ด้วยความที่ตอนนี้ฉากต่อสู้ไม่ค่อยละเอียดนัก (เรียกว่าไม่ค่อยได้มั้ย) ผมก็เลยสังเกตอะไรในช่วงนั้นไม่ได้มาก
อย่างเช่นที่เชฟฟิลด์เหมือนจะปล่อยลูกพลังมันคืออะไร ใช้สกิล バレンツ海の逆襲 หรือเปล่า
แต่ภาพมันอย่างกับสกิลหยุดเวลาเลย ก็เลยไม่แน่ใจนัก
เห็นว่าที่เป็นแบบนี้เพราะมีคนวาดคีย์เฟรมแค่คนเดียวครับ คุณโอชิมะ เอนิชิ 大島縁 เทพนักปั่นตอน 4
แต่ฉากเขาสวยนะ คือถ้าทำดี ๆ ฉากต่อสู้ตอนนี้น่าจะสนุก มีแผนจะซื้อ BD เก็บอยู่เหมือนกัน หวังว่าเขาแก้งานให้
มาที่ข้อสังเกตประจำตอนนี้ ใครจะเสริมอะไรก็คอมเมนต์มาคุยกันได้เลยครับ
(มาแทรกบนนี้ไม้ได้แล้ว ตัวอักษรเต็ม)
1. โครงการโอโรจิ
โอโรจิเป็นคำเรียกสั้น ๆ ของยามาตะ โนะ โอโรจิ (八岐の大蛇)
ชื่อของสัตว์อสูรในเทพปกรณัมของญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นงูยักษ์ (มังกร) 8 หัว 8 หาง
ถ้าคนรุ่นผมที่เคยอ่านไยบะมาน่าจะคุ้นเคยกัน ในเรื่องนั้นคืออัปสเกลไปจนใหญ่ระดับประเทศญี่ปุ่นทั้งประเทศเลย
อย่าเพิ่งเชื่อสนิทใจนะ อันนี้เป็นเพียงการหาความเชื่อมโยงที่คิดว่าน่าจะเป็นไปได้
คือ อนิเมจะใช้ชื่อนี้เพื่อเป็นการอ้างถึงนโยบายกองเรือแปด-แปด (八八艦隊 Hachihachi Kantai)
เป็นแผนการที่ทางญี่ปุ่นวางไว้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพเรือในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
โดยมีนโยบายให้กองทัพเรือได้มีเรือประจัญบานรุ่นใหม่ที่มีระวางขับน้ำ 20,000 ตันในประจำการ 8 ลำ
และเรือลาดตระเวนหนักหรือเรือลาดตระเวนประจัญบานรุ่นใหม่ที่มีระวางขับน้ำ 18,000 ตันในประจำการอีก 8 ลำ
(8 หัว 8 หาง และขนาดอันใหญ่โตของโอโรจิอาจสื่อถึงสิ่งนี้)
นโยบายกองเรือแปด-แปด เกิดขึ้นหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น
ในปี 1907 กองทัพบกและกองทัพเรือแข่งขันกันในด้านนโยบายการป้องกันประเทศ ทางกองทัพเรือก็เลยมีนโยบายดังกล่าวขึ้นมา
เนื่องจากได้เปลี่ยนมามุ่งเน้นการระวังภัยจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะกลายมาเป็นภัยคุกคามหลักสำหรับญี่ปุ่นในอนาคตแทน
ทางอเมริการมีเรือประจัญบานและเรือลาดตระเวนมากถึง 25 ลำในขณะนั้น ก็เลยมีการประมาณการว่าญี่ปุ่นจำเป็นต้องเพิ่มกำลังรบให้ทัดเทียมกันโดยในขั้นแรกต้องมีเรือประจัญบาน 8 ลำ และเรือลาดตระเวนหนัก 8 ลำ ในประจำการ
ด้วยนโยบายนี้ทำให้กำเนิดเรือประจัญบานและเรือลาดตระเวนประจัญบานขึ้นหลายลำ ทั้งเรือชั้นคงโง ชั้นฟุโซ ชั้นอิเสะ (ซึ่งก็ต้องมีการปรับลดลงมาเป็น หนึ่ง-สี่ และ สี่-สี่ เพราะต้นทุนในการสร้างเรือ แล้วค่อย ๆ สะสมมาให้ครบ แปด-แปด)
