พท. แนะ ประยุทธ์ สอบคนใกล้ตัว ต้นตอผลิตข่าวปลอม ก่อนตั้งศูนย์ต้านข่าวปลอม
https://www.matichon.co.th/politics/news_1732826
“อนุสรณ์” แนะ “ประยุทธ์” ตรวจสอบคนใกล้ตัว ผลิต-เผยแพร่ข่าวผลอม ก่อนจะตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม นาย
อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึง พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอให้ประชาชนช่วยกันแจ้งข่าวปลอมเข้ามา จะได้สอบสวนสืบสวนหาต้นตอ แก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทางโดยเร็วที่สุด ว่า เพื่อพิสูจน์ความจริงใจในเรื่องการต่อต้านข่าวปลอม พล.อ.
ประยุทธ์ ควรเริ่มต้นโดยการตั้งกรรมการสอบสวน พล.ท.
สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ที่ถูกร้องเรียนประพฤติมิชอบ ไม่เป็นกลางทางการเมือง ทั้งในเวลาราชการปกติ และในระหว่างมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการเมืองให้กับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หากกระทำเช่นนั้นจริง จะถือว่ากรมประชาสัมพันธ์ ภายใต้การนำของพล.ท.
สรรเสริญ คนใกล้ชิดของพล.อ.
ประยุทธ์ เป็นต้นตอของการผลิตและเผยแพร่ข่าวปลอมเสียเองหรือไม่ รวมถึงการใช้งบประมาณ 25,166,800 ล้านบาท ในการจัดซื้อจัดจ้างการก่อสร้างอาคารฝ่ายนิทรรศการและศิลปกรรม โดยใช้งบประมาณอย่างเร่งรีบ ราคากลางไม่เหมาะสม พบจุดชำรุด ไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งไม่เป็นไปตามแบบการก่อสร้าง รวมถึงตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์รับเงินจากบริษัท เอส จี อาร์ เอนเตอร์ไพร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับจ้าง เพื่อเร่งรัดให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำเรื่องเบิกจ่าย หรือไม่
พล.อ.
ประยุทธ์ ต้องทำเรื่องนี้ให้กระจ่างด้วยตัวเอง เพราะถ้าไม่ทำเช่นนั้น จะไปเรียกความเชื่อมั่นมาจากไหน อย่าปล่อยให้คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ป.ป.ช. สภาฯ ทำหน้าที่เพียงฝ่ายเดียว พล.อ.
ประยุทธ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ต้องดำเนินการอย่างตรงไปตรงมาในเรื่องนี้
“อย่าให้ประชาชนเข้าใจว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมนี้ ตั้งขึ้นมาเพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง แต่ถ้าเป็นพวกพ้อง ฝ่ายเดียวกันกับรัฐบาล ทำข่าวปลอมขึ้นมาเสียเองแล้วตัวเองเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ ไม่มีความผิด การตรวจสอบควรทำอย่างเสมอภาคเท่าเทียม” นาย
อนุสรณ์ กล่าว
ปธ.ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีฟ้อง 7กกต.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบรับรองคุณสมบัติ “บิ๊กตู่”เป็นนายกฯอยู่ในอำนาจศาลอาญาทุจริตฯ
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_1732765
ปธ.ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีฟ้อง 7กกต.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบรับรองคุณสมบัติ “บิ๊กตู่”เป็นนายกฯอยู่ในอำนาจศาลอาญาทุจริตฯ ถือเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา สั่งรับคดีไว้ตรวจฟ้อง “วิญญัติ”ชี้ เป็นบรรทัดฐานประชาชนใช้สิทธิฟ้ององค์กรอิสระได้
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง ศาลได้อ่านคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ วท. 12/ 2562 ศาลอุทธรณ์ที่มีคำวินิจฉัยลงวันที่วันที่ 4 ก.ย.2562 ในคดีหมายเลขดำที่ อท. 54/ 2562 ที่นาย
สุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ กับพวกรวม 2 คนยื่นฟ้อง นาย
อิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กับพวกซึ่งเป็น กกต.รวม 7 คน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง 7 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,43 พรป.กกต.พ.ศ.2560 มาตรา 29 ประกอบมาตรา 25 พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งิส.ส.พ.ศ. 2561มาตรา 23 ประกอบมาตรา 149 และมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยทั้ง 7 มีกำหนด 20 ปี
