ดอกไม้ทะเล (Sea Anemone) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดและหลายสกุล อยู่ในกลุ่มย่อยเดียวกับปะการังแข็ง แต่ดอกไม้ทะเลไม่มีโครงสร้างหินปูนเหมือนอย่างปะการังแข็ง จึงทำให้เห็นกอและหนวดดอกไม้ทะเลดูอ่อนนุ่มไหวพริ้วไปตามแรงของกระแสน้ำ ลักษณะลำตัวดอกไม้ทะเลมีรูปร่างคล้ายถุง หรือรูปทรงกระบอก ยืดหดได้ ด้านหนึ่งเป็นฐานสำหรับยึดเกาะ
อีกด้านหนึ่งมีหนวดจำนวนมากซึ่งมักเป็นจำนวนทวีคูณ จัดเรียงตัวกันเป็นแถวตามแนวรัศมีคล้ายกลีบดอกไม้ มีปากอยู่ตรงกลาง ดูเหมือนรูที่เปิดออก ดอกไม้ทะเลไม่มีสมอง แต่มีเส้นประสาทที่ประสานกันไปมาเป็นตาข่ายอยู่ตามพนังลำตัวและบริเวณหนวด เพื่อรับความรู้สึกสัมผัสจากสิ่งแวดล้อม
และเพราะมันอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) ลักษณะเด่น ของสัตว์ในไฟลัมนี้คือเป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ (เช่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ไฮดรา) กลางลำตัวเป็นท่อกลวง มีอวัยวะคล้ายหนวดหลายเส้นและมีเข็มพิษจำนวนมาก จะใช้เข็มพิษล่าเหยื่อหาอาหารและป้องกันตัวจากศัตรู
ทุกเส้นหนวดที่มีอยู่มากมายของดอกไม้ทะเลมีพิษจากเข็มพิษจำนวนมหาศาล เรียกว่า นีมาโตซิสต์ (nematocyst) เมื่อปลาเล็กๆ ว่ายผ่านมา ดอกไม้ทะเลจะใช้เข็มพิษทิ่มแทงเหยื่อให้เป็นอัมพาตจนตาย แล้วใช้หนวดรวบจับเข้าปาก ยกเว้นปลาการ์ตูนที่อาศัยอยู่ในกอดอกไม้ทะเลได้อย่างปลอดภัย
เพราะดอกไม้ทะเลต้องสร้างเมือกบางชนิดออกมาเพื่อป้องกันตัวจากเข็มพิษที่มันปล่อยออกมาเอง ซึ่งอันที่จริงแล้วปลาการ์ตูนก็ได้รับพิษเช่นกัน แต่รู้จักปรับตัวโดยใช้วิธีว่ายเข้าไปสัมผัสกับดอกไม้ทะเลทีละน้อยๆ แล้วถอยออกมา โดยปลาการ์ตูนจะว่ายไปที่ฐานของดอกไม้ทะเล แล้วเอาลำตัวถูกับเมือก ทำอยู่จนกระทั่งร่างกายสร้างเมือกขึ้นมาปกคลุมตัว
และเมือกนั้นก็จะเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เข็มพิษดอกไม้ทะเลเจาะเข้าปล่อยพิษทำอันตรายมันได้ ปลาการ์ตูนจึงอาศัยกอดอกไม้ทะเลเป็นบ้านเป็นที่หลบภัย เพราะศัตรูส่วนใหญ่กลัวเข็มพิษดอกไม้ทะเลไม่โผล่หน้าเข้ามาเด็ดขาด แต่ถ้าปลาการ์ตูนปราศจากเมือกอันนี้เมื่อใดก็จะถูกเข็มพิษของดอกไม้ทะเลทำร้ายจนตายในที่สุดเหมือนตัวอื่นๆ
จะว่าสัตว์ทั้งสองมีพฤติกรรมพึ่งพาอาศัยกันก็ได้ ดอกไม้ทะเลให้ที่พักหลบภัยแก่ปลาการ์ตูน ทั้งเป็นแหล่งอาหารให้ปลาการ์ตูนว่ายวนจับเหยื่อเล็กๆ กิน ขณะเดียวกัน จากการศึกษาพบว่า ในเวลากลางคืนที่ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดน้อยลง ปลาการ์ตูนจะโบกครีบไปมาให้เกิดกระแสน้ำไหลผ่านเพื่อให้ออกซิเจนดอกไม้ทะเล
