ขอต้อนรับเข้าสู่ซีเกมส์ กีฬาที่นิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่ะ
เดี๋ยวจะสงสัยว่านี่อะไร ขอแนะนำตัวก่อนนะคะ เรา Miss Horksri ค่ะ เมื่อ 3 ปีที่แล้วเราได้นำเสนอเรื่องราว
อดีต-ปัจจุบันสนามหลักในโอลิมปิกฤดูร้อน 1896-2012 และเมื่อปีที่แล้วได้นำเสนอเรื่อง
อดีต – ปัจจุบัน สนามหลักในเอเชียนเกมส์ฤดูร้อน 1951 – 2014 ค่ะ และนี่คือภาคต่อจากสองกระทู้ที่ผ่านมา คราวนี้จะพูดถึงสนามหลักในซีเกมส์กันค่ะ ว่าสนามหลัก (สนามที่ใช้ในการจัดพิธีเปิดและพิธีปิด) ในซีเกมส์ในแต่ละครั้ง (รวมไปถึงสมัยที่เรียกว่ากีฬาแหลมทองด้วย) หลังซีเกมส์สนามดังกล่าวเป็นอย่างไรบ้างในปัจจุบัน และใช้มันอย่างคุ้มค่าสมกับงบประมาณที่ประเทศเจ้าภาพได้เนรมิตหรือไม่ เหมือนเดิมจากครั้งที่แล้วที่เคยตั้งกระทู้สนามโอลิมปิกและเอเชียนเกมส์ เราจะไม่ขอพูดทุกสนามในซีเกมส์แต่ละครั้งนะคะ เพราะไม่งั้นคงเหนื่อยกว่านี้แน่นอน ถ้าใครอยากรู้สนามอื่นๆ ไปค้นในเนตเพิ่มเติมนะคะ แต่ถ้าใครจะเสนอเพิ่มเติม กระทู้นี้เปิดพื้นที่ให้คะ
ก่อนอื่นต้องขออภัยก่อนนะคะ เนื่องจากการค้นหาข้อมูลซีเกมส์ในสมัยอดีตในรูปแบบดิจิตอลมีอย่างจำกัด ทำให้ในซีเกมส์บางครั้งอาจมีเนื้อหาไม่สมบูรณ์ (นี่คิดอยู่ว่าในอาเซียนไม่มีประเทศไหนจริงจังการบันทึกแบบดิจิตอลและเผยแพร่สู่สาธารณะให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลง่ายๆเลยหรือยังไง ดีหน่อยก็คงเป็นสิงคโปร์ที่เวปหอจดหมายแห่งชาติบันทึกภาพซีเกมส์สมัยก่อนได้ส่วนหนึ่งเท่านั้น) และการเป็นเจ้าภาพในแต่ละครั้ง ประเทศเข้าภาพอาจใช้สนามเดิมซ้ำๆ ดังนั้น ในกระทู้ครั้งนี้เราจะไม่นำเสนอเป็นแบบการจัดแต่ละครั้งนะคะ เราจะขอพูดเป็นรายประเทศแบบยกแพ็คเลยดีกว่าและจะไล่เป็นสนามนั้นไปเลย และค่อยพูดตอนเป็นเจ้าภาพแต่ละครั้งไป โดยเราจะเริ่มที่ไทยในฐานะผู้กำเนิดซีเกมส์ตั้งแต่กีฬาแหลมทอง แล้วไล่เรียงตามพยัญชนะภาษาอังกฤษประเทศเจ้าภาพไปเรื่อยๆ ไปจนถึงฟิลิปปินส์ประเทศเจ้าภาพครั้งล่าสุด ส่วนกัมพูชาและติมอร์เลสเต้ที่ยังไม่เคยเป็นเจ้าภาพเลยจะพูดถึงด้วยค่ะ
ทีนี้เรามาดูกันว่าตั้งแต่ปี 1959-2017 นับตั้งแต่จัดการแข่งขันซีเกมส์ขึ้นมา สนามหลักที่ใช้จัดการแข่งขันในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง
ประเทศไทย
สนามศุภชลาศัย
