ปฏิทินแห่งแรกของโลก
แต่ก่อนนี้ เข้าใจกันว่า กรีซเป็นชาติแรกที่คิดค้นเรื่องของ “ปฏิทิน” ได้ ต่อเมื่อได้พบภาพแกะปฏิทินสลักบนผนังแห่งวิหารแห่งเมืองคาร์นัค จึงได้ทราบว่า แท้ที่จริงแล้วผู้ที่คิดค้นได้คนแรกคือ บรรพชนม์ชาวอียิปต์แต่โบราณกาลนั่นเอง เมื่อประดิษฐ์ตัวอักษร ประดิษฐ์แผ่นกระดาษสำหรับเขียน มีสีหมึกและมีปากกาแล้ว การบันทึกความจำได้บนแผ่นกระดาษจึงเกิดขึ้นในเวลาต่อมา และแพร่หลายไปทั่วทุกทวีป
ชาวอียิปต์โบราณนับวัน เดือน ปี เช่นเดียวกับชาติโบราณอื่นๆ คือ นับทาง “จันทรคติ” โดยกำหนดเอาข้างขึ้นคือคืนที่พระจันทร์ส่งแสงเต็มดวงคืนแรก ไปบรรจบกับคืนที่พระจันทร์ส่องแสงเต็มดวงในคราวต่อไป ซึ่งก็ถือว่าเป็น “หนึ่งเดือน” หรือ “หนึ่งรอบ” เพื่อใช้ในสัญญาที่ชาวนายืมข้าวมากิน เช่น ขอยืมข้าวมาเป็นเวลา 9 เดือน
เมื่อพระจันทร์ส่งแสงเต็มดวงแล้ว 8 ครั้ง ก็หมายความว่ามีเวลาเพียงพระจันทร์เต็มดวงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็คือ 1 เดือน ก็จะต้องนำข้าวที่ยืมมานั้นไปคืนเจ้าของ แต่จากการที่นับเดือนทางจันทรคตินี้ ในเดือนหนึ่งๆ ที่จะถึงพระจันทร์เต็มดวงนี้มีไม่เท่ากัน บางเดือนก็มี 29 วันบ้าง 30 วันบ้าง ไม่แน่นอน ทำให้จำนวนวันในปีหนึ่งๆ ไม่เท่าเทียมกัน
ต่อมาจึงได้จัดทำปฏิทินขึ้นมาใหม่เสีย โดยเริ่มจากหลักการที่ว่า
“ให้ 1 ปีมี 12 เดือน”
“ให้ 1 เดือนมี 30 วันเท่ากันหมด”
“ให้ 1 ปีมี 360 วัน”
“ครบ 1 ปีแล้วก็ให้เพิ่มอีก 5 วัน รวมเป็น 365 วัน” โดยกำหนดให้ 5 วันสุดท้ายของปีนั้น เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีของประชาชน
นักโบราณศึกษายกย่องให้ชาวอียิปต์โบราณคือผู้ที่คิดค้น “ปฏิทินของโลก” และในกาลต่อมาเมื่อชาวยุโรปรุ่นหลัง ๆ ได้รู้จักวิชาดาราศาสตร์มากขึ้น จึงได้พัฒนาและดัดแปลงจำนวนวันในแต่ละเดือนให้มี 30 วันบ้าง 31 วันบ้าง และเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันบ้าง 29 วันบ้างตามเหตุผลทางอธิกมาส เช่นที่พวกเราคุ้นเคยในทุกวันนี้
Cr.
