“ด้านมืดของทหารสหรัฐฯ”
ค่ายกักกันดาเคา (Dachau) คือค่ายกักกันแห่งแรกของนาซีที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดของ “ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์” มือขวาของฮิตเลอร์ ซึ่งตั้งอยู่ในเยอรมัน เดิมทีถูกใช้เป็นที่คุมขังนักโทษทางการเมืองภายในประเทศ ก่อนที่ถูกนำมาใช้กักกันเชลยศึกในสงครามโลกครั้งที่ 2 และที่แห่งนี้ถูกใช้กักกันนักโทษกว่า 42,000 คน
ในเดือนเมษายน 1945 กองกำลังสหรัฐฯ ได้กรีธาทัพเข้าเยอรมันหลังนาซีกำลังเสียเปรียบอย่างหนักจนกระทั่งไปพบค่ายกักกันดาเคา ในระหว่างทางที่เดินทัพต้องพบกับศพของเชลยศึกนับไม่ถ้วนจากหลายประเทศ ส่งกลิ่นเหม็นเน่าไปทั่วพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบรถบรรทุกอีกหลายสิบคันที่เต็มไปด้วยซากศพที่เน่าเปื่อยอีกด้วย
เมื่อทหารสหรัฐฯ ไปถึงหน้าประตูค่าย ก็ได้ประกาศให้ทหารนาซีภายในค่ายยอมจำนน ไม่นานทหารนาซีส่งตัวแทนออกมาเพื่อเจรจาขอยอมจำนนและปลดอาวุธในที่สุด หรือรู้จักกันในชื่อ “วันปลดปล่อยเชลยศึกค่ายดาเคา” เมื่อวันที่ 29 เมษายน 1945 ค่ายกักกันดาเคาเป็นที่คุมขังเชลยศึกกว่า 42,000 คนภายใต้การดูแลของทหารนาซี (หน่วยเอสเอส) และมีบุคลากรราว 100 คน (พวกหัวหน้าใหญ่ได้หลบหนีไปก่อนแล้ว) หลังยอมจำนนทหารนาซีถูกจับตัวไปขังร่วมกันไว้ที่มุมกำแพงของค่ายหนึ่ง โดยให้ทหารอเมริกันถือปืนเฝ้าเอาไว้
พันเอก Felix L.Sparks เล่าว่า….ในระหว่างที่เขากำลังจะเคลื่อนกำลังพลไปยังค่ายกักกันอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ก็ได้ยินเสียงทหารอเมริกันตะโกนว่า “ทหารเยอรมันกำลังหลบหนี!” จากนั้นเสียงปืนก็ดังลั่น ทหารนาซีเยอรมันราว 50 คนถูกสังหารที่มุมกำแพงของค่ายนอนซ้อนกันไม่ต่างจากการถูกประหาร ทหารอเมริกันรายหนึ่งอ้างว่า ทหารนาซีกำลังจะหลบหนีพวกเขาจึงต้องยิง ทหารนาซีส่วนหนึ่งถูกเชลยศึกแก้แค้นด้วยการใช้ไม้ทุบตีจนตาย โดยอ้างว่าทำไปเพราะความโกรธแค้น
เรื่องนี้กลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากหลังสิ้นสุดสงคราม ทหารนาซีที่ยอมจำนนเหล่านี้ถูกสังหารทั้งหมด เรื่องนี้ถูกเก็บเงียบเป็นความลับแม้จะมีรายงานและรูปถ่ายที่ถูกส่งมายังกองทัพ ซึ่งมันถูกเก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติของสหรัฐฯ จนกระทั่งในปี 1991 เอกสารและภาพถ่ายดังกล่าวก็ถูกเผยแพร่ออกมาสู่สาธารณะ รวมถึงจดหมายบรรยายเหตุการณ์ของนายแพทย์ David Wilsey ที่เล่าเหตุการณ์สังหารหมู่ของทหารอเมริกัน ที่พบโดยลูกสาวของเขาถูกนำมาเปิดเผย
นักประวัติศาสตร์หลายคนระบุว่า นี่เป็นอาชญากรรมสงครามที่อาจได้รับโทษรุนแรง แต่ศาลแห่งบาวาเรียในเยอรมัน ไม่ได้ตัดสินโทษทหารอเมริกันเหล่านี้
Cr.ข้อมูล SpokeDark.TV
“German Hair Force”
ในช่วงหนึ่งของยุค 70 กองทหารเยอรมันอย่าง “Bundeswehr” เคยอนุญาตให้ทหารไว้ผมยาวได้ในช่วงเวลาสั้นๆ
