ปัจจุบันในประเทศไทยประกอบไปด้วยผู้คนจาก 70 ชาติพันธุ์ ในนั้นมีชนเผ่าพื้นเมืองกว่า 38 กลุ่ม ชนพื้นเมืองเหล่านี้ มีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์และอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ส่วนใหญ่พวกเขามักอาศัยอยู่บนพื้นที่สูงทางตอนบนของประเทศไทย ไล่ลงมาจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และอาศัยอยู่ปะปลายทางตอนใต้ของประเทศไทยเรียกกันว่าชาวมอแกน หรือชาวเล
หลายๆครั้งที่ได้ยินเรื่องราวพวกเขาผ่านหน้าหนังสือพิมพ์หรือในบทเพลงเพื่อชีวิตที่แต่งขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดวิถีชีวิตของพวกเขา แต่นี่เป็นถ่ายทอดวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และความเชื่อ โดยแยกตามตระกูลภาษากลุ่มภาษาในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบแปซิฟิก เพื่อที่จะเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม
1.ตระกูลจีน-ทิเบต
ชนเผ่ากะเหรี่ยง
เป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเยอะที่สุด กะเหรี่ยงมีประวัติศาสตร์เคยร่วมรบกับสยามมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ภายหลังยังมีการอพยพจากพม่ามาที่ไทย เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งกลุ่มชาติพันธุ์แต่เดิมชาวกะเหรี่ยงสืบเชื้อสายมาจากเผ่ามองโกล โยกย้ายถิ่นฐานลงมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ทิเบต มณฑลยูนาน ประเทศจีน ลงมาที่ประเทศพม่าอาศัยกันอยู่มากในบริเวณ รัฐกะเหรี่ยง หรือ คายิน ของประเทศพม่า ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อชายแดนระหว่างพม่ากับไทย ติดกับจังหวัดแม่ฮองสอน ตาก และ กาญจนบุรี เราจะเห็นได้ว่ากะเหรี่ยงจะอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮองสอนกันเป็นจำนวนมากเนื่องจากพวกเขาอาศัยอยู่ตรงกลางระหว่างพม่ากับไทย ย้ายไปย้ายมาตั้งแต่สมัยสงครามไทยพม่า
ชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ "กะเหรี่ยงสะกอ" หรือ "กะเหรี่ยงปาเกอะฌอ" และ "กะเหรี่ยงโป" และยังมีอีก 2 กลุ่มเล็กคือ "กะเหรี่ยงคะยา" หรือ "บะเว" "กะเหรี่ยงตองสู" หรือ "พะโอ" ชาวกะเหรี่ยงบางคนใส่ห่วงที่คอ แต่บางคนก็ไม่ได้ใส่ จริงๆแล้วชาวกะเหรี่ยงที่ใส่ห่วงที่คอหลายๆชั้นหรือที่คนไทยเรียกกันว่ากะเหรี่ยงคอยาวนั่น คือ "ชาวกะยัน" หรือ "คะยัน" พวกเขาเรียกตัวเองว่า "แลเคอ" เป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่แต่ก่อนอาศัยอยู่ที่รัฐกะยาในประเทศพม่าแต่อพยพมาทางจังหวัดแม่ฮองสอนเนื่องจากความขัดแย้งกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะยันถือว่าเป็นกลุ่มย่อยของชนเผ่ากะเหรี่ยงแดงซึ่งก็เป็นหนึ่งในกลุ่มของกะเหรี่ยงคะยา
พวกเขาทำอาชีพเกี่ยวกับกสิกรรม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก มีวิถีชีวิตผูกพันไปกับป่าเขา ชาวกะเหรี่ยงมีภาษาเป็นของตัวเองซึ่งดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่าผสมกับตัวอักษรโรมัน ในบางหมู่บ้านจะมีหัวหน้าหรือผู้อาวุโสซึ่งเป็นเพศชายเรียกว่า ฮี-โข่ ฮี-โข่ จะเป็นทั้งผู้นำทางพิธีกรรมและผู้นำทางทัศนคตินอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ทำหน้าที่กล่าวตักเตือนสำหรับคนที่ประพฤไม่ดี
