ข่วงพระเจ้าล้านนา The Buddhist Holy Place (Khuang phra Chao Lanna)
ประวัติศาสตร์การสร้างข่วงพระเจ้าล้านนา
..........ล้านนาไทย ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่มีอารยธรรมเก่าแก่มายาวนานกว่า 700 ปีมาแล้ว
ล้านนาถือดินแดนที่พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎกว่า
ดินแดนล้านนาจะเป็นแห่งสุดท้าย ในการที่พระพุทธศาสนาจะอยู่บนผืนแผ่นดินนี้จนครบห้าพันพระพรรวษา (5,000 ปี)
..........ข่วงพระเจ้าล้านนา (พุทธมณฑลล้านนา) ได้ริเริ่มสร้างโดย อาจารย์วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ
ศิษย์เอกหลวงปู่เฒ่าเกวาลัน แห่งเทือกเขาหิมาลัย ประธานในการดำเนินการก่อสร้างโดยความร่วมมือของกองทัพบก
พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทธาจากทั่วโลก
ได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551
ซึ่งเป็นพุทธมณฑลแห่งแรกและแห่งเดียวในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ไม่ใช้งบประมาณแผ่นดินแม้แต่บาทเดียว ดังมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
1. เพื่อมอบถวายเป็นสมบัติของแผ่นดิน
2. เพื่อเป็นศูนย์กลางการดำเนินงาน พระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า
3. เพื่อเป็นอานิสงส์ผลบุญผ่อนคลายกรรมแก่บ้านเมืองและแผ่นดินให้รอดพ้นจากสถานการณ์ความเดือดร้อน ความขัดแย้งต่าง ๆ
และให้เกิดความสงบสุขในแผ่นดิน
ข่วงพระเจ้าล้านนาได้มอบถวายเป็นสมบัติของแผ่นดินเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2556 รับมอบโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในสมัยนั้น
1. องค์พระเจ้าล้านนา ปางพิชิตมาร หน้าตัก 99 นิ้ว Phra Chao Lanna Image : served asthe principal image of the ground, this 99 inch wide bronze Buddha image in the "Subduring Mara" posture is enshrined on a 5 meter high base with a Lanna style arch.
2. ข่วงพระเจ้าล้านนา Religious ceremonial area : served as the place for holding Buddhism ceremonies
3. พุทธมหาเจดีย์ข่วงพระเจ้าล้านนา มีรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่ภายใน
Buddha Maha Chedi on Khung Phra Chao Lanna and The Four Buddha Footprints
..........พุทธมหาเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2552 มีขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร สูง 29.09 เมตร
รูปแบบเจดีย์ทรงล้านนาประยุกต์ ประดับด้วยซุ้มปูนปั้นจัตุรมุขสี่ด้านประดิษฐานพระประจำวันเกิด จำนวน 20 องค์
ยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระพุทธาจารย์ (สมเด็จเกี่ยว) แห่งวัดสะเกศ
โดยได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2553
ภายในพระมหาเจดีย์ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสี่รอยจำลอง (ที่จำลองมาจากวัดพระพุทธบาทสี่รอยจำลอง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่)
4. ศาลาบาตร Sala Batra (Food Offering Pavilion)
..........ศาลาแบบล้านนาประยุกต์ ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวันเกิดจำนวน 9 องค์
คือ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธกลางวัน วันพุธกลางคืน วันพฤหัสบดีกลางวัน วันพฤหัสบดีกลางคืน วันศุกร์และวันเสาร์
หน้าตักเท่าคนจริง พร้อมซุ้มโขงและแท่นแก้วรูปแบบศิลปะล้านนา
<img class="img-in-post in-tiny-editor">
<img class="img-in-post in-tiny-editor">
..........ศาลาบาตรนี้แต่เดิมใช้ในเขตสังฆาวาส สำหรับเป็นที่ตั้งบาตรของพระสงฆ์ที่วางเรียงรายเป็นแถวยาว
เพื่อรับเครื่องไทยทานที่พุทธศาสนิกชนนำมาถวาย
โดยแฝงนัยความหมายถึงการร่วมทำบุญตักบาตรให้แก่พระพุทธรูปประจำวันเกิดจำนวน 9 องค์ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
เสมือนหนึ่งเป็นตัวแทนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในการรับบุญกุศลนี้
5. ศาลาพระเจ้าทันใจและสระอโนดาด Dhamma Phra chao Tan chai Pavilion and Anodard Pond
..........ศาลาธรรม-ศาลาปฏิบัติธรรมของผู้แสวงบุญประดิษฐานองค์พระเจ้าทันใจ ขนาด 59 นิ้ว พร้อมซุ้มโขงและแท่นแก้ว
ซึ่งมีเหตุมหัศจรรย์กล่าวคือองค์พระเจ้าทันใจ สามารถทำพิธีเททองหล่อสำเร็จภายใน 7 วัน
ตามคติของชาวล้านนาเชื่อว่าหากขอได้พรกับองค์พระเจ้าทันใจ สิ่งที่มุ่งมาดปรารถนาก็จะสำเร็จอย่างรวดเร็วทันใจเฉกเช่นกัน
6. บัวบูชามรรคมีองค์ 8 Lotus : magga the Noble Eightfold Path
7. สวนป่าอิสิปตนมฤคทายวัน Forest named "isip-pa-ta-na-ma-ruka-ta-ya-wan
..........สถานแสดงปฐมเทศนา "ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร"
8. พระปางรำพึง Buddha image Phra Prang Rum Peung
..........ซุ้มโขงอันงดงามนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางรำพึง สูง 169 ซม.
ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าขณะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไทร
ทรงพิจารณาด้วยปัญญาเห็นว่าบุคคลในโลกนี้เปรียบเสมือนบัว 4 เหล่า ดังนี้ คือ
..........1. อุคฆฏิตัญญู คือ พวกที่สติปัญญาดี
เมื่อฟังธรรมก็สามารถเข้าใจได้รวดเร็ว เสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
..........2. วิปจิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง
เมื่อฟังธรรมแล้วพิจารณาตาม ฝึกฝนเพิ่มเติมจะเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เสมือนดอกบัวที่ปริ่มน้ำ ซึ่งจะบานในวันถัดไป
..........3. เนยยะ คือ พวกที่สติปัญญาน้อย
เมื่อฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและฝึกฝนอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ ในที่สุดก็จะสามารถเข้าใจได้ เสมือนดอกบัวใต้น้ำซึ่งจะโผล่ขึ้นเบ่งบานในวันหนึ่ง
..........4. ปทปรมะ คือ พวกไร้สติปัญญา
แม้ได้ฟังธรรม ก็ไม่อาจเข้าใจ เปรียบเสมือนบัวที่จมอยู่กับโคลนตมไม่มีโอกาสเบ่งบาน
..........เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ ก็ทรงอธิษฐานว่าจะแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ และตั้งพุทธปณิธานที่จะดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้อยู่ประกาศพระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายสำเร็จประโยชน์แก่ชนทุกหมู่เหล่า จึงเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางรำพึงแห่งนี้
9. ศาลาประสูติ Birth Pavilion
เชียงใหม่ - นำชมข่วงพระเจ้าล้านนา The Buddhist Holy Place (Khuang phra Chao Lanna)
ข่วงพระเจ้าล้านนา The Buddhist Holy Place (Khuang phra Chao Lanna)
ประวัติศาสตร์การสร้างข่วงพระเจ้าล้านนา
..........ล้านนาไทย ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่มีอารยธรรมเก่าแก่มายาวนานกว่า 700 ปีมาแล้ว
ล้านนาถือดินแดนที่พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎกว่า
ดินแดนล้านนาจะเป็นแห่งสุดท้าย ในการที่พระพุทธศาสนาจะอยู่บนผืนแผ่นดินนี้จนครบห้าพันพระพรรวษา (5,000 ปี)
..........ข่วงพระเจ้าล้านนา (พุทธมณฑลล้านนา) ได้ริเริ่มสร้างโดย อาจารย์วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ
ศิษย์เอกหลวงปู่เฒ่าเกวาลัน แห่งเทือกเขาหิมาลัย ประธานในการดำเนินการก่อสร้างโดยความร่วมมือของกองทัพบก
พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทธาจากทั่วโลก
ได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551
ซึ่งเป็นพุทธมณฑลแห่งแรกและแห่งเดียวในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ไม่ใช้งบประมาณแผ่นดินแม้แต่บาทเดียว ดังมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
1. เพื่อมอบถวายเป็นสมบัติของแผ่นดิน
2. เพื่อเป็นศูนย์กลางการดำเนินงาน พระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า
3. เพื่อเป็นอานิสงส์ผลบุญผ่อนคลายกรรมแก่บ้านเมืองและแผ่นดินให้รอดพ้นจากสถานการณ์ความเดือดร้อน ความขัดแย้งต่าง ๆ
และให้เกิดความสงบสุขในแผ่นดิน
ข่วงพระเจ้าล้านนาได้มอบถวายเป็นสมบัติของแผ่นดินเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2556 รับมอบโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในสมัยนั้น
1. องค์พระเจ้าล้านนา ปางพิชิตมาร หน้าตัก 99 นิ้ว Phra Chao Lanna Image : served asthe principal image of the ground, this 99 inch wide bronze Buddha image in the "Subduring Mara" posture is enshrined on a 5 meter high base with a Lanna style arch.
