คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๔/๑ แห่ง พรบ.๔๑
ม.๑๔/๑ สัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง ที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินควร ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้น มีผลใช้เพียงเท่าที่เป็นธรรม
และพอสมควรแก่กรณี
*ต้องดูที่ลักษณะ หรือผลของข้อตกลงนั้นว่า ทำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติการใด หรือต้องรับภาระใดที่หนักเกินกว่าที่วิญญูชน
จะพึงคาดหมายได้ตามปกติหรือไม่ หากหนักเกินไปก็ถือว่า ข้อตกลงนั้นได้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว
ลักษณะของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ก็คือ
๒.๑ ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
๒.๒ ข้อตกลงที่ผู้กำหนดสัญญา ในลักษณะที่ได้เปรียบเกินสมควร
หรือกำหนดให้อีกฝ่ายรับภาระเกินกว่าวิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ
๒.๓ ข้อตกลงที่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
๒.๔ ข้อตกลงล่วงหน้า ยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด หรือผิดสัญญา
ในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้อื่น
อันเกิดจากการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อของผู้ตกลง
จากหนังสือ “ย่อหลักกฎหมายแรงงาน”
โดย รศ.ดร. วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๙ หน้า ๖-๘
*กรณีที่ลูกจ้างลาออกก่อนครบสัญญาจ้าง !...เห็นว่า....
1.นายจ้างมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญา หรือค่าเสียหายที่ลูกจ้างก่อขึ้นได้...แต่นายจ้างจะต้องชี้แจง(พิสูจน์)ว่า นายจ้างเสียหายอย่างไร/เท่าใด? ....ลูกจ้างเป็นผู้ก่อความเสียหายนั้นจริงหรือไม่?.....มีหลักฐานหรือไม่?
2.หากจำเป็นต้องลาออกก่อนสัญญา (ด้วยเหตุทนไม่ไหว/ทนทุกข์ทรมานจากงานหรือนายจ้าง) ให้คุยกับนยายจ้างดีๆ ...อย่าทำความเสียหายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นงานหรือทรัพย์สินของนายจ้าง...หากนายจ้างยกเรื่องค่าปรับตามสัญญา...ให้ไฟ้องศาลแรงงาน.....!
อนึ่ง...ควรลาออกหลังรับค่าจ้างงวดนั้นๆแล้ว...! ยื่นหนังสือลาออกทันที....แม้ผิดระเบียบ..นายจ้างก็ระงับไม่ได้...เสียหายอย่างไร/เท่าใด? ไปฟ้องศาลแรงงานฯ
ฎีกาที่ ๖๕๒๕/๔๔
.......สัญญาจ้างแรงงาน เป็นสัญญาชนิดหนึ่ง เมื่อนายจ้าง ซึ่งเป็นคู่สัญญา แสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่ลูกจ้างโดยการเลิกจ้างแล้ว สัญญาจ้างแรงงานย่อมสิ้นสุดลงทันที และการแสดงเจตนาเลิกสัญญา หาอาจถอนได้ไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๘๖ วรรค ๒
มาตรา ๓๘๖ ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
แสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่
ม.๑๔/๑ สัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง ที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินควร ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้น มีผลใช้เพียงเท่าที่เป็นธรรม
และพอสมควรแก่กรณี
*ต้องดูที่ลักษณะ หรือผลของข้อตกลงนั้นว่า ทำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติการใด หรือต้องรับภาระใดที่หนักเกินกว่าที่วิญญูชน
จะพึงคาดหมายได้ตามปกติหรือไม่ หากหนักเกินไปก็ถือว่า ข้อตกลงนั้นได้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว
ลักษณะของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ก็คือ
๒.๑ ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
๒.๒ ข้อตกลงที่ผู้กำหนดสัญญา ในลักษณะที่ได้เปรียบเกินสมควร
หรือกำหนดให้อีกฝ่ายรับภาระเกินกว่าวิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ
๒.๓ ข้อตกลงที่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
๒.๔ ข้อตกลงล่วงหน้า ยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด หรือผิดสัญญา
ในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้อื่น
อันเกิดจากการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อของผู้ตกลง
จากหนังสือ “ย่อหลักกฎหมายแรงงาน”
โดย รศ.ดร. วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๙ หน้า ๖-๘
*กรณีที่ลูกจ้างลาออกก่อนครบสัญญาจ้าง !...เห็นว่า....
1.นายจ้างมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญา หรือค่าเสียหายที่ลูกจ้างก่อขึ้นได้...แต่นายจ้างจะต้องชี้แจง(พิสูจน์)ว่า นายจ้างเสียหายอย่างไร/เท่าใด? ....ลูกจ้างเป็นผู้ก่อความเสียหายนั้นจริงหรือไม่?.....มีหลักฐานหรือไม่?
2.หากจำเป็นต้องลาออกก่อนสัญญา (ด้วยเหตุทนไม่ไหว/ทนทุกข์ทรมานจากงานหรือนายจ้าง) ให้คุยกับนยายจ้างดีๆ ...อย่าทำความเสียหายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นงานหรือทรัพย์สินของนายจ้าง...หากนายจ้างยกเรื่องค่าปรับตามสัญญา...ให้ไฟ้องศาลแรงงาน.....!
อนึ่ง...ควรลาออกหลังรับค่าจ้างงวดนั้นๆแล้ว...! ยื่นหนังสือลาออกทันที....แม้ผิดระเบียบ..นายจ้างก็ระงับไม่ได้...เสียหายอย่างไร/เท่าใด? ไปฟ้องศาลแรงงานฯ
ฎีกาที่ ๖๕๒๕/๔๔
.......สัญญาจ้างแรงงาน เป็นสัญญาชนิดหนึ่ง เมื่อนายจ้าง ซึ่งเป็นคู่สัญญา แสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่ลูกจ้างโดยการเลิกจ้างแล้ว สัญญาจ้างแรงงานย่อมสิ้นสุดลงทันที และการแสดงเจตนาเลิกสัญญา หาอาจถอนได้ไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๘๖ วรรค ๒
มาตรา ๓๘๖ ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
แสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่
แสดงความคิดเห็น
ลาออกก่อน 1ปี บริษัทให้จ่าย 20,000 บาท