https://board.postjung.com/
Celtic Tree Calendar
ปฏิทินของชาวเคลท์นั้นต่างจากปฏิทินทั่วไป คือมีเดือนทั้งสิ้น 13 เดือน ชื่อของเดือนต่างๆนั้นนำมาจากชื่อของต้นไม้ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับวงโคจรของดวงจันทร์ ที่เลือกใช้ต้นไม้เป็นสัญลักษณ์เนื่องจากชาวเคลท์นั้นให้ความสำคัญกับต้นไม้เอามากๆ
ต้นไม้นั้นเปรียบเสมือนสัญลักษณ์เวทย์มนต์ที่ทรงอำนาจมากที่สุดสำหรับชาวเคลท์ เท่านั้นไม่พอต้นไม้ยังเปรียบเสมือนสะพานที่นำพาน้ำจากพื้นดินขึ้นสู่ท้องฟ้า ทั้งยังให้อาหาร ให้ที่หลบภัย ให้ความอบอุ่น เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ และยารักษาโรค เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ต้นไม้จะเป็นสิ่งแรกที่ย้ำเตือนชาวเคลท์ให้รู้ล่วงหน้า นอกจากนี้ต้นไม่ยังเปรียบเป็นวงจรชีวิตของมนุษย์ วงจรแห่งการเกิดและการดับสูญ ต้นไม้มีชีวิตที่ยาวนานกว่ามนุษย์ ดังนั้นต้นไม้จึงเป็นสิ่งที่ส่งต่อความทรงจำของมนุษย์ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้นับร้อยนับพันปี ด้วยเหตุนี้ปฏิทินเคลติกจึงมีชื่อเรียกว่า "ปฏิทินต้นไม้" มีทั้งสิ้น 13 เดือนดังนี้
Beth (Birch) 24 ธันวาคม - 20 มกราคม
* Luis (Rowan) 21 มกราคม - 17 กุมภาพันธ์
* Nion (Ash) 18 กุมภาพันธ์ - 17 มีนาคม
* Fearn (Alder) 18 มีนาคม - 14 เมษายน
* Saille (Willow) 15 เมษายน - 12 พฤษภาคม
* Uath (Hawthorn) 13 พฤษภาคม - 9 มิถุนายน
* Duir (Oak) 10 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม
* Tinne (Holly) 8 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม
* Coll (Hazel) 5 สิงหาคม - 1 กันยายน
* Muin (Vine) 2 กันยายน - 29 กันยายน
* Gort (Ivy) 30 กันยายน - 27 ตุลาคม
* Ngetal (Reed) 28 ตุลาคม - 24 พฤศจิกายน
* Ruis (Elder) 25 พฤศจิกายน - 22 ธันวาคม
Cr.board.postjung.com/
ปฏิทินมายาโบราณ
สำหรับชาวมายาโบราณ* การบันทึกวันเวลาเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง. ปฏิทินของชาวมายาแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเชื่อว่าเหตุการณ์บางอย่างจะเกิดขึ้นซ้ำอีก.
สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเรียกว่า ปฏิทินทโซลคิน (การนับวัน) นั้นเป็นปฏิทินที่มี 260 วัน โดยแบ่งนับเป็น 13 ช่วง. แต่ละช่วงนาน 20 วัน แต่ละวันมีชื่อเรียกต่างกัน. ชาวมายาใช้ปฏิทินทโซลคินเพื่อกำหนดพิธีการทางศาสนา และใช้ในการทำนายโชคชะตา.
นอกจากปฏิทินทางศาสนาแล้ว ยังมีการใช้ปฏิทินอีกแบบหนึ่งด้วย คือปฏิทินธรรมดาหรือปฏิทินฮาบ. นี่เป็นปฏิทินทางสุริยคติซึ่งมี 365 วัน. หนึ่งปีมี 19 เดือน แต่ละเดือนมี 20 วัน ยกเว้นเดือนหนึ่งที่มีเพียงห้าวัน รวมทั้งหมดเป็น 365 วัน.
การทำการเกษตรและชีวิตประจำวันของชาวมายาอาศัยปีสุริยคตินี้เป็นหลัก. ชาวมายาที่ฉลาดหลักแหลมได้รวมปฏิทินสองแบบนี้เข้าด้วยกัน กลายเป็นปฏิทินที่นักวิจัยเรียกกันว่าปฏิทินรอบใหญ่ ซึ่งจะบอกวันที่ตามลักษณะของปฏิทินทั้งสองแบบ. ต้องใช้เวลานานถึง 52 ปี กว่าปฏิทินรอบใหญ่นี้จะวนครบหนึ่งรอบ.*
ไม่มีการพบสิ่งประดิษฐ์ใดที่แสดงให้เห็นปฏิทินของชาวมายาทั้งหมด. พวกผู้คงแก่เรียนเข้าใจเรื่องระบบปฏิทินนี้โดยอาศัยการถอดความจากหนังสือของชาวมายาที่ยังคงเหลืออยู่เพียงไม่กี่เล่ม และโดยการศึกษาสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สลักอยู่บนศิลาจารึกและตามอนุสาวรีย์ของชาวมายา.