ข้อห้ามของชาวกะเหรี่ยงระหว่างคนกับธรรมชาติ - จะเป็นข้อห้ามไม่ให้เข้าไปละเมิด รุกล้ำป่าหรือสัตว์ป่าและรู้จักคุณค่าของธรรมชาติ
ข้อห้ามเกี่ยวกับชุมชน - เป็นข้อห้ามเพื่อให้คนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุขและเพื่อให้สังคมปฎิบัติต่อธรรมชาติไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ห้ามไม่ให้เก็บหน่อไม้เกินกอละสามหน่อ ห้ามเก็บชะอมกินในฤดูฝนข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกคู่ครอง
ชนเผ่าลาหู่ หรือมูเซอ
เดิมอาศัยอยู่ในจีน และอพยพลงมาจากการรุกรานของจีน ลงมาที่แคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า และทางตอนเหนือของประเทศไทย "มูเซอ" มาจากภาษาพม่าแปลว่า "นายพราน" เนื่องจากพวกเขามีความเชียวชาญในการล่าสัตว์ ชาวมูเซอสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อยได้แก่ "มูเซอดำ" "มูเซอแดง" "มูเซอกุย" และ "มูเซอเฌเล" ปัจจุบันมูเซอหรือลาหู่อาศัยทางตอนบนของประเทศไทย เช่น แม่ฮองสอน เชียงใหม่ ลำปาง ซึ่งเป็นช่วงที่ติดกับชายแดนไทย-พม่า ส่วนใหญ่ชาวลาหู่จะอาศัยปะปนอยู่กับชนเผ่าอื่นหรือคนไทย
ชาวลาหู่มีความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภายในบ้านของชาวลาหู่จะมีหิ้งพระภูมิอยู่ในห้องนอนเนื่องจากชาวลาหู่เชื่อว่าเป็นที่สถิตของผีเรือน มี "หอแหย่" หรือ วัด เป็นสถานที่ประกอบพิธีของชาวลาหู่ มี "พิธีแซ่ก่อ" หรือ ทรายก่อ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อจัดการบาปที่ทำลงไปอย่างไม่ได้ตั้งใจในตอนที่ทำไร่ทำนาพวกเขาเชื่อว่าเมื่อทำพิธีนี้แล้วจะทำให้บาปดังกล่าวนั้นหายไปและทำให้ผลผลิตดีขึ้น ในหมู่บ้านของชาวลาหู่จะมีศาลา โดยที่ทุกคนในหมู่บ้านร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สถิตของเจ้าที่เจ้าทางใน ปัจจุบันบ้างก็เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์เนื่องจากการเข้ามาของกลุ่มหมอสอนศาสนาชาวอังกฤษ
อาชีพหลักคือการทำกสิกรรม และ มีวิถีชีวิตที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ แต่เดิมภาษาลาหู่มีเพียงแค่ภาษาพูด ภายหลังหมอสอนศาสนาได้เข้ามาสร้างภาษาลาหู่ให้มีตัวตนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ชาวลาหู่ยังใช้ภาษาไทใหญ่ ลาว จีน ยูนาน หรือ พม่าได้อีกด้วย ชาวลาหู่จะปลูกบ้านอยู่บนดอยโดยสูงระดับ 4,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเลเพราะมีความเชื่อว่าผู้ที่อยู่สูงกว่าจะมีความเหนือกว่าผู้ที่อยู่ต่ำในหมู่บ้านจะต้องประกอบไปด้วย ผู้ใหญ่บ้าน-"คะแซ" นักบวชหรือพระ-"โตโบ" และ ช่างตีเหล็ก-"จาหลี" พิธีการละเล่นลูกข่างก็เป็นอีกพิธีกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวลาหู่ โดยการละเล่นของชาวลาหู่จักขึ้นเพื่อสร้างความสามัคคีในกลุ่มนอกจากนี้ยังมีการละเล่นเพื่อความสนุกสนาน คือ "น่อ" หรือ แคนชาวลาหู่มีความชำนาญในเรื่องของแคนแบบลาหู่
ชนเผ่าลีซู หรือ ลีซอ
แต่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ มณฑลยูนาน ประเทศจีน และตอนเหนือของประเทศพม่า และอพยพลงมาเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ บางส่วนก็อพยพไปเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณทลยูนาน ประเทศจีน บ้างก็เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย และไทยในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮองสอน ลำปาง ตาก พะเยา กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ แพร่ และสุโขทัย
