ขอต้อนรับเข้าสู่การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูร้อน กีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียค่ะ
ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมต้องเรียกว่าเอเชียนเกมส์ฤดูร้อน เพราะเขาก็มีการแบ่งประเภทฤดูร้อนและฤดูหนาวเหมือนกีฬาโอลิมปิกนี่แหล่ะค่ะ (นี่ยังไม่นับรายการเอเชียนเกมส์แบบปลีกย่อยอีกนะ) และเป็นที่แน่นอนว่าเอเชียนเกมส์ฤดูร้อนเป็นการแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียจริงๆ เรากลับมาพบกันอีกครั้งหลังจากเมื่อ 2 ปี เราได้ตั้งกระทู้
อดีต-ปัจจุบัน สนามหลักในโอลิมปิกฤดูร้อน 1896-2012 ถ้ายังจำกันได้ ครั้งที่แล้วเราพูดถึงสนามหลักในโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งนี้เรามาพูดถึงสนามหลักในเอเชียนเกมส์ฤดูร้อนกันนะคะ
ตลอด 17 ครั้งที่ผ่านมาสำหรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ฤดูร้อน เรามาดูกันว่าสนามหลัก (สนามที่ใช้ในการจัดพิธีเปิดและพิธีปิด) ในเอเชียนเกมส์ในแต่ละครั้ง หลังเอเชียนเกมส์สนามดังกล่าวเป็นอย่างไรบ้างในปัจจุบัน และใช้มันอย่างคุ้มค่าสมกับงบประมาณที่ประเทศเจ้าภาพได้เนรมิตหรือไม่ เหมือนเดิมจากครั้งที่แล้วที่เคยตั้งกระทู้สนามโอลิมปิก เราจะไม่ขอพูดทุกสนามในเอเชียนเกมส์แต่ละครั้งนะคะ เพราะไม่งั้นคงเหนื่อยกว่านี้แน่นอน ถ้าใครอยากรู้สนามอื่นๆ ไปค้นในเนตเพิ่มเติมนะคะ แต่ถ้าใครจะเสนอเพิ่มเติม กระทู้นี้เปิดพื้นที่ให้คะ
ทีนี้เรามาดูกันว่าตั้งแต่ปี 1951-2014 นับตั้งแต่จัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ฤดูร้อนขึ้นมา สนามหลักที่ใช้จัดการแข่งขันในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง
ครั้งที่ 1 ปี 1951 นิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย
สนามกีฬาแห่งชาติ
เดิมชื่อสนามเออร์ แอมพีเทียเตอร์ (Irwin Amphitheatre) สร้างและเปิดใช้เมื่อปี 1933 เพื่อใช้ในการเป็นเจ้าภาพกีฬาเวสเทิร์นเอเชียติกเกมส์ (ซึ่งเคยเป็นการแข่งขันกีฬาในเอเชียนโซนตะวันตก) ในปี 1934 ต่อมาได้มีการปรับปรุงสนามเพื่อใช้ในการเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งแรก และเปลี่ยนชื่อเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ โดยใช้เป็นสนามในการจัดพิธีเปิดและปิด กรีฑา และฟุตบอล

© The Hindu
© Alertinfo

© Livemint

© Medium

© Wikipedia
ในเวลาต่อมา สนามนี้ได้เป็นสนามฮ๊อคกี้อย่างถาวร และได้เปลี่ยนชื่อสนามเป็นดยยน แชนด์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงนักกีฬาฮ๊อคกี้คนนี้ที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศในปี 2002 ต่อมามีการปรับปรุงครั้งใหญ่และเปิดใช้ในปี 2010 เพื่อเป็นเจ้าภาพฮ๊อคกี้ชิงแชมป์โลก และเป็นสนามฮ๊อคกี้ในกีฬาเครือจักรภพในปีเดียวกัน โดยปัจจุบันมีความจุ 16,200 ที่นั่ง ซึ่งสนามนี้ยังใช้เป็นสนามเหย้าทีมฮ๊อคกี้ชายทีมชาติอินเดีย และเป็นสนามเหย้าของสโมสรฮ๊อคกี้ Delhi Wave Riders อีกด้วย

