ไขความกระจ่าง ในวรรณกรรม "พระอานนท์ พุทธอนุชา" เรื่องอายตนะเป็นของร้อน

ไขความกระจ่าง ในวรรณกรรม "พระอานนท์ พุทธอนุชา" เรื่องอายตนะเป็นของร้อน

ข้อความว่า

  “ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตได้ทิ้งดุ้นไฟแล้ว และร้องบอกให้เธอทั้งหลายทิ้งเสียด้วย ดุ้นไฟที่กล่าวถึงนี้คือกิเลสทั้งมวล อันเป็นสิ่งที่เผาลนสัตว์ ให้เร่าร้อนกระวนกระวาย

  ภิกษุทั้งหลาย อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง

  “ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่พิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใดๆ ที่จะครอบงำรึงรัดใจของบุรุษ ได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งสตรี 

  ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ใด ๆ ที่สามารถครอบงำ รัดรึงใจของสตรีได้มากเท่า รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งบุรุษ 

  “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้เรากล่าวว่าเป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นกำลังพลแห่งมาร ภิกษุผู้ปรารถนาจะประหารมาร พึงสลัดเหยื่อแห่งมาร ขยี้พวงดอกไม้แห่งมาร และทำลายกำลังพลแห่งมารเสีย 

  “ภิกษุทั้งหลาย เราเคยเยาะเย้ยกามคุณ ณ โพธิมณฑลในวันที่เราตรัสรู้นั้นเอง 

  ดูก่อนกาม เราได้เห็นต้นเค้าของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดจากความดำริคำนึงถึงนั้นเอง เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก ด้วยประการฉะนี้ กามเอยเจ้าจะเกิดขึ้นอีกไม่ได้”

ตามความเห็นของผมมีความเห็นว่า

 
  ดุ้นไฟ เปรียบเสมือนกับกิเลส ถ้าเรามารนตัวเองอยู่เรื่อยเราก็จะร้อนรน

  "ภิกษุทั้งหลาย อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง"

  "อายตนะภายนอกและภายในเป็นของร้อน" คำกล่าวนี้ผิด เพราะอคติ เพราะว่า เราดูให้ดีก็มี ดูไม่ดีก็มี รับรู้เย็นได้ ฟังสิ่งที่ดีได้ ฟังสิ่งที่ไม่ดีก็ได้ เช่น ฟังคำสอนพระพุทธเจ้าก็ได้ ฟังพญามารก็ได้

  อายตนะทั้งหลายทั้งปวง เป็นทวารแห่งการรับรู้ทั้งร้อนทั้งเย็น ทั้งดีและไม่ดี สัมมาและมิจฉา ภิกษุทั้งหลายควรจะตั้งสติสัมปชัญญะในการพิจารณารับ อย่างนี้ถึงจะถูกต้อง

  อย่างเช่นการรับว่าร้อน แต่ในภาวะตอนนั้นเราอาจจะเหมาะกับรับร้อนก็ได้ รับด้วยความพอประมาณ เวลานั้นจะต้องใช้ก็ได้ อย่างเช่น ตรงนี้เย็นเกิน ก็ใช้ไม่ได้ก็ได้ เห็นไหมว่าเราจะต้องเอามาพิจารณาด้วยสัมปชัญญะด้วยปัญญา

  เพื่อเรารับแล้วเราก็จะต้องนำเอาปัญญามาวินิจฉัย เขาเรียกว่า เขาสู่วิถีแห่งวิปัสสนากรรมฐาน พอเราวินิจฉัยเสร็จเราถึงจะไปทำ อย่างนี้เขาเรียกว่า "เป็นผู้ฉลาดในการใช้ชีวิต" ผู้ที่ฉลาดในการใช้ชีวิตเขาจะทำอย่างนี้ คือ รับแล้วมาพิจารณา พิจารณาแล้วก็จะหาวิธีการที่จะทำให้เหมาะสม

^_^  ..._/\_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่