ปฏิทินจูเลียน : ที่มาของปฏิทินสากล
-------
เรื่องราวของปฏิทินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก กว่าเราจะมีปฏิทินดีๆ ใช้กัน ก็ต้องผ่านร้อนผ่านหนาวกันมามาก มีประวัติที่น่าสนใจและน่ารู้มากมาย
ในบทความนี้ผมจะเริ่มเล่าถึงปฏิทินจูเลียนที่เป็นจุดเริ่มต้นของปฏิทินสากลก่อน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการอ่านบทความเกี่ยวกับปฏิทินสากล และปฏิทินสากลของไทย ในตอนต่อๆ ไป
---
ปฏิทินสุริยคติแบบจูเลียน หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ปฏิทินจูเลียน (Julian Calendar) ได้ถูกนำมาใช้เมื่อ 45 ปีก่อน ค.ศ. โดยจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้ให้นักดาราศาสตร์ชาวกรีก โสสิเจนเนส(Sosigenes) มาปรับปรุงปฏิทินเดิมของโรมัน
ปฏิทินโรมันเดิมนั้นใช้ดวงจันทร์เป็นตัวกำหนดนัดหมาย โดยแต่ละปีจะมี 12 เดือน แต่ในบางปีจะมี 13 เดือน เช่นเดียวกับปฏิทินยิว อินเดีย และจีน โดยปฏิทินจันทรคติไทยก็มี 12-13 เดือนเช่นเดียวกัน
ในปฏิทินจูเลียนนั้น จะไม่ใช้พระจันทร์เป็นตัวนัดหมาย แต่เปลี่ยนมาใช้วันในแต่ละราศีแทน ซึ่งใช้พระอาทิตย์กำหนดระยะเวลารอบปี โดย 1 ปีจะมี 12 เดือนเสมอ และได้กำหนดว่า ในทุก 4 ปี จะมี 3 ปีที่มี 365 วัน และมี 1 ปีที่มี 366 วัน การกำหนดเช่นนี้จะทำให้ค่าเฉลี่ยของ 1 ปีในปฏิทินจูเลียนเท่ากับ 365.25 วัน
ปฏิทินจูเลียนได้ถูกนำมาใช้งานในอาณาจักรโรมัน บริเวณส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป รวมถึงชาวยุโรปที่ไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาและที่อื่นๆ จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ได้มีการปรับปฏิทินให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่อมาเรียกชื่อปฏิทินใหม่ว่าปฏิทินเกรกอเรียน จากนั้นในหลายประเทศก็ค่อยๆ เปลี่ยนมาใช้ปฏิทินเกรกอเรียนกันแทบทั้งหมด
---
หลักเกณฑ์เพื่อดูว่าแต่ละปีในปฏิทินจูเลียนว่ามีกี่วัน มีดังนี้ ทุกปีจะมี 365 วัน ยกเว้นในปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัวจะมี 366 วัน โดยเพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์เข้ามา
เนื่องจากปี ค.ศ. 100, ค.ศ. 404 และ ค.ศ. 1640 หารด้วย 4 ลงตัวทุกปี จึงได้ว่าแต่ละปีดังกล่าวจะมี 366 วัน
จากปี ค.ศ. 243 ค.ศ. 406 และ ค.ศ.1242 นั้น หารด้วย 4 ไม่ลงตัวทุกปี จึงได้ว่าแต่ละปีดังกล่าวจะมี 365 วัน
ยังมีเทคนิคง่ายๆ ที่ใช้ตรวจสอบว่าเลขแต่ละตัวหารด้วย 4 ลงตัวหรือไม่ นั่นคือ การตรวจสอบเพียงแค่ตัวเลขสองตัวท้ายสุด กล่าวคือ ปี ค.ศ. ที่กำหนดให้จะหารด้วย 4 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ ตัวเลขสองหลักสุดท้ายของปี ค.ศ. นั้นหารด้วย 4 ลงตัว ยกตัวอย่างเช่น ปี ค.ศ. 1912 หารด้วย 4 ลงตัว เพราะ 12/4 ลงตัว