ทุกวันนี้ ปฏิทินของชาวมายายังคงเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับพวกผู้เชี่ยวชาญ แม้จะมีการศึกษาวิจัยกันมาหลายร้อยปีแล้วก็ตาม. ปฏิทินเหล่านี้มีลักษณะที่สลับซับซ้อนหลายอย่าง เช่น มีการปรับความยาวของปีให้เท่ากับปีสุริยคติพอดี และมีแผนที่แสดงวงโคจรของดวงจันทร์กับดาวเคราะห์ต่าง ๆ ที่ถูกต้องแม่นยำอย่างน่าทึ่ง. ถูกแล้ว ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้ได้มีการคำนวณไว้อย่างชำนาญโดยชาวมายาโบราณ ผู้ซึ่งกำหนดวันเวลาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ.
Cr.
https://wol.jw.org/
ปฏิทิน โรมัน
ปฏิทินของชาวโรมันเมื่อประมาณ 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นปฏิทินแบบสุริยคติ โดยชาวโรมันประยุกต์มาจากปฏิทินของอารยธรรมอื่นอีกทีหนึ่ง กษัตริย์โรมันในยุคแรกกำหนดให้ปฏิทินมี 10 เดือน สันนิษฐานว่าอิงตามเลขฐาน 10 โดยให้เดือน มี.ค. (March) เป็น เดือน 1 ทั้งนี้ เพราะชาวโรมันให้ความเคารพ “มาร์ส” (Mars) เทพเจ้าแห่งสงครามมากเป็นพิเศษ และในแต่ละเดือนจะมี 30 หรือ 31 วัน สลับกันไป ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับปฏิทินจันทรคติ เรื่อยไปจนถึงเดือนสุดท้ายคือเดือน ธ.ค. (December) รวมแล้วมีทั้งหมด 304 วัน
ทว่าเมื่อชาวโรมันใช้ปฏิทินดังกล่าวไปเรื่อยๆ ปรากฏว่าฤดูกาลเริ่มไม่ตรงตามปฏิทิน จนในสมัยกษัตริย์นูมา ปอมปิเลียส (Numa Pompilius) (700 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) กำหนดให้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 2 เดือน คือเดือน ม.ค. (January) และ ก.พ. (February) รวมแล้วมีทั้งสิ้น 355 วัน
กระทั่งในสมัยกษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) (45 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ปรับเปลี่ยนวันในแต่ละเดือนเสียใหม่ ให้เดือน มี.ค. มี 31 วัน เดือนต่อๆ ไปมี 30 และ 31 วันสลับกันเรื่อยๆ จนถึงเดือนสุดท้ายคือ ก.พ. ให้มี 29 วัน รวมเป็น 365 วัน แต่ถ้าปีไหนเป็นปีอธิกสุรทิน ซึ่งมี 366 วัน ให้เดือน ก.พ. มี 30 วัน พร้อมทั้งเปลี่ยนให้เดือน ม.ค. ซึ่งตั้งชื่อเดือนตามเทพเจ้า “เจนัส” (Janus) ผู้มีสองพักตร์ และมีหน้าที่เฝ้าประตูสวรรค์ ให้เป็นเดือนแรกของปี และเรียกปฏิทินนี้ว่า “ปฏิทินจูเลียน” (Julian calendar) รวมถึงเปลี่ยนชื่อเดือนที่ 5 (เดือน ก.ค. เมื่อนับเดือน มี.ค. เป็นเดือน 1) จาก “ควินติลิส” (Quintilis) เป็น “จูไล” (July) ตามชื่อของจูเลียส ซีซาร์
ต่อมากษัตริย์ออกัสตุส ซีซาร์ (Augustus Caesar) ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของจูเลียส ซีซาร์ ต้องการให้มีชื่อตัวเองในปฏิทินเหมือนผู้เป็นบิดาบุญธรรม จึงเปลี่ยนชื่อเดือนที่ 6 (เดือน ส.ค. เมื่อนับเดือน มี.ค. เป็นเดือน 1) จาก “เซกติลิส” (Sextilis) เป็น “ออกัส” (August) และเพิ่มวันให้มี 31 วัน เท่ากับเดือนของพ่อด้วย โดยไปลดเดือน ก.พ. ให้เหลือ 28 วัน ในปีปกติ และเหลือ 29 วันในปีอธิกสุรทิน และนี่คือที่มาของปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ในสมัยต่อมา แต่ได้มีการชำระปฏิทินในสมัยพระสันตปาปาเกรกอรีที่ 13 (Gregory XIII) เมื่อประมาณปี 1582 เนื่องจากวันในปฏิทินเริ่มเกินไปจากความเป็นจริง และเรียกว่า “ปฏิทินจูเลียน-เกรกอเรียน” ที่ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้
