ประโยชน์ของการใช้ kinesiology tape

กระทู้สนทนา
               ในช่วงที่ผ่านมานี้ หลายคนคงสังเกตได้ว่านักกีฬาชื่อดังต่างๆนิยมใช้เทปสีต่างๆติดตามร่างกาย  
โดยเทปที่ใช้ในการรักษาแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
                     1.    Rigid tape  เทปชนิดนี้เป็นเทปผ้าไม่มีความยืดหยุ่น  ใช้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
ปัจจุบันไม่นิยมใช้เนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านการเคลื่อนไหว
                     2.    Elastic tape เทปชนิดนี้เป็นเทปกาวผ้า มีความยืดหยุ่น ใช้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
หรือส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น  ปัจจุบันมีการพัฒนาเทปชนิดนี้ขึ้นเป็นเทปสีๆที่เราเห็น
หรือที่เรียกว่า kinesiology tape โดยคุณสมบัติเพิ่มเติมเข้ามาคือเมื่อติดเทปบริเวณที่มีพยาธิสภาพ ตัวเทปจะช่วยยกผิวหนัง
เพื่อช่วยเพิ่มระบบการไหลเวียนโลหิต  บรรเทาอาการปวดและบวม
              
              หากย้อนกลับไปเมื่อปี 1970 มีนายแพทย์ชาวญี่ปุ่นค้นพบว่าการรักษาด้วยผ้ายางหนืดแบบมาตรฐานมีข้อจำกัดมากเกินไป
โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นนักกีฬา จึงพยายามทำวิจัยเพื่อผลิตเทปสีลดปวดหรือ kinesiology tape นี้ขึ้น  
เพื่อให้นักกีฬาที่มีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อยังสามารถทำการแข่งขันต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              ปัจจุบันเทปสีลดปวดนิยมใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น  มีการนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาคนไข้ประเภทต่างๆมากขึ้น
โดยเฉพาะในผู้ป่วยระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันอย่างใกล้เคียงปกติมากที่สุด  
ในการติด kinesiology tape ควรได้รับการติดโดยผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัดเพื่อประสิทธิภาพในการรักษา

              ประโยชน์ของการใช้ kinesiology tape
                     1.    จำกัดหรือลดการหดตัวของกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวด
                     2.    ส่งเสริมการหดตัวของกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเคลื่อนไหว
                     3.    ลดอาการปวดและบวม
             ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้ kinesiology tape
                     1.    มีการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง
                     2.    มีแผลเปิด
                     3.    เบาหวาน
                     4.    มะเร็งระยะแพร่กระจาย
                     5.    มีอาการแพ้เทป
                     6.    ผิวหนังอักเสบ
                     7.    ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ

บทความโดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่