EP6 วางแผนการรักษา “ฉันจะต้องนอนนิ่งๆ อย่างนี้ไปอีกกี่วัน!!??”
Diary for Herniated Nucleus Pulposus (HNP) one stop service
บันทึกการรักษาของคนไข้โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท (ผ่านการรักษามาแล้วทุกวิธีที่หาได้ ครบจบในคนเดียว!!)
โดยทั่วไปแพทย์จะประเมินอาการและแนะนำคนไข้เรื่องแผนการรักษาอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่สามารถบอกได้ทั้งหมดว่าจะใช้เวลากี่วัน กี่เดือน ต้องใช้วิธีไหนบ้าง เพราะคนไข้แต่ละคนมีพยาธิสภาพต่างกัน เราแนะนำว่าให้คนไข้สังเกตอาการตัวเองอย่างใกล้ชิดว่า นั่งได้ไหม เดินได้ไหม ได้นานเท่าไร ไกลกี่เมตร ทำท่าทางแบบไหน แล้วเจ็บ ปวดขามาก น้อย มีอาการอื่น เช่น ชากล้ามเนื้อ อ่อนแรง หรือลุกยืนแล้วล้มลงเลยหรือไม่ ข้อมูลพวกนี้เราสังเกตตัวเองและคุยกับแพทย์อย่างละเอียด เพื่อวางแผนการรักษาได้เหมาะสมมากที่สุด
จากการพบแพทย์ทั้ง 4 ท่านและผ่านการรักษามาทุกรูปแบบ (เท่าที่เราหาได้) สรุปว่ามีค่าใช้จ่ายและระยะเวลาคร่าวๆ ดังนี้คะ;
1) Conservative treatment นอนพักกินยา รักษาตามอาการ ต่อครั้งที่ไปพบแพทย์ก็ประมาณ 1,000-2,000 บาท บวกค่าทำกายภาพอีกครั้งละประมาณ 500 บาท 2 อาทิตย์หรือนานเป็นเดือนๆ ที่ต้องตามดูอาการกับแพทย์ไปเรื่อยๆ
2) EDSI ประมาณ 9,000-10,000 บาท / shot และ admit 1 คืน (จริงๆ แล้วคนไข้ไม่ต้อง admit หรอกคะ ทำเป็น day case OPD ได้เลย แต่เรา admit เพื่อดู side effect เพื่อความปลอดภัยของเราเอง) หมอ 4 บอกว่า EDSI 1 shot อาจช่วยประคองอาการคนไข้ได้หลายเดือนหรือเป็นปี ขึ้นกับอาการแต่ละคนนะคะ
3) Surgical treatment, case ของเราคือ Microdiscectomy / 1 ตำแหน่ง 200,000 บาท รวมการ 5 วันในห้องพักแบบส่วนตัว คือถ้าคนไข้ต้องตัด disc หลายข้อหลายตำแหน่ง ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นและค่ามือหมอแต่ละคนไม่เท่ากันนะคะ
ทั้ง 3 steps มีความจำเป็นต่างกัน ให้ผลการรักษาต่างกันและค่าใช้จ่ายต่างกันลิบลับ
ทั้งหมดนี้คือตัวเลขคร่าวๆ ของเรากับการรักษาใน รพ. กึ่งเอกชนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ค่าใช้จ่ายไม่ได้แพงมากแต่ได้คุณภาพดี ในความคิดเรานะคะ ทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทุกคนใจดี ดูแลเราดีมาก (เรา re-admit เวียนเข้า-ออกหลายครั้งจนเขาจำเราได้กันเกือบทั้ง รพ. แล้วคะ) จริงๆ ต้องบอกว่าเราไม่ได้เลือกที่ค่าใช้จ่าย แต่เลือกแพทย์คือหมอ 4 เป็นหลัก ท่านเป็นอาจารย์แพทย์และทำงานให้คณะแพทย์ที่เดียว เราก็เลยไม่ต้องเลือก รพ. เพราะต้องตามหมอ 4 มา ฮ่า ฮ่า ถ้าเพื่อนๆ รู้สึกเชื่อถืออาจารย์แพทย์มากกว่า เท่าที่เรารู้สมัยนี้อาจารย์แพทย์หลายๆ ท่านก็ออกเวรใน รพ. เอกชนหลายที่ เผื่อใครอยากได้ความสะดวกสบายมากกว่าหรือการรักษาแบบรวดเร็วขึ้น เท่าที่เรารู้โดยส่วนมากพนักงานบริษัทเอกชนจะมีประกันสังคมตามกฎหมายอยู่แล้ว และเราต้องเลือก