เรื่องราวการไว้ผมยาวของกองทัพเยอรมัน มีต้นกำเนิดขึ้นในปี 1967 จากพลทหารนามว่า Albrecht Schmeissner ผู้ซึ่งอาศัยช่องโหว่ของระเบียบกองทัพ ที่ระบุไว้ว่าทรงผมของทหารต้องมีการดูแลให้สะอาดอยู่เสมอ แต่ไม่ได้ระบุความยาวในการไว้ผมตอนที่เข้ากองทัพ
แน่นอนว่าการกระทำของเขาสร้างความไม่พอใจให้ผู้บังคับบัญชามาก ดังนั้นในท้ายที่สุด Albrecht จึงจำเป็นต้องตัดผมตัวเองในอีก 45 วันให้หลัง เนื่องจากถูกขู่ว่าจะถูกลงโทษที่ขัดคำสั่ง
แต่แม้ว่า Albrecht จะถูกบังคับให้ตัดผม การต่อต้านของเขาก็ทำให้กองทัพเล็งเห็นว่าในยุคนั้นผมยาวเริ่มกลายเป็นแฟชั่นที่ใครๆ ก็ทำกันแล้ว
ดังนั้นในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1971 พวกเขาจึงได้ทดลองอนุญาตให้ทหารไว้ผมยาวได้อย่างเป็นทางการ ตราบใดที่ทหารรักษาความสะอาด และมีการใช้ตาข่ายคลุมผมในกรณีที่ผมยาวเกะกะการฝึก
แน่นอนว่าระเบียบที่ออกมา ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับกองทัพเยอรมันตลอดช่วงปี 1971-1972 และแม้ว่าจะต้องถูกประเทศกลุ่ม NATO ล้อว่าเป็น “German Hair Force” ทหารหลายคนในเวลานั้นก็ออกมาไว้ผมยาวกันอย่างร่าเริง
ปัญหาเล็กน้อยของในเวลานั้นคือทหารเริ่มที่จะออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับตาข่ายคลุมผม ด้วยความเชื่อที่ว่าการใช้ตาข่ายนี้นานๆ อาจจะนำมาซึ่งปัญหาทางสุขภาพก็เป็นได้
ดังนั้นเพื่อที่จะให้เหล่าทหารสบายใจทางกองทัพจึงจัดทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจสอบการใช้ตาข่ายคลุมผม ซึ่งก็แน่นอนว่าตาข่ายคลุมผมนั้นไม่ได้มีอันตรายใดๆ ต่อเหล่าทหารเลย แม้จะใส่เป็นเวลานานก็ตาม แต่ในการฝึกทหารอาจมีโอกาสพบกับทั้งเหาและสิ่งสกปรกในผม ที่อาจนำมาซึ่งโรคผิวหนังและการติดเชื้อ ที่สำคัญในภาวะสงคราม ทหารจะไม่มีเวลามาดูแลผมอย่างแน่นอน
ดังนั้นในเวลาเพียงแค่ 15 เดือนหลังจากที่มีการอนุญาตให้ไว้ผมยาว ทางกองทัพก็มีการออกระเบียบในการไว้ผมฉบับใหม่ในปี 1972 สั่งห้ามการไว้ผมยาวทันที ปิดตำนาน German Hair Force ไปด้วยประการฉะนี้
Cr. ข้อมูล catdumb.tv
“การให้ความร่วมมือกับศัตรูในแนวนอน”
คำว่า “การให้ความร่วมมือกับศัตรูในแนวนอน” (Collaboration Horizontale) นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกพฤติกรรมของผู้หญิงที่ถูกตราหน้าว่าขายชาติเพราะหลับนอนกับทหารในกองทัพเยอรมันที่เข้ารุกรานและยึดครองประเทศต่างๆในยุโรประหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒
ระหว่างช่วงเวลาที่ฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การปกครองของกองทัพนาซีในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น นั้นมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ได้ทหารเยอรมันเป็นคู่ ครอง ทั้งด้วยความสมัครใจ และด้วยความจำใจ (๑ ผู้หญิงบางคนที่ขาดหัวหน้าครอบครัว ต้องพยายามดิ้นรนหาเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆซึ่งขาดแคลนอย่างหนักในช่วง สงคราม หนึ่งในวิธีที่จะช่วยลดความลำบากแร้นแค้นลงก็คือการได้รับความช่วยเหลือจาก ทหารเยอรมัน, ๒ โสเภณีในสถานบริการจะถูกแบ่งไปสำหรับให้บริการแก่ทหารเยอรมัน จึงต้องให้บริการอย่างไม่สามารถปฏิเสธได้)
จึงทำให้เกิดลูกนอกสมรสจากผู้หญิงฝรั่งเศสกับทหารเยอรมันเป็นจำนวนหลักหมื่น แต่เรื่องที่น่าสลดใจก็คือ หลังจากที่เยอรมันพ่ายแพ้และถอนกำลังออกไป ผู้หญิงเหล่านี้ก็ถูกตราหน้าว่าเป็น “ผู้ให้ความร่วมมือกับศัตรูในแนวนอน” หลายคนในจำนวนได้ได้ถูกฝูงชนที่โกรธแค้นคุมตัวออกมาที่ถนน ฉีกเสื้อผ้าออก โกนศีรษะและนำแห่ประจานไปรอบเมือง
เด็ก ที่เกิดจากทหารเยอรมันจำนวนไม่น้อยถูกสังคมบังคับให้แม่ของเด็กนำไปทิ้งไว้ กับสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า และได้รับการดูถูกเหยียดหยามจากสังคม เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการรวบรวมเรื่องราวของเด็กเหล่านี้ (ซึ่งในเวลานี้อายุเลยวัยเกษียณแล้ว) ออกตีพิมพ์เป็นหนังสือและบทความ ซึ่งเรื่องราวในอดีตของแต่ละคนนั้นล้วนแต่เศ้ราโศกและน่าสะเทือนใจ
หนึ่ง ในจำนวนนั้นเล่าว่าเขาโตขึ้นภายใต้การเลี้ยงดูของยาย ซึ่งเลี้ยงดูเขาอย่างไม่ใยดีนัก เขาไม่รู้ว่าพ่อของตัวเองคือใคร และเพราะเหตุใดคนในสังคมซึ่งรวมไปถึงคนในครอบครัวของเขาเองจึงได้รังเกียจ ตัวเขา จนเมื่อเขาเริ่มเป็นวัยรุ่น ยายจึงได้เอาจดหมายและรูปถ่ายของแม่และพ่อของเขาซึ่งเก็บซ่อนเอาไว้อย่าง มิดชิดมาตลอดออกมาให้ดู เขาจึงได้รู้ในที่สุดว่าพ่อของเขานั้นคือทหารเยอรมันที่มาประจำอยู่ใน ฝรั่งเศสระหว่างการยึดครอง ต่อมาเขาได้ติดต่อไปยังครอบครัวของพ่อในเยอรมัน และได้รู้ว่าพ่อของเขาซึ่งเสียชีวิตไปในช่วงปีสุดท้ายของสงครามมีลูกและ ครอบครัวที่เยอรมันอยู่แล้ว แต่ครอบครัวของพ่อก็ให้การต้อนรับเขาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะจากพี่สาวของพ่อ และที่เยอรมันนี้เองที่เขาได้รู้จักกับความรักและความอบอุ่นของครอบครัวเป็น ครั้งแรก
เรื่องที่หยิบยกมานี้ถือเป็นเคสหนึ่งในจำนวนน้อยที่จบลงด้วยดี นอกเหลือจากจากเคสของเด็กอีกหลายพันหลายหมื่นคนที่ไม่ได้เอ่ย
ส่วนหนึ่งจากแรงบันดาลใจของนิยายเรื่อง Paris 1942 - เพลิงรัก อินทรีเหล็ก
Cr.ข้อมูล dek-d.com
“หัวปลอม” กลวิธีการพราง
ในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีกลวิธีการพรางข้าศึก โดยใช้ “หัวปลอม”
โรงงานหลายแห่งผลิต “หัวปลอม” ที่ทำจากกระดาษพร้อมด้ามออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ทหารใช้ติดตั้งหรือชูขึ้นจากหลุมเพลาะ เป็นการลวงให้ข้าศึกยิงออกมาจากที่กำบังอันเป็นการบอกพิกัดที่ตั้งโดยไม่รู้ตัว (ขณะเดียวกันก็มีนิยมใช้ต้นไม้ปลอมซึ่งใช้ในการเคลื่อนที่ในสนามรบเวลากลางคืน ด้วยการโค่นต้นไม้จริงลงแล้วแทนที่ด้วยต้นไม้ปลอมที่ด้านในเป็นโพรงให้ทหารเข้าไปซ่อนตัวอยู่ เช่นเดียวกับซากม้าปลอมสำหรับเป็นที่ซ่อนตัวของพลแม่นปืน)
