"พันโท ถวิล นิยมเสน"
[ประวัติ]
- เกิด วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450
- บิดา นายร้อยเอก หลวงพิทักษ์ศิลาพาธ (แผ้ว นิยมเสน)
- มารดา นางทองอยู่ นิยมเสน
- สถานที่เกิด บ้านโพ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
[ 1 ก.ค. 2463] เป็น :นักเรียนนายร้อย
[15 พ.ย. 2472] เป็น :นายร้อยตรี
[ 1 เม.ย. 2477] เป็น : นายร้อยเอก
[28 ก.ย. 2481] เป็น : ร้อยเอก แผนก 1 กรมยุวกาชาด ท.บ.
[10 ก.ค. 2483] เป็น : ผบ.หน่วยฝึกยุวชนทหารที่ 52, ชุมพร
หน่วยฝึกยุวชนทหารที่ 52 ตั้งอยู่ที่โรงเรียนประจำจังหวัดชุมพร "ศรียาภัย" "นายร้อยเอกถวิล นิยมเสน" เป็นผู้บังคับหน่วย, "จ่าสิบตรี จง แจ้งชาติ" เป็นจ่าหน่วย, "สิบเอกสำราญ ควรพันธ์", "สิบโทแผน ทองสอดแสง" และ "สิบตรีเฉลิม ปานเกษม" เป็นครูฝึก ซึ่งยุวชนทหารนั้นจะรับจากนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 - 6 ของโรงเรียนประจำจังหวัดชุมพร เป็นนักเรียนชั้น ม. 4 - 6 ชุดแรกจำนวน 145 คน โดยดารจะสมัครเป็นยุวชนทหารชั้นปีที่ 1 ต้องเรียนวิชาทหาร 3 ปี ซึ่งยุวชนทหารชั้นปีที่ 3 จะมีความรู้เทียบเท่าสิบตรีทหารบก
"ร.อ.ถวิล นิยมเสน" รูปร่างสันทัด สง่า สมเป็นนายทหาร เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนกล้าหาญ เอาใจใส่ควบคุมดูแลให้นายทหารครูฝึกได้ฝึกฝนถ่ายทอดวิชาทหารราบให้แก่ยุวชนทหารอย่างจริงจังระหว่างเวลาที่นายทหารครูฝึกกำลังฝึกสอนยุวชนทหาร ร.อ.ถวิล จะอยู่ดูแลใกล้ชิด ทั้งในสนาม และในห้องเรียน เป็นการฝึกฝนให้ได้คุณภาพ
ยุวชนทหารชุดแรกได้รับการฝึกระเบียบแถว วิชาอาวุธศึกษา การยิงปืนเล็กยาวและปืนกลเบา การคุมหมู่เข้ารบหรือถอยจากการรบ จบหลักสูตรปีที่ 1 ภายในเวลาเพียง 3 เดือน ในช่วงแรกหน่วยฝึกยังไม่มีปืนกลเบาใช้การ ร.อ.ถวิล จึงจัดให้มีการแสดงการรบที่เรียกว่า "ยุทธกีฬา" ให้ประชาชนได้ชมกันที่ สนามโรงเรียนประจำจังหวัดชุมพร "ศรียาภัย" ซึ่งมีประชาชนไปชมยุทธกีฬากันมากมาย รวมทั้งได้มีการบริจาคเงินให้ซื้อปืนกลเบาได้ 1 กระบอกด้วย
เมื่อยุวชนทหารได้เรียนและฝึกวิชาทหารจบหลักสูตรชั้นปีที่ 1 แล้ว ร.อ.ถวิล นิยมเสน กับคณะนายทหารครูฝึกได้เปิดหน่วยฝึกยุวชนทหารที่โรงเรียนประจำอำเภอหลังสวน "สวนศรีวิทยา" สังกัดหน่วยฝึกเดิม คือ "หน่วยฝึกที่ 52" ในปี พ.ศ. 2483 เดียวกันนั้น ได้ไปเปิด "หน่วยฝึกยุวชนทหารที่ 69" ณ โรงเรียนประจำจังหวัดระนอง ซึ่งงานด้านการฝึกสอนวิชาทหารให้แก่เยาวชนนี้ ได้ผลดีเยี่ยม
