ชีวิตฝูงมดที่ติดอยู่ในหลุมหลบภัยนิวเคลียร์ร้างในโปแลนด์

ภาพ 1-11  ©Wojciech Stephan
1.
  
  
  นักวิจัยพบว่า มดไม้นับแสนตัวติดอยู่ในหลุมหลบภัย
ซึ่งก่อนหน้านี้โซเวียตรัสเซียใช้เพื่อเก็บอาวุธนิวเคลียร์
 
ในหลุมหลบภัยนิวเคลียร์ที่ถูกทิ้งร้างในโปแลนด์ด้านตะวันตก
ฝูงมดงานหลายแสนตัวที่ตกลงไปข้างล่าง
มดพวกนี้รอดตายมาได้หลายปี ด้วยการกินศพของมดที่ตายแล้ว
เพราะถูกตัดขาดจากอาณาจักรมดไม้ที่อยู่ด้านบน
บนเนินดินด้านบนใกล้กับท่อระบายอากาศของหลุมหลบภัย
 

ในปี 2016 เมื่อนักวิจัยไปเยี่ยมหลุมหลบภัยแห่งนี้
ได้พบกับฝูงมดงานนับแสนตัวที่ตั้งชุมชนในหลุมหลบภัยแห่งนี้
มดฝูงนี้เป็นสายพันธุ์ Formica polyctena หรือมดไม้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
พวกมดที่โชคร้ายเดินผ่านท่อระบายอากาศ
ท่อนี้ฝังอยู่ในเพดานห้องหลุมหลบภัย
แล้วพวกมดเกิดพลัดตกลงไปในหลุมหลบภัยที่อยู่ด้านล่าง
เมื่อพวกมดตกลงไปข้างล่างอยู่บนพื้นแล้ว
พวกมดก็ไม่สามารถปีนกลับออกมาได้อีกเลย

ภายในหลุมหลมภัยมีขนาดสูง 2.3 เมตร
ห้องขนาด 3 เมตร. x 1.2 เมตร
มีท่อระบายอากาศแนวตั้งเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร
และยาวประมาณ 5  เมตรต่อตรงขึ้นบนเพื่อสู่โลกภายนอก

2.

ฝั่งตะวันออกของหลุมหลบภัยที่ มดงาน  F. polyctena สร้างอาณาจักรภายใน (11.01.2015) 
.
ภายในหลุมหลบภัยที่มิดสนิท ไม่มีอะไรให้พวกมดกินเลย
ในปี 2016  นักวิจัยได้ตั้งสมมุติฐานว่า
พวกมดที่รอดชีวิตด้วยการกินซากศพพวกมดด้วยกันเอง

เมื่อเร็ว ๆ นี้นักวิจัยได้กลับไปที่หลุมหลยภัยอีกครั้ง
เพื่อตรวจสอบและพิสูจน์สมมุติฐานดังกล่าวว่า
พวกมดที่ติดอยู่ในกับดักต่างกินซากศพของเพื่อนร่วมห้องขัง
 

หลุมหลบภัยแห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของฐานทัพนิวเคลียร์
ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนเยอรมันตะวันออก(ช่วงยังไม่รวมชาติ)
และถูกใช้โดยกองทัพโซเวียตรัสเซีย
เพื่อเก็บอาวุธนิวเคลียร์ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1960 จนถึง 1992
ตามที่นักวิจัยรายงานในปี 2016
" ในระหว่างการตรวจสอบจำนวนมดในเดือนกรกฎาคม 2015
เราประเมินว่าจำนวนประชากรมดในหลุมหลบภัย
มดสายพันธุ์ Formica Polyctena
มีจำนวนอย่างน้อยหลายแสนตัวจนอาจจะถึงหนึ่งล้านตัว "
นักวิทยาศาสตร์ได้เขียนใน Journal of Hymenoptera Research เมื่อ 4 พย.2019
ในขณะที่พวกมดหลายพันตัวเดินไต่ไปมาบนพื้นดินและผนังหลุมหลบภัย
แต่พวกมันไม่สามารถเดินบนเพดานได้
(ต้องเดินหงายหลังคู่ขนานกับพื้นดินก่อนจะไปถึงท่อระบายอากาศ)
ท่อดังกล่าวอยู่ตรงใจกลางเพดาน กลายเป็นทางออกทางเดียว
ที่จะออกจากเรือนจำที่หฤโหดแห่งนี้ของพวกมดได้

3.

