(22 ต.ค.62) จากกรณีที่กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ทำกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในหัวข้อ “การศึกษาฆ่าฉัน” เพื่อสะท้อนปัญหาต่าง ๆ ในสถาบันการศึกษาของไทย เช่น นักเรียนถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากบทลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี การล่วงละเมิดทางเพศโดยอาจารย์ รวมทั้งความคาดหวังจากครอบครัวที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจของเยาวชน เช่น การกดดันให้ผลสอบออกมาดี ไปจนถึงข้อบังคับเรื่องเครื่องแต่งกายและทรงผมของโรงเรียน และยังได้เผยแพร่คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียนที่รวบรวมกฎหมายให้นักเรียนทุกคนได้ต่อกรกับอำนาจมืดในโรงเรียนนั้น
นายประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันว่า โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่ได้จัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและการเรียนรู้และตัวชี้วัดใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งสร้างคุณลักษณะและสมรรถนะ เพื่อให้เด็กไทยมีความเป็นมนุษย์ที่สมดุล ทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกที่ดี กล่าวคือ เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ
การจัดการศึกษาจึงไม่ได้มีเฉพาะระบบการจัดการเรียนรู้เท่านั้น แต่ได้จัดให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่เป็นกระบวนการดำเนินงานที่มีแบบแผนมีขั้นตอนอย่างชัดเจน ในการส่งเสริม สนับสนุน ดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ประสบความสำเร็จทางการเรียน และให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างรอบด้าน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ทั้งนี้ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนของ สพฐ. มี 5 ขั้นตอนที่โรงเรียนจะต้องปฏิบัติ คือ
- รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งการขอข้อมูลจากนักเรียน การเยี่ยมบ้าน และการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน
- การคัดกรองนักเรียน ครูที่ปรึกษาต้องนำข้อมูลนักเรียนรายบุคคล มาคัดกรองว่าเด็กนักเรียนเป็นเด็กกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มมีปัญหาในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัย ด้านพฤติกรรมเช่น การใช้สารเสพติด การใช้ความรุนแรง พฤติกรรมทางเพศ การติดเกม การใช้เครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- การส่งเสริมพัฒนา เพื่อให้เด็กมีทักษะชีวิต มีภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงทางสังคมต่าง ๆ
- การป้องกันและช่วยเหลือ ในกรณีเด็กกลุ่มเสี่ยงหรือมีปัญหา
- การส่งต่อ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้เด็กได้รับความช่วยเหลือ ให้กลับมารับการศึกษาจนจบหลักสูตร
“การดูแลเด็กให้รอดปลอดภัย มีมิติการดูแลหลายมุม การศึกษาเป็นเพียงหนึ่งมิติที่ใกล้ตัวเด็ก แต่ยังมีมิติของครอบครัว มิติของชุมชน มิติของสื่อ และอื่น ๆ อีกมากมายที่จะทำร้ายเด็ก จึงต้องให้ทุกมิติร่วมกันขับเคลื่อนการปกป้องคุ้มครองเด็กให้มีความเข้มแข็งทางใจ อยู่อย่างปลอดภัย และมีความสุขด้วย” ปลัด ศธ. กล่าว
แนวทางในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของ ศธ.
นายประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันว่า โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่ได้จัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและการเรียนรู้และตัวชี้วัดใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งสร้างคุณลักษณะและสมรรถนะ เพื่อให้เด็กไทยมีความเป็นมนุษย์ที่สมดุล ทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกที่ดี กล่าวคือ เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ
การจัดการศึกษาจึงไม่ได้มีเฉพาะระบบการจัดการเรียนรู้เท่านั้น แต่ได้จัดให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่เป็นกระบวนการดำเนินงานที่มีแบบแผนมีขั้นตอนอย่างชัดเจน ในการส่งเสริม สนับสนุน ดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ประสบความสำเร็จทางการเรียน และให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างรอบด้าน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ทั้งนี้ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนของ สพฐ. มี 5 ขั้นตอนที่โรงเรียนจะต้องปฏิบัติ คือ
- รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งการขอข้อมูลจากนักเรียน การเยี่ยมบ้าน และการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน
- การคัดกรองนักเรียน ครูที่ปรึกษาต้องนำข้อมูลนักเรียนรายบุคคล มาคัดกรองว่าเด็กนักเรียนเป็นเด็กกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มมีปัญหาในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัย ด้านพฤติกรรมเช่น การใช้สารเสพติด การใช้ความรุนแรง พฤติกรรมทางเพศ การติดเกม การใช้เครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- การส่งเสริมพัฒนา เพื่อให้เด็กมีทักษะชีวิต มีภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงทางสังคมต่าง ๆ
- การป้องกันและช่วยเหลือ ในกรณีเด็กกลุ่มเสี่ยงหรือมีปัญหา
- การส่งต่อ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้เด็กได้รับความช่วยเหลือ ให้กลับมารับการศึกษาจนจบหลักสูตร
“การดูแลเด็กให้รอดปลอดภัย มีมิติการดูแลหลายมุม การศึกษาเป็นเพียงหนึ่งมิติที่ใกล้ตัวเด็ก แต่ยังมีมิติของครอบครัว มิติของชุมชน มิติของสื่อ และอื่น ๆ อีกมากมายที่จะทำร้ายเด็ก จึงต้องให้ทุกมิติร่วมกันขับเคลื่อนการปกป้องคุ้มครองเด็กให้มีความเข้มแข็งทางใจ อยู่อย่างปลอดภัย และมีความสุขด้วย” ปลัด ศธ. กล่าว