Cr.kroochontida.wordpress.com/
ปฏิทินในยุคอารายธรรมเมโสโปเตเมีย
ในสมัยก่อนบางชนชาติก็ไม่ได้กำหนดให้ 1 สัปดาห์ต้องมี 7 วัน เช่น อาณาจักรแอสซีเรียให้ 1 สัปดาห์มี 6 วัน ที่อียิปต์มี 10 วัน และที่ประเทศจีนให้มี 15 วัน
มีการเริ่มใช้ 1 สัปดาห์เท่ากับ 7 วัน ครั้งแรกที่แถบตะวันออกกลาง โหราจารย์ของอารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นผู้กำหนดให้มี 7 วัน ตามจำนวนของดวงดาวบนท้องฟ้าทั้งหมด 7 ดวงที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า
ในยุคเมโสโปเตเมีย เมื่อประมาณ 5,000 ปีที่แล้ว คนในสมัยนั้นเริ่มใช้ดวงจันทร์เป็นเครื่องกำหนดนับช่วงระยะเวลาที่ปัจจุบันเราเรียกว่า "เดือน" ซึ่งง่ายกว่าการสังเกตดวงอาทิตย์ ที่สามารถนับได้เหมือนกัน แต่บอกช่วงเวลายาวนานเป็นรอบปี โดยมีชาวบาบิโลเนียเป็นชนชาติแรกที่กำหนดนับวันโดยวัดระยะเชิงมุมของดวงอาทิตย์ ซึ่งในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ไปประมาณ 1 องศา และครบรอบ 360 องศา ในระเวลา 1 ปี
Cr.mgronline.com/
“ปฏิทินสยาม”
(ปฏิทิน พ.ศ. 2458 จากร้านมรดกไทย ถ่ายโดย ประเวช ตันตราภิรมย์ นิตยสารสารคดี)
การพิมพ์ปฏิทินในเมืองไทย เริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 3 คือมีบันทึกของหมอบรัดเลย์นักสอนศาสนา ระบุว่า เมื่อ ค.ศ. 1842 หรือ พ.ศ. 2385 นั้น มีการพิมพ์ปฏิทินเป็นครั้งแรกในเมืองไทย แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าปฏิทินนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร
เข้าใจว่าปฏิทินครั้งแรกนั้น น่าจะเป็นแบบหนังสือเล่ม เพราะ Bangkok Calendar หรือปฏิทินบางกอกที่หมอบรัดเลย์พิมพ์ขายในสมัยหลังปรากฏในรูปหนังสือ
สมัยรัชกาลที่ 5 หมอสอนศาสนาอีกคนหนึ่งที่ชื่อหมอสมิทก็พิมพ์ปฏิทินออกขาย ในราชสำนักมีการแจกปฏิทินหลวง ส่วนปฏิทินแขวนก็มีให้ซื้อหา ดังโฆษณาในหนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์ ร.ศ. 117 (พ.ศ. 2441) บอกว่ามีปฏิทิน “สำหรับติดฝา” จำหน่าย ขณะนี้เรายังหาไม่พบว่าปฏิทินติดฝาสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นอย่างไร จึงเป็นเรื่องของนักสะสมต้องทำหน้าที่ค้นหากันอีก
ปฏิทินติดฝาหรือปฏิทินแขวนรุ่นเก่าที่พบกันอยู่ในเวลานี้ ยังหาได้แค่สมัยรัชกาลที่ 6 (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2453 – 68)
ข้างบนเป็นปฏิทินสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นของปีเถาะหรือปีกระต่าย พ.ศ. 2458