ดอกไม้ทะเลบางชนิดมีสาหร่ายอาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื้อทั้งลำตัวและหนวด จึงทำให้มีสีเขียวการอยู่รวมกันนี้ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ เพราะสาหร่ายมีคลอโรฟิลสามารถสังเคราะห์แสงได้ ซึ่งผลจากการสังเคราะห์แสงนั้นจะได้แป้งและออกซิเจน ดอกไม้ทะเลสามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการหายใจ ส่วนสาหร่ายนอกจากจะมีที่อยู่อาศัยแล้ว ยังสามารถนำเอาของเสียจากการขับถ่ายของดอกไม้ทะเลเป็นแร่ธาตุไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ดอกไม้ทะเลขนาดใหญ่มักเป็นที่อยู่อาศัยของปลาการ์ตูนและปลาอินเดียแดงและปลาสลิดหินหลายชนิด เพราะหนวดของดอกไม้ทะเลมีพิษนีมาโตซีสใช้ฆ่าเหยื่อหรือศัตรูได้ ยกเว้นปลาที่อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลเท่านั้นที่สร้างเมือกออกมาคลุมลำตัว สามารถป้องกันพิษจากดอกไม้ทะเลได้
ดอกไม้ทะเลบางชนิดอาศัยอยู่กับปูเฉฉวน เป็นความสัมพันธ์อย่างหนึ่งที่ปูยอมให้ดอกไม้ทะเลเกาะอยู่บนหลัง ดอกไม้ทะเลจะทำหน้าที่เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยด้านหลัง เพราะสัตว์ผู้ล่ามักไม่กล้าเข้าใกล้ดอกไม้ทะเล ทำให้ปูปลอดภัยส่วนดอกไม้ทะเลได้รับประโยชน์ในการย้ายที่อยู่เพื่อหาอาหาร และหลีกเลี่ยงจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ดอกไม้ทะเลมีการสืบพันธุ์ได้สองวิธีคือ แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสองตามความยาวจากฐานหนวดลงไปยังฐานยึดเกาะด้านล่างและการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศ โดยดอกไม้ทะเลบางชนิดมีสองเพศอยู่ภายในตัวเดียวกัน หรือแยกเป็นตัวผู้และตัวเมีย
Cr.
https://sites.google.com/
ดอกไม้ทะเลสามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการหายใจ ส่วนสาหร่ายนอกจากจะมีที่อยู่อาศัย ยังสามารถนำเอาของเสียจากการขับถ่ายของดอกไม้ทะเล เป็นแร่ธาตุไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต
ดอกไม้ทะเลมีถิ่นที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน บางชนิดที่อยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงจะมีความทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงความชื้น ความเค็ม และอุณหภูมิ รวมทั้งความสามารถในการอยู่บนบกได้เป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงขณะที่น้ำทะเลลดลงด้วย เราจึงมักพบดอกไม้ทะเลเกาะอยู่ตามก้อนหินริมชายฝั่ง โดยหดตัวเป็นก้อนกลมเพื่อรอให้น้ำทะเลท่วมบริเวณที่อาศัยอยู่อีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูล Cr.