โดยศาลชั้นต้นเห็นว่า กรณีมีปัญหาว่า คดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบหรือไม่ จึงมีคำสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์เพื่อให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามพรบ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพ.ศ. 2559 มาตรา11 โดยในวันอ่านคำสั่งของประธานศาลอุทธรณ์ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ 1 และเป็นตัวโจทก์ที่ 2 เดินทางมาศาล พร้อมกับทนายโจทก์ทั้ง 2 พิเคราะห์แล้วเห็นว่า
กกต.เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 หมวด 12 ส่วนที่ 2 มีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 224 เมื่อจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งประธาน กกต.จำเลยที่ 2-7 ดำรงตำแหน่ง กกต.จำเลยทั้ง 7 จึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้ง 7 จงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตาม พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.มาตรา 23 ประกอบมาตรา 149 และ พรป.ว่าด้วย กกต.พ.ศ.2560 มาตรา 21ประกอบ 22 และมาตรา 38 ไม่ตรวจคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นบุคคลที่พรรคพลังประชารัฐแจ้งว่า จะเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีและร่วมกันออกประกาศ กกต.เรื่องการแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีฉบับลงวันที่ 11 ก.พ.62 ให้พลเอก
ประยุทธ์ เป็นบุคคลที่พรรคพลังประชารัฐแจ้งว่า จะเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 30 เพื่อให้เป็นคุณแก่พรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 17มี.ค.62 (เลือกตั้งล่วงหน้า) และในวันที่ 24 มี.ค.62 (เลือกตั้งทั่วไป)
ทั้งเมื่อนาย
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะยื่นหนังสือเพื่อขอให้ตรวจสอบการคัดเลือกพลอ.
ประยุทธ์จำเลยทั้ง 7 ก็มิได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งดังกล่าว ต่อมาเมื่อนาย
วิญญัติ ชาติมนตรี ยื่นหนังสือคัดค้านการประกาศรายชื่อ พล.อ.
ประยุทธ์ และขอให้เพิกถอนชื่อบุคคลดังกล่าว จำเลยทั้ง 7 ยังคงให้มีการประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่องการแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ต่อไป เมื่อนายเรืองไกรยื่นหนังสือขอให้ กกต.วินิจฉัยว่าพล.อ.
ประยุทธ์ในฐานะหัวหน้าคสช. เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่เป็นครั้งที่ 2 จำเลยทั้ง 7 ก็ยังคงปล่อยให้มีการประกาศเรื่องการแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมือง จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีก จำเลยทั้ง 7 รับทราบข้อโต้แย้งแล้ว แต่ไม่ดำเนินการตามหน้าที่สั่งให้ระงับยับยั้งหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ การเลือกตั้งการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรมและชอบด้วยกฎหมายกกันให้พล.อ.
ประยุทธ์สามารถรณณรงค์หาเสียงหรือขึ้นเวทีปราศรัยในฐานะที่เป็นผู้ถูกแสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐได้ ซึ่งความจริง พล.อ.
ประยุทธ์ในฐานะหัวหน้า คสช.เป็น “
เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ไม่มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามการเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ2560 มาตรา 160 และพรป.ด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.พ.ศ.2561มาตรา 13เเละ44
การกระทำของจำเลยทั้ง7เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตขอให้ลงโทษตาม พรป.กกต.มาตรา 5 ประกอบมาตรา 25 พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 23 ประกอบมาตรา 144
จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีเป็นการกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายซึ่งหากจะฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามบทบัญญัติ พรป.
ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2560 มาตรา 23 กำหนดผู้มีอำนาจฟ้องคดี ได้แก่ อัยการสูงสุดและคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ (ปปช.)ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกำหนดซึ่งใช้บังคับในกรณีที่อัยการสูงสุดและ ปปช.เป็นผู้ฟ้องคดีแต่คดีนี้ผู้ฟ้องคดีคือโจทก์ทั้ง 2 มิใช่อัยการสูงสุดหรือ ปปช.ย่อมไม่อยู่ภายใต้บังคับของบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้ง7โดยจำเลยที่ 1เป็นประธาน กกต.จำเลยที่ 2-7 เป็นกกต.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วย พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.2561 มาตรา 23 ประกอบมาตรา 149 และ พรป.กกต.2560 มาตรา 38 กำหนดว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยทั้ง 7 ให้ถือว่า เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้นคดีนี้จึงเป็นคดีทุจริตและประพฤติมิชอบอยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบตามพรบ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพ.ศ.2555 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง (1) วินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ จึงมีคำสั่งให้รับคดีไว้ตรวจฟ้องนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา(ในชั้นตรวจฟ้อง)ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้
นาย
วิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ ( สกสส.) กล่าวว่า ในฐานะที่เคยยื่นหนังสือคัดค้านการประกาศรายชื่อพล.อ.
ประยุทธ์ และขอให้เพิกถอนชื่อบุคคลดังกล่าวต่อ กกต. เเละได้ทราบคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยให้คดีฟ้อง ว่า กกต.เป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ ประชาชนสามารถฟ้องเองได้ อาจถือว่าเป็นประเด็นข้อกฎหมายที่รับรองถึงการใช้สิทธิฟ้ององค์กรอิสระต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบได้โดยตรง แม้โจทก์ที่ยื่นฟ้องคดี ปัจจุบันได้เป็นส.ส.ได้ถอนฟ้องคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 7 คนแล้วก็ตาม แต่คำวินิจฉัยนี้จะเป็นบรรทัดฐานว่าด้วยผู้มีอำนาจฟ้องคดีที่สำคัญต่อไป
JJNY พท.แนะประยุทธ์สอบคนใกล้ตัว ต้นตอข่าวปลอมฯ/ปธ.ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีฟ้อง7กกต.ฯ/บิ๊กตู่ลั่นรับผิดชอบเอง!ปมปิดเหมืองฯ
https://www.matichon.co.th/politics/news_1732826
“อนุสรณ์” แนะ “ประยุทธ์” ตรวจสอบคนใกล้ตัว ผลิต-เผยแพร่ข่าวผลอม ก่อนจะตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอให้ประชาชนช่วยกันแจ้งข่าวปลอมเข้ามา จะได้สอบสวนสืบสวนหาต้นตอ แก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทางโดยเร็วที่สุด ว่า เพื่อพิสูจน์ความจริงใจในเรื่องการต่อต้านข่าวปลอม พล.อ.ประยุทธ์ ควรเริ่มต้นโดยการตั้งกรรมการสอบสวน พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ที่ถูกร้องเรียนประพฤติมิชอบ ไม่เป็นกลางทางการเมือง ทั้งในเวลาราชการปกติ และในระหว่างมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการเมืองให้กับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หากกระทำเช่นนั้นจริง จะถือว่ากรมประชาสัมพันธ์ ภายใต้การนำของพล.ท.สรรเสริญ คนใกล้ชิดของพล.อ.ประยุทธ์ เป็นต้นตอของการผลิตและเผยแพร่ข่าวปลอมเสียเองหรือไม่ รวมถึงการใช้งบประมาณ 25,166,800 ล้านบาท ในการจัดซื้อจัดจ้างการก่อสร้างอาคารฝ่ายนิทรรศการและศิลปกรรม โดยใช้งบประมาณอย่างเร่งรีบ ราคากลางไม่เหมาะสม พบจุดชำรุด ไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งไม่เป็นไปตามแบบการก่อสร้าง รวมถึงตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์รับเงินจากบริษัท เอส จี อาร์ เอนเตอร์ไพร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับจ้าง เพื่อเร่งรัดให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำเรื่องเบิกจ่าย หรือไม่
พล.อ.ประยุทธ์ ต้องทำเรื่องนี้ให้กระจ่างด้วยตัวเอง เพราะถ้าไม่ทำเช่นนั้น จะไปเรียกความเชื่อมั่นมาจากไหน อย่าปล่อยให้คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ป.ป.ช. สภาฯ ทำหน้าที่เพียงฝ่ายเดียว พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ต้องดำเนินการอย่างตรงไปตรงมาในเรื่องนี้