ลีซูส่วนใหญ่นับถือผีหรือเคารพวิญญาณบรรพบุรุษหรือที่เรียกกันว่า วิญญาณนิยม ควบคู่ไปกับการนับถือศาสนาพุทธหรือคริสต์ มีหมอผีหรือที่เรียกว่า "หนี่ผะ" จะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมในหมู่บ้านในหมู่บ้านของชาวลีซูก็ยังมีศาลาประจำหมู่บ้านเรียกว่า "อาปาโหม่ฮี" ถือว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และไม่อนุญาติให้ผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนเข้าใกล้
ชาวลีซูมีข้อห้ามและข้อควรปฎิบัติเพื่อใช้ในการจัดระเบียบคนในชุมชน และยังมีบางข้อห้ามที่ให้ความเคารพและให้อิสระกับผู้ชายมากกว่าเนื่องจากชาวลีซูให้ความสำคัญกับการสืบตระกูลทางฝ่ายชาย ภาษาลีซูที่ใช้กันในชนเผ่า ปัจจุบันชาวลีซูทำอาชีพทางเกษตรกรรม และหัตถกรรม พวกเขามักจะเลือกตั้งบ้านเรือน ที่มีระดับความสูงกว่าน้ำทะเล 800 เมตร มีประเพณีที่น่าสนใจอย่างฉลองปีใหม่ การไหว้ผีไร่ ผีนา การเต้นรำร้องรำทำเพลงก็เป็นอีกเอกลักษณ์หนึ่งจัดขึ้นเพื่อความบันเทิงหรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ภายหลังชาวลีซูบางคนก็ตัดสินใจเดินทางเข้าเมืองเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องกันมากขึ้น
ชนเผ่าอาข่า
เดิมอาข่าอาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลยูนาน ประเทศจีน พวกเขาเริ่มอพยพย้ายถิ่นฐานมาที่ประเทศไทยเมื่อประมาณ 120 ปีที่แล้วปัจจุบันอาข่าในประเทศไทยอาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือ ตระกูลภาษาที่ใช้คือภาษาจีน-ทิเบต ชื่อที่พวกเขาใช้เรียกตัวเองในประเทศไทย พม่าและเวียดนามจะเรียกว่า "อ่าข่า" สำหรับในประเทศจีน จะเรียกว่า "ฮานี","ซานี","ยานี"
ชาวอาข่ามีความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณสิ่งเร้นลับ เชื่อว่าผีสางเป็นสิ่งที่ทำให้มีการ เกิด เจ็บ และตาย มีเทพที่เกี่ยวข้องธรรมชาติ อย่าง เทพแห่งดิน เทพแห่งน้ำ เทพแห่งพืชพันธุ์นั่นจึงทำให้พวกเขามีสำนึก มีความผูกพันต่อธรรมชาติ และให้ความสำคัญกับบรรพบุรุษ โดยจะมีการไล่ชื่อหรือลำดับชื่อบรรพบุรุษเพื่อถ่ายทอดต่อรุ่นลูกรุ่นหลาน ชาวอาข่าจะมีบัญญัติที่เคารพและนับถือเป็นเหมือนกับกฎเกณฑ์ข้อบังคับการอยู่ร่วมกันนั่นก็คือ“บัญญัติอาข่า”
ชาวอาข่ามักจะอยู่บนที่สูงและอยู่ห่างจากหนองน้ำแม่น้ำ หรือที่ราบลุ่มเนื่องจากมีความเชื่อว่าจะนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บ นชาวอาข่าจะทำอาชีพกสิกรรม เพาะปลูก ข้าว ผัก รวมไปถึงชาและกาแฟอาราบิก้าที่มาแทนฝิ่นในสมัยก่อน
นอกจากนี้ยังเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาบริโภคและใช้ในพิธีกรรมบูชา ประตูหมู่บ้านของชาวอาข่าจะเรียกว่าประตูผีมีลักษณะเป็นไม้ดามกันไว้เป็นประตูและมีตุ๊กตาเพศหญิงและชาย อยู่บริเวณรอบข้างชาวอาข่าถือว่าประตูหมู่บ้านนี้เป็นสิ่งศักสิทธิ์ ช่วยป้องกันภัยอันตรายและป้องกันจากสิ่งที่มารุกรานได้ นอกจากนี้การร้องรำทำเพลงก็เป็นอีกหนึ่งวิถีชีวิตของชาวอาข่าซึ่งจะเห็นได้จากประเพณีต่างๆที่มักจะมีการร้องรำทำเพลงกันเสมอประเพณีที่โดดเด่นของชาวอาข่าก็คือเทศกาลโล่ชิงช้า