ในปลายปี พ.ศ. 2483 กระทรวงกลาโหมได้ข่าวว่าอังกฤษเคลื่อนกำลังทหารบกที่เมืองมะลิวัน ตรงข้ามกับกระบุรีของไทย จึงมีคำสั่งให้ ร.อ.ถวิล นำกำลังยุวชนทหารไปตระเวนหาข่าวก่อนที่จะเคลื่อนกำลังทหารชุมพรออกไป ร.อ.ถวิลนำกำลังยุวชนทหารสังกัดโรงเรียนประจำจังหวัด จำนวน 3 หมู่ ออกจากชุมพรเวลากลางคืนไปพักที่บ้านปากจั่น บ้านทับหลี และบ้านน้ำจืด ยุวชนทหารออกลาดตระเวนหาข่าวตามหมู่บ้านริมแม่น้ำกระบุรีอยู่ราว 10 วัน ยุวชนทหารหมู่ที่บ้านน้ำจืดจับทหารอินเดียสังกัดกองทัพอังกฤษได้คนหนึ่ง สอบสวนแล้วปล่อยตัวไป
การออกปฏิบัติงานสนามครั้งนี้ได้ข่าวว่าอังกฤษไม่ได้ยกกำลังลงมาตั้งใกล้เขตแดนไทย เป็นเพียงมีทหารชาติอินเดียจำนวนเล็กน้อย เดินทางมาประจำสถานีตำรวจในเมืองมะลิวัน ทางกรุงเทพจึงเรียกกำลังยุวชนทหารกลับ
ปี 2484 มีเค้าว่าสงครามโลกจะขยายมาถึงเอเชียตะวันออกไกล ร.อ.ถวิล นิยมเสน ได้รับคำสั่งให้ฝึกประชาชนให้รู้จักทำการรบ จังหวัดชุมพรได้เรียกระดมกำนันผู้ใหญ่ให้มารวมกันที่โรงเรียนสตรีสอาดเผดิมวิทยา แล้วรับการฝึกการรบจากครูฝึกวิชาทหารของหน่วย ยุวชนทหารที่ 52 การฝึกอบรมกำนันผู้ใหญ่บ้านกระทำกันหลายรุ่น รุ่นสุดท้ายเสร็จสิ้นการฝึกในวันที่ 7 ธันวาคม 2484 และในคืนนั้นเวลา 2 นาฬิกา อันเป็นวันที่ 8 ธันวาคม 2484 กองกำลังมหึมาของญี่ปุ่นก็ยกพลขึ้นบกที่จังหวัดชายทะเลฝั่งอ่าวไทย เพื่อเดินทางผ่านประเทศไทย เข้าโจมตีมลายูและพม่าของอังกฤษ
ตอนเช้าวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เวลาประมาณ 6 นาฬิกา มีชาวบ้านตำบลท่ายางวิ่งมาที่บ้านพักของ ร.อ. ถวิล แจ้งว่ามีทหารข้าศึกจำนวนมากมายยกพลขึ้นบกที่ริมทะเล บ้านคอสน ร.อ. ถวิลรีบแต่งกายชุดลำลอง คือ หมวกทรงหม้อกาล เสื้อนอกคอตั้ง กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้นธรรมดา มีปืนพกประจำกาย 1 กระบอก ขับจักรยานไปฟังคำสั่งที่จวนข้าหลวงประจำจังหวัด ข้าหลวงฯ สั่งให้นำกำลังยุวชนทหารออกไปปะทะข้าศึกไว้ จนกว่ากำลังทหารราบกองพันที่ 38 จะเคลื่อนมาถึง ร.อ.ถวิล ได้จ่าหน่วย และสิบเอกสำราญ ควรพันธ์ไปตามตัวยุวชนทหารจากบ้านในตัวเมือง ไปพร้อมกันที่สถานีตำรวจ รับอาวุธประจำกายและกระสุนปืนแบ่งหมู่ปืนกลเบาให้ จ.ส.ต. จง แจ้งชาติ คุมยุวชนทหาร 5 คน ยกขึ้นไปทางด้านเหนือ เพื่อสะกัดข้าศึกที่เข้าใจว่ายกขึ้นที่อ่าวพนังตักอีกด้วย ส่วน ร.อ.ถวิล นิยมเสนเองคุมยุวชนทหารจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ไปทางด้านตะวันออก ยึดคอสะพานท่านางสังข์ไว้