Cr.ข้อมูล blockdit.com
ค่ายกักกันนาซีหญิงล้วน ที่โลกไม่มีวันลืม
เรื่องราวของค่ายกักกันที่มีคนพูดถึงมากที่สุดแห่งหนึ่ง นั่นก็คือความโหดร้ายในค่ายกักกันที่ชื่อว่า Ravensbrück ของทหารเยอรมัน ซึ่งเป็นค่ายกักกันสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ
Ravensbrück ถูกตั้งขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1939 โดยมีเอาไว้สำหรับกักขังผู้หญิงที่มีอาชีพโสเภณี อาชญากร พวกชนกลุ่มน้อย หรือพวกที่ต่อต้านฮิตเลอร์
ในระหว่างปี 1939-1945 มีผู้หญิงที่เป็นนักโทษกว่า 130,000-132,000 คน ที่เคยผ่านเข้ามายังค่ายกักกันแห่งนี้ โดยมีคนจากหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งโปแลนด์ ยิว รัสเซีย ฝรั่งเศส และชาวดัชต์
ผู้หญิงในค่ายกักกันนี้ราว 50,000 คน ต้องเสียชีวิตจากความอดอยาก และมี 2,200 คนที่ถูกฆ่าด้วยการรมแก๊ส มีเพียงผู้หญิงราว 15,000 คนเท่านั้นที่รอดชีวิตมาได้จนกได้รับการปลดปล่อย
นอกจากนั้น ค่ายกักกัน Ravensbrück ยังเป็นที่รู้จักเรื่องของการทดลองทางการแพทย์ ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงชาวโปแลนด์ ที่มีจำนวนมากที่สุดในค่ายกักกันแห่งนี้” หนึ่งในการทดลองคือการทดสอบยาซัลโฟนาไมด์ โดยการทำร้ายเชลยเหล่านี้ให้บาดเจ็บ และฉีดเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในบาดแผล ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือไม่เจ็บก็ตาย ถือเป็นเรื่องปกติ
อีกหนึ่งการทดลองคือการทดลองปลูกถ่ายเนื้อเยื่อและกระดูก เหล่าผู้หญิงที่ปกติดีจะถูกหัก ตัดและต่อกระดูก และปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่กับความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส ผู้หญิงจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ และถูกทำให้บาดเจ็บ กลุ่มหนึ่งจะถูกปล่อยทิ้งไว้ให้มีเศษไม้อยู่ในแผล อีกกลุ่มจะเป็นเศษแก้ว และกลุ่มที่สามจะมีทั้งเศษไม้และเศษแก้วปะปนกัน
ส่วนผู้หญิงบางคนจะถูกทดลองแบบไม่ได้รับบาดเจ็บ แต่จะเป็นการดูผลกระทบที่เกิดขึ้นจากยาประเภทต่างๆ แพทย์ของนาซีได้รายงานผลลัพธ์การทดลองของพวกเขาในการประชุมทางการแพทย์ในปี 1943 ที่กรุงเบอร์ลิน ซึ่งไม่มีแพทย์พลเรือนคนไหน กล้าตั้งคำถามกับการทดลองที่แสนโหดร้ายเหล่านี้ โดยเอกสารทั้งหมดเกี่ยวกับ Ravensbrück ถูกเผาทิ้งหลังจบสงคราม และพื้นที่ดังกล่าวก็ถูกควบคุมโดยสภาพโซเวียต เหลือเพียงแต่ความโหดร้ายที่ถูกบันทึกไว้เป็นความทรงจำที่เจ็บปวดให้ชาวโลกได้จดจำไปอีกนาน
ขอบคุณที่มา: viralnovo .com
Cr.:
http://petmaya.com/ravensbruck