ข้างบนมีพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 6 พิมพ์ด้วยหมึกสีน้ำตาลอ่อนพิมพ์กลางกรอบลายไทย ส่วนรูปตัวนางสงกรานต์พิมพ์ด้วยหมึก สีเขียวปฏิทินแผ่นนี้เป็นของนักสะสมชั้นปรมาจารย์ท่านหนึ่ง ถือว่าค่อนข้างสมบูรณ์และเก็บรักษาได้ดี
(ที่มาคัดลอกส่วนหนึ่งจาก “แบบว่าสี่ร้อยห้าสิบจำพวก กับปฏิทิน พ.ศ. 2458”. จากหนังสือ “ภาพถ่ายและสิ่งพิมพ์”. โดย เอนก นาวิกมูล. สำนักพิมพ์มติชน. 2549)
Cr.silpa-mag.com/
ปฏิทินในยุคโบราณ
แต่ก่อนนี้ เข้าใจกันว่า กรีซเป็นชาติแรกที่คิดค้นเรื่องของ “ปฏิทิน” ได้ ต่อเมื่อได้พบภาพแกะปฏิทินสลักบนผนังแห่งวิหารแห่งเมืองคาร์นัค จึงได้ทราบว่า แท้ที่จริงแล้วผู้ที่คิดค้นได้คนแรกคือ บรรพชนม์ชาวอียิปต์แต่โบราณกาลนั่นเอง เมื่อประดิษฐ์ตัวอักษร ประดิษฐ์แผ่นกระดาษสำหรับเขียน มีสีหมึกและมีปากกาแล้ว การบันทึกความจำได้บนแผ่นกระดาษจึงเกิดขึ้นในเวลาต่อมา และแพร่หลายไปทั่วทุกทวีป
ชาวอียิปต์โบราณนับวัน เดือน ปี เช่นเดียวกับชาติโบราณอื่นๆ คือ นับทาง “จันทรคติ” โดยกำหนดเอาข้างขึ้นคือคืนที่พระจันทร์ส่งแสงเต็มดวงคืนแรก ไปบรรจบกับคืนที่พระจันทร์ส่องแสงเต็มดวงในคราวต่อไป ซึ่งก็ถือว่าเป็น “หนึ่งเดือน” หรือ “หนึ่งรอบ” เพื่อใช้ในสัญญาที่ชาวนายืมข้าวมากิน เช่น ขอยืมข้าวมาเป็นเวลา 9 เดือน
เมื่อพระจันทร์ส่งแสงเต็มดวงแล้ว 8 ครั้ง ก็หมายความว่ามีเวลาเพียงพระจันทร์เต็มดวงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็คือ 1 เดือน ก็จะต้องนำข้าวที่ยืมมานั้นไปคืนเจ้าของ แต่จากการที่นับเดือนทางจันทรคตินี้ ในเดือนหนึ่งๆ ที่จะถึงพระจันทร์เต็มดวงนี้มีไม่เท่ากัน บางเดือนก็มี 29 วันบ้าง 30 วันบ้าง ไม่แน่นอน ทำให้จำนวนวันในปีหนึ่งๆ ไม่เท่าเทียมกัน
ต่อมาจึงได้จัดทำปฏิทินขึ้นมาใหม่เสีย โดยเริ่มจากหลักการที่ว่า
“ให้ 1 ปีมี 12 เดือน”
“ให้ 1 เดือนมี 30 วันเท่ากันหมด”
“ให้ 1 ปีมี 360 วัน”
“ครบ 1 ปีแล้วก็ให้เพิ่มอีก 5 วัน รวมเป็น 365 วัน” โดยกำหนดให้ 5 วันสุดท้ายของปีนั้น เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีของประชาชน
นักโบราณศึกษายกย่องให้ชาวอียิปต์โบราณคือผู้ที่คิดค้น “ปฏิทินของโลก” และในกาลต่อมาเมื่อชาวยุโรปรุ่นหลัง ๆ ได้รู้จักวิชาดาราศาสตร์มากขึ้น จึงได้พัฒนาและดัดแปลงจำนวนวันในแต่ละเดือนให้มี 30 วันบ้าง 31 วันบ้าง และเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันบ้าง 29 วันบ้างตามเหตุผลทางอธิกมาส เช่นที่พวกเราคุ้นเคยในทุกวันนี้
Cr.https://board.postjung.com/
Celtic Tree Calendar
ปฏิทินของชาวเคลท์นั้นต่างจากปฏิทินทั่วไป คือมีเดือนทั้งสิ้น 13 เดือน ชื่อของเดือนต่างๆนั้นนำมาจากชื่อของต้นไม้ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับวงโคจรของดวงจันทร์ ที่เลือกใช้ต้นไม้เป็นสัญลักษณ์เนื่องจากชาวเคลท์นั้นให้ความสำคัญกับต้นไม้เอามากๆ