ขณะนั้นตำรวจภูธรได้ยึดริมตลิ่งคลองท่านางสังข์ อยู่ก่อนแล้ว และเริ่มยิงกับทหารญี่ปุ่นบนฝั่งตรงข้ามประปรายยุวชนทหารและสิบเอกสำราญกำบังตัวอยู่ในคูถนนคอสะพาน ร.อ.ถวิล ออกจากคูถนนขึ้นไปยืนบังโครงเหล็กคอสะพานตรวจการณ์ดูข้าศึกที่อยู่ฝั่งตรงข้ามแล้วกลับลงมาเรียกสิบเอกสำราญ เข้ามาสั่งว่าตรวจดูแล้วไม่เห็นตัวข้าศึก ยิงไปก็เสียกระสุนปืนเปล่าจะต้องข้ามไปยึดคอสะพาน ฝั่งตรงข้ามเห็นข้าศึกแล้วจึงจะยิงกัน แล้วออกคำสั่งแก่ยุวชนทหารว่า "ตามข้าพเจ้า" ร.อ.ถวิลออกวิ่งนำแถวข้ามสะพาน ส.อ.สำราญลากหีบกระสุนปืนคืบคลานตามไปอย่างรวดเร็วข้ามสะพานไปแล้วทุ่มตัวลงกำบังในคูถนนด้านซ้ายมือ
ปรากฏว่าทหารญี่ปุ่นกำบังตัวอยู่ในป่าละเมาะคนละฝั่งถนนนั้นเอง ร.อ.ถวิลจึงสั่งยิงไปที่ทหารญี่ปุ่นกลุ่มนั้น เป็นการรบกันในระยะประชิด ห่างกันเพียงไม่เกิน 20 เมตร อาศัยว่าต่างฝ่ายต่างอยู่ในที่กำลังมิดชิดดี จึงไม่อาจทราบได้ว่ายิงถูกกันหรือไม่ จาก คอสะพานที่ยุวชนทหารข้ามไปยึดอยู่นั้น ถนนทอดตรงไปทางตะวันออกเป็นระยะทางประมาณ 300 เมตร ร.อ.ถวิลสังเกตเห็นว่าทหารญี่ปุ่นเคลื่อนที่ขึ้นถนนแล้ว ลงจากถนนเข้าป่าละเมาะด้านเดียวกับที่พวกของตนยึดอยู่และกำลังยิงโต้ตอบกันกับยุวชนทหาร
ร.อ.ถวิลตะโกนเรียก ส.อ.สำราญมาปรึกษาหาแนวยุวชนหันข้างให้ข้าศึก จะถูกยิงร้อยพวงตายหมด ดังนั้น ต้องข้ามถนนไปยึดอีกฝั่งถนน ปรับแนวเป็นหน้ากระดานเข้าต่อสู้กัน ตามระเบียบการฝึกทหารราบสมัยนั้น ถ้าแนวอยู่ห่างข้าศึกประมาณ 200 เมตร จะต้องติดดาบปลายปืนเตรียมเข้าตลุมบอนกัน ในเช้าวันนั้นยุวชนทหารอยู่ห่างข้าศึกเพียง 20 - 30 เมตร ร.อ.ถวิล จึงตะโกนสั่ง "ติดดาบ" "ตลุมบอน" "ไชโย" ทุกคนลุกขึ้นจะวิ่งข้ามถนน ญี่ปุ่นที่อยู่ด้านซ้ายมือ ร.อ.ถวิล ระดมยิงหนัก จึงต้องยุบตัวกลิ้งลงกำบังในคูถนน
ตามเดิม ร.อ.ถวิลสั่งยุวชนทหารให้ระดมยิงหนักไปยังข้าศึกด้านซ้ายมือ แล้วร้องไชโยนำเข้าตลุมบอนอีก ทุกคนวิ่งข้ามไปทิ้งตัวลงในคูถนนฝั่งตรงข้าม แล้วปรับแนวเป็นหน้ากระดานหันหน้าไปหาข้าศึกทางด้านตะวันออก เป็นการยิงในระยะใกล้เหมือนเดิม ส.อ.สำราญ คุมแถวอยู่ทางปีกขวา ทุกคนอาศัยโคนต้นมะพร้าวเป็นที่กำบัง ขณะนั้นเวลาประมาณ 7 นาฬิกา ฝนตกหนัก แต่ลมสงัด ส.อ.สำราญร้องสั่งยุวชนให้บอกกันต่อ ๆ ไปว่า ถ้าเห็นพุ่มไม้เคลื่อนไหวให้ยิงใส่พุ่มไม้นั้น ปรากฏว่ายุวชนทหารยิงข้าศึกที่พรางตัวด้วยพุ่มไม้ตายไปไม่น้อย ยิงกันอยู่ครู่หนึ่ง