https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_647945
<img class="img-in-post in-tiny-editor">
ดอกไม้ทะเลกาบหอยแครง
นี้คือดอกไม้ทะเล ขนาดใหญ่ที่พบในอ่าวเม็กซิโก พวกมันมีชื่อว่า Venus flytrap sea anemone ซึ่งเป็นการรวมกันของชื่อ 2 ชื่อคือ Venus flytrap(กาบหอยแครง เป็นพืชกินแมลงชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเหมือนเปลือกหอยเปิดอ้าอยู่เมื่อมีวัตถุเคลื่อนไหวไปโดนขนภายใน 2 ครั้งติดต่อกันจะเป็นสัญญาณให้ กาบหอยแครงหุบเขาหากันขุมขังเหยื่ออยู่ในภายใน) กับอีกชื่อหนึ่งคือ sea anemone(ดอกไม้ทะเล)
พวกมันมี basal ที่ทำหน้าที่คล้ายรากในการยึดกับพื้นของวัตถุใต้ทะเล มีลำต้นมีลักษณะเป็นหลอด ที่ได้ชื่อว่า ดอกไม้ทะเลกาบหอยแครง เนื่องมาจากมี ปากแบบจาน(Oral disc) โดยใช้การหุบปากแบบจานเข้าหากันเพื่อเป็นการจับเหยื่อ และป้องกันตัวเอง ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่เคยพบมาก่อนสำหรับสิ่งมีชีวิตในทะเล มันยังสามารถขับเมือกที่เป็น สารชีวะเรืองแสง ที่คาดว่ามีความสัมพันธ์กับกลไกป้องกันตัวแต่ยังไม่มีใครข้อเท็จจริงแน่นอนเกี่ยวกับเมือกนี้
ดอกไม้ทะเลกาบหอยแครงมีความสูง และกว้างประมาณ 30 เซ็นติเมตร
Credit:
http://wowboom.blogspot.com/
ดอกไม้ทะเลหรือสะดือทะเลที่เกาะทะลุ
มีลักษณะคล้ายดอกไม้ ซึ่งส่วนบนมีหนวด อยู่รวมกันมากมายหลายเส้น ตามธรรมชาติจะมองเห็นหนวดเหล่านี้พัดโบกไหวตามกระแสน้ำไปมา ซึ่งแต่ละหนวดนั้นมีเข็มพิษ ฝั่งอยู่ใต้ผิวหนังของมันมากมายเช่นเดียวกันกับพวกแมงกะพรุน ลำตัวอ่อนนุ่ม เป็นสัตว์ที่ค่อนข้างจะอยู่ประจำที่ ถึงแม้ว่ามันจะสามารถเคลื่อนที่ได้บ้างเล็กน้อยก็ตาม เท่าที่พบในบ้านเรายังไม่เคยพบพวกที่มีพิษร้ายแรง พวกนี้มักพบเป็นหย่อมๆ อาศัยอยู่ตามหาดปะการังโดยทั่วไป
ขอบคุณข้อมูลCr.
http://www.taludiving.com/
กุ้งดอกไม้ทะเล
เป็นกุ้งสวยงามชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามด้วยสีสันและลวดลายที่สวยงาม ตัวกุ้งจะโปร่งใสสามารถมองทะลุไปอีกด้านได้ พวกนี้มักอาศัยอยู่ตามดอกไม้ทะเลเหมือนกันกับปลาการ์ตูนเนื่องจากดอกไม้ทะเลจะคอยปกป้องมันจากสัตว์ทะเลชนิดอื่นได้ กุ้งชนิดนี้สามารถพบได้เกาะทะลุโดยมักจะพบบริเวณร่องทรายตรงหาดเทียน ลักษณะนิสัยจะอาศัยอยู่แต่ดอกไม้ทะเลและไม่ค่อยกลัวนักดำน้ำ สามารถดำไปมองหรือถ่ายรูปใกล้ๆได้ กุ้งจะไม่ว่ายหนีไปแต่จะว่ายเข้าไปในดอกไม้ทะเลแทนเหมือนกับปลาการ์ตูน
ขอบคุณข้อมูล Cr.