2.ตระกูลออสโตรเอเชียติก
ชนเผ่ามลาบรี(ผีตองเหลือง)
ชาวมลาบรีหรือชาวมละสืบเชื้อสายมาจากชาติพันธุ์มองโกลอยด์เป็นกลุ่มชนเร่ร่อน มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศลาวและไทย ในปัจจุบันชาวมละที่อยู่ในประเทศไทยอาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน
มีความเชื่อในภูติผี วิญญาณ และธรรมชาติมีผู้เฒ่าผู้แก่คอยดูแลเรื่องพิธีรักษา หรือรักษาด้วยสมุนไพรพวกเขาให้ความสำคัญกับธรรมชาติ เห็นได้จากการประกอบพิธีกรรมก่อนการล่าสัตว์ในสมัยก่อนชาวมละเชื่อว่าหากอาศัยอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง ผีร้ายจะส่งเสือมาทำร้ายจึงทำให้พวกเขาย้ายถิ่นฐานบ่อยครั้ง
ชาวมละถือว่าเป็นชนเผ่าที่มีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างเชี่ยวชาญในเรื่องของการดำรงชีวิตในป่า เลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ หาของป่าปัจจุบันเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่ทำนา เลี้ยงสัตว์ หรือรับจ้างทั่วไป ชาวมละในสมัยก่อนจะทำเพิงด้วยใบตอง โดยการนำใบตองมาปูที่พื้นและนำมามุงเป็นหลังคาโดยมีไม้ไผ่ดามไว้เมื่อผ่านการใช้งานก็ทำให้ใบตองเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองประกอบกับในสมัยก่อนนิสัยของชาวมละคือจะมีความว่องไว ทำให้ถูกผู้คนเรียกว่า ผีตองเหลือง
ผีตองเหลืองกลายมาเป็นที่รู้จักจากภาพยนต์เรื่องตะวันยิ้มแฉ่ง ในปี 2528 ในปัจจุบันพวกเขามีถิ่นอาศัยที่เป็นหลักเป็นแหล่งแน่นอนได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.ตระกูลขร้า-ไท
ไทลื้อ
หรือ ลื้อ เป็นกลุ่มคนไท มีเขตถิ่นฐานเดิมอยู่ในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา ประเทศจีน ภายหลังอพยพลงมาตอนใต้จึงพบเห็นได้ในประเทศพม่า เวียดนาม ลาว และไทย ในช่วงแรกย้ายลงมาที่ทางตอนเหนือของเมืองน่าน ในช่วงอาณาจักรล้านนา และมีการอพยพลงมาจากถิ่นเดิมเรื่อยๆมาอยู่ที่เมืองเชียงคำ จังหวัดเชียงราย
ชาวลื้อในประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธตามแบบล้านนา และมีบางพวกที่นับถือศาสนาคริสต์ จากการเข้ามาของหมอศาสนา อย่างไรก็ตามก็ยังมีการประกอบพิธีเลี้ยงผีบ้านผีเมือง และให้ความสำคัญกับผีบ้านผีเมืองถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ชาวไทลื้อมีนิสัยรักความสงบ ใจเย็น อ่อนน้อม ถ่อมตน เคารพบรรพบุรุษ ในสมัยก่อนไทลื้อทำอาชีพทางเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ทำไร่ ทำนา ค้าขายข้าว ขายใบยาสูบ ปัจจุบันชาวไทลื้อหันมาประกอบอาชีพค้าขายและอื่นๆมากขึ้น
(อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://minimore.com/b/9OLf$/1)
Cr.minimore.com
ภาพยนต์เรื่องตะวันยิ้มแฉ่ง ในปี 2528
เมื่อคณะมนุษย์วิทยาโดยมี ดวงตะวัน ( ปิยะมาศ โมนยะกุล) เป็นหัวหน้าศึกษากลุ่มผีตองเหลือง แต่ไปพบนายแฉ่ง (สรพงศ์ ชาตรี) หนุ่มชาวไทยใหญ่ หมู่บ้านตะวันโด่ง เข้าใจผิดว่าเป็นผีตองเหลือง เรื่องราวกลับยุ่งมากขึ้น เมื่อไปพบกับพ่อค้าไม้เถื่อนนักตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เหตุการณ์ยิ่งสนุกมากยิ่งขึ้น
Cr.thaifilmreviews.com
