คำว่า "ถางทางไปพระนิพพาน" ที่เคยได้ยินมา ต้องประกอบเหตุอย่างไรบ้างครับ???


ด้วยศึกษาทางธรรมมาน้อย อยากทราบว่า ในทางพระพุทธศาสนาปู่ย่าตายาย คนโบราณนี่ท่านทำอะไร  อย่างไรกันบ้าง
จึงเรียกได้ว่า "ถางทางไปพระนิพพาน" ตามพระพุทธองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป ขอบพระคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
คำว่า “ ถางทาง ” เป็นคำอุปมาเปรียบเทียบที่แสดงออกถึงความเอาจริงเอาจัง
ในการสร้างหนทางสายใดสายหนึ่ง
เพื่อไปให้ถึงที่หมาย
ทันทีที่เกิดมา แต่ละคนก็มี
สิ่งหนึ่งฝังอยู่ในใจเราแล้ว ต่างกันแต่ว่า
ใครจะมีอยู่มากน้อยกว่ากันแค่ไหน
สิ่งนี้มันเป็นความรกอยู่ภายในใจ
ของทุกคน ซึ่งทางธรรม เรียกว่า กิเลส

   กิเลสเป็นเหมือนวัชพืชหรือป่ารก
ที่อยู่ในใจ 
   กิเลสมีความรกขนาดไหน
จึงขวางทางไปพระนิพพานได้?
      หลวงปู่หลวงทวดท่านพูด
เป็นเชิงเปรียบเทียบไว้ว่า แม้เอาความรก
ของป่าทั้งหลายในโลกนี้มารวมกัน
ก็ไม่รกทึบเท่ากับป่ากิเลส
ที่อยู่ในใจของแต่ละคน
      
นี่คือ ดีกรีความรกของกิเลส
ที่ขวางทางไปพระนิพพาน

การที่ใครจะสามารถทำพระนิพพานให้แจ้งได้ ก็ต้องขุดรากถอนโคนป่ากิเลสในใจออกไปให้หมดสิ้น จนกระทั่งมันไม่สามารถงอกกลับคืนมาใหม่ได้อีก

ผู้ที่เอาจริงเท่านั้น จึงสามารถถางป่ากิเลสออกจากใจ แล้วเปิดหนทางไปพระนิพพานให้ตัวเองได้สำเร็จ 
   ถ้าจะถามต่ออีกว่า แล้วพระนิพพาน
อยู่ที่ไหน หลวงปู่หลวงทวดท่านก็ตอบยิ้ม ๆ ว่า “ ก็อยู่ในตัวคุณเองนั่นแหละ ก้มหน้าก้มตาถางทางเร็วเข้าเถอะ”

ที่มา : หนังสือ “บวชไม่เสียผ้าเหลือง สึกไม่เปลืองผ้าหลาย

(ลอกของพระท่านมาตอบ เพราะชอบมาก)

เป็นชาย มาบวชเพื่อทำประโยชน์ตน&บุพการีเถิด
เป็นหญิง ก็รักษาศีล 5 /ศีล8 & หมั่นทำสมาธิเถิด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่