ธนาธร โอนหุ้น 8 ม.ค. 62 แจ้งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียน 21 มี.ค. 62
มาดามเดียร์ ขายหุ้น 11-12 ธ.ค. 61 แจ้งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียน กันยายน 62
คือประเด็นที่ ช่อ พรรณิการ์ ยื่นต่อ กกต. ให้ตรวจสอบ
ว่าการแจ้งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนช้านี้ จะถือว่าทั้งสองคนมีหุ้นอยู่ในวันสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่
ความจริงแล้ว
เรื่องนี้จะไม่มีปัญหาเลย หากคำวินิจฉัยคดีธนาธรไม่มีการหยิบยกเรื่องแจ้งช้าขึ้นมาเป็นเหตุในคดี
เมื่อถูกอ้างขึ้นมาเป็นเหตุในทางคดี จึงเกิดกรณีเปรียบเทียบขึ้นมาทันที
คนที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ โดนชี้นำแค่ว่า มาดามเดียร์ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มีหลักฐานการซื้อขายจ่ายเงินรับเงินเรียบร้อย
ไม่มีข้อน่าสงสัย
แต่ความจริง ตามข้อกฎหมายหาเป็นเช่นนั้นไม่
เพราะตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น สิทธิ์ในหุ้น (ออกเสียงในบริษัทมหาชน)
เป็นของผู้มีชื่อเป็นเจ้าของหุ้นในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท การซื้อขายไม่เกี่ยว ไม่ส่งผล
ตราบใดที่ยังไม่ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียน ผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็ยังมีสิทธิ์ออกเสียง
ดังนั้น เมื่อมาดามเดียร์ส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นช้าไปเก้าเดือน ช่วงเก้าเดือนนี้ มาดามเดียร์ยังมีสิทธิ์
จึงเป็นประเด็นที่ต้องยื่นเรื่องให้ กกต. ตรวจสอบ
ศาลวินิจฉัยว่า วีลัค มีเดีย แม้จะหยุดกิจการ เลิกจ้างพนักงาน แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคม
แต่ยังไม่ได้จดแจ้งเลิกบริษัทต่อนายทะเบียน (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) สามารถจะทำกิจการสื่ออีกเมื่อไรก็ได้
ธนาธรโอนหุ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้แจ้ง บอจ.5 ต่อนายทะเบียน เปรียบเหมือนธนาธรยังมีสื่ออยู่ในมือ
เมื่อเปรียบเทียบกับมาดามเดียร์ ที่ขายหุ้นไปแล้ว รับเงินแล้ว แต่ยังไม่ได้แจ้งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทต่อนายทะเบียน (บมจ.6)
มาดามเดียร์จึงยังมีสิทธิ์กับบริษัทเหมือนเดิมทุกประการ จะถือว่ายังมีอำนาจในหุ้นอยู่หือไม่
.
เรื่องนี้ ผมเชื่อว่ายังไงมาดามเดียร์ก็รอด ด้วยการยกเรื่องขายหุ้น เรื่องแจ้ง TSD ของตลาดหลักทรัพย์
โดยไม่เอ่ยถึงสิทธิในหุ้นที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
แต่ในทางกฎหมาย มาดามเดียร์ยังมีสิทธิมีอำนาจในการถือหุ้นอยู่เหมือนเดิม
หมดสิทธิสิ้นอำนาจก็เมื่อบริษัทแจ้งเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนเมื่อกันยายน 2562
.
อย่างที่ว่าครับ ว่าหากไม่มีการหยิบยกเรื่องบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นมาเป็นเหตุ ก็ไม่มีปัญหาอะไร
เพราะในทางปฏิบัติ ก็รับรู้กันดีว่า บริษัทเอกชน อย่างวีลัค มีเดีย แค่โอน บันทึกทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็มีผลแล้ว
บริษัทมหาชนอย่างมาดามเดียร์ แค่ขาย แจ้ง TSD ก็มีผลแล้ว ว่าหุ้นเป็นของใคร ใครถือหุ้น
แต่เมื่อเอาเรื่องไม่เป็นเรื่อง อ้างเรื่องธนาธรส่ง บอจ.5 ช้ามาเป็นเหตุ
มาดามเดียร์ที่ส่ง มมจ.6 ช้า จึงโดนเทียบเคียงทันที
.
ปัญหาอยู่ที่ไหน ?
เรื่องหุ้นธนาธร - มาดามเดียร์ อีกสักทู้ .......................................... โดย ตระกองขวัญ
มาดามเดียร์ ขายหุ้น 11-12 ธ.ค. 61 แจ้งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียน กันยายน 62
คือประเด็นที่ ช่อ พรรณิการ์ ยื่นต่อ กกต. ให้ตรวจสอบ
ว่าการแจ้งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนช้านี้ จะถือว่าทั้งสองคนมีหุ้นอยู่ในวันสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่
ความจริงแล้ว
เรื่องนี้จะไม่มีปัญหาเลย หากคำวินิจฉัยคดีธนาธรไม่มีการหยิบยกเรื่องแจ้งช้าขึ้นมาเป็นเหตุในคดี
เมื่อถูกอ้างขึ้นมาเป็นเหตุในทางคดี จึงเกิดกรณีเปรียบเทียบขึ้นมาทันที
คนที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ โดนชี้นำแค่ว่า มาดามเดียร์ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มีหลักฐานการซื้อขายจ่ายเงินรับเงินเรียบร้อย
ไม่มีข้อน่าสงสัย
แต่ความจริง ตามข้อกฎหมายหาเป็นเช่นนั้นไม่
เพราะตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น สิทธิ์ในหุ้น (ออกเสียงในบริษัทมหาชน)
เป็นของผู้มีชื่อเป็นเจ้าของหุ้นในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท การซื้อขายไม่เกี่ยว ไม่ส่งผล
ตราบใดที่ยังไม่ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียน ผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็ยังมีสิทธิ์ออกเสียง
ดังนั้น เมื่อมาดามเดียร์ส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นช้าไปเก้าเดือน ช่วงเก้าเดือนนี้ มาดามเดียร์ยังมีสิทธิ์
จึงเป็นประเด็นที่ต้องยื่นเรื่องให้ กกต. ตรวจสอบ
ศาลวินิจฉัยว่า วีลัค มีเดีย แม้จะหยุดกิจการ เลิกจ้างพนักงาน แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคม
แต่ยังไม่ได้จดแจ้งเลิกบริษัทต่อนายทะเบียน (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) สามารถจะทำกิจการสื่ออีกเมื่อไรก็ได้
ธนาธรโอนหุ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้แจ้ง บอจ.5 ต่อนายทะเบียน เปรียบเหมือนธนาธรยังมีสื่ออยู่ในมือ
เมื่อเปรียบเทียบกับมาดามเดียร์ ที่ขายหุ้นไปแล้ว รับเงินแล้ว แต่ยังไม่ได้แจ้งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทต่อนายทะเบียน (บมจ.6)
มาดามเดียร์จึงยังมีสิทธิ์กับบริษัทเหมือนเดิมทุกประการ จะถือว่ายังมีอำนาจในหุ้นอยู่หือไม่