จนกระทั่งมีการสร้างเรือประจัญบานชั้นนางาโตะ ก็มีแผนจะสร้างเรือลาดตระเวนประจัญบานชั้นอามากิ (อามากิ, อาคากิ, อาทาโกะ, ทาคาโอะ) และเรือประจัญบานชั้นโทสะ (โทสะ, คากะ)
ซึ่งเป็นเรือที่ติดตั้งปืนใหญ่ 41 ซ.ม. โดยพัฒนาต่อยอดมาจากนางาโตะ
แต่ด้วยสนธิสัญญานาวิกวอชิงตันในปี 1920 ทำให้เรือที่กำลังจะสร้างหลังจากชั้นนางาโตะต้องหยุดการสร้างลง เนื่องจากการจำกัดขนาดเรือ และการติดตั้งปืนใหญ่ ทำให้ญี่ปุ่นต้องดัดแปลงเรือสองลำมาเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแทน นั้นก็คือ อาคากิ และคากะ
(อามากิเกิดอุบัติเหตุเสียหายหนักจนไม่สามารถซ่อมแซมได้จากแผ่นดินไหวเสียก่อน)
อย่างไรก็ตาม โครงการโอโรจิในอนิเม Azur Lane นั้นมีจุดน่าสังเกตที่คำพูดของออบเซิร์ฟเวอร์ที่พูดกับอาคากิว่าจะได้กลับมาพบกันแล้ว (reunion) นั้นราวกับว่า การที่อาคากิรวบรวมพลังงานมาให้นั้นก็เพื่อพอกับใครบางคน
หรือว่าโครงการโอโรจินี้จะเป็นโครงการบังหน้าเพื่อนำท่านพี่อามากิกันนะ และมีแนวโน้มสูงว่าอาจจะโดนไซเรนหลอกใช้งานด้วย
https://en.wikipedia.org/wiki/Eight-eight_fleet
2. ชื่อตอน Cloak-and-Dagger
Cloak-and-Dagger ถูกนำมาใช้เป็นชื่อประจำตอนที่ 4 ของ Azur Lane
(ใช้ชื่อญี่ปุ่นว่าเสื้อคลุมและคมกริช)
นอกจากนี้ยังเป็นชื่อสกินของเชฟฟีลด์ในมาดของจารชน/มือสังหารที่นั่งอยู่บนหอนาฬิกาอีกด้วย
(เคยขายในเกมช่วง 24 ม.ค. - 13 ก.ย. 2019)
Cloak-and-Dagger คำนี้ไม่ใช่คำนามสองคำนะครับ แต่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยคิดรวมทั้งก้อนเป็น 1 คำเลย
ซึ่งหมายถึงการกระทำการบางอย่างที่เป็นความลับ ใช้กับพวกบทละครแนวสายลับหรือมือสังหาร เช่น เจมส์ บอนด์
(แต่บางครั้งก็ใช้กับการกระทำอะไรที่มันขำ ๆ ไร้สาระก็ได้นะ)
พจนานุกรมฉบับ Oxford ได้ให้ความหมายเอาไว้ดังนี้
cloak-and-dagger - activities are secret and mysterious, sometimes in a way that people think is unnecessary or ridiculous
https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/english/cloak-and-dagger
.
.
Cloak (เสื้อคลุม)
Dagger (กริช, มีดสั้น)
ทั้งสองสิ่งนี้เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวแทนของความเป็นสายลับ/มือสังหาร
เสื้อคลุมใช้พรางกาย
มีดสั้นใช้เป็นอาวุธสังหารที่สามารถซ่อนเร้นและสังหารได้อย่างเงียบเชียบ
3. เชฟฟีลด์โนแพน
ที่อาคากิเห็นใต้กระโปรงเชฟฟีลด์แล้วชะงักพร้อมกับหน้าแดง
นั่นเพราะเชฟฟีลด์เธอไม่ได้ใส่กางเกงชั้นใน!