เรื่องจริงจากมุมหนึ่งจากสงครามในอดีต
ค่ายกักกันดาเคา (Dachau) คือค่ายกักกันแห่งแรกของนาซีที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดของ “ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์” มือขวาของฮิตเลอร์ ซึ่งตั้งอยู่ในเยอรมัน เดิมทีถูกใช้เป็นที่คุมขังนักโทษทางการเมืองภายในประเทศ ก่อนที่ถูกนำมาใช้กักกันเชลยศึกในสงครามโลกครั้งที่ 2 และที่แห่งนี้ถูกใช้กักกันนักโทษกว่า 42,000 คน
ในเดือนเมษายน 1945 กองกำลังสหรัฐฯ ได้กรีธาทัพเข้าเยอรมันหลังนาซีกำลังเสียเปรียบอย่างหนักจนกระทั่งไปพบค่ายกักกันดาเคา ในระหว่างทางที่เดินทัพต้องพบกับศพของเชลยศึกนับไม่ถ้วนจากหลายประเทศ ส่งกลิ่นเหม็นเน่าไปทั่วพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบรถบรรทุกอีกหลายสิบคันที่เต็มไปด้วยซากศพที่เน่าเปื่อยอีกด้วย
เมื่อทหารสหรัฐฯ ไปถึงหน้าประตูค่าย ก็ได้ประกาศให้ทหารนาซีภายในค่ายยอมจำนน ไม่นานทหารนาซีส่งตัวแทนออกมาเพื่อเจรจาขอยอมจำนนและปลดอาวุธในที่สุด หรือรู้จักกันในชื่อ “วันปลดปล่อยเชลยศึกค่ายดาเคา” เมื่อวันที่ 29 เมษายน 1945 ค่ายกักกันดาเคาเป็นที่คุมขังเชลยศึกกว่า 42,000 คนภายใต้การดูแลของทหารนาซี (หน่วยเอสเอส) และมีบุคลากรราว 100 คน (พวกหัวหน้าใหญ่ได้หลบหนีไปก่อนแล้ว) หลังยอมจำนนทหารนาซีถูกจับตัวไปขังร่วมกันไว้ที่มุมกำแพงของค่ายหนึ่ง โดยให้ทหารอเมริกันถือปืนเฝ้าเอาไว้
พันเอก Felix L.Sparks เล่าว่า….ในระหว่างที่เขากำลังจะเคลื่อนกำลังพลไปยังค่ายกักกันอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ก็ได้ยินเสียงทหารอเมริกันตะโกนว่า “ทหารเยอรมันกำลังหลบหนี!” จากนั้นเสียงปืนก็ดังลั่น ทหารนาซีเยอรมันราว 50 คนถูกสังหารที่มุมกำแพงของค่ายนอนซ้อนกันไม่ต่างจากการถูกประหาร ทหารอเมริกันรายหนึ่งอ้างว่า ทหารนาซีกำลังจะหลบหนีพวกเขาจึงต้องยิง ทหารนาซีส่วนหนึ่งถูกเชลยศึกแก้แค้นด้วยการใช้ไม้ทุบตีจนตาย โดยอ้างว่าทำไปเพราะความโกรธแค้น
เรื่องนี้กลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากหลังสิ้นสุดสงคราม ทหารนาซีที่ยอมจำนนเหล่านี้ถูกสังหารทั้งหมด เรื่องนี้ถูกเก็บเงียบเป็นความลับแม้จะมีรายงานและรูปถ่ายที่ถูกส่งมายังกองทัพ ซึ่งมันถูกเก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติของสหรัฐฯ จนกระทั่งในปี 1991 เอกสารและภาพถ่ายดังกล่าวก็ถูกเผยแพร่ออกมาสู่สาธารณะ รวมถึงจดหมายบรรยายเหตุการณ์ของนายแพทย์ David Wilsey ที่เล่าเหตุการณ์สังหารหมู่ของทหารอเมริกัน ที่พบโดยลูกสาวของเขาถูกนำมาเปิดเผย
นักประวัติศาสตร์หลายคนระบุว่า นี่เป็นอาชญากรรมสงครามที่อาจได้รับโทษรุนแรง แต่ศาลแห่งบาวาเรียในเยอรมัน ไม่ได้ตัดสินโทษทหารอเมริกันเหล่านี้
Cr.ข้อมูล SpokeDark.TV
“German Hair Force”
ในช่วงหนึ่งของยุค 70 กองทหารเยอรมันอย่าง “Bundeswehr” เคยอนุญาตให้ทหารไว้ผมยาวได้ในช่วงเวลาสั้นๆ
