ผู้ป่วยจิตเวชเป็นผู้มีภาวะทางอารมณ์ บุคลิกภาพและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ อาจส่งผลให้เกิดอาการแสดงทางกายต่างๆ ที่ต้องได้รับการดูแล เช่น กลุ่มอาการเหนื่อยง่าย อ่อนล้า ไม่มีเรี่ยวแรง นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก และหายใจได้ไม่เต็มที่ กลุ่มอาการปวดเกร็งตามกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด ในผู้ที่มีความเครียดและวิตกกังวล และกลุ่มอาการที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนทางกาย เช่น น้ำหนักตัวและมวลกล้ามเนื้อลดลงจากอาการไม่อยากอาหาร จากการติดสุรา-สารเสพติด อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อในผู้ที่อยู่ในลักษณะท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานจนทำให้กล้ามเนื้อหดสั้น ข้อต่อยึดติด การขยายตัวของทรวงอกลดลง ส่งผลให้สมรรถภาพทางร่างกายโดยรวม (Physical Fitness) ด้อยลง การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายด้วยกายภาพบำบัดจึงมีบทบาทสำคัญ ในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายที่มีความบกพร่องและการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ ควบคู่ไปกับการรักษาทางจิตใจ
การรักษาฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด สามารถทำได้ทั้งในผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ผู้ป่วยจิตเวชผู้ใหญ่ และผู้ป่วยจิตเวชผู้สูงอายุ โดยให้บริการรักษาฟื้นฟูแบบรายบุคคล (Individual Physical Therapy)
เมื่อแพทย์ได้ทำการตรวจประเมินผู้ป่วย และพบว่ามีความบกพร่องของร่างกายหรือมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ และเห็นควรได้รับการรักษาฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับการรักษาทางจิตเวช นักกายภาพบำบัดจะทำการตรวจประเมินร่างกาย วิเคราะห์ผล วินิจฉัยโรค ร่วมกับทีมสหวิชาชีพเพื่อวางแผนการรักษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับผู้ป่วยแต่ละรายและแต่ละอาการขณะนั้น โดยให้การบำบัดรักษาตามความบกพร่องที่พบด้วยเทคนิควิธีการทางกายภาพบำบัด การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด รวมถึงการจัดกิจกรรมออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ ให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล เพื่อส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายต่อผู้ป่วยให้สมบูรณ์มากขึ้น เช่น การออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวร่างกาย ควบคุมน้ำหนักตัว ส่งเสริมความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ คงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ เพิ่มประสิทธิภาพการหายใจและการขยายตัวของทรวงอก ลดอาการปวดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ หรือเพื่อพัฒนาสมองและเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทรงตัว เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ทีมนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำการออกกำลังกายตามความสนใจของผู้ป่วย รวมถึงเฝ้าระวังความปลอดภัยจากความเสี่ยงและอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการบำบัดอีกด้วย
ตัวอย่างกิจกรรมทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยจิตเวช
1. การตรวจประเมินทางกายภาพบำบัด และการประเมินความเสี่ยงต่างๆ
2. การให้บริการรักษาฟื้นฟูด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น
• การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง (Ultrasound)
• การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation)
• การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียงร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า (US combine ES)
• การรักษาด้วยแผ่นประคบร้อน (Hot Pack)
• การรักษาด้วยแผ่นประคบเย็น (Cold Pack)
• การรักษาด้วยผ้ายืด (Bandage)
• การรักษาด้วยเทปบำบัด (Kinesio Tape)
3. การให้บริการด้วยเทคนิควิธีการทางกายภาพบำบัด เช่น
• Fascia release technique, Soft tissue release technique
• Swedish massage, Deep friction massage
• Joint mobilization technique
4. การให้บริการด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการรักษา เช่น
• โปรแกรมเพิ่มการทำงานของกระดูกและข้อต่อ เช่น ฝึกพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ฝึกความมั่นคงในการลงน้ำหนักของข้อต่อ เป็นต้น
• โปรแกรมฝึกกล้ามเนื้อ เช่น ฝึกยืดเหยียด ฝึกความแข็งแรง ฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อแกนกลางร่างกาย ฝึกกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อหายใจ เป็นต้น
• โปรแกรมฝึกระบบประสาท เช่น ฝึกการทรงตัว ฝึกการเคลื่อนไหวอย่างเป็นเป็นระบบ ฝึกการ ทำงานประสานสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อร่างกาย
• โปรแกรมฝึกความทนทานของฟังก์ชั่นหัวใจและปอด