http://www.taludiving.com/
ปกติแล้วดอกไม้ทะเลนั้นเป็นสัตว์ประเภทยึดติดกับพื้นผิวที่มันลงมาปักหลักเพื่อเติบโต แต่ในบางครั้ง เมื่อดอกไม้ทะเลเริ่มรู้สึกว่าบริเวณดั้งเดิมที่มันอยู่นั้นเริ่มไม่เหมาะกับการดำรงชีวิต เช่น มีค่าเคมีในน้ำเปลี่ยนไป หรือมีอาหารลดลง มันก็สามารถคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ โดยใช้ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 0.04 นิ้วต่อชั่วโมง
นอกจากนี้ แม้ดอกไม้ทะเลส่วนใหญ่จะเฝ้ารอให้มีอาหารหลงเข้ามาสัมผัสกับหนวดพิษของมันก่อนจะโดนจับกิน แต่ในความเป็นจริงแล้วดอกไม้ทะเลนั้นมีความก้าวร้าวยิ่งกว่าที่เราคิด เพราะในดอกไม้ทะเลหลายชนิดที่มีพฤติกรรมหวงพื้นที่หากินของมันมาก และจะไม่ยอมให้ในระยะที่หนวดของมันสามารถแกว่งไปถึงดอกไม้ทะเลอื่นอาศัยอยู่ และมันพร้อมจะสู้กันถึงตายเลยทีเดียว
แต่ถึงจะมีพิษร้ายแรงแค่ไหน ดอกไม้ทะเลเองก็มีศัตรูตามธรรมชาติอยู่จำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะสัตว์ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับมันมาตลอด อย่างบรรดาทากทะเลทั้งหลายที่กินพวกมันเป็นอาหาร และยึดเอาพิษร้ายของดอกไม้ทะเลมาเป็นของตัวเอง
ขอบคุณข้อมูล Cr.SpokeDark
ชมภาพยนตร์ Finding Nemo ปลาเล็ก หัวใจโต๊โต ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเจ้าของรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม
Cr.
https://m.ncontentmobile.com/
ภาพยนตร์เรื่อง มหัศจรรย์แนวปะการัง-พิศวงใต้ทะเลลึก (พ.ศ.2555)
สัมผัสความมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิต ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์อย่างลงตัว ในดินแดนโลกใต้น้ำ พาไปดำดิ่งสู่ท้องทะเลกับสารคดีตามแนว "ปะการัง" ที่จะพาคุณตื่นตาตื่นใจไปกับเหล่าสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง ในรูปแบบสามมิติ ส่งตรงจากใจกลางไข่มุกแห่งมหาสมุทรอินเดีย “มัลดีฟส์”
กำกับโดย : เรเน่ ช็อปเฟอร์
Cr.
https://www.tkpark.or.th/
โลกใต้น้ำของดอกไม้ทะเล
อีกด้านหนึ่งมีหนวดจำนวนมากซึ่งมักเป็นจำนวนทวีคูณ จัดเรียงตัวกันเป็นแถวตามแนวรัศมีคล้ายกลีบดอกไม้ มีปากอยู่ตรงกลาง ดูเหมือนรูที่เปิดออก ดอกไม้ทะเลไม่มีสมอง แต่มีเส้นประสาทที่ประสานกันไปมาเป็นตาข่ายอยู่ตามพนังลำตัวและบริเวณหนวด เพื่อรับความรู้สึกสัมผัสจากสิ่งแวดล้อม
และเพราะมันอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) ลักษณะเด่น ของสัตว์ในไฟลัมนี้คือเป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ (เช่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ไฮดรา) กลางลำตัวเป็นท่อกลวง มีอวัยวะคล้ายหนวดหลายเส้นและมีเข็มพิษจำนวนมาก จะใช้เข็มพิษล่าเหยื่อหาอาหารและป้องกันตัวจากศัตรู