---
อันที่จริง 1 ปีฤดูกาลทางดาราศาสตร์ หรือปีทางสุริยคตินั้นเท่ากับ 365.24219 วัน ถ้าดูผิวเผินก็ไม่ต่างจากปฏิทินปีจูเลียนซึ่ง 1 ปีเท่ากับ 365.25 วัน
ดังนั้นแต่ละปี ปฏิทินจูเลียนจะผิดไปจากปีฤดูกาลปีละ
365.25 - 365.24219 = 0.00781 วัน
หากพิจารณาในรอบ 400 ปี จะพบว่า
0.00781x400 = 3.124 วัน
ดังนั้นในปฏิทินเกรกอเรียนจึงถูกปรับจากปฏิทินจูเลียนใหม่เพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากขึ้น โดยทุก 400 ปี จะมีการลดจำนวนวันออกไป 3 วัน ซึ่งจะอธิบายในบทความเกี่ยวกับปฏิทินเกรอเรียน
ประวัติของปฏิทินเกรกอเรียนนั้นสนุกกว่ามาก ซึ่งมีการลบวันออกจากปฏิทินมากถึง 10 วัน เขาทำกันอย่างไร ผมจะได้มาเล่าให้ฟังต่อไป
Dr.Noom MathLover
หากสนใจอ่านบทความในลักษณะนี้ สามารถไปชมที่
https://www.facebook.com/Dr.NoomMathLove
*** เอกสารอ้างอิง
- ลอย ชุนพงษ์ทอง, ปฏิทินไทยเชิงดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1, รัฐยาการพิมพ์, พ.ศ. 2550
- สมัย ยอดอินทร์ และคณะ, งานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่องการเป็นหรือไม่เป็นปีอธิกมาสของปฏิทินจันทรคติไทย ปี พ.ศ. 2555, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พ.ศ. 2555
-
https://en.wikipedia.org/wiki/Julian_calendar
ปฏิทินจูเลียน : ที่มาของปฏิทินสากล
ปฏิทินจูเลียน : ที่มาของปฏิทินสากล
-------
เรื่องราวของปฏิทินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก กว่าเราจะมีปฏิทินดีๆ ใช้กัน ก็ต้องผ่านร้อนผ่านหนาวกันมามาก มีประวัติที่น่าสนใจและน่ารู้มากมาย
ในบทความนี้ผมจะเริ่มเล่าถึงปฏิทินจูเลียนที่เป็นจุดเริ่มต้นของปฏิทินสากลก่อน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการอ่านบทความเกี่ยวกับปฏิทินสากล และปฏิทินสากลของไทย ในตอนต่อๆ ไป
---
ปฏิทินสุริยคติแบบจูเลียน หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ปฏิทินจูเลียน (Julian Calendar) ได้ถูกนำมาใช้เมื่อ 45 ปีก่อน ค.ศ. โดยจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้ให้นักดาราศาสตร์ชาวกรีก โสสิเจนเนส(Sosigenes) มาปรับปรุงปฏิทินเดิมของโรมัน
ปฏิทินโรมันเดิมนั้นใช้ดวงจันทร์เป็นตัวกำหนดนัดหมาย โดยแต่ละปีจะมี 12 เดือน แต่ในบางปีจะมี 13 เดือน เช่นเดียวกับปฏิทินยิว อินเดีย และจีน โดยปฏิทินจันทรคติไทยก็มี 12-13 เดือนเช่นเดียวกัน
ในปฏิทินจูเลียนนั้น จะไม่ใช้พระจันทร์เป็นตัวนัดหมาย แต่เปลี่ยนมาใช้วันในแต่ละราศีแทน ซึ่งใช้พระอาทิตย์กำหนดระยะเวลารอบปี โดย 1 ปีจะมี 12 เดือนเสมอ และได้กำหนดว่า ในทุก 4 ปี จะมี 3 ปีที่มี 365 วัน และมี 1 ปีที่มี 366 วัน การกำหนดเช่นนี้จะทำให้ค่าเฉลี่ยของ 1 ปีในปฏิทินจูเลียนเท่ากับ 365.25 วัน