ตรงนี้เป็นมุกประจำตัวละครที่รู้กันในผู้เล่นแค่บางส่วน
เนื่องจากเป็นมุกที่ไม่ได้มาจากทางตัวเกมโดยตรง แต่มาจากทางผู้วาดและออกแบบเชฟฟิลด์ คุณ 玛雅G
คุณ 玛雅G ได้บอกไว้ใน weibo (โซเชียลเน็ตเวิร์กของจีน)เอาไว้ราว ๆ นี้ครับ
ว่าได้กำหนดให้เชฟฟีลด์ไม่สวมกางเกงชั้นในเพื่อเพิ่มความคล่องตัว ถึงเธอจะใส่สายรัดถุงน่องเอาไว้แต่ก็ใส่เพื่อรักษาภาพลักษณ์ให้ดูเป็นเมดเฉย ๆ
https://m.weibo.cn/status/4211078516497169
ภาพดีไซน์ประกอบ
https://twitter.com/soruagiusu1/status/1187384384783110144
คำอธิบายใน wiki ญี่ปุ่น ของ Azur Lane (ตรง キャラクター ย่อหน้าสุดท้าย)
https://azurlane.wikiru.jp/index.php?%A5%B7%A5%A7%A5%D5%A5%A3%A1%BC%A5%EB%A5%C9
เสริมในเรื่อง Character design ของเชฟฟีลด์
การดีไซน์คาแรคเตอร์ของเชฟฟีลด์ จะมีปลอกคอโลหะเป็นจุดเด่นเพราะตัวเรือของเธอนั้นมีการใช้ชิ้นส่วนยึดท่อ (Fitting) ที่เป็นสแตนเลสแทนทองเหลือง ทำให้ช่วยลดภาระของลูกเรือในการทำความสะอาดลง
รวมถึงเมืองเชฟฟีลด์นั้นมีชื่อเสียงในการผลิตเหล็กกล้า การหลอมเหล็ก และสเตนเลสสตีลด้วย จึงได้รับฉายาว่า "Shiny Sheff"
และในปี 1938 ยังเป็นเรือลำแรกของราชนาวีอังกฤษที่นำมาติดตั้งระบบเรดาร์ตัวต้นแบบด้วย
นอกจากปลอกคอโลหะแล้วก็ยังมีการห้อยไม้กางเขนไว้ที่ปลอกคอและสนับเข่า
รวมถึงบทพูดตอนใช้สกิล お聞きになりましたか?晩鐘の響きを
(ได้ยินหรือเปล่าคะ? เสียงระฆังตอนย่ำสนธยา)
องค์ประกอบเหล่านี้เป็นการอ้างอิงถึงอาสนวิหารเชฟฟิลด์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เก็บรักษาระฆังเรือสแตนเลสของเธอเอาไว้ตราบจนทุกวันนี้
https://azurlane.wikiru.jp/index.php?%A5%B7%A5%A7%A5%D5%A5%A3%A1%BC%A5%EB%A5%C9
- ตัวเรือของเชฟฟีลด์มีขนาดเล็กกว่าเรือชั้นเอดินบะระ
- เคยถูกเรือพิฆาตเยอรมันเข้าใจผิดว่าเป็นเรือลาดตระเวนหนักแอดมิรัลฮิปเปอร์
- หลังสงครามเคยเข้าร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง The Battle of the River Plate โดยรับบทเป็น ร.ล.อาแจ็กซ์
4. ตอนเอดินบะระแบกอาคาชิ เธอบอกถ้าจะแบกไปขอเป็นทองก็ยังดี
แม้จะเป็นเรือลำแรกของชั้นเอดินบะระ แต่คาแรคเตอร์ของเธอต่างออกไปจากเบลฟาสต์ คือเป็นเมดแว่นซุ่มซ่าม
ภาพอิลลัสในเกมจะเห็นว่าเธอทำทองร่วงด้วย สกินฮาโลวีนที่ประกาศใหม่ก็มีทองอยู่ในฟักทองเช่นกัน
นั่นเพราะระหว่างที่เดินทางกลับสหราชอาณาจักร เธอได้ขนทองคำแท่ง 4.5 ตัน มาด้วย
(มูลค่าฝากขายประมาณ 1.5 ล้านปอนด์ในปี 1942 หรือประมาณ 68.6 ล้านปอนด์ ในปี 2019 ตีเป็นเงินไทยราว ๆ 2.7 พันล้านบาท)
แต่ทองพวกนั้นกลับมาไม่ถึงและจมลงไปในทะเลแทน
.
.
ทองที่ขนมาด้วยนี้ก็เพื่อนำมาชำระค่าสิ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสงครามให้กับสหภาพโซเวียตและประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในตะวันตก ทอง 465 แท่ง ถูกเก็บไว้ในกล่องไม้จำนวน 93 กล่อง ในห้องเก็บอมภัณฑ์ (Bomb-room)
.