รพ. ที่เราจะไปใช้ประกันนี้ คนไข้ก็ไม่ต้องเลือก รพ. ละนะ เพราะเลือกไม่ได้ (ถ้าเขาไม่ได้ทำประกันสุขภาพเอกชนเพิ่มให้นะ) case ของเรา ไปลองคุยกับหมอ 2 ที่ รพ. ที่เราเลือกประกันสังคมไว้ แต่เราไม่ค่อย ok กับบริการโดยรวม เราคิดว่าช้าและไม่ค่อยใส่ใจถึงแม้เราใช้ประกันเอกชนจ่ายให้ก็เถอะ และเราอาจจะคุยกับหมอ 2 แล้ว เราคาดหวังการ support ที่ดีกว่านี้ เราก็เลยไม่สนประกันสังคม เปลี่ยน รพ. มาเป็นเอกชนเพื่อพบหมอ 3 ผู้ที่ใจดีมากๆๆๆๆ support และเข้าใจเรามากๆ โดยใช้ประกันเอกชนของบริษัทจ่าย เราคิดเผื่อไว้แล้วคะ ว่าถ้าต้องผ่าตัด แน่นอนค่าใช้จ่ายสูงมาก เราก็ ok เพราะเรามีประกันสุขภาพเอกชนส่วนตัวของตัวเองไว้ด้วย ทำไว้วงเงินสูงพอที่จะรองรับได้ทุกๆ รพ. ที่เราจะเลือกเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดกับตัวเราเอง โดยส่วนตัวเราอยากแนะนำว่าเพื่อนๆ ที่เริ่มทำงานมีรายได้กันแล้ว ควรกันเงินส่วนหนึ่งไว้ทำประกันสุขภาพเอกชนให้ตัวเองนะคะ ทำตั้งแต่อายุยังน้อยตอนสุขภาพเรายังดีก็จะจ่ายเบี้ยประกันน้อยและครอบคลุมโรคได้มาก (อย่าเพิ่งเอาเงินไปเที่ยวหมดละ ฮ่า ฮ่า) ชีวิตเป็นของไม่แน่นอน (พระท่านว่า ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน สาธุ…) ไม่ว่าเราจะใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังแค่ไหน แต่มัน control external factor ไม่ได้นะคะ อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ ทำประกันสุขภาพกันไว้ดีกว่า เพราะเราเห็นใน TV หลายๆ คนเล่าว่าพอเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยก็ใช้เงินเก็บกันเป็นหลักล้านจนหมดเพื่อรักษาตัว ในที่นี้ถ้าไปกระทบใจใคร ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ
การวางแผนเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไข้ ครอบครัวและการงานด้วย ใน case ของเราเมื่อได้แผนคร่าวๆ มาจากหมอ 3 และหมอ 4 แล้ว เราก็ต้องคุยกับ Supervisor / Manager หรือทุกคนที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่บริษัทที่คุณทำงานนะคะ ว่าเขามีระเบียบการลางาน การจ่ายเงินช่วยเหลืออย่างไร ระหว่างการรักษาตัวทีมเพื่อนร่วมงานจะช่วยทำงานอะไรแทนเราได้บ้าง หรือจะปรับการทำงานยังไง คนไข้บางคนอาการไม่หนักก็อาจจะไป office แล้วนั่งสลับขอนอนพักได้หรือของานมาทำที่บ้าน หลายๆ อาชีพตอนนี้ก็เป็น online แบบทำที่ไหนก็ได้ที่มี internet ก็จะสบายหน่อย แต่เรานั่งไม่ได้เลย นอนยาวๆ ทั้งวันทั้งคืน ก็ต้องหยุดงาน มาอยู่บ้านและรพ. เป็นหลัก เราโชคดีที่บริษัทเขาดีมากๆ เข้าใจและช่วยเต็มที่ เราใช้วันลาป่วยเต็ม 30 วันตามกฎหมายแรงงานบวกกับวันลาพักร้อนมาช่วยเสริมด้วย เพราะเรานอนรักษาตัว admit ยาวรวมๆ แล้วเกือบ 3 เดือน เรายังได้รับเงินและใช้ benefit ได้ตามปกติ ก็ใช้ประกันสุขภาพของบริษัทซึ่งช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายได้เยอะมากในการ admit และค่าแพทย์ ค่ายา ทำกายภาพบำบัด