“อย่าให้ประชาชนเข้าใจว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมนี้ ตั้งขึ้นมาเพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง แต่ถ้าเป็นพวกพ้อง ฝ่ายเดียวกันกับรัฐบาล ทำข่าวปลอมขึ้นมาเสียเองแล้วตัวเองเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ ไม่มีความผิด การตรวจสอบควรทำอย่างเสมอภาคเท่าเทียม” นายอนุสรณ์ กล่าว
ปธ.ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีฟ้อง 7กกต.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบรับรองคุณสมบัติ “บิ๊กตู่”เป็นนายกฯอยู่ในอำนาจศาลอาญาทุจริตฯ
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_1732765
ปธ.ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีฟ้อง 7กกต.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบรับรองคุณสมบัติ “บิ๊กตู่”เป็นนายกฯอยู่ในอำนาจศาลอาญาทุจริตฯ ถือเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา สั่งรับคดีไว้ตรวจฟ้อง “วิญญัติ”ชี้ เป็นบรรทัดฐานประชาชนใช้สิทธิฟ้ององค์กรอิสระได้
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง ศาลได้อ่านคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ วท. 12/ 2562 ศาลอุทธรณ์ที่มีคำวินิจฉัยลงวันที่วันที่ 4 ก.ย.2562 ในคดีหมายเลขดำที่ อท. 54/ 2562 ที่นายสุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ กับพวกรวม 2 คนยื่นฟ้อง นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กับพวกซึ่งเป็น กกต.รวม 7 คน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง 7 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,43 พรป.กกต.พ.ศ.2560 มาตรา 29 ประกอบมาตรา 25 พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งิส.ส.พ.ศ. 2561มาตรา 23 ประกอบมาตรา 149 และมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยทั้ง 7 มีกำหนด 20 ปี
โดยศาลชั้นต้นเห็นว่า กรณีมีปัญหาว่า คดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบหรือไม่ จึงมีคำสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์เพื่อให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามพรบ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพ.ศ. 2559 มาตรา11 โดยในวันอ่านคำสั่งของประธานศาลอุทธรณ์ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ 1 และเป็นตัวโจทก์ที่ 2 เดินทางมาศาล พร้อมกับทนายโจทก์ทั้ง 2 พิเคราะห์แล้วเห็นว่า
กกต.เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 หมวด 12 ส่วนที่ 2 มีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 224 เมื่อจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งประธาน กกต.จำเลยที่ 2-7 ดำรงตำแหน่ง กกต.จำเลยทั้ง 7 จึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้ง 7 จงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตาม พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.มาตรา 23 ประกอบมาตรา 149 และ พรป.ว่าด้วย กกต.พ.ศ.2560 มาตรา 21ประกอบ 22 และมาตรา 38 ไม่ตรวจคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นบุคคลที่พรรคพลังประชารัฐแจ้งว่า จะเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีและร่วมกันออกประกาศ กกต.เรื่องการแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีฉบับลงวันที่ 11 ก.พ.62 ให้พลเอกประยุทธ์ เป็นบุคคลที่พรรคพลังประชารัฐแจ้งว่า จะเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 30 เพื่อให้เป็นคุณแก่พรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 17มี.ค.62 (เลือกตั้งล่วงหน้า) และในวันที่ 24 มี.ค.62 (เลือกตั้งทั่วไป)