• โปรแกรมแนะนำวิธีการหายใจ การไอ การจามในผู้สูงอายุ ผู้มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และผู้เหนื่อยง่าย
• โปรแกรมผ่อนคลาย กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าและปาก
• โปรแกรมฝึกออกกำลังกายเพื่อปรับท่าทาง และปรับบุคลิกภาพภายนอก
• จัดกิจกรรมออกกำลังกายตามความชอบและสนใจเพื่อสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกาย และกระตุ้นการทำงานของร่างกายโดยรวม
• โปรแกรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้เหมาะสมไปในแต่ละบุคคล
“กายภาพบำบัด” ช่วยผู้ป่วยจิตเวชได้อย่างไร
การรักษาฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด สามารถทำได้ทั้งในผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ผู้ป่วยจิตเวชผู้ใหญ่ และผู้ป่วยจิตเวชผู้สูงอายุ โดยให้บริการรักษาฟื้นฟูแบบรายบุคคล (Individual Physical Therapy)
เมื่อแพทย์ได้ทำการตรวจประเมินผู้ป่วย และพบว่ามีความบกพร่องของร่างกายหรือมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ และเห็นควรได้รับการรักษาฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับการรักษาทางจิตเวช นักกายภาพบำบัดจะทำการตรวจประเมินร่างกาย วิเคราะห์ผล วินิจฉัยโรค ร่วมกับทีมสหวิชาชีพเพื่อวางแผนการรักษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับผู้ป่วยแต่ละรายและแต่ละอาการขณะนั้น โดยให้การบำบัดรักษาตามความบกพร่องที่พบด้วยเทคนิควิธีการทางกายภาพบำบัด การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด รวมถึงการจัดกิจกรรมออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ ให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล เพื่อส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายต่อผู้ป่วยให้สมบูรณ์มากขึ้น เช่น การออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวร่างกาย ควบคุมน้ำหนักตัว ส่งเสริมความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ คงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ เพิ่มประสิทธิภาพการหายใจและการขยายตัวของทรวงอก ลดอาการปวดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ หรือเพื่อพัฒนาสมองและเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทรงตัว เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ทีมนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำการออกกำลังกายตามความสนใจของผู้ป่วย รวมถึงเฝ้าระวังความปลอดภัยจากความเสี่ยงและอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการบำบัดอีกด้วย
ตัวอย่างกิจกรรมทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยจิตเวช
1. การตรวจประเมินทางกายภาพบำบัด และการประเมินความเสี่ยงต่างๆ
2. การให้บริการรักษาฟื้นฟูด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น
• การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง (Ultrasound)
• การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation)
• การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียงร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า (US combine ES)
• การรักษาด้วยแผ่นประคบร้อน (Hot Pack)
• การรักษาด้วยแผ่นประคบเย็น (Cold Pack)
• การรักษาด้วยผ้ายืด (Bandage)
• การรักษาด้วยเทปบำบัด (Kinesio Tape)
3. การให้บริการด้วยเทคนิควิธีการทางกายภาพบำบัด เช่น
• Fascia release technique, Soft tissue release technique
• Swedish massage, Deep friction massage
• Joint mobilization technique
4. การให้บริการด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการรักษา เช่น
• โปรแกรมเพิ่มการทำงานของกระดูกและข้อต่อ เช่น ฝึกพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ฝึกความมั่นคงในการลงน้ำหนักของข้อต่อ เป็นต้น
• โปรแกรมฝึกกล้ามเนื้อ เช่น ฝึกยืดเหยียด ฝึกความแข็งแรง ฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อแกนกลางร่างกาย ฝึกกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อหายใจ เป็นต้น
• โปรแกรมฝึกระบบประสาท เช่น ฝึกการทรงตัว ฝึกการเคลื่อนไหวอย่างเป็นเป็นระบบ ฝึกการ ทำงานประสานสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อร่างกาย
• โปรแกรมฝึกความทนทานของฟังก์ชั่นหัวใจและปอด
• โปรแกรมแนะนำวิธีการหายใจ การไอ การจามในผู้สูงอายุ ผู้มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และผู้เหนื่อยง่าย
• โปรแกรมผ่อนคลาย กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าและปาก
• โปรแกรมฝึกออกกำลังกายเพื่อปรับท่าทาง และปรับบุคลิกภาพภายนอก
• จัดกิจกรรมออกกำลังกายตามความชอบและสนใจเพื่อสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกาย และกระตุ้นการทำงานของร่างกายโดยรวม
• โปรแกรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้เหมาะสมไปในแต่ละบุคคล