สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 19
เข้าใจว่าอ้างอิงมาจากบทความ "เจ้าขุนเณร แห่งกองทัพนินจาไทย คนสุดท้าย !" (http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=118660) ใช่มั้ยครับ
บทความนี้ไม่มีแหล่งอ้างอิงข้อมูล และมีเนื้อหาคลาดเคลื่อนจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จำนวนมากครับ เช่น
- ออกญาเสนาภิมุข หรือ ยามาดะ นางามาสะ มีหลักฐานว่าเดินทางเข้ามาในสยามใน พ.ศ. ๒๑๕๕ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ไม่ใช่สมเด็จพระนเรศวร และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชใน พ.ศ. ๒๑๗๒ รัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เนื่องจากเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ (สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) ทรงระแวงทหารอาสาญี่ปุ่น จึงหาเหตุส่งตัวออกญาเสนาภิมุขกับทหารอาสาญี่ปุ่นทั้งหมดให้ไปอยู่เมืองนครศรีธรรมราชให้ไกลจากส่วนกลาง
- กองอาทมาต เป็นหน่วยลาดตระเวนสืบข่าว ในพระราชกำหนดเก่าสมัยอยุทธยาตอนปลายพบว่ามีประจำอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ไม่ใช่ "กองอาสาพิเศษ จะใช้ในราชการพิเศษเท่านั้น" ไม่ใช่หน่วยรบทะลวงฟัน เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ยกสถานะขึ้นเป็นกรมในสังกัดกรมอาสามอญ เพราะมักใช้ชาวมอญเข้าไปสืบราชการในบริเวณชายแดนของพม่าซึ่งมีชาวมอญอาศัยอยู่จำนวนมาก มีการจัดตั้งกรมอาทมาตซ้ายขวาอยู่ในสังกัดกรมอาสามอญ พระยารัตนจักรเป็นเจ้ากรมอาทมาตขวา พระยาภักดีสงครามเป็นเจ้ากรมอาทมาตซ้าย (สันนิษฐานว่าคงตั้งขึ้นเป็นกรมในราวรัชกาลที่ ๒ เนื่องจากไม่ปรากฏกรมอาทมาตในพระไอยการตำแหน่งนาทหารในกฎหมายตราสามดวง สมัยรัชกาลที่ ๑) ปรากฏใน "บัญชีกองทัพเจ้าคุณ (เจ้าพระยาบดินทรเดชา) ยกไปปัตบอง ณ วันเดือนยี่ปีกุนเอกศก (พ.ศ. ๒๓๘๒)" กล่าวถึงรายชื่ออาทมาตซ้ายขวา ส่วนใหญ่มีชื่อขึ้นต้นว่า "สมิง" ซึ่งเป็นตำแหน่งของขุนนางมอญ
อย่างไรก็ตาม กองอาทมาตไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นชาวมอญเท่านั้น เพราะโดยหน้าที่แล้วเป็นกองลาดตระเวนสืบข่าว จึงสามารถใช้ชนชาติอื่นก็ได้ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีครัวแถบล้านช้างอพยพลงมาอยู่ในแถบภาคอีสานจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตั้งด่านไว้ฟากโขงตะวันออกคอยลาดตระเวนระวังสืบสวนว่าญวนจะยกข้ามฟากมากวาดต้อนเอาครอบครัวนั้นคืนกลับไป นอกจากนี้ยังให้ "คานบุตรดีกองอาทมาตตั้งด่านที่เขตต์แดนเมืองแพรกตำบล ๑" ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๘๗ ได้ยกกองอาทมาตบ้านหายโศกเป็นเมืองอาทมาตขึ้นต่อเมืองนครพนม และให้ฆานบุดดี (คานบุตรดี) หัวหน้ากองซึ่งเป็นชาวไทแสก เป็นหลวงเอกอาสา เจ้าเมืองอาทมาตคนแรก
- พระองค์เจ้าขุนเณรไม่ได้ทรงเกี่ยวข้องกับนินจาญี่ปุ่นหรือกองอาทมาต พระราชพงศาวดารให้ข้อมูลเพียงว่าในสงครามเก้าทัพพระองค์เป็นนายทัพกองโจร แต่งทหารเป็นกองโจรไปคอยสกัดตีกองลำเลียงพม่าเท่านั้น สามารถจับช้างพม่าโคส่งมาถวายได้เนืองๆ ต่อมาในสงครามปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์สมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงคุมคนโทษเป็นกองโจรร่วมไปในทัพหลวง
คำว่า "กองโจร" ในสมัยโบราณก็มีความหมายเพียงว่าเป็นหน่วยรบแบบโจรที่คอยดักซุ่มโจมตีหรือดักปล้นเสบียงยุทธปัจจัยข้าศึก ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกับนินจาเลยครับ
- สยามกับญี่ปุ่นเคยติดต่อค้าขายกันโดยตรงมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ญี่ปุ่นจึงออกกฎหมายปิดประเทศ ห้ามชาวญี่ปุ่นเข้าออกประเทศโดยเด็ดขาด ผู้ฝ่าฝืนมีโทษประหาร และจำกัดการค้าต่างประเทศไว้กับบางชาติในเมืองท่าที่กำหนดเท่านั้น จึงไม่มีชาวญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาในสยามอีกเลย แต่สยามยังค้าขายกับญี่ปุ่นได้โดยการว่าจ้างชาวจีนให้ไปทำการค้าที่เมืองนางาซากิแทน
ชาวญี่ปุ่นที่เหลืออยู่ในสยามไม่ได้มีมากนัก เพราะก่อนที่ญี่ปุ่นจะปิดประเทศเคยถูกพระเจ้าปราสาททองปราบปรามไปครั้งหนึ่งใน พ.ศ. ๒๑๗๓ แต่ก็พบว่ายังมีชาวญี่ปุ่นอยู่ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์และสมเด็จพระเพทราชา แต่ในสมัยอยุทธยาตอนปลายชาวญี่ปุ่นน่าจะกลมกลืนกลายเป็นคนพื้นเมืองไปหมดแล้ว และหมู่บ้านญี่ปุ่นคงร้างไป เพราะปรากฏว่าในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ พ.ศ. ๒๒๖๑ คณะทูตสเปนจากมะนิลาเข้ามามาเจริญสัมพันธไมตรีมีการทำข้อตกลงว่าสยามจะยกที่ดินหมู่บ้านญี่ปุ่นให้สเปนใช้สร้างที่อยู่อาศัย ตั้งสถานีการค้า จอดเรือ (แต่ไม่ได้ยกให้เนื่องจากเกิดการรัฐประหารในมะนิลาเสียก่อน) เมื่อถึงรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก็พบว่าหมู่บ้านญี่ปุ่นกลายเป็นที่อยู่ของญวนเข้ารีตแทน หลักฐานอีกชิ้นคือเอกสาร “คำให้การขุนหลวงหาวัดประดู่ทรงธรรม” สมัยอยุทธยาตอนปลายก็ระบุว่าคนในหมู่บ่านญี่ปุ่นเป็นคนไทย
รายละเอียดอ่านเพิ่มได้ที่
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1283335805063220/
สรุปแล้วเรื่องชาวญี่ปุ่นมาสอนวิชานินจาให้พระองค์เจ้าขุนเณร เป็นเพียงเรื่องที่คนยุคปัจจุบันแต่งขึ้นโดยขาดหลักฐานทางประวัติศาสตร์รองรับครับ
บทความนี้ไม่มีแหล่งอ้างอิงข้อมูล และมีเนื้อหาคลาดเคลื่อนจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จำนวนมากครับ เช่น
- ออกญาเสนาภิมุข หรือ ยามาดะ นางามาสะ มีหลักฐานว่าเดินทางเข้ามาในสยามใน พ.ศ. ๒๑๕๕ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ไม่ใช่สมเด็จพระนเรศวร และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชใน พ.ศ. ๒๑๗๒ รัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เนื่องจากเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ (สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) ทรงระแวงทหารอาสาญี่ปุ่น จึงหาเหตุส่งตัวออกญาเสนาภิมุขกับทหารอาสาญี่ปุ่นทั้งหมดให้ไปอยู่เมืองนครศรีธรรมราชให้ไกลจากส่วนกลาง
- กองอาทมาต เป็นหน่วยลาดตระเวนสืบข่าว ในพระราชกำหนดเก่าสมัยอยุทธยาตอนปลายพบว่ามีประจำอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ไม่ใช่ "กองอาสาพิเศษ จะใช้ในราชการพิเศษเท่านั้น" ไม่ใช่หน่วยรบทะลวงฟัน เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ยกสถานะขึ้นเป็นกรมในสังกัดกรมอาสามอญ เพราะมักใช้ชาวมอญเข้าไปสืบราชการในบริเวณชายแดนของพม่าซึ่งมีชาวมอญอาศัยอยู่จำนวนมาก มีการจัดตั้งกรมอาทมาตซ้ายขวาอยู่ในสังกัดกรมอาสามอญ พระยารัตนจักรเป็นเจ้ากรมอาทมาตขวา พระยาภักดีสงครามเป็นเจ้ากรมอาทมาตซ้าย (สันนิษฐานว่าคงตั้งขึ้นเป็นกรมในราวรัชกาลที่ ๒ เนื่องจากไม่ปรากฏกรมอาทมาตในพระไอยการตำแหน่งนาทหารในกฎหมายตราสามดวง สมัยรัชกาลที่ ๑) ปรากฏใน "บัญชีกองทัพเจ้าคุณ (เจ้าพระยาบดินทรเดชา) ยกไปปัตบอง ณ วันเดือนยี่ปีกุนเอกศก (พ.ศ. ๒๓๘๒)" กล่าวถึงรายชื่ออาทมาตซ้ายขวา ส่วนใหญ่มีชื่อขึ้นต้นว่า "สมิง" ซึ่งเป็นตำแหน่งของขุนนางมอญ