© Inside the Games

© News18
ตั้งแต่เอเชียนเกมส์ 2014 เป็นต้นมา สนามนี้ได้เป็นสถานที่จุดไฟเพื่อใช้วิ่งคบเพลิง เพื่อเป็นที่ระลึกต้นกำเนิดการแข่งเอเชียนเกมส์ (เพราะเมื่อก่อนประเทศเจ้าภาพจะทำหน้าที่จุดไฟคบเพลิงเอง) โดยได้รูปแบบมาจากกีฬาโอลิมปิกค่ะ ซึ่งในพิธีจะใช้สาวอินเดียพรหมจรรย์โดยจำนวนคนตามจำนวนครั้งที่เอเชียนเกมส์จัดเป็นผู้ทำหน้าที่จุดไฟที่หักเหจากแสงอาทิตย์จากเลนส์เพื่อให้เกิดไฟขึ้นมา และจากนั้นก็ส่งมอบคบเพลิงเพื่อวิ่งคบเพลิงต่อไป
อดีต – ปัจจุบัน สนามหลักในเอเชียนเกมส์ฤดูร้อน 1951 – 2014
ขอต้อนรับเข้าสู่การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูร้อน กีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียค่ะ
ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมต้องเรียกว่าเอเชียนเกมส์ฤดูร้อน เพราะเขาก็มีการแบ่งประเภทฤดูร้อนและฤดูหนาวเหมือนกีฬาโอลิมปิกนี่แหล่ะค่ะ (นี่ยังไม่นับรายการเอเชียนเกมส์แบบปลีกย่อยอีกนะ) และเป็นที่แน่นอนว่าเอเชียนเกมส์ฤดูร้อนเป็นการแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียจริงๆ เรากลับมาพบกันอีกครั้งหลังจากเมื่อ 2 ปี เราได้ตั้งกระทู้ อดีต-ปัจจุบัน สนามหลักในโอลิมปิกฤดูร้อน 1896-2012 ถ้ายังจำกันได้ ครั้งที่แล้วเราพูดถึงสนามหลักในโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งนี้เรามาพูดถึงสนามหลักในเอเชียนเกมส์ฤดูร้อนกันนะคะ
ตลอด 17 ครั้งที่ผ่านมาสำหรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ฤดูร้อน เรามาดูกันว่าสนามหลัก (สนามที่ใช้ในการจัดพิธีเปิดและพิธีปิด) ในเอเชียนเกมส์ในแต่ละครั้ง หลังเอเชียนเกมส์สนามดังกล่าวเป็นอย่างไรบ้างในปัจจุบัน และใช้มันอย่างคุ้มค่าสมกับงบประมาณที่ประเทศเจ้าภาพได้เนรมิตหรือไม่ เหมือนเดิมจากครั้งที่แล้วที่เคยตั้งกระทู้สนามโอลิมปิก เราจะไม่ขอพูดทุกสนามในเอเชียนเกมส์แต่ละครั้งนะคะ เพราะไม่งั้นคงเหนื่อยกว่านี้แน่นอน ถ้าใครอยากรู้สนามอื่นๆ ไปค้นในเนตเพิ่มเติมนะคะ แต่ถ้าใครจะเสนอเพิ่มเติม กระทู้นี้เปิดพื้นที่ให้คะ
ทีนี้เรามาดูกันว่าตั้งแต่ปี 1951-2014 นับตั้งแต่จัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ฤดูร้อนขึ้นมา สนามหลักที่ใช้จัดการแข่งขันในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง
เดิมชื่อสนามเออร์ แอมพีเทียเตอร์ (Irwin Amphitheatre) สร้างและเปิดใช้เมื่อปี 1933 เพื่อใช้ในการเป็นเจ้าภาพกีฬาเวสเทิร์นเอเชียติกเกมส์ (ซึ่งเคยเป็นการแข่งขันกีฬาในเอเชียนโซนตะวันตก) ในปี 1934 ต่อมาได้มีการปรับปรุงสนามเพื่อใช้ในการเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งแรก และเปลี่ยนชื่อเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ โดยใช้เป็นสนามในการจัดพิธีเปิดและปิด กรีฑา และฟุตบอล
© The Hindu
© Alertinfo
© Livemint
© Medium
© Wikipedia
ในเวลาต่อมา สนามนี้ได้เป็นสนามฮ๊อคกี้อย่างถาวร และได้เปลี่ยนชื่อสนามเป็นดยยน แชนด์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงนักกีฬาฮ๊อคกี้คนนี้ที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศในปี 2002 ต่อมามีการปรับปรุงครั้งใหญ่และเปิดใช้ในปี 2010 เพื่อเป็นเจ้าภาพฮ๊อคกี้ชิงแชมป์โลก และเป็นสนามฮ๊อคกี้ในกีฬาเครือจักรภพในปีเดียวกัน โดยปัจจุบันมีความจุ 16,200 ที่นั่ง ซึ่งสนามนี้ยังใช้เป็นสนามเหย้าทีมฮ๊อคกี้ชายทีมชาติอินเดีย และเป็นสนามเหย้าของสโมสรฮ๊อคกี้ Delhi Wave Riders อีกด้วย
© Inside the Games
© News18
ตั้งแต่เอเชียนเกมส์ 2014 เป็นต้นมา สนามนี้ได้เป็นสถานที่จุดไฟเพื่อใช้วิ่งคบเพลิง เพื่อเป็นที่ระลึกต้นกำเนิดการแข่งเอเชียนเกมส์ (เพราะเมื่อก่อนประเทศเจ้าภาพจะทำหน้าที่จุดไฟคบเพลิงเอง) โดยได้รูปแบบมาจากกีฬาโอลิมปิกค่ะ ซึ่งในพิธีจะใช้สาวอินเดียพรหมจรรย์โดยจำนวนคนตามจำนวนครั้งที่เอเชียนเกมส์จัดเป็นผู้ทำหน้าที่จุดไฟที่หักเหจากแสงอาทิตย์จากเลนส์เพื่อให้เกิดไฟขึ้นมา และจากนั้นก็ส่งมอบคบเพลิงเพื่อวิ่งคบเพลิงต่อไป
© IAGOC
© IAGOC
© IAGOC