ทั้งเมื่อนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะยื่นหนังสือเพื่อขอให้ตรวจสอบการคัดเลือกพลอ.ประยุทธ์จำเลยทั้ง 7 ก็มิได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งดังกล่าว ต่อมาเมื่อนายวิญญัติ ชาติมนตรี ยื่นหนังสือคัดค้านการประกาศรายชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ และขอให้เพิกถอนชื่อบุคคลดังกล่าว จำเลยทั้ง 7 ยังคงให้มีการประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่องการแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ต่อไป เมื่อนายเรืองไกรยื่นหนังสือขอให้ กกต.วินิจฉัยว่าพล.อ.ประยุทธ์ในฐานะหัวหน้าคสช. เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่เป็นครั้งที่ 2 จำเลยทั้ง 7 ก็ยังคงปล่อยให้มีการประกาศเรื่องการแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมือง จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีก จำเลยทั้ง 7 รับทราบข้อโต้แย้งแล้ว แต่ไม่ดำเนินการตามหน้าที่สั่งให้ระงับยับยั้งหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ การเลือกตั้งการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรมและชอบด้วยกฎหมายกกันให้พล.อ.ประยุทธ์สามารถรณณรงค์หาเสียงหรือขึ้นเวทีปราศรัยในฐานะที่เป็นผู้ถูกแสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐได้ ซึ่งความจริง พล.อ.ประยุทธ์ในฐานะหัวหน้า คสช.เป็น “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ไม่มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามการเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ2560 มาตรา 160 และพรป.ด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.พ.ศ.2561มาตรา 13เเละ44
การกระทำของจำเลยทั้ง7เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตขอให้ลงโทษตาม พรป.กกต.มาตรา 5 ประกอบมาตรา 25 พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 23 ประกอบมาตรา 144
จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีเป็นการกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายซึ่งหากจะฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามบทบัญญัติ พรป.
ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2560 มาตรา 23 กำหนดผู้มีอำนาจฟ้องคดี ได้แก่ อัยการสูงสุดและคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ (ปปช.)ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกำหนดซึ่งใช้บังคับในกรณีที่อัยการสูงสุดและ ปปช.เป็นผู้ฟ้องคดีแต่คดีนี้ผู้ฟ้องคดีคือโจทก์ทั้ง 2 มิใช่อัยการสูงสุดหรือ ปปช.ย่อมไม่อยู่ภายใต้บังคับของบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้ง7โดยจำเลยที่ 1เป็นประธาน กกต.จำเลยที่ 2-7 เป็นกกต.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วย พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.2561 มาตรา 23 ประกอบมาตรา 149 และ พรป.กกต.2560 มาตรา 38 กำหนดว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยทั้ง 7 ให้ถือว่า เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้นคดีนี้จึงเป็นคดีทุจริตและประพฤติมิชอบอยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบตามพรบ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพ.ศ.2555 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง (1) วินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ จึงมีคำสั่งให้รับคดีไว้ตรวจฟ้องนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา(ในชั้นตรวจฟ้อง)ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้
นายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ ( สกสส.) กล่าวว่า ในฐานะที่เคยยื่นหนังสือคัดค้านการประกาศรายชื่อพล.อ.ประยุทธ์ และขอให้เพิกถอนชื่อบุคคลดังกล่าวต่อ กกต. เเละได้ทราบคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยให้คดีฟ้อง ว่า กกต.เป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ ประชาชนสามารถฟ้องเองได้ อาจถือว่าเป็นประเด็นข้อกฎหมายที่รับรองถึงการใช้สิทธิฟ้ององค์กรอิสระต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบได้โดยตรง แม้โจทก์ที่ยื่นฟ้องคดี ปัจจุบันได้เป็นส.ส.ได้ถอนฟ้องคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 7 คนแล้วก็ตาม แต่คำวินิจฉัยนี้จะเป็นบรรทัดฐานว่าด้วยผู้มีอำนาจฟ้องคดีที่สำคัญต่อไป