.
.
แต่ในวันที่ 30 เม.ย. 1942 เธอได้ถูกเรือดำน้ำเยอรมัน อู-456 (U-456) ยิงตอร์ปิโดเข้าทางกราบขวา เฉียดหน้าห้องที่ใช้เก็บทองไป
.
.
เรือเริ่มหนักขึ้น แต่เจ้าหน้าที่ ปคส. (ป้องกันความเสียหาย) สามารถปิดประตูกั้นน้ำไว้ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เรือไม่จมลงในทันทีจากตอร์ปิโดลูกแรก แต่จากนั้นไม่นาน อู-456 ก็ยิงตอร์ปิโดลูกที่สองเข้าที่ท้ายเรือเอดินบะระ และจมลง
ในทศวรรษ 1970 อังกฤษเริ่มมีความกระวนกระวายมากขึ้นเพราะมูลค่าของทองที่สูงขึ้น และกังวลว่าอาจถูกสหภาพโซเวียตหรือมือที่สามแย่งชิงไปก่อน
จนในปี 1981 ก็สามารถค้นพบตำแหน่งของเรือที่จมได้ คือ 72 องศาเหนือ 35 องศา ตะวันออก ลึกลงไปถึง 800 ฟุต นับว่าเป็นการดำน้ำที่ท้าทายมาก พวกเขาต้องปล่อยแชมเบอร์ที่มีนักดำน้ำลงไป จากนั้นจึงให้นักดำน้ำว่ายออกมา โดยต้องติดเคเบิลเอาไว้เช่นเดียวกับนักบินอวกาศ แล้วทำการตัดผนังเรือเพื่อเข้าไปเอาทองข้างในห้องอมภัณฑ์ออกมา
ทีมดำน้ำสามารถเก็บกู้ทองกลับมาได้ 431 แท่ง จาก 465 แท่ง ซึ่งมีมูลค่าเกินกว่า 40 ล้านปอนด์ในขณะนั้น
สามารถชมสารคดีการเก็บกู้ทองคำของ ร.ล.เอดินบะระ ได้ที่นี่ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=7jdgleSNrJs
5. ED ที่มีการเพิ่มตัวละคร และปริมาณอาหารบนโต๊ะที่เปลี่ยนไป
ตัวละครที่เพิ่มมาประกอบไปด้วย นีมิ เอดินะระ ปรินซ์ออยเกน เชฟฟิลด์ และปริมาณอาหารของบางคนก็เปลี่ยนไปด้วย
น่าจะสังเกตเห็นกันแล้ว
6. คลีฟแลนด์กับต้นบอนไซ
ตั้งแต่ตอนที่ 1 แล้ว ใน ED ของอนิเม Azur Lane มีลูกพี่คลีฟแลนด์คนเดียวใช้เวลาบนโต๊ะอาหารไปกับการตัดแต่งบอนไซ
ในเกมเมื่อเราตั้งเธอเป็นเรือเลขา จะมีบทพูดที่เธอบอกกับเราว่า
"私は木が好きなんだ。指揮官、盆栽を植えよ"
(ฉันชอบต้นไม้มากเลยล่ะ ผู้บัญชาการ มาปลูกบอนไซกัน)
ใน wiki ภาษาญี่ปุ่น ของ Azur Lane เขาได้อธิบายความชื่นชอบในบอนไซของคลีฟแลนด์เอาไว้ว่า
เป็นเพราะเมืองคลีฟแลนด์ในรัฐโอไฮโอ มีสมญานามว่า
The Forest City หรือเมืองสีเขียว
มีสวนพฤกษศาสตร์คลีฟแลนด์ก่อตั้งขึ้นในปี 1930
จัดว่าเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา
และการปลูกบอนไซก็ได้ก็เป็นที่นิยมมากด้วย
https://azurlane.wikiru.jp/index.php?%A5%AF%A5%EA%A1%BC%A5%D6%A5%E9%A5%F3%A5%C9#p377abdd
จนกระทั่งในปี 1956 ก็ได้มีการก่อตั้งชมรม
Cleveland Bonsai Club ขึ้นมา
https://www.clevelandbonsaiclub.org/
ที่นี่นับว่าเป็นชมรมบอนไซเก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริกาที่สมาชิกใช้ภาษาอังกฤษกัน
