ประแจเลื่อนจีนแดง ทำมาจากเหล็กอะไรครับ

ผมชอบมีดก็เลยทำมีดเล่นๆ ดูคลิปจาก Youtube แล้วทำตามก็ได้มีหลายเล่มแล้วทั้งมีดเดินป่าและมีดทำครัว  ตอนนี้ว่างก็เลยเอาประแจเลื่อนเก่าขนาด 12 นิ้วใช้งานไม่ดีแล้วมาทำมีด  ผมไม่เคยตีมีดงานร้อนนี่เป็นการตีมีดครั้งแรกที่ผ่านมามีแต่ใช้เหล็กแผ่นเจียรขึ้นรูป  ตอนตีก็ไม่ได้คิดว่าจะเอาทรงอะไรตีได้ทรงไหนก็จะเอาทรงนั้นเพราะไม่รู้เทคนิคการขึ้นรูป  ปรากฏว่าออกมาเป็นทรงมีดทันโต๊ะของญี่ปุ่น  ผมตียึดออกก็เลยได้ความยาวเฉพาะส่วนคม 6 นิ้ว ถ้ายึดมากกว่านี้ใบมีดจะบางเกินไปก็เลยเอาเท่านี้พอ


ตีเสร็จก็เจียรเก็บขอบขึ้นคมตอนนี้ใกล้จะเสร็จแล้วเก็บงานเสริมหล่อ ชุบแข็ง อบให้เหนียว ทำด้ามก็จะเสร็จสมบูรณ์คาดว่าวันเสาร์หรืออาทิตย์คงจะเสร็จ พอมาถึงตรงนี้เกิดความสงสัยขึ้นมาว่าประแจเลื่อนตัวนี้ทำมาจากเหล็กอะไรเพื่อจะได้อบชุบได้ถูกต้องตามตำรา  ตามคลิปของฝรั่งเขาชุบด้วยน้ำมันแต่เท่าที่ผมเคยทำมีดมาพบว่าถ้าเป็นเหล็กหัวแดง 1040 1050 หรือ S40C S50C เมื่อชุบด้วยน้ำมันจะได้ค่าความแข็งไม่พอใช้งานหนักๆ ไม่ได้ เหล็กประเภทนี้ต้องชุบแข็งด้วยน้ำเท่านั้นจึงจะแกร่งพอและรักษาคมได้ดี  ก็เลยอยากรู้ให้แน่ชัดว่ามันทำมาจากเหล็กอะไร  ขอบคุณครับ

แก้ไขเพิ่มเติม เอารูปประแจตัวอื่นๆ มาให้ดูด้วยครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
เหล็กทำเครื่องมือส่วนใหญ่ เป็น Chrome vanadium steel

เหล็กกล้าโครเมียม  (Chromium steels, กลุ่ม 5xxx)

     โครเมียมจะทำให้เหล็กมีกำลังวัสดุสูงขึ้น แต่
ความเหนียวจะลดลง เนื่องจากโครเมียมสามารถ
รวมตัวกับคาร์บอนเกิดเป็นเฟสคาร์ไบด์ที่แข็งเปราะ
เช่น Cr7C3, Cr4C หรือ (FeCr3)C

เหล็กกล้าโครเมียมกลุ่ม 51xx จะมีคาร์บอนระหว่างร้อยละ
0.15-0.65 และโครเมียมระหว่างร้อยละ 0.70-1.15

   ซึ่งเมื่อเหล็กกลุ่มนี้ถูกทำคาร์เบอร์ไรซิง โครเมียมที่
ผสมอยู่จะช่วยให้ผิวเหล็กทนการเสียดสีดีขึ้น แต่
ความแกร่งในแกนกลางของเหล็กจะต่ำกว่าเหล็กกล้า
นิกเกิล

    ดังนั้นจึงนิยมผสมธาตุอื่นลงไปด้วยเพื่อเพิ่ม
สมบัติด้านความเหนียว เช่น นิกเกิลโมลิบดีนัม
วาเนเดียม
เป็นต้น

    เหล็กกล้าโครเมียมที่มีคาร์บอนปานกลางจะชุบแข็ง
ในน้ำมันได้ดี ใช้ทำสปริง โบลต์
สตัด และเพลาส่งกำลัง ส่วนกลุ่มคาร์บอนสูง
(1%C) และโครเมียมสูง (1.5%Cr) จะมีความแข็ง
และทนการเสียดสีมาก นิยมใช้ทำลูกปืนของแบริ่ง
(bearing steels)

ถ้าอบชุบแข็งได้ จะเป็น

เหล็กกล้าโมลิบดีนัม     (Molybdenum steels, กลุ่ม 4xxx)

     โมลิบดีนัมเป็นธาตุที่มีราคาแพง (แพงกว่า
นิกเกิลเล็กน้อย) มีบทบาทเพิ่มความเหนียวและ
ความทนทานต่อการคืบตัว (creep) ที่อุณหภูมิสูง
นอกจากนี้โมลิบดีนัมยังสามารถรวมตัวกับธาตุ
คาร์บอนให้เฟสคาร์ไบด์ที่มีความแข็งสูง แต่โดยปกติ
ในเหล็กกล้าผสมต่ำจะผสมโมลิบดีนัมไม่เกินร้อยละ
0.5 เพื่อเพิ่มความเหนียวและความแกร่งเป็นสำคัญ
มีการผลิตเหล็กกล้าชนิดนี้ในปริมาณน้อย ส่วนใหญ่
จะผสมธาตุอื่นๆ ลงไปเพิ่มด้วย เช่น โครเมียม
นิกเกิล วาเนเดียม เป็นต้น

เหล็กกล้าโครเมียม-โมลิบดีนัม (Chromiummolybdenum steels,
กลุ่ม 41xx) เป็นเหล็กกล้าที่เพิ่มธาตุโมลิบดีนัมลงไปในเหล็กกล้าผสมโครเมียม

เพื่อช่วยให้เหล็กมีความเหนียวมากขึ้น (บางครั้งอาจ
เติมธาตุวาเนเดียม ลงไปเล็กน้อย เพื่อทำให้เกรน
ของเหล็กมีขนาดเล็กละเอียด)

เหล็กกล้ากลุ่มนี้จะมีโครเมียมอยู่ระหว่างร้อย 0.50-0.95
และโมลิบดีนัมร้อยละ 0.15-0.30
โดยเหล็กกล้าในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ
เกรด 4140 ซึ่งเป็นเหล็กกล้าโครเมียม-โมลิบดีนัม
ที่มีปริมาณคาร์บอนประมาณร้อยละ 0.40

สามารถทำการชุบแข็งได้ดี
เหมาะสำหรับการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องบิน
และภาชนะรองรับความดัน เป็นต้น

https://www2.mtec.or.th/th/e-magazine/admin/upload/254_8-12.pdf
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่