ปฏิทินจูเลียนได้ถูกนำมาใช้งานในอาณาจักรโรมัน บริเวณส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป รวมถึงชาวยุโรปที่ไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาและที่อื่นๆ จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ได้มีการปรับปฏิทินให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่อมาเรียกชื่อปฏิทินใหม่ว่าปฏิทินเกรกอเรียน จากนั้นในหลายประเทศก็ค่อยๆ เปลี่ยนมาใช้ปฏิทินเกรกอเรียนกันแทบทั้งหมด
---
หลักเกณฑ์เพื่อดูว่าแต่ละปีในปฏิทินจูเลียนว่ามีกี่วัน มีดังนี้ ทุกปีจะมี 365 วัน ยกเว้นในปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัวจะมี 366 วัน โดยเพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์เข้ามา
เนื่องจากปี ค.ศ. 100, ค.ศ. 404 และ ค.ศ. 1640 หารด้วย 4 ลงตัวทุกปี จึงได้ว่าแต่ละปีดังกล่าวจะมี 366 วัน
จากปี ค.ศ. 243 ค.ศ. 406 และ ค.ศ.1242 นั้น หารด้วย 4 ไม่ลงตัวทุกปี จึงได้ว่าแต่ละปีดังกล่าวจะมี 365 วัน
ยังมีเทคนิคง่ายๆ ที่ใช้ตรวจสอบว่าเลขแต่ละตัวหารด้วย 4 ลงตัวหรือไม่ นั่นคือ การตรวจสอบเพียงแค่ตัวเลขสองตัวท้ายสุด กล่าวคือ ปี ค.ศ. ที่กำหนดให้จะหารด้วย 4 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ ตัวเลขสองหลักสุดท้ายของปี ค.ศ. นั้นหารด้วย 4 ลงตัว ยกตัวอย่างเช่น ปี ค.ศ. 1912 หารด้วย 4 ลงตัว เพราะ 12/4 ลงตัว
---
อันที่จริง 1 ปีฤดูกาลทางดาราศาสตร์ หรือปีทางสุริยคตินั้นเท่ากับ 365.24219 วัน ถ้าดูผิวเผินก็ไม่ต่างจากปฏิทินปีจูเลียนซึ่ง 1 ปีเท่ากับ 365.25 วัน
ดังนั้นแต่ละปี ปฏิทินจูเลียนจะผิดไปจากปีฤดูกาลปีละ
365.25 - 365.24219 = 0.00781 วัน
หากพิจารณาในรอบ 400 ปี จะพบว่า
0.00781x400 = 3.124 วัน
ดังนั้นในปฏิทินเกรกอเรียนจึงถูกปรับจากปฏิทินจูเลียนใหม่เพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากขึ้น โดยทุก 400 ปี จะมีการลดจำนวนวันออกไป 3 วัน ซึ่งจะอธิบายในบทความเกี่ยวกับปฏิทินเกรอเรียน
ประวัติของปฏิทินเกรกอเรียนนั้นสนุกกว่ามาก ซึ่งมีการลบวันออกจากปฏิทินมากถึง 10 วัน เขาทำกันอย่างไร ผมจะได้มาเล่าให้ฟังต่อไป
Dr.Noom MathLover
หากสนใจอ่านบทความในลักษณะนี้ สามารถไปชมที่ https://www.facebook.com/Dr.NoomMathLove
*** เอกสารอ้างอิง
- ลอย ชุนพงษ์ทอง, ปฏิทินไทยเชิงดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1, รัฐยาการพิมพ์, พ.ศ. 2550
- สมัย ยอดอินทร์ และคณะ, งานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่องการเป็นหรือไม่เป็นปีอธิกมาสของปฏิทินจันทรคติไทย ปี พ.ศ. 2555, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พ.ศ. 2555
- https://en.wikipedia.org/wiki/Julian_calendar