ทุกเส้นหนวดที่มีอยู่มากมายของดอกไม้ทะเลมีพิษจากเข็มพิษจำนวนมหาศาล เรียกว่า นีมาโตซิสต์ (nematocyst) เมื่อปลาเล็กๆ ว่ายผ่านมา ดอกไม้ทะเลจะใช้เข็มพิษทิ่มแทงเหยื่อให้เป็นอัมพาตจนตาย แล้วใช้หนวดรวบจับเข้าปาก ยกเว้นปลาการ์ตูนที่อาศัยอยู่ในกอดอกไม้ทะเลได้อย่างปลอดภัย
เพราะดอกไม้ทะเลต้องสร้างเมือกบางชนิดออกมาเพื่อป้องกันตัวจากเข็มพิษที่มันปล่อยออกมาเอง ซึ่งอันที่จริงแล้วปลาการ์ตูนก็ได้รับพิษเช่นกัน แต่รู้จักปรับตัวโดยใช้วิธีว่ายเข้าไปสัมผัสกับดอกไม้ทะเลทีละน้อยๆ แล้วถอยออกมา โดยปลาการ์ตูนจะว่ายไปที่ฐานของดอกไม้ทะเล แล้วเอาลำตัวถูกับเมือก ทำอยู่จนกระทั่งร่างกายสร้างเมือกขึ้นมาปกคลุมตัว
และเมือกนั้นก็จะเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เข็มพิษดอกไม้ทะเลเจาะเข้าปล่อยพิษทำอันตรายมันได้ ปลาการ์ตูนจึงอาศัยกอดอกไม้ทะเลเป็นบ้านเป็นที่หลบภัย เพราะศัตรูส่วนใหญ่กลัวเข็มพิษดอกไม้ทะเลไม่โผล่หน้าเข้ามาเด็ดขาด แต่ถ้าปลาการ์ตูนปราศจากเมือกอันนี้เมื่อใดก็จะถูกเข็มพิษของดอกไม้ทะเลทำร้ายจนตายในที่สุดเหมือนตัวอื่นๆ
จะว่าสัตว์ทั้งสองมีพฤติกรรมพึ่งพาอาศัยกันก็ได้ ดอกไม้ทะเลให้ที่พักหลบภัยแก่ปลาการ์ตูน ทั้งเป็นแหล่งอาหารให้ปลาการ์ตูนว่ายวนจับเหยื่อเล็กๆ กิน ขณะเดียวกัน จากการศึกษาพบว่า ในเวลากลางคืนที่ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดน้อยลง ปลาการ์ตูนจะโบกครีบไปมาให้เกิดกระแสน้ำไหลผ่านเพื่อให้ออกซิเจนดอกไม้ทะเล
ดอกไม้ทะเลบางชนิดมีสาหร่ายอาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื้อทั้งลำตัวและหนวด จึงทำให้มีสีเขียวการอยู่รวมกันนี้ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ เพราะสาหร่ายมีคลอโรฟิลสามารถสังเคราะห์แสงได้ ซึ่งผลจากการสังเคราะห์แสงนั้นจะได้แป้งและออกซิเจน ดอกไม้ทะเลสามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการหายใจ ส่วนสาหร่ายนอกจากจะมีที่อยู่อาศัยแล้ว ยังสามารถนำเอาของเสียจากการขับถ่ายของดอกไม้ทะเลเป็นแร่ธาตุไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ดอกไม้ทะเลขนาดใหญ่มักเป็นที่อยู่อาศัยของปลาการ์ตูนและปลาอินเดียแดงและปลาสลิดหินหลายชนิด เพราะหนวดของดอกไม้ทะเลมีพิษนีมาโตซีสใช้ฆ่าเหยื่อหรือศัตรูได้ ยกเว้นปลาที่อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลเท่านั้นที่สร้างเมือกออกมาคลุมลำตัว สามารถป้องกันพิษจากดอกไม้ทะเลได้
ดอกไม้ทะเลบางชนิดอาศัยอยู่กับปูเฉฉวน เป็นความสัมพันธ์อย่างหนึ่งที่ปูยอมให้ดอกไม้ทะเลเกาะอยู่บนหลัง ดอกไม้ทะเลจะทำหน้าที่เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยด้านหลัง เพราะสัตว์ผู้ล่ามักไม่กล้าเข้าใกล้ดอกไม้ทะเล ทำให้ปูปลอดภัยส่วนดอกไม้ทะเลได้รับประโยชน์ในการย้ายที่อยู่เพื่อหาอาหาร และหลีกเลี่ยงจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ดอกไม้ทะเลมีการสืบพันธุ์ได้สองวิธีคือ แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสองตามความยาวจากฐานหนวดลงไปยังฐานยึดเกาะด้านล่างและการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศ โดยดอกไม้ทะเลบางชนิดมีสองเพศอยู่ภายในตัวเดียวกัน หรือแยกเป็นตัวผู้และตัวเมีย