นี่จึงเป็นเหตุผลที่คลีฟแลนด์เป็นคนชอบพวกต้นไม้ และบอนไซ
ข้อสังเกต จากอนิเม Azur Lane ตอนที่ 4
อย่างเช่นที่เชฟฟิลด์เหมือนจะปล่อยลูกพลังมันคืออะไร ใช้สกิล バレンツ海の逆襲 หรือเปล่า
แต่ภาพมันอย่างกับสกิลหยุดเวลาเลย ก็เลยไม่แน่ใจนัก
เห็นว่าที่เป็นแบบนี้เพราะมีคนวาดคีย์เฟรมแค่คนเดียวครับ คุณโอชิมะ เอนิชิ 大島縁 เทพนักปั่นตอน 4
แต่ฉากเขาสวยนะ คือถ้าทำดี ๆ ฉากต่อสู้ตอนนี้น่าจะสนุก มีแผนจะซื้อ BD เก็บอยู่เหมือนกัน หวังว่าเขาแก้งานให้
มาที่ข้อสังเกตประจำตอนนี้ ใครจะเสริมอะไรก็คอมเมนต์มาคุยกันได้เลยครับ
(มาแทรกบนนี้ไม้ได้แล้ว ตัวอักษรเต็ม)
1. โครงการโอโรจิ
โอโรจิเป็นคำเรียกสั้น ๆ ของยามาตะ โนะ โอโรจิ (八岐の大蛇)
ชื่อของสัตว์อสูรในเทพปกรณัมของญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นงูยักษ์ (มังกร) 8 หัว 8 หาง
ถ้าคนรุ่นผมที่เคยอ่านไยบะมาน่าจะคุ้นเคยกัน ในเรื่องนั้นคืออัปสเกลไปจนใหญ่ระดับประเทศญี่ปุ่นทั้งประเทศเลย
อย่าเพิ่งเชื่อสนิทใจนะ อันนี้เป็นเพียงการหาความเชื่อมโยงที่คิดว่าน่าจะเป็นไปได้
คือ อนิเมจะใช้ชื่อนี้เพื่อเป็นการอ้างถึงนโยบายกองเรือแปด-แปด (八八艦隊 Hachihachi Kantai)
เป็นแผนการที่ทางญี่ปุ่นวางไว้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพเรือในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
โดยมีนโยบายให้กองทัพเรือได้มีเรือประจัญบานรุ่นใหม่ที่มีระวางขับน้ำ 20,000 ตันในประจำการ 8 ลำ
และเรือลาดตระเวนหนักหรือเรือลาดตระเวนประจัญบานรุ่นใหม่ที่มีระวางขับน้ำ 18,000 ตันในประจำการอีก 8 ลำ
(8 หัว 8 หาง และขนาดอันใหญ่โตของโอโรจิอาจสื่อถึงสิ่งนี้)
นโยบายกองเรือแปด-แปด เกิดขึ้นหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น
ในปี 1907 กองทัพบกและกองทัพเรือแข่งขันกันในด้านนโยบายการป้องกันประเทศ ทางกองทัพเรือก็เลยมีนโยบายดังกล่าวขึ้นมา
เนื่องจากได้เปลี่ยนมามุ่งเน้นการระวังภัยจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะกลายมาเป็นภัยคุกคามหลักสำหรับญี่ปุ่นในอนาคตแทน
ทางอเมริการมีเรือประจัญบานและเรือลาดตระเวนมากถึง 25 ลำในขณะนั้น ก็เลยมีการประมาณการว่าญี่ปุ่นจำเป็นต้องเพิ่มกำลังรบให้ทัดเทียมกันโดยในขั้นแรกต้องมีเรือประจัญบาน 8 ลำ และเรือลาดตระเวนหนัก 8 ลำ ในประจำการ
ด้วยนโยบายนี้ทำให้กำเนิดเรือประจัญบานและเรือลาดตระเวนประจัญบานขึ้นหลายลำ ทั้งเรือชั้นคงโง ชั้นฟุโซ ชั้นอิเสะ (ซึ่งก็ต้องมีการปรับลดลงมาเป็น หนึ่ง-สี่ และ สี่-สี่ เพราะต้นทุนในการสร้างเรือ แล้วค่อย ๆ สะสมมาให้ครบ แปด-แปด)