ต้นไม้นั้นเปรียบเสมือนสัญลักษณ์เวทย์มนต์ที่ทรงอำนาจมากที่สุดสำหรับชาวเคลท์ เท่านั้นไม่พอต้นไม้ยังเปรียบเสมือนสะพานที่นำพาน้ำจากพื้นดินขึ้นสู่ท้องฟ้า ทั้งยังให้อาหาร ให้ที่หลบภัย ให้ความอบอุ่น เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ และยารักษาโรค เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ต้นไม้จะเป็นสิ่งแรกที่ย้ำเตือนชาวเคลท์ให้รู้ล่วงหน้า นอกจากนี้ต้นไม่ยังเปรียบเป็นวงจรชีวิตของมนุษย์ วงจรแห่งการเกิดและการดับสูญ ต้นไม้มีชีวิตที่ยาวนานกว่ามนุษย์ ดังนั้นต้นไม้จึงเป็นสิ่งที่ส่งต่อความทรงจำของมนุษย์ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้นับร้อยนับพันปี ด้วยเหตุนี้ปฏิทินเคลติกจึงมีชื่อเรียกว่า "ปฏิทินต้นไม้" มีทั้งสิ้น 13 เดือนดังนี้
Beth (Birch) 24 ธันวาคม - 20 มกราคม
* Luis (Rowan) 21 มกราคม - 17 กุมภาพันธ์
* Nion (Ash) 18 กุมภาพันธ์ - 17 มีนาคม
* Fearn (Alder) 18 มีนาคม - 14 เมษายน
* Saille (Willow) 15 เมษายน - 12 พฤษภาคม
* Uath (Hawthorn) 13 พฤษภาคม - 9 มิถุนายน
* Duir (Oak) 10 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม
* Tinne (Holly) 8 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม
* Coll (Hazel) 5 สิงหาคม - 1 กันยายน
* Muin (Vine) 2 กันยายน - 29 กันยายน
* Gort (Ivy) 30 กันยายน - 27 ตุลาคม
* Ngetal (Reed) 28 ตุลาคม - 24 พฤศจิกายน
* Ruis (Elder) 25 พฤศจิกายน - 22 ธันวาคม
Cr.board.postjung.com/
ปฏิทินมายาโบราณ
สำหรับชาวมายาโบราณ* การบันทึกวันเวลาเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง. ปฏิทินของชาวมายาแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเชื่อว่าเหตุการณ์บางอย่างจะเกิดขึ้นซ้ำอีก.
สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเรียกว่า ปฏิทินทโซลคิน (การนับวัน) นั้นเป็นปฏิทินที่มี 260 วัน โดยแบ่งนับเป็น 13 ช่วง. แต่ละช่วงนาน 20 วัน แต่ละวันมีชื่อเรียกต่างกัน. ชาวมายาใช้ปฏิทินทโซลคินเพื่อกำหนดพิธีการทางศาสนา และใช้ในการทำนายโชคชะตา.
นอกจากปฏิทินทางศาสนาแล้ว ยังมีการใช้ปฏิทินอีกแบบหนึ่งด้วย คือปฏิทินธรรมดาหรือปฏิทินฮาบ. นี่เป็นปฏิทินทางสุริยคติซึ่งมี 365 วัน. หนึ่งปีมี 19 เดือน แต่ละเดือนมี 20 วัน ยกเว้นเดือนหนึ่งที่มีเพียงห้าวัน รวมทั้งหมดเป็น 365 วัน.
การทำการเกษตรและชีวิตประจำวันของชาวมายาอาศัยปีสุริยคตินี้เป็นหลัก. ชาวมายาที่ฉลาดหลักแหลมได้รวมปฏิทินสองแบบนี้เข้าด้วยกัน กลายเป็นปฏิทินที่นักวิจัยเรียกกันว่าปฏิทินรอบใหญ่ ซึ่งจะบอกวันที่ตามลักษณะของปฏิทินทั้งสองแบบ. ต้องใช้เวลานานถึง 52 ปี กว่าปฏิทินรอบใหญ่นี้จะวนครบหนึ่งรอบ.*
ไม่มีการพบสิ่งประดิษฐ์ใดที่แสดงให้เห็นปฏิทินของชาวมายาทั้งหมด. พวกผู้คงแก่เรียนเข้าใจเรื่องระบบปฏิทินนี้โดยอาศัยการถอดความจากหนังสือของชาวมายาที่ยังคงเหลืออยู่เพียงไม่กี่เล่ม และโดยการศึกษาสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สลักอยู่บนศิลาจารึกและตามอนุสาวรีย์ของชาวมายา.