เรื่องราวและวิถีชีวิตจาก 8 ชนเผ่าในไทย
ปัจจุบันในประเทศไทยประกอบไปด้วยผู้คนจาก 70 ชาติพันธุ์ ในนั้นมีชนเผ่าพื้นเมืองกว่า 38 กลุ่ม ชนพื้นเมืองเหล่านี้ มีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์และอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ส่วนใหญ่พวกเขามักอาศัยอยู่บนพื้นที่สูงทางตอนบนของประเทศไทย ไล่ลงมาจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และอาศัยอยู่ปะปลายทางตอนใต้ของประเทศไทยเรียกกันว่าชาวมอแกน หรือชาวเล
หลายๆครั้งที่ได้ยินเรื่องราวพวกเขาผ่านหน้าหนังสือพิมพ์หรือในบทเพลงเพื่อชีวิตที่แต่งขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดวิถีชีวิตของพวกเขา แต่นี่เป็นถ่ายทอดวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และความเชื่อ โดยแยกตามตระกูลภาษากลุ่มภาษาในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบแปซิฟิก เพื่อที่จะเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม
1.ตระกูลจีน-ทิเบต
ชนเผ่ากะเหรี่ยง
เป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเยอะที่สุด กะเหรี่ยงมีประวัติศาสตร์เคยร่วมรบกับสยามมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ภายหลังยังมีการอพยพจากพม่ามาที่ไทย เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งกลุ่มชาติพันธุ์แต่เดิมชาวกะเหรี่ยงสืบเชื้อสายมาจากเผ่ามองโกล โยกย้ายถิ่นฐานลงมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ทิเบต มณฑลยูนาน ประเทศจีน ลงมาที่ประเทศพม่าอาศัยกันอยู่มากในบริเวณ รัฐกะเหรี่ยง หรือ คายิน ของประเทศพม่า ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อชายแดนระหว่างพม่ากับไทย ติดกับจังหวัดแม่ฮองสอน ตาก และ กาญจนบุรี เราจะเห็นได้ว่ากะเหรี่ยงจะอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮองสอนกันเป็นจำนวนมากเนื่องจากพวกเขาอาศัยอยู่ตรงกลางระหว่างพม่ากับไทย ย้ายไปย้ายมาตั้งแต่สมัยสงครามไทยพม่า
ชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ "กะเหรี่ยงสะกอ" หรือ "กะเหรี่ยงปาเกอะฌอ" และ "กะเหรี่ยงโป" และยังมีอีก 2 กลุ่มเล็กคือ "กะเหรี่ยงคะยา" หรือ "บะเว" "กะเหรี่ยงตองสู" หรือ "พะโอ" ชาวกะเหรี่ยงบางคนใส่ห่วงที่คอ แต่บางคนก็ไม่ได้ใส่ จริงๆแล้วชาวกะเหรี่ยงที่ใส่ห่วงที่คอหลายๆชั้นหรือที่คนไทยเรียกกันว่ากะเหรี่ยงคอยาวนั่น คือ "ชาวกะยัน" หรือ "คะยัน" พวกเขาเรียกตัวเองว่า "แลเคอ" เป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่แต่ก่อนอาศัยอยู่ที่รัฐกะยาในประเทศพม่าแต่อพยพมาทางจังหวัดแม่ฮองสอนเนื่องจากความขัดแย้งกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะยันถือว่าเป็นกลุ่มย่อยของชนเผ่ากะเหรี่ยงแดงซึ่งก็เป็นหนึ่งในกลุ่มของกะเหรี่ยงคะยา
พวกเขาทำอาชีพเกี่ยวกับกสิกรรม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก มีวิถีชีวิตผูกพันไปกับป่าเขา ชาวกะเหรี่ยงมีภาษาเป็นของตัวเองซึ่งดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่าผสมกับตัวอักษรโรมัน ในบางหมู่บ้านจะมีหัวหน้าหรือผู้อาวุโสซึ่งเป็นเพศชายเรียกว่า ฮี-โข่ ฮี-โข่ จะเป็นทั้งผู้นำทางพิธีกรรมและผู้นำทางทัศนคตินอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ทำหน้าที่กล่าวตักเตือนสำหรับคนที่ประพฤไม่ดี