เรื่องราวการไว้ผมยาวของกองทัพเยอรมัน มีต้นกำเนิดขึ้นในปี 1967 จากพลทหารนามว่า Albrecht Schmeissner ผู้ซึ่งอาศัยช่องโหว่ของระเบียบกองทัพ ที่ระบุไว้ว่าทรงผมของทหารต้องมีการดูแลให้สะอาดอยู่เสมอ แต่ไม่ได้ระบุความยาวในการไว้ผมตอนที่เข้ากองทัพ
แน่นอนว่าการกระทำของเขาสร้างความไม่พอใจให้ผู้บังคับบัญชามาก ดังนั้นในท้ายที่สุด Albrecht จึงจำเป็นต้องตัดผมตัวเองในอีก 45 วันให้หลัง เนื่องจากถูกขู่ว่าจะถูกลงโทษที่ขัดคำสั่ง
แต่แม้ว่า Albrecht จะถูกบังคับให้ตัดผม การต่อต้านของเขาก็ทำให้กองทัพเล็งเห็นว่าในยุคนั้นผมยาวเริ่มกลายเป็นแฟชั่นที่ใครๆ ก็ทำกันแล้ว
ดังนั้นในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1971 พวกเขาจึงได้ทดลองอนุญาตให้ทหารไว้ผมยาวได้อย่างเป็นทางการ ตราบใดที่ทหารรักษาความสะอาด และมีการใช้ตาข่ายคลุมผมในกรณีที่ผมยาวเกะกะการฝึก
แน่นอนว่าระเบียบที่ออกมา ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับกองทัพเยอรมันตลอดช่วงปี 1971-1972 และแม้ว่าจะต้องถูกประเทศกลุ่ม NATO ล้อว่าเป็น “German Hair Force” ทหารหลายคนในเวลานั้นก็ออกมาไว้ผมยาวกันอย่างร่าเริง
ปัญหาเล็กน้อยของในเวลานั้นคือทหารเริ่มที่จะออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับตาข่ายคลุมผม ด้วยความเชื่อที่ว่าการใช้ตาข่ายนี้นานๆ อาจจะนำมาซึ่งปัญหาทางสุขภาพก็เป็นได้
ดังนั้นเพื่อที่จะให้เหล่าทหารสบายใจทางกองทัพจึงจัดทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจสอบการใช้ตาข่ายคลุมผม ซึ่งก็แน่นอนว่าตาข่ายคลุมผมนั้นไม่ได้มีอันตรายใดๆ ต่อเหล่าทหารเลย แม้จะใส่เป็นเวลานานก็ตาม แต่ในการฝึกทหารอาจมีโอกาสพบกับทั้งเหาและสิ่งสกปรกในผม ที่อาจนำมาซึ่งโรคผิวหนังและการติดเชื้อ ที่สำคัญในภาวะสงคราม ทหารจะไม่มีเวลามาดูแลผมอย่างแน่นอน
ดังนั้นในเวลาเพียงแค่ 15 เดือนหลังจากที่มีการอนุญาตให้ไว้ผมยาว ทางกองทัพก็มีการออกระเบียบในการไว้ผมฉบับใหม่ในปี 1972 สั่งห้ามการไว้ผมยาวทันที ปิดตำนาน German Hair Force ไปด้วยประการฉะนี้
Cr. ข้อมูล catdumb.tv
“การให้ความร่วมมือกับศัตรูในแนวนอน”
คำว่า “การให้ความร่วมมือกับศัตรูในแนวนอน” (Collaboration Horizontale) นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกพฤติกรรมของผู้หญิงที่ถูกตราหน้าว่าขายชาติเพราะหลับนอนกับทหารในกองทัพเยอรมันที่เข้ารุกรานและยึดครองประเทศต่างๆในยุโรประหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒
ระหว่างช่วงเวลาที่ฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การปกครองของกองทัพนาซีในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น นั้นมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ได้ทหารเยอรมันเป็นคู่ ครอง ทั้งด้วยความสมัครใจ และด้วยความจำใจ (๑ ผู้หญิงบางคนที่ขาดหัวหน้าครอบครัว ต้องพยายามดิ้นรนหาเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆซึ่งขาดแคลนอย่างหนักในช่วง สงคราม หนึ่งในวิธีที่จะช่วยลดความลำบากแร้นแค้นลงก็คือการได้รับความช่วยเหลือจาก ทหารเยอรมัน, ๒ โสเภณีในสถานบริการจะถูกแบ่งไปสำหรับให้บริการแก่ทหารเยอรมัน จึงต้องให้บริการอย่างไม่สามารถปฏิเสธได้)
จึงทำให้เกิดลูกนอกสมรสจากผู้หญิงฝรั่งเศสกับทหารเยอรมันเป็นจำนวนหลักหมื่น แต่เรื่องที่น่าสลดใจก็คือ หลังจากที่เยอรมันพ่ายแพ้และถอนกำลังออกไป ผู้หญิงเหล่านี้ก็ถูกตราหน้าว่าเป็น “ผู้ให้ความร่วมมือกับศัตรูในแนวนอน” หลายคนในจำนวนได้ได้ถูกฝูงชนที่โกรธแค้นคุมตัวออกมาที่ถนน ฉีกเสื้อผ้าออก โกนศีรษะและนำแห่ประจานไปรอบเมือง
เด็ก ที่เกิดจากทหารเยอรมันจำนวนไม่น้อยถูกสังคมบังคับให้แม่ของเด็กนำไปทิ้งไว้ กับสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า และได้รับการดูถูกเหยียดหยามจากสังคม เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการรวบรวมเรื่องราวของเด็กเหล่านี้ (ซึ่งในเวลานี้อายุเลยวัยเกษียณแล้ว) ออกตีพิมพ์เป็นหนังสือและบทความ ซึ่งเรื่องราวในอดีตของแต่ละคนนั้นล้วนแต่เศ้ราโศกและน่าสะเทือนใจ
หนึ่ง ในจำนวนนั้นเล่าว่าเขาโตขึ้นภายใต้การเลี้ยงดูของยาย ซึ่งเลี้ยงดูเขาอย่างไม่ใยดีนัก เขาไม่รู้ว่าพ่อของตัวเองคือใคร และเพราะเหตุใดคนในสังคมซึ่งรวมไปถึงคนในครอบครัวของเขาเองจึงได้รังเกียจ ตัวเขา จนเมื่อเขาเริ่มเป็นวัยรุ่น ยายจึงได้เอาจดหมายและรูปถ่ายของแม่และพ่อของเขาซึ่งเก็บซ่อนเอาไว้อย่าง มิดชิดมาตลอดออกมาให้ดู เขาจึงได้รู้ในที่สุดว่าพ่อของเขานั้นคือทหารเยอรมันที่มาประจำอยู่ใน ฝรั่งเศสระหว่างการยึดครอง ต่อมาเขาได้ติดต่อไปยังครอบครัวของพ่อในเยอรมัน และได้รู้ว่าพ่อของเขาซึ่งเสียชีวิตไปในช่วงปีสุดท้ายของสงครามมีลูกและ ครอบครัวที่เยอรมันอยู่แล้ว แต่ครอบครัวของพ่อก็ให้การต้อนรับเขาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะจากพี่สาวของพ่อ และที่เยอรมันนี้เองที่เขาได้รู้จักกับความรักและความอบอุ่นของครอบครัวเป็น ครั้งแรก
เรื่องที่หยิบยกมานี้ถือเป็นเคสหนึ่งในจำนวนน้อยที่จบลงด้วยดี นอกเหลือจากจากเคสของเด็กอีกหลายพันหลายหมื่นคนที่ไม่ได้เอ่ย
ส่วนหนึ่งจากแรงบันดาลใจของนิยายเรื่อง Paris 1942 - เพลิงรัก อินทรีเหล็ก
Cr.ข้อมูล dek-d.com
“หัวปลอม” กลวิธีการพราง
ในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีกลวิธีการพรางข้าศึก โดยใช้ “หัวปลอม”
โรงงานหลายแห่งผลิต “หัวปลอม” ที่ทำจากกระดาษพร้อมด้ามออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ทหารใช้ติดตั้งหรือชูขึ้นจากหลุมเพลาะ เป็นการลวงให้ข้าศึกยิงออกมาจากที่กำบังอันเป็นการบอกพิกัดที่ตั้งโดยไม่รู้ตัว (ขณะเดียวกันก็มีนิยมใช้ต้นไม้ปลอมซึ่งใช้ในการเคลื่อนที่ในสนามรบเวลากลางคืน ด้วยการโค่นต้นไม้จริงลงแล้วแทนที่ด้วยต้นไม้ปลอมที่ด้านในเป็นโพรงให้ทหารเข้าไปซ่อนตัวอยู่ เช่นเดียวกับซากม้าปลอมสำหรับเป็นที่ซ่อนตัวของพลแม่นปืน)