Cr.https://sites.google.com/
ดอกไม้ทะเลสามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการหายใจ ส่วนสาหร่ายนอกจากจะมีที่อยู่อาศัย ยังสามารถนำเอาของเสียจากการขับถ่ายของดอกไม้ทะเล เป็นแร่ธาตุไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต
ดอกไม้ทะเลมีถิ่นที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน บางชนิดที่อยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงจะมีความทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงความชื้น ความเค็ม และอุณหภูมิ รวมทั้งความสามารถในการอยู่บนบกได้เป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงขณะที่น้ำทะเลลดลงด้วย เราจึงมักพบดอกไม้ทะเลเกาะอยู่ตามก้อนหินริมชายฝั่ง โดยหดตัวเป็นก้อนกลมเพื่อรอให้น้ำทะเลท่วมบริเวณที่อาศัยอยู่อีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูล Cr.https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_647945
<img class="img-in-post in-tiny-editor">
ดอกไม้ทะเลกาบหอยแครง
นี้คือดอกไม้ทะเล ขนาดใหญ่ที่พบในอ่าวเม็กซิโก พวกมันมีชื่อว่า Venus flytrap sea anemone ซึ่งเป็นการรวมกันของชื่อ 2 ชื่อคือ Venus flytrap(กาบหอยแครง เป็นพืชกินแมลงชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเหมือนเปลือกหอยเปิดอ้าอยู่เมื่อมีวัตถุเคลื่อนไหวไปโดนขนภายใน 2 ครั้งติดต่อกันจะเป็นสัญญาณให้ กาบหอยแครงหุบเขาหากันขุมขังเหยื่ออยู่ในภายใน) กับอีกชื่อหนึ่งคือ sea anemone(ดอกไม้ทะเล)
พวกมันมี basal ที่ทำหน้าที่คล้ายรากในการยึดกับพื้นของวัตถุใต้ทะเล มีลำต้นมีลักษณะเป็นหลอด ที่ได้ชื่อว่า ดอกไม้ทะเลกาบหอยแครง เนื่องมาจากมี ปากแบบจาน(Oral disc) โดยใช้การหุบปากแบบจานเข้าหากันเพื่อเป็นการจับเหยื่อ และป้องกันตัวเอง ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่เคยพบมาก่อนสำหรับสิ่งมีชีวิตในทะเล มันยังสามารถขับเมือกที่เป็น สารชีวะเรืองแสง ที่คาดว่ามีความสัมพันธ์กับกลไกป้องกันตัวแต่ยังไม่มีใครข้อเท็จจริงแน่นอนเกี่ยวกับเมือกนี้
ดอกไม้ทะเลกาบหอยแครงมีความสูง และกว้างประมาณ 30 เซ็นติเมตร
Credit: http://wowboom.blogspot.com/
ดอกไม้ทะเลหรือสะดือทะเลที่เกาะทะลุ
มีลักษณะคล้ายดอกไม้ ซึ่งส่วนบนมีหนวด อยู่รวมกันมากมายหลายเส้น ตามธรรมชาติจะมองเห็นหนวดเหล่านี้พัดโบกไหวตามกระแสน้ำไปมา ซึ่งแต่ละหนวดนั้นมีเข็มพิษ ฝั่งอยู่ใต้ผิวหนังของมันมากมายเช่นเดียวกันกับพวกแมงกะพรุน ลำตัวอ่อนนุ่ม เป็นสัตว์ที่ค่อนข้างจะอยู่ประจำที่ ถึงแม้ว่ามันจะสามารถเคลื่อนที่ได้บ้างเล็กน้อยก็ตาม เท่าที่พบในบ้านเรายังไม่เคยพบพวกที่มีพิษร้ายแรง พวกนี้มักพบเป็นหย่อมๆ อาศัยอยู่ตามหาดปะการังโดยทั่วไป