ข้อห้ามของชาวกะเหรี่ยงระหว่างคนกับธรรมชาติ - จะเป็นข้อห้ามไม่ให้เข้าไปละเมิด รุกล้ำป่าหรือสัตว์ป่าและรู้จักคุณค่าของธรรมชาติ
ข้อห้ามเกี่ยวกับชุมชน - เป็นข้อห้ามเพื่อให้คนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุขและเพื่อให้สังคมปฎิบัติต่อธรรมชาติไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ห้ามไม่ให้เก็บหน่อไม้เกินกอละสามหน่อ ห้ามเก็บชะอมกินในฤดูฝนข้อห้ามเกี่ยวกับการเลือกคู่ครอง
ชนเผ่าลาหู่ หรือมูเซอ
เดิมอาศัยอยู่ในจีน และอพยพลงมาจากการรุกรานของจีน ลงมาที่แคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า และทางตอนเหนือของประเทศไทย "มูเซอ" มาจากภาษาพม่าแปลว่า "นายพราน" เนื่องจากพวกเขามีความเชียวชาญในการล่าสัตว์ ชาวมูเซอสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อยได้แก่ "มูเซอดำ" "มูเซอแดง" "มูเซอกุย" และ "มูเซอเฌเล" ปัจจุบันมูเซอหรือลาหู่อาศัยทางตอนบนของประเทศไทย เช่น แม่ฮองสอน เชียงใหม่ ลำปาง ซึ่งเป็นช่วงที่ติดกับชายแดนไทย-พม่า ส่วนใหญ่ชาวลาหู่จะอาศัยปะปนอยู่กับชนเผ่าอื่นหรือคนไทย
ชาวลาหู่มีความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภายในบ้านของชาวลาหู่จะมีหิ้งพระภูมิอยู่ในห้องนอนเนื่องจากชาวลาหู่เชื่อว่าเป็นที่สถิตของผีเรือน มี "หอแหย่" หรือ วัด เป็นสถานที่ประกอบพิธีของชาวลาหู่ มี "พิธีแซ่ก่อ" หรือ ทรายก่อ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อจัดการบาปที่ทำลงไปอย่างไม่ได้ตั้งใจในตอนที่ทำไร่ทำนาพวกเขาเชื่อว่าเมื่อทำพิธีนี้แล้วจะทำให้บาปดังกล่าวนั้นหายไปและทำให้ผลผลิตดีขึ้น ในหมู่บ้านของชาวลาหู่จะมีศาลา โดยที่ทุกคนในหมู่บ้านร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สถิตของเจ้าที่เจ้าทางใน ปัจจุบันบ้างก็เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์เนื่องจากการเข้ามาของกลุ่มหมอสอนศาสนาชาวอังกฤษ
อาชีพหลักคือการทำกสิกรรม และ มีวิถีชีวิตที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ แต่เดิมภาษาลาหู่มีเพียงแค่ภาษาพูด ภายหลังหมอสอนศาสนาได้เข้ามาสร้างภาษาลาหู่ให้มีตัวตนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ชาวลาหู่ยังใช้ภาษาไทใหญ่ ลาว จีน ยูนาน หรือ พม่าได้อีกด้วย ชาวลาหู่จะปลูกบ้านอยู่บนดอยโดยสูงระดับ 4,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเลเพราะมีความเชื่อว่าผู้ที่อยู่สูงกว่าจะมีความเหนือกว่าผู้ที่อยู่ต่ำในหมู่บ้านจะต้องประกอบไปด้วย ผู้ใหญ่บ้าน-"คะแซ" นักบวชหรือพระ-"โตโบ" และ ช่างตีเหล็ก-"จาหลี" พิธีการละเล่นลูกข่างก็เป็นอีกพิธีกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวลาหู่ โดยการละเล่นของชาวลาหู่จักขึ้นเพื่อสร้างความสามัคคีในกลุ่มนอกจากนี้ยังมีการละเล่นเพื่อความสนุกสนาน คือ "น่อ" หรือ แคนชาวลาหู่มีความชำนาญในเรื่องของแคนแบบลาหู่
ชนเผ่าลีซู หรือ ลีซอ
แต่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ มณฑลยูนาน ประเทศจีน และตอนเหนือของประเทศพม่า และอพยพลงมาเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ บางส่วนก็อพยพไปเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณทลยูนาน ประเทศจีน บ้างก็เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย และไทยในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮองสอน ลำปาง ตาก พะเยา กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ แพร่ และสุโขทัย
