก็ยังไม่ละความพยายาม แม้จะมีทหารถูกยิงเสียชีวิตไประหว่างการปีนเนิน แต่ฮาฟิซก็ยังนำหมวดของเขา ขึ้นไปจนถึงบังเกอร์ข้าศึกซึ่งอยู่บนยอดเนินเขาคว้าปืนกลจากมือของทหารของเขาที่นอนเสียชีวิต และใช้มันระดมยิงใส่ข้าศึกพร้อมกับปลุกใจนำหน้าลูกน้องวิ่งเข้าชาร์จใส่ทหารข้าศึกอย่างไม่หวาดหวั่น
แต่ท่ามกลางการรบอันสับสนวุ่นวาย กระสุนปืนข้าศึกพุ่งชนร่างของเขาล้มลง แต่ผู้กองฮาฟิซก็ยังรวบรวมกำลังยกปืนกลยิงโต้ตอบข้าศึกกลับไป ลูกน้องของฮาฟิซ เคลื่อนพลต่อไปจนสามารถยึดที่มั่นของข้าศึกเอาไว้ได้ แต่น่าเสียดายที่ผู้กองฮาฟิซเสียชีวิตในการรบ
คารามจิท ซิงก์ เงอลาทิซ
เขาคือผู้หมวดหนุ่มจากกองพันที่ 4 กรมทหารราบที่ 15 ปันจาป (4th Battalion, 15th Punjab Regiment) ผู้หมวดเงอลาทิซ เข้าร่วมรบในการรบที่มทิรา ในเมืองมัณฑะเลย์ พม่า ในปี ค.ศ. 1945
ซึ่งการรบครั้งนี้ เขาได้นำหน่วยทหารของของตนเข้าตีแนวรบข้าศึก จนสามารถยึดหรือทำลายบังเกอร์ข้าศึกได้เป็นจำนวนมาก การรบดำเนินไปในระยะประชิดตัวจนมองเห็นหน้าของกันและกันในระยะเพียง 10 หลา ผู้หมวดเงอลาทิซ จัดการกับทหารข้าศึกทีละคนและเขาค่อยๆรุกเข้าประชิดบังเกอร์ของทหารญี่ปุ่นทีละแห่งและจัดการกับทหารข้าศึกที่อยู่ภายในจนถึงบังเกอร์แห่งสุดท้าย
เขาเครื่องพลเข้าไปในระยะ 10 หลาแต่ข้าศึกเปิดฉากระดมยิงสกัดออกมาอย่างหนาแน่น จนเขาถูกยิงล้มลงได้รับบาดเจ็บสาหัส ทหารของเขาก็ยังทำการรบต่อไปจนสามารถยึดบังเกอร์ทุกแห่งเอาไว้ได้ ผู้หมวด ถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลสนาม แต่เขาทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตในที่สุด
ประกาซ ซิงก์ ชิบ
เขาเข้าเป็นทหารในสังกัด กองร้อยอาวุธเบาลาดตระเวนชายแดนที่ 13 กองพันที่ 14 (13th Frontier Force Rifles ,14th Battalion) ในตอนนั้นเขาดำรงตำแหน่งร้อยเอก และได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าทั้งสองข้าง การรบช่วงระหว่างวันที่ 16 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 1945 ในกาลาน วาทธิซ พม่า
และจากอาการบาดเจ็บของเขาทำให้เขาต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง แต่ทว่าเมื่อผู้บังคับหน่วยที่มาทำหน้าที่แทนเขาได้ไม่นานบาดเจ็บจนไม่สามารถบังคับหน่วยต่อได้ ผู้กองชิบแม้จะบาดเจ็บที่ข้อเท้า เขาก็ยังแข็งใจกลับมาบัญชาการหน่วยทหารของเขาอีกครั้งหนึ่ง
แม้ขาจะเดินได้ไม่เต็มแรง ผู้กองชิบก็ยังออกไปบัญชาการรบและต่อสู้กับข้าศึกอย่างองอาจ และก็เป็นอีกครั้งที่เขาบาดเจ็บจาดการถูกยิงเข้าที่ขาทั้งสองข้างระหว่างการรบต้านทานการบุกของทหารญี่ปุ่น ขาทั้งสองข้างเดินไม่ได้แล้ว แต่เขากลับใช้มือทั้งสองข้างแทนขาและลากตัวเองไปมาในสนามรบ
เขายิงต่อสู้และเปลี่ยนมุมยิงไปมาด้วยการเคลื่อนที่ไปมาด้วยมือทั้งสองข้าง แต่เขาก็ถูกทหารญี่ปุ่นยิงใส่จนบาดเจ็บสาหัสฟุบลงกับพื้น ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตเขาได้ตะโกนออกมาว่า “Jawala Mata Ki Jai! หรือ ชัยชนะแด่เจ้าแม่ชาวาลา” เพื่อเป็นแรงใจให้แก่ลูกน้องของตนทำการรบต่อไป หลังจากเขาเสียชีวิตมีการสร้างอนุสาวรีย์รำลึกความกล้าหาญของเขาที่หมู่บ้านนัด ในเมืองจัมมู และมีการจัดงานรำลึกในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกๆปี
ฟาซาล ดิน
สิบโทฟาซาล ดิน อายุ 23 ปี ประจำการอยู่ใน กองพันที่ 7 กรมทหารที่ 10 บาลุช (7th Battalion 10th Baluch Regiment) เขาต่อสู้อย่างกล้าหาญกับทหารญี่ปุ่นในการรบที มทิรา ในเมืองมัณฑะเลย์ พม่า หน่วยทหารของสิบโทดินถูกซุ่มโจมตีและถูกทหารญี่ปุ่นล้อม ซึ่งเขาและเพื่อนทหารต้องตกอยู่ในกลางพื้นที่สังหารของทหารญี่ปุ่น ซึ่งมีบังเกอร์อยู่สามทิศทางระดมยิงเข้ามาใส่พวกเขาอย่างหนักหน่วง
