หลายวันก่อนมีข่าวธนาคารโลกรายงานว่า ระบบทางรถไฟความเร็วสูงของจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นต้นแบบให้กับประเทศอื่นๆ ที่กำลังพิจารณาลงทุนด้านรถไฟความเร็วสูง โดยจีนมีโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการพัฒนาเมือง ดึงดูดการท่องเที่ยว และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนยังบอกว่า รถไฟความเร็วสูงสามารถแข่งขันกับการขนส่งทางถนนและทางอากาศได้ระยะทางสูงสุด 1,200 กิโลเมตร และค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงของจีนยังถูก จึงสามารถดึงดูดผู้ใช้บริการจากทุกระดับรายได้ ประกอบกับผู้คนจำนวนมากนิยมเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง เพราะสะดวก รวดเร็ว และตรงเวลา ที่สำคัญยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย
อย่างนี้แล้วก็รู้สึกดีที่ประเทศไทยกำลังจะมีรถไฟความเร็วสูง ทั้งสายไทย-จีน และโดยเฉพาะสายตะวันออก อีอีซี เชื่อม 3 สนามบิน ที่กำลังจะลงนามกันในอีกสองวันนี้ ซึ่งอดใจรออีกไม่เกิน 5-6 ปี เราก็จะได้สัมผัสเทคโนโลยีใหม่สำหรับประเทศกันแล้ว งานนี้ก็ต้องขอบคุณลุงตู่ที่ช่วยผลักดันโครงการให้เดินหน้าซะที (จริง ๆ ต้องขอบคุณลุงสมคิดด้วยอีกคน ที่ช่วยผลักดันอีอีซีมาตั้งแต่ต้น แม้ตอนนี้จะหายไปจากโครงการนี้แล้ว)
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ภายใต้เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ถือเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีความพร้อมมากที่สุดในการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียน โดยจะเชื่อมต่อท่าอากาศยาน 3 แห่ง ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง และยังเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ได้อย่างครอบคลุม กับทั้งยังทำให้เกิดการขยายเมืองจากกรุงเทพฯ ออกไปอีกด้วย
คาดว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจะเป็นโครงการปรับฐานสาธารณูปโภคครั้งสำคัญ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคม ให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ โดยช่วยลดต้นทุนเวลาการเดินทางและโลจิสติกส์ ขับเคลื่อนการค้าและการลงทุน การจ้างงาน การขยายตัวของเมือง และการกระจายความเจริญสู่พื้นที่ห่างไกล
ตั้งตารอความสำเร็จของโครงการ วันพฤหัสนี้คอยดูดีเดย์ลงนามโครงการ
ไฮสปีดเทรนเชื่อมสนามบินกำลังจะออกตัว
นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนยังบอกว่า รถไฟความเร็วสูงสามารถแข่งขันกับการขนส่งทางถนนและทางอากาศได้ระยะทางสูงสุด 1,200 กิโลเมตร และค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงของจีนยังถูก จึงสามารถดึงดูดผู้ใช้บริการจากทุกระดับรายได้ ประกอบกับผู้คนจำนวนมากนิยมเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง เพราะสะดวก รวดเร็ว และตรงเวลา ที่สำคัญยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย
อย่างนี้แล้วก็รู้สึกดีที่ประเทศไทยกำลังจะมีรถไฟความเร็วสูง ทั้งสายไทย-จีน และโดยเฉพาะสายตะวันออก อีอีซี เชื่อม 3 สนามบิน ที่กำลังจะลงนามกันในอีกสองวันนี้ ซึ่งอดใจรออีกไม่เกิน 5-6 ปี เราก็จะได้สัมผัสเทคโนโลยีใหม่สำหรับประเทศกันแล้ว งานนี้ก็ต้องขอบคุณลุงตู่ที่ช่วยผลักดันโครงการให้เดินหน้าซะที (จริง ๆ ต้องขอบคุณลุงสมคิดด้วยอีกคน ที่ช่วยผลักดันอีอีซีมาตั้งแต่ต้น แม้ตอนนี้จะหายไปจากโครงการนี้แล้ว)
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ภายใต้เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ถือเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีความพร้อมมากที่สุดในการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียน โดยจะเชื่อมต่อท่าอากาศยาน 3 แห่ง ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง และยังเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ได้อย่างครอบคลุม กับทั้งยังทำให้เกิดการขยายเมืองจากกรุงเทพฯ ออกไปอีกด้วย
คาดว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจะเป็นโครงการปรับฐานสาธารณูปโภคครั้งสำคัญ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคม ให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ โดยช่วยลดต้นทุนเวลาการเดินทางและโลจิสติกส์ ขับเคลื่อนการค้าและการลงทุน การจ้างงาน การขยายตัวของเมือง และการกระจายความเจริญสู่พื้นที่ห่างไกล
ตั้งตารอความสำเร็จของโครงการ วันพฤหัสนี้คอยดูดีเดย์ลงนามโครงการ