มักมีคำกล่าวว่า "ให้ทำใจ"
เมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นในชีวิตของใครผู้ใดผู้หนึ่ง
คนไทยเราจะใช้คำนี้บ่อยมากหรืออาจเป็นมาตรฐานเลยก็ว่าได้
แท้จริงแล้วใจนี่ทำไม่ได้นะท่าน
ใจนี่ไม่ได้มีไว้เพื่อให้เข้าไปกระทำนะท่าน
และในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้มาฝึก "ทำใจ"
แต่มาศึกษาเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของใจ
เข้าใจความเป็นจริงของจิตใจ
เมื่อเข้าใจ - ใจแล้ว แจ่มแจ้งในใจแล้ว ก็จะไม่ทุกข์ใจอีกต่อไป
และแน่นอนว่า ถ้าจะให้เข้าใจ - ใจ ก็จะต้องไม่ไป "ทำใจ"
ไม่เข้าไปทำอะไรใจ
เพราะทำใจมาตลอดหรือเปล่าจึงไม่สามารถที่จะเข้าใจ - ใจได้
ก็เลยต้องทุกข์ใจ เป็นทุกข์ใจมานานแลฯ
ดังนั้นคำสอนใดที่สอนให้ "ทำใจ" สอนให้เข้าไปกระทำใจ
จึงยังถือว่าเป็นการสอนที่ยังไม่พ้นไปจากทุกข์ได้
(ยังไม่พ้นเพราะยังต้อง "ทำ" อยู่)
เมื่อมีการสอนให้ทำใจ ก็จะเกิดการเข้าใจว่าใจเป็นของเรา
เราเป็นเจ้าของใจ
และเมื่อเข้าใจว่าใจเป็นของเรา หรือเราเป็นเจ้าของใจ
ก็จะเข้าไปทำการบังคับใจ ควบคุมจิตใจ เพื่อให้อยู่ในอำนาจ
ยิ่งเป็นการไปเพิ่มให้เกิด "อัตตา" ยิ่งๆ ขึ้น
ยิ่งไปปฏิบัติหรือปฏิบัติไปๆ อัตตาก็จะยิ่งเพิ่มพูนทวียิ่งขึ้นๆ
แท้จริงแล้ว "ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา"
(สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา)
ถ้าเราไปมีอัตตา (คือพยายามบังคับ)
กับอนัตตา (สภาพที่บังคับไม่ได้)
เราก็จะมีส่วนแห่งความเป็นบ้า!
ที่ผ่านๆ มา เราบ้ามาตลอดหรือเปล่า?
เพราะถูกสอนให้บ้าหรือเปล่า!
เพราะมีคำสอนที่สอนเพื่อให้บ้าหรือเปล่า!
ตื่นกันได้แล้วท่าน ช่วงเวลาแห่งการตื่นได้มาถึงแล้ว
อย่าทำใจ
จากหนังสือ เพียงแค่รู้ (ฉบับปรับปรุง) ของ พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
http://ppantip.com/topic/32607835
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช (ซ้าย) - พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ(ขวา)
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=795017634013235&set=gm.1130843527017473&type=3&theater
!! เพราะมีคำสอนที่สอนเพื่อให้บ้าหรือเปล่า! ตื่นกันได้แล้วท่าน ช่วงเวลาแห่งการตื่นได้มาถึงแล้ว..
มักมีคำกล่าวว่า "ให้ทำใจ"
เมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นในชีวิตของใครผู้ใดผู้หนึ่ง
คนไทยเราจะใช้คำนี้บ่อยมากหรืออาจเป็นมาตรฐานเลยก็ว่าได้
แท้จริงแล้วใจนี่ทำไม่ได้นะท่าน
ใจนี่ไม่ได้มีไว้เพื่อให้เข้าไปกระทำนะท่าน
และในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้มาฝึก "ทำใจ"
แต่มาศึกษาเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของใจ
เข้าใจความเป็นจริงของจิตใจ
เมื่อเข้าใจ - ใจแล้ว แจ่มแจ้งในใจแล้ว ก็จะไม่ทุกข์ใจอีกต่อไป
และแน่นอนว่า ถ้าจะให้เข้าใจ - ใจ ก็จะต้องไม่ไป "ทำใจ"
ไม่เข้าไปทำอะไรใจ
เพราะทำใจมาตลอดหรือเปล่าจึงไม่สามารถที่จะเข้าใจ - ใจได้
ก็เลยต้องทุกข์ใจ เป็นทุกข์ใจมานานแลฯ
ดังนั้นคำสอนใดที่สอนให้ "ทำใจ" สอนให้เข้าไปกระทำใจ
จึงยังถือว่าเป็นการสอนที่ยังไม่พ้นไปจากทุกข์ได้
(ยังไม่พ้นเพราะยังต้อง "ทำ" อยู่)
เมื่อมีการสอนให้ทำใจ ก็จะเกิดการเข้าใจว่าใจเป็นของเรา
เราเป็นเจ้าของใจ
และเมื่อเข้าใจว่าใจเป็นของเรา หรือเราเป็นเจ้าของใจ
ก็จะเข้าไปทำการบังคับใจ ควบคุมจิตใจ เพื่อให้อยู่ในอำนาจ
ยิ่งเป็นการไปเพิ่มให้เกิด "อัตตา" ยิ่งๆ ขึ้น
ยิ่งไปปฏิบัติหรือปฏิบัติไปๆ อัตตาก็จะยิ่งเพิ่มพูนทวียิ่งขึ้นๆ
แท้จริงแล้ว "ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา"
(สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา)
ถ้าเราไปมีอัตตา (คือพยายามบังคับ)
กับอนัตตา (สภาพที่บังคับไม่ได้)
เราก็จะมีส่วนแห่งความเป็นบ้า!
ที่ผ่านๆ มา เราบ้ามาตลอดหรือเปล่า?
เพราะถูกสอนให้บ้าหรือเปล่า!
เพราะมีคำสอนที่สอนเพื่อให้บ้าหรือเปล่า!
ตื่นกันได้แล้วท่าน ช่วงเวลาแห่งการตื่นได้มาถึงแล้ว
อย่าทำใจ
จากหนังสือ เพียงแค่รู้ (ฉบับปรับปรุง) ของ พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
http://ppantip.com/topic/32607835
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช (ซ้าย) - พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ(ขวา)
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=795017634013235&set=gm.1130843527017473&type=3&theater