ต้องขอบคุณทางบริษัทและเพื่อนๆ ทีมที่เราทำงานด้วยเป็นอย่างมาก ที่ช่วยประคับประคองให้เราผ่านช่วงเวลายากลำบากมาได้อย่างเรียบร้อย
ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ช่วยกัน share review นี้ออกไป เพื่อเป็นความรู้และกำลังใจ เราพบว่ามีคนรอบๆ ตัวเริ่มป่วยเป็นโรคนี้เยอะมากขึ้น ด้วยอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ ให้กำลังใจทุกๆ คนนะคะ
ถ้าเพื่อนๆ หรือคนไข้คนไหนสนใจอยากรู้รายละเอียดว่าเรารักษาที่ รพ. ไหนกับแพทย์คนไหนบ้าง อยากถามเพิ่มเติม ติดต่อมาได้เลย เรายินดีช่วยคะ ถ้าอยู่จังหวัดใกล้ๆ กันกับเรา ก็คงได้มาเลือก รพ. ที่นี่หรือมีแพทย์ที่ดีพร้อมที่จะช่วยเหลือคนไข้หลายคนมากคะ แต่เราว่าหมอใจดี คุณอาจจะว่าไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเข้าใจ พอใจของแต่ละคนนะคะ ในที่นี้ไม่มีโฆษณาประกันหรือแพทย์อะไรทั้งสิ้นนะคะ ไม่มีการผิดใจกับหมอไหนทั้งสิ้นนะคะ เล่าให้ฟังเผื่อมีประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่วางแผนการเงิน งาน สุขภาพ กับคนไข้และครอบครัวที่ต้องตัดสินใจ
เราขอขอบคุณทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ช่วยเหลือเราให้ผ่านช่วงเวลาการรักษาโรคไปด้วยดี ขอบคุณคะ
วันนี้คนไข้ HNP L5-S1 Microdiscectomy ต้องขอลาไปก่อน ขอบคุณสำหรับการติดตามและพบกันใน EP ต่อไป สวัสดีคะ
Diary for Herniated Nucleus Pulposus (HNP) บันทึกการรักษาของคนไข้โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท EP6
Diary for Herniated Nucleus Pulposus (HNP) one stop service
บันทึกการรักษาของคนไข้โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท (ผ่านการรักษามาแล้วทุกวิธีที่หาได้ ครบจบในคนเดียว!!)
โดยทั่วไปแพทย์จะประเมินอาการและแนะนำคนไข้เรื่องแผนการรักษาอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่สามารถบอกได้ทั้งหมดว่าจะใช้เวลากี่วัน กี่เดือน ต้องใช้วิธีไหนบ้าง เพราะคนไข้แต่ละคนมีพยาธิสภาพต่างกัน เราแนะนำว่าให้คนไข้สังเกตอาการตัวเองอย่างใกล้ชิดว่า นั่งได้ไหม เดินได้ไหม ได้นานเท่าไร ไกลกี่เมตร ทำท่าทางแบบไหน แล้วเจ็บ ปวดขามาก น้อย มีอาการอื่น เช่น ชากล้ามเนื้อ อ่อนแรง หรือลุกยืนแล้วล้มลงเลยหรือไม่ ข้อมูลพวกนี้เราสังเกตตัวเองและคุยกับแพทย์อย่างละเอียด เพื่อวางแผนการรักษาได้เหมาะสมมากที่สุด
จากการพบแพทย์ทั้ง 4 ท่านและผ่านการรักษามาทุกรูปแบบ (เท่าที่เราหาได้) สรุปว่ามีค่าใช้จ่ายและระยะเวลาคร่าวๆ ดังนี้คะ;
1) Conservative treatment นอนพักกินยา รักษาตามอาการ ต่อครั้งที่ไปพบแพทย์ก็ประมาณ 1,000-2,000 บาท บวกค่าทำกายภาพอีกครั้งละประมาณ 500 บาท 2 อาทิตย์หรือนานเป็นเดือนๆ ที่ต้องตามดูอาการกับแพทย์ไปเรื่อยๆ