เพดานด้านบนของหลุมหลบภัย มีท่อระบายอากาศใจกลางเพดานที่ติดต่อกับโลกภายนอกได้
ที่มีรังมด F. polyctena อยู่ภายใน ฝูงมดสามารถไต่ปืนขึ้นบนผนังกำแพงได้
แต่เดินไปที่ท่อระบายอากาศไม่ได้  (24.07.2015)

" ในรังมดแห่งนี้ไม่มีตัวอ่อนหรือราชินีมด
ดังนั้นอาณาจักรมดแห่งนี้จึงไม่มีการผสมพันธุ์เกิดขึ้น
พวกมดจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และยังไม่ตายง่าย ๆ
เพราะมีพวกมดบางตัว จะร่วงหล่นลงมา(เป็นเพื่อนเป็นอาหาร)อย่างต่อเนื่อง
เพราะเดินมาจากอาณาจักรมดด้านบนที่ยังคงมีฝูงมดอยู่กันอย่างหนาแน่น
โดยทั่วไปแล้ว มดงานจะไม่แยกตัวออกมาจากฝูงมด
แล้วก่อตั้งเป็นอาณาจักรมดแห่งใหม่โดยไม่มีราชินีมด
แต่พวกมดที่ติดอยู่ในหลุมหลบภัย  ไม่มีทางเลือก
พวกมันยังมีชีวิตอยู่รอดได้ และมีกิจกรรมทางสังคมมดต่อไป
แต่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่หฤโหดและร้ายแรง
(ด้วยการกินศพมดพวกตนเองให้รอดตาย) " นักวิทยาศาสตร์กล่าว

 
กินหรือถูกกิน

ในการศึกษาครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้รวบรวมมดตายมากกว่า 150 ตัวจากสุสาน
กองศพมดบนพื้นและใกล้กับกำแพงรอบ ๆ หลุมหลบภัยแห่งนี้
ศพของมดมีร่องรอยถูกกัดแทะจากพวกมดดัวยกันเอง
แน่นอนศพของมดตัวอย่างมากกว่า  93% มีร่องรอยว่าถูกกิน
 
ทางรอดของฝูงมดที่นี่ค่อนข้างน่ากลัว/สยดสยอง
แต่มดกินมดด้วยกันเองไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับมดสายพันธุ์นี้
มดไม้รู้จักกันดีในเรื่อง  มดอสูรสงคราม
เพราะพวกมันมักจะสู้รบอย่างดุร้ายและดุเดือดกับมดชนิดอื่น ๆ
พวกมันมักจะต่อสู้กันในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ (เพราะอาหารขาดแคลน)

ในขณะที่กองศพมดทหารที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น
ฝูงมดงานจะลากศพมดเหล่านี้เข้าไปในรังมด
เพื่อเป็นอาหารให้กับมดน้อยที่กำลังพัฒนา/เติบโต
ตามข้อเท็จจริงตามธรรมชาติแล้ว
" ซากศพของมดสามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ
ไม่ใช่เฉพาะในช่วงเวลาที่ขาดแคลนอาหาร " นักวิทยาศาสตร์เขียน
.

4.

ท่อระบายอากาศซึ่งเป็นทางออกไปสู่โลกภายนอกได้ พวกมดไต่มาไม่ได้ (18.09.2016)

5.

มุมมองชึ้นไปด้านบนของท่อระบายอากาศที่ติดต่อกับโลกภายนอก
เดิมมีฝาเหล็กปิดอยู่แต่เพราะขาดการดูแลจึงเสื่อมสภาพ/เป็นสนิมผุกร่อน (21.02.2016)
.
ภายในหลุมหลบภัยแห่งนี้
ศพมดได้ทำหน้าที่เป็นอาหารบุฟเฟ่ต์ที่ไม่มีวันหมดสิ้น
ทำให้ฝูงมดในคุกหลุมหลบภัยแห่งนี้สามารถอยู่รอดได้
ภายในสถานที่แม้ว่าจะหิวโหยเพียงใด
ก็ไม่มีอาหารอย่างอื่นให้เลือกกินได้เหมือนข้างนอก