เรามาเริ่มที่ประเทศไทยกัน ในการเป็นเจ้าภาพตั้งแต่สมัยที่เรียกว่ากีฬาแหลมทองไปจนถึงซีเกมส์ มีกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และนครราชสีมาที่เป็นเจ้าภาพ เรามาเริ่มที่กรุงเทพฯกันก่อนนะคะ กรุงเทพฯเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 1, 4, 8 และ 13 โดยสนามศุภชลาศัยเป็นสนามหลักในการจัดการแข่งขัน สนามนี้ตั้งอยู่พื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างในปี 1937 เปิดใช้ในปีถัดมา โดยเริ่มแรกมีเพียงอัฒจรรย์ทางทิศเหนือ จากนั้นเวลาต่อมาได้ทำอัฒจรรย์ทางทิศตะวันตกพร้อมหลังคาคอนกรีตแบบไม่มีเสาค้ำยันระหว่างอัฒจรรย์ซึ่งเป็นงานวิศวกรรมที่ท้าทายมากในสมัยนั้น ส่วนชื่อสนามนั้นเพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่นาวาโท หลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษาในตอนนั้นผู้ที่ริเริ่มการก่อสร้างสนามนี้ค่ะ
ภาพสนามสมัยช่วงนั้นก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ จากภาพข้างบน สามารถมองเห็นถึงดุสิตสมัยนั้นได้เลย และภาพข้างล่างสมัยที่มีรถรางไฟฟ้าด้วย
ทีนี้เรามาดูภาพสมัยเป็นเจ้าภาพกีฬาแหลมทองครั้งที่ 1 ปี 1959 (พ.ศ. 2502) ในตอนนั้นยังไม่ทำอัฒจรรย์เต็มรอบสนาม และตอนนั้นที่เรียกว่ากีฬาแหลมทองนั้นเพราะสมัยนั้นมีแต่ประเทศที่อยู่แถวแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม(ใต้) มาลายา และสิงคโปร์เข้าร่วมแข่งขันเท่านั้น
พอเข้าสู่กีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ปี 1967 (พ.ศ. 2510) สนามทำอัฒจรรย์รอบวงแล้วผลจากการเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 5 เมื่อปี 1966 (พ.ศ. 2509) จากภาพเป็นภาพในหลวง ร. 9 และเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ฯ (ปัจจุบันคือทูลกระหม่อมหญิงฯ)ทรงคว้าเหรียญทองจากกีฬาเรือใบ โดยมีพิธีมอบเหรียญที่สนามนี้ค่ะ (ขออภัยที่ใช้คำสามัญเพื่อให้เข้าใจง่ายค่ะ)
พอเข้าสู่กีฬาแหลมทองครั้งที่ 8 ปี 1975 (พ.ศ. 2518) ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่เรียกว่ากีฬาแหลมทอง ซึ่งในปีนั้นประเทศเพื่อนบ้านมีปัญหาเรื่องการเมืองทำให้ไม่สมารถเข้าร่วมแข่งได้ แต่การแข่งขันยังดำเนินต่อไปโดยบรรยากาศสนามนี้ในตอนนั้นเป็นแบบนี้ค่ะ
และกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13 ปี 1985 (พ.ศ. 2528) เป็นครั้งล่าสุดที่จัดซีเกมส์โดยใช้สนามนี้เป็นหลัก บรรยากาศในตอนนั้นดังภาพค่ะ
ทีนี้มาดูสนามในปัจจุบันค่ะ ถึงแม้ว่าตอนนี้ไม่ใช่สนามหลักของประเทศแล้ว (เพราะตอนนี้สนามราชมังคลากีฬาสถานครองตำแหน่งนี้ไป) แต่สนามนี้ยังคงทำหน้าที่ในการจัดการแข่งขันกีฬาและกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะฟุตบอล และเคยจัดคอนเสิร์ตใหญ่ๆ อย่างไมเคิล แจ๊คสันในช่วงคอนเสิร์ต Dangerous World Tour ในปี 1993 จนพื้นสนามเละมาแล้ว สนามนี้ยังมีการปรับปรุงเป็นระยะๆ แม้ไม่ได้ขยับขยายขนาดสนามให้ใหญ่ก็ตาม โดยได้มีการติดตั้งเก้าอี้ทุกรอบอัฒจรรย์ จนเหลือ 19,793 ที่นั่ง ตอนใช้เป็นสนามในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียนคัพ 2007 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย และได้ติดตั้งเก้าอี้ใหม่อีกครั้งในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาค่ะ