ลีซูส่วนใหญ่นับถือผีหรือเคารพวิญญาณบรรพบุรุษหรือที่เรียกกันว่า วิญญาณนิยม ควบคู่ไปกับการนับถือศาสนาพุทธหรือคริสต์ มีหมอผีหรือที่เรียกว่า "หนี่ผะ" จะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมในหมู่บ้านในหมู่บ้านของชาวลีซูก็ยังมีศาลาประจำหมู่บ้านเรียกว่า "อาปาโหม่ฮี" ถือว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และไม่อนุญาติให้ผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนเข้าใกล้
ชาวลีซูมีข้อห้ามและข้อควรปฎิบัติเพื่อใช้ในการจัดระเบียบคนในชุมชน และยังมีบางข้อห้ามที่ให้ความเคารพและให้อิสระกับผู้ชายมากกว่าเนื่องจากชาวลีซูให้ความสำคัญกับการสืบตระกูลทางฝ่ายชาย ภาษาลีซูที่ใช้กันในชนเผ่า ปัจจุบันชาวลีซูทำอาชีพทางเกษตรกรรม และหัตถกรรม พวกเขามักจะเลือกตั้งบ้านเรือน ที่มีระดับความสูงกว่าน้ำทะเล 800 เมตร มีประเพณีที่น่าสนใจอย่างฉลองปีใหม่ การไหว้ผีไร่ ผีนา การเต้นรำร้องรำทำเพลงก็เป็นอีกเอกลักษณ์หนึ่งจัดขึ้นเพื่อความบันเทิงหรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ภายหลังชาวลีซูบางคนก็ตัดสินใจเดินทางเข้าเมืองเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องกันมากขึ้น
ชนเผ่าอาข่า
เดิมอาข่าอาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลยูนาน ประเทศจีน พวกเขาเริ่มอพยพย้ายถิ่นฐานมาที่ประเทศไทยเมื่อประมาณ 120 ปีที่แล้วปัจจุบันอาข่าในประเทศไทยอาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือ ตระกูลภาษาที่ใช้คือภาษาจีน-ทิเบต ชื่อที่พวกเขาใช้เรียกตัวเองในประเทศไทย พม่าและเวียดนามจะเรียกว่า "อ่าข่า" สำหรับในประเทศจีน จะเรียกว่า "ฮานี","ซานี","ยานี"
ชาวอาข่ามีความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณสิ่งเร้นลับ เชื่อว่าผีสางเป็นสิ่งที่ทำให้มีการ เกิด เจ็บ และตาย มีเทพที่เกี่ยวข้องธรรมชาติ อย่าง เทพแห่งดิน เทพแห่งน้ำ เทพแห่งพืชพันธุ์นั่นจึงทำให้พวกเขามีสำนึก มีความผูกพันต่อธรรมชาติ และให้ความสำคัญกับบรรพบุรุษ โดยจะมีการไล่ชื่อหรือลำดับชื่อบรรพบุรุษเพื่อถ่ายทอดต่อรุ่นลูกรุ่นหลาน ชาวอาข่าจะมีบัญญัติที่เคารพและนับถือเป็นเหมือนกับกฎเกณฑ์ข้อบังคับการอยู่ร่วมกันนั่นก็คือ“บัญญัติอาข่า”
ชาวอาข่ามักจะอยู่บนที่สูงและอยู่ห่างจากหนองน้ำแม่น้ำ หรือที่ราบลุ่มเนื่องจากมีความเชื่อว่าจะนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บ นชาวอาข่าจะทำอาชีพกสิกรรม เพาะปลูก ข้าว ผัก รวมไปถึงชาและกาแฟอาราบิก้าที่มาแทนฝิ่นในสมัยก่อน
นอกจากนี้ยังเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาบริโภคและใช้ในพิธีกรรมบูชา ประตูหมู่บ้านของชาวอาข่าจะเรียกว่าประตูผีมีลักษณะเป็นไม้ดามกันไว้เป็นประตูและมีตุ๊กตาเพศหญิงและชาย อยู่บริเวณรอบข้างชาวอาข่าถือว่าประตูหมู่บ้านนี้เป็นสิ่งศักสิทธิ์ ช่วยป้องกันภัยอันตรายและป้องกันจากสิ่งที่มารุกรานได้ นอกจากนี้การร้องรำทำเพลงก็เป็นอีกหนึ่งวิถีชีวิตของชาวอาข่าซึ่งจะเห็นได้จากประเพณีต่างๆที่มักจะมีการร้องรำทำเพลงกันเสมอประเพณีที่โดดเด่นของชาวอาข่าก็คือเทศกาลโล่ชิงช้า