จนกระทั่งมีการสร้างเรือประจัญบานชั้นนางาโตะ ก็มีแผนจะสร้างเรือลาดตระเวนประจัญบานชั้นอามากิ (อามากิ, อาคากิ, อาทาโกะ, ทาคาโอะ) และเรือประจัญบานชั้นโทสะ (โทสะ, คากะ)
ซึ่งเป็นเรือที่ติดตั้งปืนใหญ่ 41 ซ.ม. โดยพัฒนาต่อยอดมาจากนางาโตะ
แต่ด้วยสนธิสัญญานาวิกวอชิงตันในปี 1920 ทำให้เรือที่กำลังจะสร้างหลังจากชั้นนางาโตะต้องหยุดการสร้างลง เนื่องจากการจำกัดขนาดเรือ และการติดตั้งปืนใหญ่ ทำให้ญี่ปุ่นต้องดัดแปลงเรือสองลำมาเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแทน นั้นก็คือ อาคากิ และคากะ
(อามากิเกิดอุบัติเหตุเสียหายหนักจนไม่สามารถซ่อมแซมได้จากแผ่นดินไหวเสียก่อน)
อย่างไรก็ตาม โครงการโอโรจิในอนิเม Azur Lane นั้นมีจุดน่าสังเกตที่คำพูดของออบเซิร์ฟเวอร์ที่พูดกับอาคากิว่าจะได้กลับมาพบกันแล้ว (reunion) นั้นราวกับว่า การที่อาคากิรวบรวมพลังงานมาให้นั้นก็เพื่อพอกับใครบางคน
หรือว่าโครงการโอโรจินี้จะเป็นโครงการบังหน้าเพื่อนำท่านพี่อามากิกันนะ และมีแนวโน้มสูงว่าอาจจะโดนไซเรนหลอกใช้งานด้วย
https://en.wikipedia.org/wiki/Eight-eight_fleet
2. ชื่อตอน Cloak-and-Dagger
Cloak-and-Dagger ถูกนำมาใช้เป็นชื่อประจำตอนที่ 4 ของ Azur Lane
(ใช้ชื่อญี่ปุ่นว่าเสื้อคลุมและคมกริช)
นอกจากนี้ยังเป็นชื่อสกินของเชฟฟีลด์ในมาดของจารชน/มือสังหารที่นั่งอยู่บนหอนาฬิกาอีกด้วย
(เคยขายในเกมช่วง 24 ม.ค. - 13 ก.ย. 2019)
Cloak-and-Dagger คำนี้ไม่ใช่คำนามสองคำนะครับ แต่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยคิดรวมทั้งก้อนเป็น 1 คำเลย
ซึ่งหมายถึงการกระทำการบางอย่างที่เป็นความลับ ใช้กับพวกบทละครแนวสายลับหรือมือสังหาร เช่น เจมส์ บอนด์
(แต่บางครั้งก็ใช้กับการกระทำอะไรที่มันขำ ๆ ไร้สาระก็ได้นะ)
พจนานุกรมฉบับ Oxford ได้ให้ความหมายเอาไว้ดังนี้
cloak-and-dagger - activities are secret and mysterious, sometimes in a way that people think is unnecessary or ridiculous
https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/english/cloak-and-dagger
.
.
Cloak (เสื้อคลุม)
Dagger (กริช, มีดสั้น)
ทั้งสองสิ่งนี้เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวแทนของความเป็นสายลับ/มือสังหาร
เสื้อคลุมใช้พรางกาย
มีดสั้นใช้เป็นอาวุธสังหารที่สามารถซ่อนเร้นและสังหารได้อย่างเงียบเชียบ
3. เชฟฟีลด์โนแพน
ที่อาคากิเห็นใต้กระโปรงเชฟฟีลด์แล้วชะงักพร้อมกับหน้าแดง
นั่นเพราะเชฟฟีลด์เธอไม่ได้ใส่กางเกงชั้นใน!