Peter Ferenczi
ล่าสุดสนามนี้ใช้จัดงานต้อนรับโป๊ปฟรานซิสที่เสด็จฯเยือนไทยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยจัดพิธีมิสซาค่ะ
AFP
แต่อย่างไรก็ตาม อนาคตของสนามนี้อยู่ในความไม่แน่นอน ถ้าใครได้ติดตามข่าว ทางจุฬาฯในฐานะเจ้าของที่ดินจะขอพื้นที่นี้คืนจากกรมพละศึกษาที่ได้เช่าพื้นที่นี้ และมีการเก็บค่าเช่าที่ดินที่สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามก็มีการเคลื่อนไหวให้มีการอนุรักษ์สนามนี้ให้คงถาวรเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามก็ต้องติดตามกันต่อไปค่ะ หวังว่าสนามนี้จะยังคงอยู่และยังทำหน้าที่เหมือนเดิม โดยที่ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้
สนามนี้สามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส ลงที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติได้ค่ะ
เนื่องจากมีข้อจำกัดตัวอักษรในหัวกระทู้เลยขอต่อของไทยในเม้นต่อไปค่ะ
อดีต – ปัจจุบัน สนามหลักในซีเกมส์ 1959 – 2017
ขอต้อนรับเข้าสู่ซีเกมส์ กีฬาที่นิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่ะ
เดี๋ยวจะสงสัยว่านี่อะไร ขอแนะนำตัวก่อนนะคะ เรา Miss Horksri ค่ะ เมื่อ 3 ปีที่แล้วเราได้นำเสนอเรื่องราวอดีต-ปัจจุบันสนามหลักในโอลิมปิกฤดูร้อน 1896-2012 และเมื่อปีที่แล้วได้นำเสนอเรื่อง อดีต – ปัจจุบัน สนามหลักในเอเชียนเกมส์ฤดูร้อน 1951 – 2014 ค่ะ และนี่คือภาคต่อจากสองกระทู้ที่ผ่านมา คราวนี้จะพูดถึงสนามหลักในซีเกมส์กันค่ะ ว่าสนามหลัก (สนามที่ใช้ในการจัดพิธีเปิดและพิธีปิด) ในซีเกมส์ในแต่ละครั้ง (รวมไปถึงสมัยที่เรียกว่ากีฬาแหลมทองด้วย) หลังซีเกมส์สนามดังกล่าวเป็นอย่างไรบ้างในปัจจุบัน และใช้มันอย่างคุ้มค่าสมกับงบประมาณที่ประเทศเจ้าภาพได้เนรมิตหรือไม่ เหมือนเดิมจากครั้งที่แล้วที่เคยตั้งกระทู้สนามโอลิมปิกและเอเชียนเกมส์ เราจะไม่ขอพูดทุกสนามในซีเกมส์แต่ละครั้งนะคะ เพราะไม่งั้นคงเหนื่อยกว่านี้แน่นอน ถ้าใครอยากรู้สนามอื่นๆ ไปค้นในเนตเพิ่มเติมนะคะ แต่ถ้าใครจะเสนอเพิ่มเติม กระทู้นี้เปิดพื้นที่ให้คะ