Cr.ข้อมูล blockdit.com
ค่ายกักกันนาซีหญิงล้วน ที่โลกไม่มีวันลืม
เรื่องราวของค่ายกักกันที่มีคนพูดถึงมากที่สุดแห่งหนึ่ง นั่นก็คือความโหดร้ายในค่ายกักกันที่ชื่อว่า Ravensbrück ของทหารเยอรมัน ซึ่งเป็นค่ายกักกันสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ
Ravensbrück ถูกตั้งขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1939 โดยมีเอาไว้สำหรับกักขังผู้หญิงที่มีอาชีพโสเภณี อาชญากร พวกชนกลุ่มน้อย หรือพวกที่ต่อต้านฮิตเลอร์
ในระหว่างปี 1939-1945 มีผู้หญิงที่เป็นนักโทษกว่า 130,000-132,000 คน ที่เคยผ่านเข้ามายังค่ายกักกันแห่งนี้ โดยมีคนจากหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งโปแลนด์ ยิว รัสเซีย ฝรั่งเศส และชาวดัชต์
ผู้หญิงในค่ายกักกันนี้ราว 50,000 คน ต้องเสียชีวิตจากความอดอยาก และมี 2,200 คนที่ถูกฆ่าด้วยการรมแก๊ส มีเพียงผู้หญิงราว 15,000 คนเท่านั้นที่รอดชีวิตมาได้จนกได้รับการปลดปล่อย
นอกจากนั้น ค่ายกักกัน Ravensbrück ยังเป็นที่รู้จักเรื่องของการทดลองทางการแพทย์ ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงชาวโปแลนด์ ที่มีจำนวนมากที่สุดในค่ายกักกันแห่งนี้” หนึ่งในการทดลองคือการทดสอบยาซัลโฟนาไมด์ โดยการทำร้ายเชลยเหล่านี้ให้บาดเจ็บ และฉีดเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในบาดแผล ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือไม่เจ็บก็ตาย ถือเป็นเรื่องปกติ
อีกหนึ่งการทดลองคือการทดลองปลูกถ่ายเนื้อเยื่อและกระดูก เหล่าผู้หญิงที่ปกติดีจะถูกหัก ตัดและต่อกระดูก และปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่กับความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส ผู้หญิงจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ และถูกทำให้บาดเจ็บ กลุ่มหนึ่งจะถูกปล่อยทิ้งไว้ให้มีเศษไม้อยู่ในแผล อีกกลุ่มจะเป็นเศษแก้ว และกลุ่มที่สามจะมีทั้งเศษไม้และเศษแก้วปะปนกัน
ส่วนผู้หญิงบางคนจะถูกทดลองแบบไม่ได้รับบาดเจ็บ แต่จะเป็นการดูผลกระทบที่เกิดขึ้นจากยาประเภทต่างๆ แพทย์ของนาซีได้รายงานผลลัพธ์การทดลองของพวกเขาในการประชุมทางการแพทย์ในปี 1943 ที่กรุงเบอร์ลิน ซึ่งไม่มีแพทย์พลเรือนคนไหน กล้าตั้งคำถามกับการทดลองที่แสนโหดร้ายเหล่านี้ โดยเอกสารทั้งหมดเกี่ยวกับ Ravensbrück ถูกเผาทิ้งหลังจบสงคราม และพื้นที่ดังกล่าวก็ถูกควบคุมโดยสภาพโซเวียต เหลือเพียงแต่ความโหดร้ายที่ถูกบันทึกไว้เป็นความทรงจำที่เจ็บปวดให้ชาวโลกได้จดจำไปอีกนาน
ขอบคุณที่มา: viralnovo .com
Cr.:http://petmaya.com/ravensbruck