สิบโทดินตัดสินใจทำการรบบุกฝ่าวงล้อมทหารข้าศึกออกไปให้ได้ เขาคว้าลูกระเบิดมือและขว้างใส่บังเกอร์ทหารญี่ปุ่นที่อยู่ใกล้ที่สุด และสามารถทำลายบังเกอร์แรกลงได้ หลังจากนั้นเขานำหมู่ทหารของเขารุกต่อไปข้างหน้า และเข้าเผชิญหน้ากับทหารญี่ปุ่นแบบตัวต่อตัวไม่หวาดหวั่น
ทหารอินเดียและญี่ปุ่นวิ่งเข้าตะลุมบอนกันอย่างสับสนอลหม่าน สิบโทดินเข้าต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นและใช้ดาบปลายปืนแทงทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตไปสองนายก่อนที่ทหารญี่ปุ่นอีกนายจะเข้ามาประชิดตัวเขา และใช้ดาบแทงเข้าที่ลำตัวของสิบโทดิน
แต่เหลือเชื่อ แม้การถูกข้าศึกแทงจะเจ็บปวดสักเพียงใด สิบโทดินกลับดึงเอาดาบของทหารญี่ปุ่นออกมาจากลำตัวของเขาและใช้ดาบนี้แทงกลับคืนทหารญี่ปุ่นคนที่ใช้ดาบแทงเขาไปจนเสียชีวิต และยิ่งเหลือเชื่อที่เขาไม่แยแสต่อความเจ็บปวดแต่กลับใช้ดาบที่ทหารญี่ปุ่นพึ่งแทงเขาเมื่อครู่ไล่ฟันทหารญี่ปุ่นคนอื่นๆเสียชีวิตและมีบางส่วนวิ่งหนีแตกกระเจิงหายเข้าไปในป่า สิบโทดินเสียชีวิตในเวลาต่อมาแต่การกระทำของเขาสร้างแรงบัลดาลใจให้กับทุกๆคนในหน่วย และทำให้ทหารทุกนายฮึกเหิมสู้กับข้าศึกแบบลืมความตาย
ราม สารูป ซิงก์
ผู้กองซิงก์ เข้าประจำการอยู่ในกองพันที่ 2 กรมทหารปัญจาบที่ 1 (2nd Battalion, 1st Punjab Regiment) เขาสร้างวีรกรรมด้วยการนำหมวดของเขาทำการรบในเมืองทิดดิม ประเทศพม่า เดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1944
และในระหว่างการรบนั้นเองเขาถูกยิงเข้าที่ต้นขา แต่ยังฝืนใจนำทหารจู่โจมเข้าไปในบังเกอร์ของทหารญี่ปุ่น และจัดการกับข้าศึกที่อยู่ภายในจนทหารญี่ปุ่นพากันถอยออกไป แต่ก็มิวายที่ข้าศึกจะยิงถูกเขาอีกครั้ง คราวนี้เขาโดนยิงเข้าที่ลำคอและหน้าอก ทหารญี่ปุ่นรวมพลกันใหม่และทำการรุกเข้าตีเพื่อยึดที่มั่นของตนกลับคืน แต่ผู้กองซิงก์แม้จะบาดเจ็บสาหัสขนาดนี้ เขายังแข็งใจลุกขึ้นมาทำการรบเคียงข้างลูกน้องของตนเอง และใช้ปืนกลระดมยิงสกัดกั้นการบุกของข้าศึก
เมื่อลูกน้องของเขาเห็นผู้กองซิงก์ที่แม้จะบาดเจ็บจนเลือดท่วมกายแต่ยังแข็งใจยืนสู้อยู่เคียงข้างพวกเขา มันทำให้ทหารใต้การบังคับบัญชาของผู้กองซิงก์ ทำการรบต่อไปอย่างหาญกล้าจนสามารถทำลายการรุกเข้าตีโต้ตอบทหารญี่ปุ่นและผลักดันให้ถอยกลับไปอีกครั้ง ช่างโชคร้ายที่ผู้กองซิงก์ไม่ได้อยู่ชื่นชมในชัยชนะร่วมกันกับลูกน้อง เขาเสียชีวิตคาปืนกลที่เขายิงสกัดทหารญี่ปุ่น โดยที่ปืนกระสุนหมดและนิ้วมือของเขายังเหนี่ยวไกปืนเอาไว้แน่น
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Website : https://www.thebetterindia.com/…/6-indian-soldiers-martyre…/
Website : https://en.wikipedia.org/wiki/Yeshwant_Ghadge
Website : https://en.wikipedia.org/wiki/Abdul_Hafiz
Website : https://en.wikipedia.org/wiki/Karamjeet_Singh_Judge
Website : https://en.wikipedia.org/wiki/Prakash_Singh_Chib
Website : https://en.wikipedia.org/wiki/Fazal_Din
Website : https://en.wikipedia.org/wiki/Ram_Sarup_Singh
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
Cr.War History with Teacher Panyanat
Cr.https://www.facebook.com/pg/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-20-502091946518622/posts/