ก่อนอื่นต้องขออภัยก่อนนะคะ เนื่องจากการค้นหาข้อมูลซีเกมส์ในสมัยอดีตในรูปแบบดิจิตอลมีอย่างจำกัด ทำให้ในซีเกมส์บางครั้งอาจมีเนื้อหาไม่สมบูรณ์ (นี่คิดอยู่ว่าในอาเซียนไม่มีประเทศไหนจริงจังการบันทึกแบบดิจิตอลและเผยแพร่สู่สาธารณะให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลง่ายๆเลยหรือยังไง ดีหน่อยก็คงเป็นสิงคโปร์ที่เวปหอจดหมายแห่งชาติบันทึกภาพซีเกมส์สมัยก่อนได้ส่วนหนึ่งเท่านั้น) และการเป็นเจ้าภาพในแต่ละครั้ง ประเทศเข้าภาพอาจใช้สนามเดิมซ้ำๆ ดังนั้น ในกระทู้ครั้งนี้เราจะไม่นำเสนอเป็นแบบการจัดแต่ละครั้งนะคะ เราจะขอพูดเป็นรายประเทศแบบยกแพ็คเลยดีกว่าและจะไล่เป็นสนามนั้นไปเลย และค่อยพูดตอนเป็นเจ้าภาพแต่ละครั้งไป โดยเราจะเริ่มที่ไทยในฐานะผู้กำเนิดซีเกมส์ตั้งแต่กีฬาแหลมทอง แล้วไล่เรียงตามพยัญชนะภาษาอังกฤษประเทศเจ้าภาพไปเรื่อยๆ ไปจนถึงฟิลิปปินส์ประเทศเจ้าภาพครั้งล่าสุด ส่วนกัมพูชาและติมอร์เลสเต้ที่ยังไม่เคยเป็นเจ้าภาพเลยจะพูดถึงด้วยค่ะ
ทีนี้เรามาดูกันว่าตั้งแต่ปี 1959-2017 นับตั้งแต่จัดการแข่งขันซีเกมส์ขึ้นมา สนามหลักที่ใช้จัดการแข่งขันในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง
เรามาเริ่มที่ประเทศไทยกัน ในการเป็นเจ้าภาพตั้งแต่สมัยที่เรียกว่ากีฬาแหลมทองไปจนถึงซีเกมส์ มีกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และนครราชสีมาที่เป็นเจ้าภาพ เรามาเริ่มที่กรุงเทพฯกันก่อนนะคะ กรุงเทพฯเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 1, 4, 8 และ 13 โดยสนามศุภชลาศัยเป็นสนามหลักในการจัดการแข่งขัน สนามนี้ตั้งอยู่พื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างในปี 1937 เปิดใช้ในปีถัดมา โดยเริ่มแรกมีเพียงอัฒจรรย์ทางทิศเหนือ จากนั้นเวลาต่อมาได้ทำอัฒจรรย์ทางทิศตะวันตกพร้อมหลังคาคอนกรีตแบบไม่มีเสาค้ำยันระหว่างอัฒจรรย์ซึ่งเป็นงานวิศวกรรมที่ท้าทายมากในสมัยนั้น ส่วนชื่อสนามนั้นเพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่นาวาโท หลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษาในตอนนั้นผู้ที่ริเริ่มการก่อสร้างสนามนี้ค่ะ
ภาพสนามสมัยช่วงนั้นก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ จากภาพข้างบน สามารถมองเห็นถึงดุสิตสมัยนั้นได้เลย และภาพข้างล่างสมัยที่มีรถรางไฟฟ้าด้วย
ทีนี้เรามาดูภาพสมัยเป็นเจ้าภาพกีฬาแหลมทองครั้งที่ 1 ปี 1959 (พ.ศ. 2502) ในตอนนั้นยังไม่ทำอัฒจรรย์เต็มรอบสนาม และตอนนั้นที่เรียกว่ากีฬาแหลมทองนั้นเพราะสมัยนั้นมีแต่ประเทศที่อยู่แถวแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม(ใต้) มาลายา และสิงคโปร์เข้าร่วมแข่งขันเท่านั้น