ตรงนี้เป็นมุกประจำตัวละครที่รู้กันในผู้เล่นแค่บางส่วน
เนื่องจากเป็นมุกที่ไม่ได้มาจากทางตัวเกมโดยตรง แต่มาจากทางผู้วาดและออกแบบเชฟฟิลด์ คุณ 玛雅G
คุณ 玛雅G ได้บอกไว้ใน weibo (โซเชียลเน็ตเวิร์กของจีน)เอาไว้ราว ๆ นี้ครับ
ว่าได้กำหนดให้เชฟฟีลด์ไม่สวมกางเกงชั้นในเพื่อเพิ่มความคล่องตัว ถึงเธอจะใส่สายรัดถุงน่องเอาไว้แต่ก็ใส่เพื่อรักษาภาพลักษณ์ให้ดูเป็นเมดเฉย ๆ
https://m.weibo.cn/status/4211078516497169
ภาพดีไซน์ประกอบ
https://twitter.com/soruagiusu1/status/1187384384783110144
คำอธิบายใน wiki ญี่ปุ่น ของ Azur Lane (ตรง キャラクター ย่อหน้าสุดท้าย)
https://azurlane.wikiru.jp/index.php?%A5%B7%A5%A7%A5%D5%A5%A3%A1%BC%A5%EB%A5%C9
เสริมในเรื่อง Character design ของเชฟฟีลด์
การดีไซน์คาแรคเตอร์ของเชฟฟีลด์ จะมีปลอกคอโลหะเป็นจุดเด่นเพราะตัวเรือของเธอนั้นมีการใช้ชิ้นส่วนยึดท่อ (Fitting) ที่เป็นสแตนเลสแทนทองเหลือง ทำให้ช่วยลดภาระของลูกเรือในการทำความสะอาดลง
รวมถึงเมืองเชฟฟีลด์นั้นมีชื่อเสียงในการผลิตเหล็กกล้า การหลอมเหล็ก และสเตนเลสสตีลด้วย จึงได้รับฉายาว่า "Shiny Sheff"
และในปี 1938 ยังเป็นเรือลำแรกของราชนาวีอังกฤษที่นำมาติดตั้งระบบเรดาร์ตัวต้นแบบด้วย
นอกจากปลอกคอโลหะแล้วก็ยังมีการห้อยไม้กางเขนไว้ที่ปลอกคอและสนับเข่า
รวมถึงบทพูดตอนใช้สกิล お聞きになりましたか?晩鐘の響きを
(ได้ยินหรือเปล่าคะ? เสียงระฆังตอนย่ำสนธยา)
องค์ประกอบเหล่านี้เป็นการอ้างอิงถึงอาสนวิหารเชฟฟิลด์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เก็บรักษาระฆังเรือสแตนเลสของเธอเอาไว้ตราบจนทุกวันนี้
https://azurlane.wikiru.jp/index.php?%A5%B7%A5%A7%A5%D5%A5%A3%A1%BC%A5%EB%A5%C9
- ตัวเรือของเชฟฟีลด์มีขนาดเล็กกว่าเรือชั้นเอดินบะระ
- เคยถูกเรือพิฆาตเยอรมันเข้าใจผิดว่าเป็นเรือลาดตระเวนหนักแอดมิรัลฮิปเปอร์
- หลังสงครามเคยเข้าร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง The Battle of the River Plate โดยรับบทเป็น ร.ล.อาแจ็กซ์
4. ตอนเอดินบะระแบกอาคาชิ เธอบอกถ้าจะแบกไปขอเป็นทองก็ยังดี
แม้จะเป็นเรือลำแรกของชั้นเอดินบะระ แต่คาแรคเตอร์ของเธอต่างออกไปจากเบลฟาสต์ คือเป็นเมดแว่นซุ่มซ่าม
ภาพอิลลัสในเกมจะเห็นว่าเธอทำทองร่วงด้วย สกินฮาโลวีนที่ประกาศใหม่ก็มีทองอยู่ในฟักทองเช่นกัน
นั่นเพราะระหว่างที่เดินทางกลับสหราชอาณาจักร เธอได้ขนทองคำแท่ง 4.5 ตัน มาด้วย
(มูลค่าฝากขายประมาณ 1.5 ล้านปอนด์ในปี 1942 หรือประมาณ 68.6 ล้านปอนด์ ในปี 2019 ตีเป็นเงินไทยราว ๆ 2.7 พันล้านบาท)
แต่ทองพวกนั้นกลับมาไม่ถึงและจมลงไปในทะเลแทน
.
.
ทองที่ขนมาด้วยนี้ก็เพื่อนำมาชำระค่าสิ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสงครามให้กับสหภาพโซเวียตและประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในตะวันตก ทอง 465 แท่ง ถูกเก็บไว้ในกล่องไม้จำนวน 93 กล่อง ในห้องเก็บอมภัณฑ์ (Bomb-room)
.
.
.
