ปฏิทินจันทรคติไทย (อังกฤษ: Thai lunar calendar) คือ ปฏิทินที่นับตามคติการโคจรของดวงจันทร์ โดยหมายดูจากปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม สำหรับปฏิทินจันทรคติ ของไทย จะมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้
ปฏิทินจันทรคติราชการ หรือปฏิทินหลวง เป็นแบบที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม อาศัยการกำหนดรูปแบบปีทางจันทรคติ อย่างไรก็ตาม หลักการคำนวณหารูปแบบปีจันทรคติ ยังไม่มีการสรุปเป็นสูตรที่ตายตัวแน่ชัด ใช้เป็นปฏิทินจันทรคติราชการทั่วไป ตลอดจน พระสงฆ์ไทยคณะมหานิกาย
ปฏิทินจันทรคติปักขคณนา เป็นแบบที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ มีสูตรคำนวณที่แน่ชัด และมีความแม่นยำตามธรรมชาติกว่าแบบราชการอยู่มาก และให้ทรงนำมาใช้ในพระสงฆ์ไทย คณะธรรมยุตินิกาย
🌙🌙ปฏิทินทางจันทรคตินั้นคือปฏิทินที่อ้างอิงวันตามการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ 🌙🌙
ซึ่งจะใช้เพื่อกำหนดวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของไทยเรารวมถึงการกำหนดวันสำคัญต่างๆ ในทางโหราศาสตร์ไทยอีกด้วย โดยการอ้างอิงตามหลักการคือใช้วันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๔/๑๕ ค่ำเป็นหลัก
🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑
วิธีทางนับคือนับขึ้น ๑ ค่ำเป็นวันแรกของเดือนไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำและต่อด้วย แรม ๑ ค่ำนับแบบนี้ไปเรื่อยๆจนแรม ๑๔/ ๑๕ ค่ำ โดยมีการแบ่งจำนวนวันในแต่ละเดือน ดังนี้
🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏
หากเป็นเดือนคู่จะมีจำนวน ๓๐ วัน จะมีวันแรมถึง ๑๕ ค่ำ
หากเดือนคี่จะมีจำนวนวัน ๒๙ วัน*จะมีวันแรม เพียง ๑๔ ค่ำ*
ทั้งนี้อ้างอิงจากวงโคจรของพระจันทร์ในแต่ละรอบจะมีค่า ๒๙.๕๓๐๕ วัน (คำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์) ดังนั้นเมื่อครบ ๒ เดือนจะมีรอบวงโคจรโดยเฉลี่ยประมาณ ๕๙วัน ทำให้เราต้องแบ่งเดือนคู่ที่มีจำนวน ๓๐ วันและเดือนคี่มีเพียง ๒๙วัน เพื่อให้ครบ ๕๙วัน
ในแต่ละปีของปฏิทินทางจันทรคติจะมีจำนวนวันไม่เท่ากัน สามารถจำแนกได้เป็น ๓ แบบคือ
🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖
🌕ถ้าจำนวนวันในแต่ละปีมีจำนวน ๓๕๔วัน เรียกว่า #ปีปกติวาร หรือวันปกติ(วันหรือวาร) โดยจะมีวันในแต่ละเดือนปกติคือ เดือนคู่มีจำนวนวัน ๓๐ วัน และเดือนคี่มีจำนวนวัน ๒๙ วัน
🌓ถ้าจำนวนวันในแต่ละปีมีจำนวน ๓๕๕ วัน เรียกว่า #ปีอธิกวาร หรือปีเพิ่มวัน (อธิก=เพิ่ม, วาร=วัน) โดยจะมีวันเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ วันคือ เดือน ๗ (ปกติจะมี ๒๙วันแต่ปีอธิกวารเดือน ๗ จะมี ๓๐วัน)คือวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๗ ส่วนเดือนอื่นนั้นมีจำนวนวันปกติ