จากนั้นมียุวชนทหารคลานจากด้านริมถนนไปบอก ส.อ.สำราญ ว่า ร.อ.ถวิล ถูกยิงตายเสียแล้ว ส.อ.สำราญสั่งปิดข่าวแล้วอำนวยการรบต่อไปจนตนเองถูกยิงแขนขวากระดูก แตก ต้องไปหมอบอยู่หลังแนวคอยส่งกระสุนปืนและปลอบขวัญยุวชนทหารให้รบต่อไปจนหยุดยิงกันเมื่อเวลาใกล้เที่ยงวัน
เรื่องปรากฏว่าเมื่อ ร.อ.ถวิลวิ่งนำข้ามถนนเข้าตะลุมบอนครั้งหลัง ถูกกระสุนปืนข้าศึกเข้าที่คอทะลุท้ายทอย สิ้นชีวิตอยู่ข้างยุวชนทหารคนที่อยู่ปีกซ้ายสุดนั้นเอง โดย ร.อ.ถวิล นิยมเสน ผู้นี้ ท่านเป็นผู้กล้าหาญที่ไม่หวั่นเกรงข้าศึก และนำยุวชนทหารเข้ายิงข้าศึกในระยะใกล้มาก ทั้งที่รู้ว่ากำลังรบในบังคับบัญชามีเพียงน้อยนิด เห็นแล้วว่าข้าศึกมีจำนวนมากกว่าหลายเท่านัก แต่ก็ได้นำกำลังติดดาบปลายปืนวิ่งเข้าจะรบตลุมบอนกับข้าศึก เป็นชายชาติทหารที่มุ่งจะปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เสียดายชีวิต เป็นผู้ที่ควรแก่การคารวะยิ่ง
ขอขอบพระคุณ
เพจสงคราม ประวัติศาสตร์
"ถวิล นิยมเสน" วีรบุรุษชุมพร ผู้นำยุวชนทหารเข้าต่อสู้ต้านการบุกรุกของญี่ปุ่น
- เกิด วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450
- บิดา นายร้อยเอก หลวงพิทักษ์ศิลาพาธ (แผ้ว นิยมเสน)
- มารดา นางทองอยู่ นิยมเสน
- สถานที่เกิด บ้านโพ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
[ 1 ก.ค. 2463] เป็น :นักเรียนนายร้อย
[15 พ.ย. 2472] เป็น :นายร้อยตรี
[ 1 เม.ย. 2477] เป็น : นายร้อยเอก
[28 ก.ย. 2481] เป็น : ร้อยเอก แผนก 1 กรมยุวกาชาด ท.บ.
[10 ก.ค. 2483] เป็น : ผบ.หน่วยฝึกยุวชนทหารที่ 52, ชุมพร
หน่วยฝึกยุวชนทหารที่ 52 ตั้งอยู่ที่โรงเรียนประจำจังหวัดชุมพร "ศรียาภัย" "นายร้อยเอกถวิล นิยมเสน" เป็นผู้บังคับหน่วย, "จ่าสิบตรี จง แจ้งชาติ" เป็นจ่าหน่วย, "สิบเอกสำราญ ควรพันธ์", "สิบโทแผน ทองสอดแสง" และ "สิบตรีเฉลิม ปานเกษม" เป็นครูฝึก ซึ่งยุวชนทหารนั้นจะรับจากนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 - 6 ของโรงเรียนประจำจังหวัดชุมพร เป็นนักเรียนชั้น ม. 4 - 6 ชุดแรกจำนวน 145 คน โดยดารจะสมัครเป็นยุวชนทหารชั้นปีที่ 1 ต้องเรียนวิชาทหาร 3 ปี ซึ่งยุวชนทหารชั้นปีที่ 3 จะมีความรู้เทียบเท่าสิบตรีทหารบก