ทุกวันนี้ ปฏิทินของชาวมายายังคงเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับพวกผู้เชี่ยวชาญ แม้จะมีการศึกษาวิจัยกันมาหลายร้อยปีแล้วก็ตาม. ปฏิทินเหล่านี้มีลักษณะที่สลับซับซ้อนหลายอย่าง เช่น มีการปรับความยาวของปีให้เท่ากับปีสุริยคติพอดี และมีแผนที่แสดงวงโคจรของดวงจันทร์กับดาวเคราะห์ต่าง ๆ ที่ถูกต้องแม่นยำอย่างน่าทึ่ง. ถูกแล้ว ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้ได้มีการคำนวณไว้อย่างชำนาญโดยชาวมายาโบราณ ผู้ซึ่งกำหนดวันเวลาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ.
Cr.https://wol.jw.org/
ปฏิทิน โรมัน
ปฏิทินของชาวโรมันเมื่อประมาณ 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นปฏิทินแบบสุริยคติ โดยชาวโรมันประยุกต์มาจากปฏิทินของอารยธรรมอื่นอีกทีหนึ่ง กษัตริย์โรมันในยุคแรกกำหนดให้ปฏิทินมี 10 เดือน สันนิษฐานว่าอิงตามเลขฐาน 10 โดยให้เดือน มี.ค. (March) เป็น เดือน 1 ทั้งนี้ เพราะชาวโรมันให้ความเคารพ “มาร์ส” (Mars) เทพเจ้าแห่งสงครามมากเป็นพิเศษ และในแต่ละเดือนจะมี 30 หรือ 31 วัน สลับกันไป ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับปฏิทินจันทรคติ เรื่อยไปจนถึงเดือนสุดท้ายคือเดือน ธ.ค. (December) รวมแล้วมีทั้งหมด 304 วัน
ทว่าเมื่อชาวโรมันใช้ปฏิทินดังกล่าวไปเรื่อยๆ ปรากฏว่าฤดูกาลเริ่มไม่ตรงตามปฏิทิน จนในสมัยกษัตริย์นูมา ปอมปิเลียส (Numa Pompilius) (700 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) กำหนดให้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 2 เดือน คือเดือน ม.ค. (January) และ ก.พ. (February) รวมแล้วมีทั้งสิ้น 355 วัน
กระทั่งในสมัยกษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) (45 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ปรับเปลี่ยนวันในแต่ละเดือนเสียใหม่ ให้เดือน มี.ค. มี 31 วัน เดือนต่อๆ ไปมี 30 และ 31 วันสลับกันเรื่อยๆ จนถึงเดือนสุดท้ายคือ ก.พ. ให้มี 29 วัน รวมเป็น 365 วัน แต่ถ้าปีไหนเป็นปีอธิกสุรทิน ซึ่งมี 366 วัน ให้เดือน ก.พ. มี 30 วัน พร้อมทั้งเปลี่ยนให้เดือน ม.ค. ซึ่งตั้งชื่อเดือนตามเทพเจ้า “เจนัส” (Janus) ผู้มีสองพักตร์ และมีหน้าที่เฝ้าประตูสวรรค์ ให้เป็นเดือนแรกของปี และเรียกปฏิทินนี้ว่า “ปฏิทินจูเลียน” (Julian calendar) รวมถึงเปลี่ยนชื่อเดือนที่ 5 (เดือน ก.ค. เมื่อนับเดือน มี.ค. เป็นเดือน 1) จาก “ควินติลิส” (Quintilis) เป็น “จูไล” (July) ตามชื่อของจูเลียส ซีซาร์
ต่อมากษัตริย์ออกัสตุส ซีซาร์ (Augustus Caesar) ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของจูเลียส ซีซาร์ ต้องการให้มีชื่อตัวเองในปฏิทินเหมือนผู้เป็นบิดาบุญธรรม จึงเปลี่ยนชื่อเดือนที่ 6 (เดือน ส.ค. เมื่อนับเดือน มี.ค. เป็นเดือน 1) จาก “เซกติลิส” (Sextilis) เป็น “ออกัส” (August) และเพิ่มวันให้มี 31 วัน เท่ากับเดือนของพ่อด้วย โดยไปลดเดือน ก.พ. ให้เหลือ 28 วัน ในปีปกติ และเหลือ 29 วันในปีอธิกสุรทิน และนี่คือที่มาของปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ในสมัยต่อมา แต่ได้มีการชำระปฏิทินในสมัยพระสันตปาปาเกรกอรีที่ 13 (Gregory XIII) เมื่อประมาณปี 1582 เนื่องจากวันในปฏิทินเริ่มเกินไปจากความเป็นจริง และเรียกว่า “ปฏิทินจูเลียน-เกรกอเรียน” ที่ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้