แต่ในวันที่ 30 เม.ย. 1942 เธอได้ถูกเรือดำน้ำเยอรมัน อู-456 (U-456) ยิงตอร์ปิโดเข้าทางกราบขวา เฉียดหน้าห้องที่ใช้เก็บทองไป
.
.
เรือเริ่มหนักขึ้น แต่เจ้าหน้าที่ ปคส. (ป้องกันความเสียหาย) สามารถปิดประตูกั้นน้ำไว้ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เรือไม่จมลงในทันทีจากตอร์ปิโดลูกแรก แต่จากนั้นไม่นาน อู-456 ก็ยิงตอร์ปิโดลูกที่สองเข้าที่ท้ายเรือเอดินบะระ และจมลง
ในทศวรรษ 1970 อังกฤษเริ่มมีความกระวนกระวายมากขึ้นเพราะมูลค่าของทองที่สูงขึ้น และกังวลว่าอาจถูกสหภาพโซเวียตหรือมือที่สามแย่งชิงไปก่อน
จนในปี 1981 ก็สามารถค้นพบตำแหน่งของเรือที่จมได้ คือ 72 องศาเหนือ 35 องศา ตะวันออก ลึกลงไปถึง 800 ฟุต นับว่าเป็นการดำน้ำที่ท้าทายมาก พวกเขาต้องปล่อยแชมเบอร์ที่มีนักดำน้ำลงไป จากนั้นจึงให้นักดำน้ำว่ายออกมา โดยต้องติดเคเบิลเอาไว้เช่นเดียวกับนักบินอวกาศ แล้วทำการตัดผนังเรือเพื่อเข้าไปเอาทองข้างในห้องอมภัณฑ์ออกมา
ทีมดำน้ำสามารถเก็บกู้ทองกลับมาได้ 431 แท่ง จาก 465 แท่ง ซึ่งมีมูลค่าเกินกว่า 40 ล้านปอนด์ในขณะนั้น
สามารถชมสารคดีการเก็บกู้ทองคำของ ร.ล.เอดินบะระ ได้ที่นี่ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=7jdgleSNrJs
5. ED ที่มีการเพิ่มตัวละคร และปริมาณอาหารบนโต๊ะที่เปลี่ยนไป
ตัวละครที่เพิ่มมาประกอบไปด้วย นีมิ เอดินะระ ปรินซ์ออยเกน เชฟฟิลด์ และปริมาณอาหารของบางคนก็เปลี่ยนไปด้วย
น่าจะสังเกตเห็นกันแล้ว
6. คลีฟแลนด์กับต้นบอนไซ
ตั้งแต่ตอนที่ 1 แล้ว ใน ED ของอนิเม Azur Lane มีลูกพี่คลีฟแลนด์คนเดียวใช้เวลาบนโต๊ะอาหารไปกับการตัดแต่งบอนไซ
ในเกมเมื่อเราตั้งเธอเป็นเรือเลขา จะมีบทพูดที่เธอบอกกับเราว่า
"私は木が好きなんだ。指揮官、盆栽を植えよ"
(ฉันชอบต้นไม้มากเลยล่ะ ผู้บัญชาการ มาปลูกบอนไซกัน)
ใน wiki ภาษาญี่ปุ่น ของ Azur Lane เขาได้อธิบายความชื่นชอบในบอนไซของคลีฟแลนด์เอาไว้ว่า
เป็นเพราะเมืองคลีฟแลนด์ในรัฐโอไฮโอ มีสมญานามว่า
The Forest City หรือเมืองสีเขียว
มีสวนพฤกษศาสตร์คลีฟแลนด์ก่อตั้งขึ้นในปี 1930
จัดว่าเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา
และการปลูกบอนไซก็ได้ก็เป็นที่นิยมมากด้วย
https://azurlane.wikiru.jp/index.php?%A5%AF%A5%EA%A1%BC%A5%D6%A5%E9%A5%F3%A5%C9#p377abdd
จนกระทั่งในปี 1956 ก็ได้มีการก่อตั้งชมรม
Cleveland Bonsai Club ขึ้นมา
https://www.clevelandbonsaiclub.org/
ที่นี่นับว่าเป็นชมรมบอนไซเก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริกาที่สมาชิกใช้ภาษาอังกฤษกัน
นี่จึงเป็นเหตุผลที่คลีฟแลนด์เป็นคนชอบพวกต้นไม้ และบอนไซ