2. ข่วงพระเจ้าล้านนา Religious ceremonial area : served as the place for holding Buddhism ceremonies
3. พุทธมหาเจดีย์ข่วงพระเจ้าล้านนา มีรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่ภายใน
Buddha Maha Chedi on Khung Phra Chao Lanna and The Four Buddha Footprints
..........พุทธมหาเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2552 มีขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร สูง 29.09 เมตร
รูปแบบเจดีย์ทรงล้านนาประยุกต์ ประดับด้วยซุ้มปูนปั้นจัตุรมุขสี่ด้านประดิษฐานพระประจำวันเกิด จำนวน 20 องค์
ยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระพุทธาจารย์ (สมเด็จเกี่ยว) แห่งวัดสะเกศ
โดยได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2553
ภายในพระมหาเจดีย์ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสี่รอยจำลอง (ที่จำลองมาจากวัดพระพุทธบาทสี่รอยจำลอง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่)
4. ศาลาบาตร Sala Batra (Food Offering Pavilion)
..........ศาลาแบบล้านนาประยุกต์ ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวันเกิดจำนวน 9 องค์
คือ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธกลางวัน วันพุธกลางคืน วันพฤหัสบดีกลางวัน วันพฤหัสบดีกลางคืน วันศุกร์และวันเสาร์
หน้าตักเท่าคนจริง พร้อมซุ้มโขงและแท่นแก้วรูปแบบศิลปะล้านนา
<img class="img-in-post in-tiny-editor"> <img class="img-in-post in-tiny-editor">
..........ศาลาบาตรนี้แต่เดิมใช้ในเขตสังฆาวาส สำหรับเป็นที่ตั้งบาตรของพระสงฆ์ที่วางเรียงรายเป็นแถวยาว
เพื่อรับเครื่องไทยทานที่พุทธศาสนิกชนนำมาถวาย
โดยแฝงนัยความหมายถึงการร่วมทำบุญตักบาตรให้แก่พระพุทธรูปประจำวันเกิดจำนวน 9 องค์ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
เสมือนหนึ่งเป็นตัวแทนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในการรับบุญกุศลนี้
5. ศาลาพระเจ้าทันใจและสระอโนดาด Dhamma Phra chao Tan chai Pavilion and Anodard Pond
..........ศาลาธรรม-ศาลาปฏิบัติธรรมของผู้แสวงบุญประดิษฐานองค์พระเจ้าทันใจ ขนาด 59 นิ้ว พร้อมซุ้มโขงและแท่นแก้ว
ซึ่งมีเหตุมหัศจรรย์กล่าวคือองค์พระเจ้าทันใจ สามารถทำพิธีเททองหล่อสำเร็จภายใน 7 วัน
ตามคติของชาวล้านนาเชื่อว่าหากขอได้พรกับองค์พระเจ้าทันใจ สิ่งที่มุ่งมาดปรารถนาก็จะสำเร็จอย่างรวดเร็วทันใจเฉกเช่นกัน
6. บัวบูชามรรคมีองค์ 8 Lotus : magga the Noble Eightfold Path
7. สวนป่าอิสิปตนมฤคทายวัน Forest named "isip-pa-ta-na-ma-ruka-ta-ya-wan
..........สถานแสดงปฐมเทศนา "ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร"
8. พระปางรำพึง Buddha image Phra Prang Rum Peung
..........ซุ้มโขงอันงดงามนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางรำพึง สูง 169 ซม.
ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าขณะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไทร
ทรงพิจารณาด้วยปัญญาเห็นว่าบุคคลในโลกนี้เปรียบเสมือนบัว 4 เหล่า ดังนี้ คือ
..........1. อุคฆฏิตัญญู คือ พวกที่สติปัญญาดี
เมื่อฟังธรรมก็สามารถเข้าใจได้รวดเร็ว เสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
..........2. วิปจิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง
เมื่อฟังธรรมแล้วพิจารณาตาม ฝึกฝนเพิ่มเติมจะเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เสมือนดอกบัวที่ปริ่มน้ำ ซึ่งจะบานในวันถัดไป
..........3. เนยยะ คือ พวกที่สติปัญญาน้อย
เมื่อฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและฝึกฝนอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ ในที่สุดก็จะสามารถเข้าใจได้ เสมือนดอกบัวใต้น้ำซึ่งจะโผล่ขึ้นเบ่งบานในวันหนึ่ง
..........4. ปทปรมะ คือ พวกไร้สติปัญญา
แม้ได้ฟังธรรม ก็ไม่อาจเข้าใจ เปรียบเสมือนบัวที่จมอยู่กับโคลนตมไม่มีโอกาสเบ่งบาน
..........เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ ก็ทรงอธิษฐานว่าจะแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ และตั้งพุทธปณิธานที่จะดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้อยู่ประกาศพระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายสำเร็จประโยชน์แก่ชนทุกหมู่เหล่า จึงเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางรำพึงแห่งนี้
9. ศาลาประสูติ Birth Pavilion