Cr.kroochontida.wordpress.com/
ปฏิทินในยุคอารายธรรมเมโสโปเตเมีย
ในสมัยก่อนบางชนชาติก็ไม่ได้กำหนดให้ 1 สัปดาห์ต้องมี 7 วัน เช่น อาณาจักรแอสซีเรียให้ 1 สัปดาห์มี 6 วัน ที่อียิปต์มี 10 วัน และที่ประเทศจีนให้มี 15 วัน
มีการเริ่มใช้ 1 สัปดาห์เท่ากับ 7 วัน ครั้งแรกที่แถบตะวันออกกลาง โหราจารย์ของอารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นผู้กำหนดให้มี 7 วัน ตามจำนวนของดวงดาวบนท้องฟ้าทั้งหมด 7 ดวงที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า
ในยุคเมโสโปเตเมีย เมื่อประมาณ 5,000 ปีที่แล้ว คนในสมัยนั้นเริ่มใช้ดวงจันทร์เป็นเครื่องกำหนดนับช่วงระยะเวลาที่ปัจจุบันเราเรียกว่า "เดือน" ซึ่งง่ายกว่าการสังเกตดวงอาทิตย์ ที่สามารถนับได้เหมือนกัน แต่บอกช่วงเวลายาวนานเป็นรอบปี โดยมีชาวบาบิโลเนียเป็นชนชาติแรกที่กำหนดนับวันโดยวัดระยะเชิงมุมของดวงอาทิตย์ ซึ่งในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ไปประมาณ 1 องศา และครบรอบ 360 องศา ในระเวลา 1 ปี
Cr.mgronline.com/
“ปฏิทินสยาม”
(ปฏิทิน พ.ศ. 2458 จากร้านมรดกไทย ถ่ายโดย ประเวช ตันตราภิรมย์ นิตยสารสารคดี)
การพิมพ์ปฏิทินในเมืองไทย เริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 3 คือมีบันทึกของหมอบรัดเลย์นักสอนศาสนา ระบุว่า เมื่อ ค.ศ. 1842 หรือ พ.ศ. 2385 นั้น มีการพิมพ์ปฏิทินเป็นครั้งแรกในเมืองไทย แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าปฏิทินนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร
เข้าใจว่าปฏิทินครั้งแรกนั้น น่าจะเป็นแบบหนังสือเล่ม เพราะ Bangkok Calendar หรือปฏิทินบางกอกที่หมอบรัดเลย์พิมพ์ขายในสมัยหลังปรากฏในรูปหนังสือ
สมัยรัชกาลที่ 5 หมอสอนศาสนาอีกคนหนึ่งที่ชื่อหมอสมิทก็พิมพ์ปฏิทินออกขาย ในราชสำนักมีการแจกปฏิทินหลวง ส่วนปฏิทินแขวนก็มีให้ซื้อหา ดังโฆษณาในหนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์ ร.ศ. 117 (พ.ศ. 2441) บอกว่ามีปฏิทิน “สำหรับติดฝา” จำหน่าย ขณะนี้เรายังหาไม่พบว่าปฏิทินติดฝาสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นอย่างไร จึงเป็นเรื่องของนักสะสมต้องทำหน้าที่ค้นหากันอีก
ปฏิทินติดฝาหรือปฏิทินแขวนรุ่นเก่าที่พบกันอยู่ในเวลานี้ ยังหาได้แค่สมัยรัชกาลที่ 6 (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2453 – 68)
ข้างบนเป็นปฏิทินสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นของปีเถาะหรือปีกระต่าย พ.ศ. 2458
ข้างบนมีพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 6 พิมพ์ด้วยหมึกสีน้ำตาลอ่อนพิมพ์กลางกรอบลายไทย ส่วนรูปตัวนางสงกรานต์พิมพ์ด้วยหมึก สีเขียวปฏิทินแผ่นนี้เป็นของนักสะสมชั้นปรมาจารย์ท่านหนึ่ง ถือว่าค่อนข้างสมบูรณ์และเก็บรักษาได้ดี
(ที่มาคัดลอกส่วนหนึ่งจาก “แบบว่าสี่ร้อยห้าสิบจำพวก กับปฏิทิน พ.ศ. 2458”. จากหนังสือ “ภาพถ่ายและสิ่งพิมพ์”. โดย เอนก นาวิกมูล. สำนักพิมพ์มติชน. 2549)
Cr.silpa-mag.com/