🌓ถ้าจำนวนวันในแต่ละปีมีจำนวน ๓๘๔ วัน เรียกว่า #ปีอธิกมาส หรือปีเพิ่มเดือน (อธิก=เพิ่ม, มาส=เดือน) โดยจะมีเดือนเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ เดือน โดยให้เดือนที่เพิ่มมานั้น เพิ่มหลังจากเดือน ๘ เรียกว่าเดือน ๘/๘ หรือเดือน ๘๘ ที่เรียกนิยมกันว่า เดือน๘ หลัง หรือเดือน๘ @๒หน@ วิธีการคิดคำนวณคือจำนวนวันในปีนั้นจึงเพิ่มมาอีก ๓๐วัน(๓๕๔+๓๐=๓๘๔)
🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕
หลักการแบ่งวันตามปกติจะมีอยู่ด้วยกัน ๒ ประเภทคือ ๑ แบ่งตามสุริยคติ คือการเดินโคจรของพระอาทิตย์หรือเรียกง่ายๆว่า ตามปีปฏิทิน ปกติที่ทุกท่านใช้นั่นเอง ส่วนแบบที่ ๒ คือ จันทรคติ คือการแบ่งตามการเดินโคจรของพระจันทร์ที่วนรอบโลกนั่นเองซึ่งปกติจะเฉลี่ยที่ ๒๙ วันนิดๆ
สำหรับคำว่า #อธิกวาร อธิก แปลว่าเกิน ส่วน วาระ แปลว่า วัน จึงเป็นการเพิ่มวันมาอีก๑วันจากปีปกติ คือการนับเดินตามรอบโคจรทางจันทรคติ ซึ่งปกติจะจบที่แรม ๑๔ ค่ำเดือน๗ แต่ปีนี้จะจบที่ แรม๑๕ ค่ำเดือน ๗ แล้วจึงขึ้น๑ ค่ำเดือน ๘ ต่อไป
สำหรับคำว่า #อธิกมาส อธิก แปลว่าเกิน ส่วนคำว่า มาส แปลว่าเดือน หรือพระจันทร์ คือการเพิ่มเดือนอีก๑ เดือน ปีใดที่เป็น อธิกมาส จะเพิ่มเดือน ๘ เข้าไปอีกครั้ง ที่คนทั่วไปได้ยินเดือน แปด ๒ หน นั่นเอง
สำหรับ #อธิกสุรทิน ใช้ปฏิทินตามสุริยคติ คือมีเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มวันมาเป็น ๒๙ กุมภาพันธ์ ซึ่งจะใช้การเดินตามรอบอาทิตย์นั่นเอง
ปล.หากท่านใดเห็นว่ามีประโยชน์ จะแวะเวียน มาให้ความรู้กันอีกในเรื่องต่างๆ นะครับ
แบ่งปัน ข้อมูล ความรู้ โหราศาสตร์ ภาคการคำนวณ
ปฏิทินจันทรคติราชการ หรือปฏิทินหลวง เป็นแบบที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม อาศัยการกำหนดรูปแบบปีทางจันทรคติ อย่างไรก็ตาม หลักการคำนวณหารูปแบบปีจันทรคติ ยังไม่มีการสรุปเป็นสูตรที่ตายตัวแน่ชัด ใช้เป็นปฏิทินจันทรคติราชการทั่วไป ตลอดจน พระสงฆ์ไทยคณะมหานิกาย
ปฏิทินจันทรคติปักขคณนา เป็นแบบที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ มีสูตรคำนวณที่แน่ชัด และมีความแม่นยำตามธรรมชาติกว่าแบบราชการอยู่มาก และให้ทรงนำมาใช้ในพระสงฆ์ไทย คณะธรรมยุตินิกาย
🌙🌙ปฏิทินทางจันทรคตินั้นคือปฏิทินที่อ้างอิงวันตามการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ 🌙🌙
ซึ่งจะใช้เพื่อกำหนดวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของไทยเรารวมถึงการกำหนดวันสำคัญต่างๆ ในทางโหราศาสตร์ไทยอีกด้วย โดยการอ้างอิงตามหลักการคือใช้วันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๔/๑๕ ค่ำเป็นหลัก
🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑
วิธีทางนับคือนับขึ้น ๑ ค่ำเป็นวันแรกของเดือนไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำและต่อด้วย แรม ๑ ค่ำนับแบบนี้ไปเรื่อยๆจนแรม ๑๔/ ๑๕ ค่ำ โดยมีการแบ่งจำนวนวันในแต่ละเดือน ดังนี้
🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏🌏
หากเป็นเดือนคู่จะมีจำนวน ๓๐ วัน จะมีวันแรมถึง ๑๕ ค่ำ
หากเดือนคี่จะมีจำนวนวัน ๒๙ วัน*จะมีวันแรม เพียง ๑๔ ค่ำ*
ทั้งนี้อ้างอิงจากวงโคจรของพระจันทร์ในแต่ละรอบจะมีค่า ๒๙.๕๓๐๕ วัน (คำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์) ดังนั้นเมื่อครบ ๒ เดือนจะมีรอบวงโคจรโดยเฉลี่ยประมาณ ๕๙วัน ทำให้เราต้องแบ่งเดือนคู่ที่มีจำนวน ๓๐ วันและเดือนคี่มีเพียง ๒๙วัน เพื่อให้ครบ ๕๙วัน
ในแต่ละปีของปฏิทินทางจันทรคติจะมีจำนวนวันไม่เท่ากัน สามารถจำแนกได้เป็น ๓ แบบคือ
🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖🌖
🌕ถ้าจำนวนวันในแต่ละปีมีจำนวน ๓๕๔วัน เรียกว่า #ปีปกติวาร หรือวันปกติ(วันหรือวาร) โดยจะมีวันในแต่ละเดือนปกติคือ เดือนคู่มีจำนวนวัน ๓๐ วัน และเดือนคี่มีจำนวนวัน ๒๙ วัน
🌓ถ้าจำนวนวันในแต่ละปีมีจำนวน ๓๕๕ วัน เรียกว่า #ปีอธิกวาร หรือปีเพิ่มวัน (อธิก=เพิ่ม, วาร=วัน) โดยจะมีวันเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ วันคือ เดือน ๗ (ปกติจะมี ๒๙วันแต่ปีอธิกวารเดือน ๗ จะมี ๓๐วัน)คือวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๗ ส่วนเดือนอื่นนั้นมีจำนวนวันปกติ
🌓ถ้าจำนวนวันในแต่ละปีมีจำนวน ๓๘๔ วัน เรียกว่า #ปีอธิกมาส หรือปีเพิ่มเดือน (อธิก=เพิ่ม, มาส=เดือน) โดยจะมีเดือนเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ เดือน โดยให้เดือนที่เพิ่มมานั้น เพิ่มหลังจากเดือน ๘ เรียกว่าเดือน ๘/๘ หรือเดือน ๘๘ ที่เรียกนิยมกันว่า เดือน๘ หลัง หรือเดือน๘ @๒หน@ วิธีการคิดคำนวณคือจำนวนวันในปีนั้นจึงเพิ่มมาอีก ๓๐วัน(๓๕๔+๓๐=๓๘๔)
🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕🌕
หลักการแบ่งวันตามปกติจะมีอยู่ด้วยกัน ๒ ประเภทคือ ๑ แบ่งตามสุริยคติ คือการเดินโคจรของพระอาทิตย์หรือเรียกง่ายๆว่า ตามปีปฏิทิน ปกติที่ทุกท่านใช้นั่นเอง ส่วนแบบที่ ๒ คือ จันทรคติ คือการแบ่งตามการเดินโคจรของพระจันทร์ที่วนรอบโลกนั่นเองซึ่งปกติจะเฉลี่ยที่ ๒๙ วันนิดๆ
สำหรับคำว่า #อธิกวาร อธิก แปลว่าเกิน ส่วน วาระ แปลว่า วัน จึงเป็นการเพิ่มวันมาอีก๑วันจากปีปกติ คือการนับเดินตามรอบโคจรทางจันทรคติ ซึ่งปกติจะจบที่แรม ๑๔ ค่ำเดือน๗ แต่ปีนี้จะจบที่ แรม๑๕ ค่ำเดือน ๗ แล้วจึงขึ้น๑ ค่ำเดือน ๘ ต่อไป
สำหรับคำว่า #อธิกมาส อธิก แปลว่าเกิน ส่วนคำว่า มาส แปลว่าเดือน หรือพระจันทร์ คือการเพิ่มเดือนอีก๑ เดือน ปีใดที่เป็น อธิกมาส จะเพิ่มเดือน ๘ เข้าไปอีกครั้ง ที่คนทั่วไปได้ยินเดือน แปด ๒ หน นั่นเอง
สำหรับ #อธิกสุรทิน ใช้ปฏิทินตามสุริยคติ คือมีเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มวันมาเป็น ๒๙ กุมภาพันธ์ ซึ่งจะใช้การเดินตามรอบอาทิตย์นั่นเอง
ปล.หากท่านใดเห็นว่ามีประโยชน์ จะแวะเวียน มาให้ความรู้กันอีกในเรื่องต่างๆ นะครับ