และแล้วเรื่องราวที่น่าสยดสยองเรื่องนี้
ก็จบลงอย่างมีความสุข Happy Ending
อย่างน้อยสำหรับพวกมดที่ยังไม่ได้ถูกกิน

นักวิจัยต่างตั้งข้อสงสัยว่า
จะสามารถช่วยให้พวกมดที่ติดอยู่ในกรงแห่งนี้
หาทางกลับบ้าน(อาณาจักรมดด้านบน) ได้หรือไม่

ในปี 2016  นักวิจัยได้วางทางเดินไม้กระดาน
ในปี 2017  เมื่อนักวิจัยได้กลับไปที่หลุมหลมภัยอีกครั้ง
ก็พบว่ามดส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากทางเดินไม้กระดาน
เป็นเส้นทางหลบหนีออกจากคุกหลุมหลบภัยไปยังอาณาจักรมด
พื้นที่ภายในหลุมหลมภัยที่ก่อนหน้านี้
จะมีฝูงมดคลานไปมานับแสน ๆ ตัว
แต่ตอนนี้กลายเป็นสถานที่เกือบร้างไปแล้ว
สันนิษฐานว่า พวกมดทั้งหมดได้ตัดสินใจแล้ว
ว่าจะกลับไปรวมวงศ์ไพบูลย์กับฝูงมดเดิม
ที่สร้างอาณาจักรมดเหนือพื้นดิน

เรียบเรียง/ที่มา

http://bit.ly/2XbLDfi
http://bit.ly/32KNGIj
http://bit.ly/2ObT9CL


6.
มุมองภายในหลุมหลบภัยของอาณาจักรมด F. polyctena  บนพื้นจะเป็นสุสานมดขนาดใหญ่ 
(19.01.2016) หลังจากเข้าไปวิจัยเป็นครั้งที่ 2 

7.

เศษไม้ที่วางพาดผนังกำแพงห้องหลุมหลบภัย เป็นทางเดินไม้กระดาน ให้มดปีนขึ้นไปด้านบนได้  (18.09.2016)

8.

ทางเดินไม้กระดานที่นักวิจัยวางไว้ให้ ทำให้ฝูงมดปีนถึงท่อระบายอากาศที่ออกไปสู่โลกภายนอกได้  (18.09.2016)

9.

สภาพเนินดินที่เกือบร้างไปแล้ว ด้านล่างของหลุมหลบภัยในช่วงฤดูหนาว
หลังจากที่นักวิจัยได้วางทางเดินไม้กระดานไว้เมื่อ 4 เดือนก่อน
สุสานมด(กองซากศพมด)ยังมองเห็นได้ที่เนินดินและข้างกำแพง (11.02.2017)

10.

เนินดินที่ฝูงมด  F. polyctena อยู่อย่างอิสระเสรี  ใกล้กับทางออกท่อระบายอากาศ 
ที่เป็นต้นกำเนิดอาณาจักรมดในหลุมหลบภัย  (24.07.2015)
พื้นที่หากินของฝูงมดสายพันธุ์นี้กินระยะทาง 100 เมตรจากรัง

11.

ทางเข้าหลุมหลมภัยที่พรางตัวไว้กับพื้นที่ป่าไม้โดยรอบ  (17.07.2014)

12.

เส้นทางลาดตระเวณ  (A) ถูกค้นพบโดยการใช้เครื่องเลเซอร์สำรวจ/ตรวจจับทางอากาศ
สภาพของสนามฟุตบอลและลู่วิ่ง Brzezńica Kolonia  (B) 
พบครั้งแรกในปี  1984 โดย โครงการดาวเทียม Landsat  ของ NASA และ U.S. Geological Survey
© Figure by G. Kiarszys/Copyright Antiquity Publications, Ltd.


13.

ที่มา  http://bit.ly/32KNGIj

14.
ที่มา  http://bit.ly/2ObT9CL

15.

16.

ที่มา http://bit.ly/2QhYTxk



เรื่องเกี่ยวกับมด



.


.


.






เรื่องมดกินมด  ทำให้นึกถึงเรื่องมโนที่เคยเขียนไว้


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่