2.ตระกูลออสโตรเอเชียติก
ชนเผ่ามลาบรี(ผีตองเหลือง)
ชาวมลาบรีหรือชาวมละสืบเชื้อสายมาจากชาติพันธุ์มองโกลอยด์เป็นกลุ่มชนเร่ร่อน มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศลาวและไทย ในปัจจุบันชาวมละที่อยู่ในประเทศไทยอาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน
มีความเชื่อในภูติผี วิญญาณ และธรรมชาติมีผู้เฒ่าผู้แก่คอยดูแลเรื่องพิธีรักษา หรือรักษาด้วยสมุนไพรพวกเขาให้ความสำคัญกับธรรมชาติ เห็นได้จากการประกอบพิธีกรรมก่อนการล่าสัตว์ในสมัยก่อนชาวมละเชื่อว่าหากอาศัยอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง ผีร้ายจะส่งเสือมาทำร้ายจึงทำให้พวกเขาย้ายถิ่นฐานบ่อยครั้ง
ชาวมละถือว่าเป็นชนเผ่าที่มีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างเชี่ยวชาญในเรื่องของการดำรงชีวิตในป่า เลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ หาของป่าปัจจุบันเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่ทำนา เลี้ยงสัตว์ หรือรับจ้างทั่วไป ชาวมละในสมัยก่อนจะทำเพิงด้วยใบตอง โดยการนำใบตองมาปูที่พื้นและนำมามุงเป็นหลังคาโดยมีไม้ไผ่ดามไว้เมื่อผ่านการใช้งานก็ทำให้ใบตองเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองประกอบกับในสมัยก่อนนิสัยของชาวมละคือจะมีความว่องไว ทำให้ถูกผู้คนเรียกว่า ผีตองเหลือง
ผีตองเหลืองกลายมาเป็นที่รู้จักจากภาพยนต์เรื่องตะวันยิ้มแฉ่ง ในปี 2528 ในปัจจุบันพวกเขามีถิ่นอาศัยที่เป็นหลักเป็นแหล่งแน่นอนได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.ตระกูลขร้า-ไท
ไทลื้อ
หรือ ลื้อ เป็นกลุ่มคนไท มีเขตถิ่นฐานเดิมอยู่ในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา ประเทศจีน ภายหลังอพยพลงมาตอนใต้จึงพบเห็นได้ในประเทศพม่า เวียดนาม ลาว และไทย ในช่วงแรกย้ายลงมาที่ทางตอนเหนือของเมืองน่าน ในช่วงอาณาจักรล้านนา และมีการอพยพลงมาจากถิ่นเดิมเรื่อยๆมาอยู่ที่เมืองเชียงคำ จังหวัดเชียงราย
ชาวลื้อในประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธตามแบบล้านนา และมีบางพวกที่นับถือศาสนาคริสต์ จากการเข้ามาของหมอศาสนา อย่างไรก็ตามก็ยังมีการประกอบพิธีเลี้ยงผีบ้านผีเมือง และให้ความสำคัญกับผีบ้านผีเมืองถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ชาวไทลื้อมีนิสัยรักความสงบ ใจเย็น อ่อนน้อม ถ่อมตน เคารพบรรพบุรุษ ในสมัยก่อนไทลื้อทำอาชีพทางเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ทำไร่ ทำนา ค้าขายข้าว ขายใบยาสูบ ปัจจุบันชาวไทลื้อหันมาประกอบอาชีพค้าขายและอื่นๆมากขึ้น
(อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://minimore.com/b/9OLf$/1)
Cr.minimore.com
ภาพยนต์เรื่องตะวันยิ้มแฉ่ง ในปี 2528
เมื่อคณะมนุษย์วิทยาโดยมี ดวงตะวัน ( ปิยะมาศ โมนยะกุล) เป็นหัวหน้าศึกษากลุ่มผีตองเหลือง แต่ไปพบนายแฉ่ง (สรพงศ์ ชาตรี) หนุ่มชาวไทยใหญ่ หมู่บ้านตะวันโด่ง เข้าใจผิดว่าเป็นผีตองเหลือง เรื่องราวกลับยุ่งมากขึ้น เมื่อไปพบกับพ่อค้าไม้เถื่อนนักตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เหตุการณ์ยิ่งสนุกมากยิ่งขึ้น
Cr.thaifilmreviews.com