2) EDSI ประมาณ 9,000-10,000 บาท / shot และ admit 1 คืน (จริงๆ แล้วคนไข้ไม่ต้อง admit หรอกคะ ทำเป็น day case OPD ได้เลย แต่เรา admit เพื่อดู side effect เพื่อความปลอดภัยของเราเอง) หมอ 4 บอกว่า EDSI 1 shot อาจช่วยประคองอาการคนไข้ได้หลายเดือนหรือเป็นปี ขึ้นกับอาการแต่ละคนนะคะ
3) Surgical treatment, case ของเราคือ Microdiscectomy / 1 ตำแหน่ง 200,000 บาท รวมการ 5 วันในห้องพักแบบส่วนตัว คือถ้าคนไข้ต้องตัด disc หลายข้อหลายตำแหน่ง ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นและค่ามือหมอแต่ละคนไม่เท่ากันนะคะ
ทั้ง 3 steps มีความจำเป็นต่างกัน ให้ผลการรักษาต่างกันและค่าใช้จ่ายต่างกันลิบลับ
ทั้งหมดนี้คือตัวเลขคร่าวๆ ของเรากับการรักษาใน รพ. กึ่งเอกชนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ค่าใช้จ่ายไม่ได้แพงมากแต่ได้คุณภาพดี ในความคิดเรานะคะ ทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทุกคนใจดี ดูแลเราดีมาก (เรา re-admit เวียนเข้า-ออกหลายครั้งจนเขาจำเราได้กันเกือบทั้ง รพ. แล้วคะ) จริงๆ ต้องบอกว่าเราไม่ได้เลือกที่ค่าใช้จ่าย แต่เลือกแพทย์คือหมอ 4 เป็นหลัก ท่านเป็นอาจารย์แพทย์และทำงานให้คณะแพทย์ที่เดียว เราก็เลยไม่ต้องเลือก รพ. เพราะต้องตามหมอ 4 มา ฮ่า ฮ่า ถ้าเพื่อนๆ รู้สึกเชื่อถืออาจารย์แพทย์มากกว่า เท่าที่เรารู้สมัยนี้อาจารย์แพทย์หลายๆ ท่านก็ออกเวรใน รพ. เอกชนหลายที่ เผื่อใครอยากได้ความสะดวกสบายมากกว่าหรือการรักษาแบบรวดเร็วขึ้น เท่าที่เรารู้โดยส่วนมากพนักงานบริษัทเอกชนจะมีประกันสังคมตามกฎหมายอยู่แล้ว และเราต้องเลือก รพ. ที่เราจะไปใช้ประกันนี้ คนไข้ก็ไม่ต้องเลือก รพ. ละนะ เพราะเลือกไม่ได้ (ถ้าเขาไม่ได้ทำประกันสุขภาพเอกชนเพิ่มให้นะ) case ของเรา ไปลองคุยกับหมอ 2 ที่ รพ. ที่เราเลือกประกันสังคมไว้ แต่เราไม่ค่อย ok กับบริการโดยรวม เราคิดว่าช้าและไม่ค่อยใส่ใจถึงแม้เราใช้ประกันเอกชนจ่ายให้ก็เถอะ และเราอาจจะคุยกับหมอ 2 แล้ว เราคาดหวังการ support ที่ดีกว่านี้ เราก็เลยไม่สนประกันสังคม เปลี่ยน รพ. มาเป็นเอกชนเพื่อพบหมอ 3 ผู้ที่ใจดีมากๆๆๆๆ support และเข้าใจเรามากๆ โดยใช้ประกันเอกชนของบริษัทจ่าย เราคิดเผื่อไว้แล้วคะ ว่าถ้าต้องผ่าตัด แน่นอนค่าใช้จ่ายสูงมาก เราก็ ok เพราะเรามีประกันสุขภาพเอกชนส่วนตัวของตัวเองไว้ด้วย ทำไว้วงเงินสูงพอที่จะรองรับได้ทุกๆ รพ. ที่เราจะเลือกเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดกับตัวเราเอง โดยส่วนตัวเราอยากแนะนำว่าเพื่อนๆ ที่เริ่มทำงานมีรายได้กันแล้ว ควรกันเงินส่วนหนึ่งไว้ทำประกันสุขภาพเอกชนให้ตัวเองนะคะ ทำตั้งแต่อายุยังน้อยตอนสุขภาพเรายังดีก็จะจ่ายเบี้ยประกันน้อยและครอบคลุมโรคได้มาก (อย่าเพิ่งเอาเงินไปเที่ยวหมดละ ฮ่า ฮ่า) ชีวิตเป็นของไม่แน่นอน (พระท่านว่า ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน สาธุ…) ไม่ว่าเราจะใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังแค่ไหน แต่มัน control external factor ไม่ได้นะคะ อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ ทำประกันสุขภาพกันไว้ดีกว่า เพราะเราเห็นใน TV หลายๆ คนเล่าว่าพอเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยก็ใช้เงินเก็บกันเป็นหลักล้านจนหมดเพื่อรักษาตัว ในที่นี้ถ้าไปกระทบใจใคร ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ
การวางแผนเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไข้ ครอบครัวและการงานด้วย ใน case ของเราเมื่อได้แผนคร่าวๆ มาจากหมอ 3 และหมอ 4 แล้ว เราก็ต้องคุยกับ Supervisor / Manager หรือทุกคนที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่บริษัทที่คุณทำงานนะคะ ว่าเขามีระเบียบการลางาน การจ่ายเงินช่วยเหลืออย่างไร ระหว่างการรักษาตัวทีมเพื่อนร่วมงานจะช่วยทำงานอะไรแทนเราได้บ้าง หรือจะปรับการทำงานยังไง คนไข้บางคนอาการไม่หนักก็อาจจะไป office แล้วนั่งสลับขอนอนพักได้หรือของานมาทำที่บ้าน หลายๆ อาชีพตอนนี้ก็เป็น online แบบทำที่ไหนก็ได้ที่มี internet ก็จะสบายหน่อย แต่เรานั่งไม่ได้เลย นอนยาวๆ ทั้งวันทั้งคืน ก็ต้องหยุดงาน มาอยู่บ้านและรพ. เป็นหลัก เราโชคดีที่บริษัทเขาดีมากๆ เข้าใจและช่วยเต็มที่ เราใช้วันลาป่วยเต็ม 30 วันตามกฎหมายแรงงานบวกกับวันลาพักร้อนมาช่วยเสริมด้วย เพราะเรานอนรักษาตัว admit ยาวรวมๆ แล้วเกือบ 3 เดือน เรายังได้รับเงินและใช้ benefit ได้ตามปกติ ก็ใช้ประกันสุขภาพของบริษัทซึ่งช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายได้เยอะมากในการ admit และค่าแพทย์ ค่ายา ทำกายภาพบำบัด
ต้องขอบคุณทางบริษัทและเพื่อนๆ ทีมที่เราทำงานด้วยเป็นอย่างมาก ที่ช่วยประคับประคองให้เราผ่านช่วงเวลายากลำบากมาได้อย่างเรียบร้อย
ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ช่วยกัน share review นี้ออกไป เพื่อเป็นความรู้และกำลังใจ เราพบว่ามีคนรอบๆ ตัวเริ่มป่วยเป็นโรคนี้เยอะมากขึ้น ด้วยอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ ให้กำลังใจทุกๆ คนนะคะ
ถ้าเพื่อนๆ หรือคนไข้คนไหนสนใจอยากรู้รายละเอียดว่าเรารักษาที่ รพ. ไหนกับแพทย์คนไหนบ้าง อยากถามเพิ่มเติม ติดต่อมาได้เลย เรายินดีช่วยคะ ถ้าอยู่จังหวัดใกล้ๆ กันกับเรา ก็คงได้มาเลือก รพ. ที่นี่หรือมีแพทย์ที่ดีพร้อมที่จะช่วยเหลือคนไข้หลายคนมากคะ แต่เราว่าหมอใจดี คุณอาจจะว่าไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเข้าใจ พอใจของแต่ละคนนะคะ ในที่นี้ไม่มีโฆษณาประกันหรือแพทย์อะไรทั้งสิ้นนะคะ ไม่มีการผิดใจกับหมอไหนทั้งสิ้นนะคะ เล่าให้ฟังเผื่อมีประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่วางแผนการเงิน งาน สุขภาพ กับคนไข้และครอบครัวที่ต้องตัดสินใจ
เราขอขอบคุณทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ช่วยเหลือเราให้ผ่านช่วงเวลาการรักษาโรคไปด้วยดี ขอบคุณคะ
วันนี้คนไข้ HNP L5-S1 Microdiscectomy ต้องขอลาไปก่อน ขอบคุณสำหรับการติดตามและพบกันใน EP ต่อไป สวัสดีคะ