พอเข้าสู่กีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ปี 1967 (พ.ศ. 2510) สนามทำอัฒจรรย์รอบวงแล้วผลจากการเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 5 เมื่อปี 1966 (พ.ศ. 2509) จากภาพเป็นภาพในหลวง ร. 9 และเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ฯ (ปัจจุบันคือทูลกระหม่อมหญิงฯ)ทรงคว้าเหรียญทองจากกีฬาเรือใบ โดยมีพิธีมอบเหรียญที่สนามนี้ค่ะ (ขออภัยที่ใช้คำสามัญเพื่อให้เข้าใจง่ายค่ะ)
พอเข้าสู่กีฬาแหลมทองครั้งที่ 8 ปี 1975 (พ.ศ. 2518) ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่เรียกว่ากีฬาแหลมทอง ซึ่งในปีนั้นประเทศเพื่อนบ้านมีปัญหาเรื่องการเมืองทำให้ไม่สมารถเข้าร่วมแข่งได้ แต่การแข่งขันยังดำเนินต่อไปโดยบรรยากาศสนามนี้ในตอนนั้นเป็นแบบนี้ค่ะ
และกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13 ปี 1985 (พ.ศ. 2528) เป็นครั้งล่าสุดที่จัดซีเกมส์โดยใช้สนามนี้เป็นหลัก บรรยากาศในตอนนั้นดังภาพค่ะ
ทีนี้มาดูสนามในปัจจุบันค่ะ ถึงแม้ว่าตอนนี้ไม่ใช่สนามหลักของประเทศแล้ว (เพราะตอนนี้สนามราชมังคลากีฬาสถานครองตำแหน่งนี้ไป) แต่สนามนี้ยังคงทำหน้าที่ในการจัดการแข่งขันกีฬาและกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะฟุตบอล และเคยจัดคอนเสิร์ตใหญ่ๆ อย่างไมเคิล แจ๊คสันในช่วงคอนเสิร์ต Dangerous World Tour ในปี 1993 จนพื้นสนามเละมาแล้ว สนามนี้ยังมีการปรับปรุงเป็นระยะๆ แม้ไม่ได้ขยับขยายขนาดสนามให้ใหญ่ก็ตาม โดยได้มีการติดตั้งเก้าอี้ทุกรอบอัฒจรรย์ จนเหลือ 19,793 ที่นั่ง ตอนใช้เป็นสนามในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียนคัพ 2007 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย และได้ติดตั้งเก้าอี้ใหม่อีกครั้งในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาค่ะ
ล่าสุดสนามนี้ใช้จัดงานต้อนรับโป๊ปฟรานซิสที่เสด็จฯเยือนไทยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยจัดพิธีมิสซาค่ะ
แต่อย่างไรก็ตาม อนาคตของสนามนี้อยู่ในความไม่แน่นอน ถ้าใครได้ติดตามข่าว ทางจุฬาฯในฐานะเจ้าของที่ดินจะขอพื้นที่นี้คืนจากกรมพละศึกษาที่ได้เช่าพื้นที่นี้ และมีการเก็บค่าเช่าที่ดินที่สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามก็มีการเคลื่อนไหวให้มีการอนุรักษ์สนามนี้ให้คงถาวรเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามก็ต้องติดตามกันต่อไปค่ะ หวังว่าสนามนี้จะยังคงอยู่และยังทำหน้าที่เหมือนเดิม โดยที่ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้
สนามนี้สามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส ลงที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติได้ค่ะ
เนื่องจากมีข้อจำกัดตัวอักษรในหัวกระทู้เลยขอต่อของไทยในเม้นต่อไปค่ะ