"ร.อ.ถวิล นิยมเสน" รูปร่างสันทัด สง่า สมเป็นนายทหาร เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนกล้าหาญ เอาใจใส่ควบคุมดูแลให้นายทหารครูฝึกได้ฝึกฝนถ่ายทอดวิชาทหารราบให้แก่ยุวชนทหารอย่างจริงจังระหว่างเวลาที่นายทหารครูฝึกกำลังฝึกสอนยุวชนทหาร ร.อ.ถวิล จะอยู่ดูแลใกล้ชิด ทั้งในสนาม และในห้องเรียน เป็นการฝึกฝนให้ได้คุณภาพ
ยุวชนทหารชุดแรกได้รับการฝึกระเบียบแถว วิชาอาวุธศึกษา การยิงปืนเล็กยาวและปืนกลเบา การคุมหมู่เข้ารบหรือถอยจากการรบ จบหลักสูตรปีที่ 1 ภายในเวลาเพียง 3 เดือน ในช่วงแรกหน่วยฝึกยังไม่มีปืนกลเบาใช้การ ร.อ.ถวิล จึงจัดให้มีการแสดงการรบที่เรียกว่า "ยุทธกีฬา" ให้ประชาชนได้ชมกันที่ สนามโรงเรียนประจำจังหวัดชุมพร "ศรียาภัย" ซึ่งมีประชาชนไปชมยุทธกีฬากันมากมาย รวมทั้งได้มีการบริจาคเงินให้ซื้อปืนกลเบาได้ 1 กระบอกด้วย
เมื่อยุวชนทหารได้เรียนและฝึกวิชาทหารจบหลักสูตรชั้นปีที่ 1 แล้ว ร.อ.ถวิล นิยมเสน กับคณะนายทหารครูฝึกได้เปิดหน่วยฝึกยุวชนทหารที่โรงเรียนประจำอำเภอหลังสวน "สวนศรีวิทยา" สังกัดหน่วยฝึกเดิม คือ "หน่วยฝึกที่ 52" ในปี พ.ศ. 2483 เดียวกันนั้น ได้ไปเปิด "หน่วยฝึกยุวชนทหารที่ 69" ณ โรงเรียนประจำจังหวัดระนอง ซึ่งงานด้านการฝึกสอนวิชาทหารให้แก่เยาวชนนี้ ได้ผลดีเยี่ยม
ในปลายปี พ.ศ. 2483 กระทรวงกลาโหมได้ข่าวว่าอังกฤษเคลื่อนกำลังทหารบกที่เมืองมะลิวัน ตรงข้ามกับกระบุรีของไทย จึงมีคำสั่งให้ ร.อ.ถวิล นำกำลังยุวชนทหารไปตระเวนหาข่าวก่อนที่จะเคลื่อนกำลังทหารชุมพรออกไป ร.อ.ถวิลนำกำลังยุวชนทหารสังกัดโรงเรียนประจำจังหวัด จำนวน 3 หมู่ ออกจากชุมพรเวลากลางคืนไปพักที่บ้านปากจั่น บ้านทับหลี และบ้านน้ำจืด ยุวชนทหารออกลาดตระเวนหาข่าวตามหมู่บ้านริมแม่น้ำกระบุรีอยู่ราว 10 วัน ยุวชนทหารหมู่ที่บ้านน้ำจืดจับทหารอินเดียสังกัดกองทัพอังกฤษได้คนหนึ่ง สอบสวนแล้วปล่อยตัวไป
การออกปฏิบัติงานสนามครั้งนี้ได้ข่าวว่าอังกฤษไม่ได้ยกกำลังลงมาตั้งใกล้เขตแดนไทย เป็นเพียงมีทหารชาติอินเดียจำนวนเล็กน้อย เดินทางมาประจำสถานีตำรวจในเมืองมะลิวัน ทางกรุงเทพจึงเรียกกำลังยุวชนทหารกลับ