อย่างไรก็ตาม กองอาทมาตไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นชาวมอญเท่านั้น เพราะโดยหน้าที่แล้วเป็นกองลาดตระเวนสืบข่าว จึงสามารถใช้ชนชาติอื่นก็ได้ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีครัวแถบล้านช้างอพยพลงมาอยู่ในแถบภาคอีสานจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตั้งด่านไว้ฟากโขงตะวันออกคอยลาดตระเวนระวังสืบสวนว่าญวนจะยกข้ามฟากมากวาดต้อนเอาครอบครัวนั้นคืนกลับไป นอกจากนี้ยังให้ "คานบุตรดีกองอาทมาตตั้งด่านที่เขตต์แดนเมืองแพรกตำบล ๑" ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๘๗ ได้ยกกองอาทมาตบ้านหายโศกเป็นเมืองอาทมาตขึ้นต่อเมืองนครพนม และให้ฆานบุดดี (คานบุตรดี) หัวหน้ากองซึ่งเป็นชาวไทแสก เป็นหลวงเอกอาสา เจ้าเมืองอาทมาตคนแรก
- พระองค์เจ้าขุนเณรไม่ได้ทรงเกี่ยวข้องกับนินจาญี่ปุ่นหรือกองอาทมาต พระราชพงศาวดารให้ข้อมูลเพียงว่าในสงครามเก้าทัพพระองค์เป็นนายทัพกองโจร แต่งทหารเป็นกองโจรไปคอยสกัดตีกองลำเลียงพม่าเท่านั้น สามารถจับช้างพม่าโคส่งมาถวายได้เนืองๆ ต่อมาในสงครามปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์สมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงคุมคนโทษเป็นกองโจรร่วมไปในทัพหลวง
คำว่า "กองโจร" ในสมัยโบราณก็มีความหมายเพียงว่าเป็นหน่วยรบแบบโจรที่คอยดักซุ่มโจมตีหรือดักปล้นเสบียงยุทธปัจจัยข้าศึก ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกับนินจาเลยครับ
- สยามกับญี่ปุ่นเคยติดต่อค้าขายกันโดยตรงมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ญี่ปุ่นจึงออกกฎหมายปิดประเทศ ห้ามชาวญี่ปุ่นเข้าออกประเทศโดยเด็ดขาด ผู้ฝ่าฝืนมีโทษประหาร และจำกัดการค้าต่างประเทศไว้กับบางชาติในเมืองท่าที่กำหนดเท่านั้น จึงไม่มีชาวญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาในสยามอีกเลย แต่สยามยังค้าขายกับญี่ปุ่นได้โดยการว่าจ้างชาวจีนให้ไปทำการค้าที่เมืองนางาซากิแทน
ชาวญี่ปุ่นที่เหลืออยู่ในสยามไม่ได้มีมากนัก เพราะก่อนที่ญี่ปุ่นจะปิดประเทศเคยถูกพระเจ้าปราสาททองปราบปรามไปครั้งหนึ่งใน พ.ศ. ๒๑๗๓ แต่ก็พบว่ายังมีชาวญี่ปุ่นอยู่ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์และสมเด็จพระเพทราชา แต่ในสมัยอยุทธยาตอนปลายชาวญี่ปุ่นน่าจะกลมกลืนกลายเป็นคนพื้นเมืองไปหมดแล้ว และหมู่บ้านญี่ปุ่นคงร้างไป เพราะปรากฏว่าในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ พ.ศ. ๒๒๖๑ คณะทูตสเปนจากมะนิลาเข้ามามาเจริญสัมพันธไมตรีมีการทำข้อตกลงว่าสยามจะยกที่ดินหมู่บ้านญี่ปุ่นให้สเปนใช้สร้างที่อยู่อาศัย ตั้งสถานีการค้า จอดเรือ (แต่ไม่ได้ยกให้เนื่องจากเกิดการรัฐประหารในมะนิลาเสียก่อน) เมื่อถึงรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก็พบว่าหมู่บ้านญี่ปุ่นกลายเป็นที่อยู่ของญวนเข้ารีตแทน หลักฐานอีกชิ้นคือเอกสาร “คำให้การขุนหลวงหาวัดประดู่ทรงธรรม” สมัยอยุทธยาตอนปลายก็ระบุว่าคนในหมู่บ่านญี่ปุ่นเป็นคนไทย
รายละเอียดอ่านเพิ่มได้ที่
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1283335805063220/
สรุปแล้วเรื่องชาวญี่ปุ่นมาสอนวิชานินจาให้พระองค์เจ้าขุนเณร เป็นเพียงเรื่องที่คนยุคปัจจุบันแต่งขึ้นโดยขาดหลักฐานทางประวัติศาสตร์รองรับครับ
แสดงความคิดเห็น
จริงหรือไม่ สงครามเก้าทัพที่พม่ารบแพ้สยาม(ไทย)เพราะพระองค์เจ้าขุณเณรได้นินจาจากญี่ปุ่นมาสอนวิชาการรบให้
ผู้เขียนสงสัยว่า
1.นินจาจากญี่ปุ่นมาได้ยังไง
2.แล้วศาสตร์การรบแบบนินจา มงในไทยมีผู้สืบทอดอยู่ไหมฮะ