คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
การคลาดเคลื่อน 1-2 วันในปฏิทิน ถือเป็นเรื่องปรกติ เพราะเวลา 1 เดือนจันทรคติ มันไม่ได้ลงตัวเป็นจำนวนเต็มวัน แต่มีเศษเหลือ ซึ่งก็ต้องดูว่าจะทดกันแบบไหน แถมเอาจริงมันก็ไม่ได้ว่าแต่ละเดือนจะเท่ากันพอดี มีขาดเกินนิดหน่อย ตัวเลขที่มาใช้ก็ต้องเป็นค่าเฉลี่ย ซึ่งยังไงก็แตกต่างจากของจริง
ปฏิทินของไทยมาจากการคำนวณ ซึ่งสูตรการคำนวณ การทดวัน ค่อนข้างตายตัว ทำให้บางทีจะมีความคลาดเคลื่อนได้บ้าง เพราะยังไม่ถึงช่วงที่จะเพิ่มวันที่ทดไว้
แต่เอาจริงก็ไม่ได้คลาดเคลื่อนมากนะ
https://www.timeanddate.com/moon/phases/thailand/bangkok
https://www.myhora.com/ปฏิทิน/วันพระ-พ.ศ.2562.aspx
วันเพ็ญ
เดือนยี่ 20 มกราคม (จริง 21 มกราคม 12:16 น.)
เดือนสาม 19 กุมภาพันธ์ (จริง 19 กุมภาพันธ์ 22:53 น.)
เดือนสี่ 20 มีนาคม (จริง 21 มีนาคม 08:42 น.)
เดือนห้า 19 เมษายน (จริง 19 เมษายน 18:12 น.)
เดือนหก 18 พฤษภาคม (จริง 19 พฤษภาคม 04:11 น.)
เดือนเจ็ด 17 มิถุนายน (จริง 17 มิถุนายน 15:30 น.)
เดือนแปด 16 กรกฎาคม (จริง 17 กรกฎาคม 04:38 น.)
เดือนเก้า 15 สิงหาคม (จริง 15 สิงหาคม 19:29 น.)
เดือนสิบ 13 กันยายน (14 กันยายน 11:32 น.)
เดือนสิบเอ็ด 13 ตุลาคม (14 ตุลาคม 04:07 น.)
เดือนสิบสอง 11 พฤศจิกายน (12 พฤศจิกายน 20:34 น.)
เดือนอ้าย 11 ธันวาคม (12 ธันวาคม 12:12 น.)
จะเห็นว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาก็ใกล้เคียงมาตลอด เพิ่งจะมาหลุดในเดือนหน้าที่เร็วไป 1 วัน เข้าใจว่าคงต้องรอปีถัดไปที่จะมีการทดวันอธิกวารเพิ่ม ก็จะกลับมาใกล้เคียงเหมือนเดิม
ปฏิทินของไทยมาจากการคำนวณ ซึ่งสูตรการคำนวณ การทดวัน ค่อนข้างตายตัว ทำให้บางทีจะมีความคลาดเคลื่อนได้บ้าง เพราะยังไม่ถึงช่วงที่จะเพิ่มวันที่ทดไว้
แต่เอาจริงก็ไม่ได้คลาดเคลื่อนมากนะ
https://www.timeanddate.com/moon/phases/thailand/bangkok
https://www.myhora.com/ปฏิทิน/วันพระ-พ.ศ.2562.aspx
วันเพ็ญ
เดือนยี่ 20 มกราคม (จริง 21 มกราคม 12:16 น.)
เดือนสาม 19 กุมภาพันธ์ (จริง 19 กุมภาพันธ์ 22:53 น.)
เดือนสี่ 20 มีนาคม (จริง 21 มีนาคม 08:42 น.)
เดือนห้า 19 เมษายน (จริง 19 เมษายน 18:12 น.)
เดือนหก 18 พฤษภาคม (จริง 19 พฤษภาคม 04:11 น.)
เดือนเจ็ด 17 มิถุนายน (จริง 17 มิถุนายน 15:30 น.)
เดือนแปด 16 กรกฎาคม (จริง 17 กรกฎาคม 04:38 น.)
เดือนเก้า 15 สิงหาคม (จริง 15 สิงหาคม 19:29 น.)
เดือนสิบ 13 กันยายน (14 กันยายน 11:32 น.)
เดือนสิบเอ็ด 13 ตุลาคม (14 ตุลาคม 04:07 น.)
เดือนสิบสอง 11 พฤศจิกายน (12 พฤศจิกายน 20:34 น.)
เดือนอ้าย 11 ธันวาคม (12 ธันวาคม 12:12 น.)
จะเห็นว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาก็ใกล้เคียงมาตลอด เพิ่งจะมาหลุดในเดือนหน้าที่เร็วไป 1 วัน เข้าใจว่าคงต้องรอปีถัดไปที่จะมีการทดวันอธิกวารเพิ่ม ก็จะกลับมาใกล้เคียงเหมือนเดิม
แสดงความคิดเห็น
เพราะเหตุใดปฎิทินจันทรคติไทยคลาดเคลื่อน
แต่ดวงจันทร์เต็มดวงในวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน เวลา 20.34 น. ซึ่งตรงกับแรม 1 ค่ำ เดือน 12
ตัวอย่างที่ 2 สุริยุปราคาวงแหวน (ประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน) ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2562 ซึ่งตรงกับขึ้น 1 ค่ำ เดือนยี่
(กรุงเทพฯ เกิดสุริยุปราคาเวลา 10.18-13.58 น.)