ปี 2484 มีเค้าว่าสงครามโลกจะขยายมาถึงเอเชียตะวันออกไกล ร.อ.ถวิล นิยมเสน ได้รับคำสั่งให้ฝึกประชาชนให้รู้จักทำการรบ จังหวัดชุมพรได้เรียกระดมกำนันผู้ใหญ่ให้มารวมกันที่โรงเรียนสตรีสอาดเผดิมวิทยา แล้วรับการฝึกการรบจากครูฝึกวิชาทหารของหน่วย ยุวชนทหารที่ 52 การฝึกอบรมกำนันผู้ใหญ่บ้านกระทำกันหลายรุ่น รุ่นสุดท้ายเสร็จสิ้นการฝึกในวันที่ 7 ธันวาคม 2484 และในคืนนั้นเวลา 2 นาฬิกา อันเป็นวันที่ 8 ธันวาคม 2484 กองกำลังมหึมาของญี่ปุ่นก็ยกพลขึ้นบกที่จังหวัดชายทะเลฝั่งอ่าวไทย เพื่อเดินทางผ่านประเทศไทย เข้าโจมตีมลายูและพม่าของอังกฤษ
ตอนเช้าวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เวลาประมาณ 6 นาฬิกา มีชาวบ้านตำบลท่ายางวิ่งมาที่บ้านพักของ ร.อ. ถวิล แจ้งว่ามีทหารข้าศึกจำนวนมากมายยกพลขึ้นบกที่ริมทะเล บ้านคอสน ร.อ. ถวิลรีบแต่งกายชุดลำลอง คือ หมวกทรงหม้อกาล เสื้อนอกคอตั้ง กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้นธรรมดา มีปืนพกประจำกาย 1 กระบอก ขับจักรยานไปฟังคำสั่งที่จวนข้าหลวงประจำจังหวัด ข้าหลวงฯ สั่งให้นำกำลังยุวชนทหารออกไปปะทะข้าศึกไว้ จนกว่ากำลังทหารราบกองพันที่ 38 จะเคลื่อนมาถึง ร.อ.ถวิล ได้จ่าหน่วย และสิบเอกสำราญ ควรพันธ์ไปตามตัวยุวชนทหารจากบ้านในตัวเมือง ไปพร้อมกันที่สถานีตำรวจ รับอาวุธประจำกายและกระสุนปืนแบ่งหมู่ปืนกลเบาให้ จ.ส.ต. จง แจ้งชาติ คุมยุวชนทหาร 5 คน ยกขึ้นไปทางด้านเหนือ เพื่อสะกัดข้าศึกที่เข้าใจว่ายกขึ้นที่อ่าวพนังตักอีกด้วย ส่วน ร.อ.ถวิล นิยมเสนเองคุมยุวชนทหารจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ไปทางด้านตะวันออก ยึดคอสะพานท่านางสังข์ไว้
ขณะนั้นตำรวจภูธรได้ยึดริมตลิ่งคลองท่านางสังข์ อยู่ก่อนแล้ว และเริ่มยิงกับทหารญี่ปุ่นบนฝั่งตรงข้ามประปรายยุวชนทหารและสิบเอกสำราญกำบังตัวอยู่ในคูถนนคอสะพาน ร.อ.ถวิล ออกจากคูถนนขึ้นไปยืนบังโครงเหล็กคอสะพานตรวจการณ์ดูข้าศึกที่อยู่ฝั่งตรงข้ามแล้วกลับลงมาเรียกสิบเอกสำราญ เข้ามาสั่งว่าตรวจดูแล้วไม่เห็นตัวข้าศึก ยิงไปก็เสียกระสุนปืนเปล่าจะต้องข้ามไปยึดคอสะพาน ฝั่งตรงข้ามเห็นข้าศึกแล้วจึงจะยิงกัน แล้วออกคำสั่งแก่ยุวชนทหารว่า "ตามข้าพเจ้า" ร.อ.ถวิลออกวิ่งนำแถวข้ามสะพาน ส.อ.สำราญลากหีบกระสุนปืนคืบคลานตามไปอย่างรวดเร็วข้ามสะพานไปแล้วทุ่มตัวลงกำบังในคูถนนด้านซ้ายมือ
ปรากฏว่าทหารญี่ปุ่นกำบังตัวอยู่ในป่าละเมาะคนละฝั่งถนนนั้นเอง ร.อ.ถวิลจึงสั่งยิงไปที่ทหารญี่ปุ่นกลุ่มนั้น เป็นการรบกันในระยะประชิด ห่างกันเพียงไม่เกิน 20 เมตร อาศัยว่าต่างฝ่ายต่างอยู่ในที่กำลังมิดชิดดี จึงไม่อาจทราบได้ว่ายิงถูกกันหรือไม่ จาก คอสะพานที่ยุวชนทหารข้ามไปยึดอยู่นั้น ถนนทอดตรงไปทางตะวันออกเป็นระยะทางประมาณ 300 เมตร ร.อ.ถวิลสังเกตเห็นว่าทหารญี่ปุ่นเคลื่อนที่ขึ้นถนนแล้ว ลงจากถนนเข้าป่าละเมาะด้านเดียวกับที่พวกของตนยึดอยู่และกำลังยิงโต้ตอบกันกับยุวชนทหาร