ขอบคุณข้อมูลCr.http://www.taludiving.com/
กุ้งดอกไม้ทะเล
เป็นกุ้งสวยงามชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามด้วยสีสันและลวดลายที่สวยงาม ตัวกุ้งจะโปร่งใสสามารถมองทะลุไปอีกด้านได้ พวกนี้มักอาศัยอยู่ตามดอกไม้ทะเลเหมือนกันกับปลาการ์ตูนเนื่องจากดอกไม้ทะเลจะคอยปกป้องมันจากสัตว์ทะเลชนิดอื่นได้ กุ้งชนิดนี้สามารถพบได้เกาะทะลุโดยมักจะพบบริเวณร่องทรายตรงหาดเทียน ลักษณะนิสัยจะอาศัยอยู่แต่ดอกไม้ทะเลและไม่ค่อยกลัวนักดำน้ำ สามารถดำไปมองหรือถ่ายรูปใกล้ๆได้ กุ้งจะไม่ว่ายหนีไปแต่จะว่ายเข้าไปในดอกไม้ทะเลแทนเหมือนกับปลาการ์ตูน
ขอบคุณข้อมูล Cr. http://www.taludiving.com/
ปกติแล้วดอกไม้ทะเลนั้นเป็นสัตว์ประเภทยึดติดกับพื้นผิวที่มันลงมาปักหลักเพื่อเติบโต แต่ในบางครั้ง เมื่อดอกไม้ทะเลเริ่มรู้สึกว่าบริเวณดั้งเดิมที่มันอยู่นั้นเริ่มไม่เหมาะกับการดำรงชีวิต เช่น มีค่าเคมีในน้ำเปลี่ยนไป หรือมีอาหารลดลง มันก็สามารถคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ โดยใช้ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 0.04 นิ้วต่อชั่วโมง
นอกจากนี้ แม้ดอกไม้ทะเลส่วนใหญ่จะเฝ้ารอให้มีอาหารหลงเข้ามาสัมผัสกับหนวดพิษของมันก่อนจะโดนจับกิน แต่ในความเป็นจริงแล้วดอกไม้ทะเลนั้นมีความก้าวร้าวยิ่งกว่าที่เราคิด เพราะในดอกไม้ทะเลหลายชนิดที่มีพฤติกรรมหวงพื้นที่หากินของมันมาก และจะไม่ยอมให้ในระยะที่หนวดของมันสามารถแกว่งไปถึงดอกไม้ทะเลอื่นอาศัยอยู่ และมันพร้อมจะสู้กันถึงตายเลยทีเดียว
แต่ถึงจะมีพิษร้ายแรงแค่ไหน ดอกไม้ทะเลเองก็มีศัตรูตามธรรมชาติอยู่จำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะสัตว์ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับมันมาตลอด อย่างบรรดาทากทะเลทั้งหลายที่กินพวกมันเป็นอาหาร และยึดเอาพิษร้ายของดอกไม้ทะเลมาเป็นของตัวเอง
ขอบคุณข้อมูล Cr.SpokeDark
ชมภาพยนตร์ Finding Nemo ปลาเล็ก หัวใจโต๊โต ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเจ้าของรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม
Cr.https://m.ncontentmobile.com/
ภาพยนตร์เรื่อง มหัศจรรย์แนวปะการัง-พิศวงใต้ทะเลลึก (พ.ศ.2555)
สัมผัสความมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิต ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์อย่างลงตัว ในดินแดนโลกใต้น้ำ พาไปดำดิ่งสู่ท้องทะเลกับสารคดีตามแนว "ปะการัง" ที่จะพาคุณตื่นตาตื่นใจไปกับเหล่าสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง ในรูปแบบสามมิติ ส่งตรงจากใจกลางไข่มุกแห่งมหาสมุทรอินเดีย “มัลดีฟส์”
กำกับโดย : เรเน่ ช็อปเฟอร์
Cr.https://www.tkpark.or.th/