ร.อ.ถวิลตะโกนเรียก ส.อ.สำราญมาปรึกษาหาแนวยุวชนหันข้างให้ข้าศึก จะถูกยิงร้อยพวงตายหมด ดังนั้น ต้องข้ามถนนไปยึดอีกฝั่งถนน ปรับแนวเป็นหน้ากระดานเข้าต่อสู้กัน ตามระเบียบการฝึกทหารราบสมัยนั้น ถ้าแนวอยู่ห่างข้าศึกประมาณ 200 เมตร จะต้องติดดาบปลายปืนเตรียมเข้าตลุมบอนกัน ในเช้าวันนั้นยุวชนทหารอยู่ห่างข้าศึกเพียง 20 - 30 เมตร ร.อ.ถวิล จึงตะโกนสั่ง "ติดดาบ" "ตลุมบอน" "ไชโย" ทุกคนลุกขึ้นจะวิ่งข้ามถนน ญี่ปุ่นที่อยู่ด้านซ้ายมือ ร.อ.ถวิล ระดมยิงหนัก จึงต้องยุบตัวกลิ้งลงกำบังในคูถนน
ตามเดิม ร.อ.ถวิลสั่งยุวชนทหารให้ระดมยิงหนักไปยังข้าศึกด้านซ้ายมือ แล้วร้องไชโยนำเข้าตลุมบอนอีก ทุกคนวิ่งข้ามไปทิ้งตัวลงในคูถนนฝั่งตรงข้าม แล้วปรับแนวเป็นหน้ากระดานหันหน้าไปหาข้าศึกทางด้านตะวันออก เป็นการยิงในระยะใกล้เหมือนเดิม ส.อ.สำราญ คุมแถวอยู่ทางปีกขวา ทุกคนอาศัยโคนต้นมะพร้าวเป็นที่กำบัง ขณะนั้นเวลาประมาณ 7 นาฬิกา ฝนตกหนัก แต่ลมสงัด ส.อ.สำราญร้องสั่งยุวชนให้บอกกันต่อ ๆ ไปว่า ถ้าเห็นพุ่มไม้เคลื่อนไหวให้ยิงใส่พุ่มไม้นั้น ปรากฏว่ายุวชนทหารยิงข้าศึกที่พรางตัวด้วยพุ่มไม้ตายไปไม่น้อย ยิงกันอยู่ครู่หนึ่ง
จากนั้นมียุวชนทหารคลานจากด้านริมถนนไปบอก ส.อ.สำราญ ว่า ร.อ.ถวิล ถูกยิงตายเสียแล้ว ส.อ.สำราญสั่งปิดข่าวแล้วอำนวยการรบต่อไปจนตนเองถูกยิงแขนขวากระดูก แตก ต้องไปหมอบอยู่หลังแนวคอยส่งกระสุนปืนและปลอบขวัญยุวชนทหารให้รบต่อไปจนหยุดยิงกันเมื่อเวลาใกล้เที่ยงวัน
เรื่องปรากฏว่าเมื่อ ร.อ.ถวิลวิ่งนำข้ามถนนเข้าตะลุมบอนครั้งหลัง ถูกกระสุนปืนข้าศึกเข้าที่คอทะลุท้ายทอย สิ้นชีวิตอยู่ข้างยุวชนทหารคนที่อยู่ปีกซ้ายสุดนั้นเอง โดย ร.อ.ถวิล นิยมเสน ผู้นี้ ท่านเป็นผู้กล้าหาญที่ไม่หวั่นเกรงข้าศึก และนำยุวชนทหารเข้ายิงข้าศึกในระยะใกล้มาก ทั้งที่รู้ว่ากำลังรบในบังคับบัญชามีเพียงน้อยนิด เห็นแล้วว่าข้าศึกมีจำนวนมากกว่าหลายเท่านัก แต่ก็ได้นำกำลังติดดาบปลายปืนวิ่งเข้าจะรบตลุมบอนกับข้าศึก เป็นชายชาติทหารที่มุ่งจะปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เสียดายชีวิต เป็นผู้ที่ควรแก่การคารวะยิ่ง
ขอขอบพระคุณเพจสงคราม ประวัติศาสตร์