คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
เราเคยมีอาการแบบนี้ แต่ตอนนี้ดีขึ้นเเล้ว ขอแบ่งปันประสบการณ์การรักษาภาวะกลัวการกลืนที่เกิดขึ้นกับเราไว้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่นะคะ
ตัวเราเคยเป็นแบบอาการหนักไม่กล้ากลืนอะไรนอกจากของเหลว อยู่ 1 เดือนค่ะ ที่ดีขึ้นได้ เพราะเราสู้กับใจตัวเองค่ะ ในระยะเวลาหนึ่งเดือนที่กินอะไรไม่ได้ เรารู้สึกทรมานมากถึงขนาดไปปรึกษานักกายภาพบำบัด เราให้ข้อมูลนักกายภาพว่าเราไม่สามารถกินอะไรได้ เพราะเรากลัวติดคอ นักกายภาพก็อธิบายให้เราเข้าใจว่าในการกลืนนั้นไม่ใช่ใครก็จะสำลักได้ง่ายๆ นอกจากมีปัญหากล้ามเนื้อผิดปกติจริงๆ หรือในผู้สูงอายุที่มีโรคที่เกี่ยวพัน และนักกายภาพก็ลองให้เราฝึกท่าบริหารกล้ามเนื้อในช่องปาก คอ โดยหลังจากได้ปรึกษาและทำตามนักกายภาพบอก เราก็ยังไม่กล้ากลืนอยู่ดี เพราะสาเหตุของการไม่กล้ากลืนคือความกังวลในจิตใจ ไม่ใช่กล้ามเนื้อในช่องคอผิดปกติ
ดังนั้นเราจึงได้เข้าใจว่า การกลัวการกลืนนี้ก็คืออาการแพนิคอย่างหนึ่ง ซึ่งอาการแพนิคก็คือการที่คนเรากลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆจนร่างกายไม่สามารถดำเนินไปอย่างปกติได้ เช่น กลัวความสูงมากๆจนเป็นลม คนที่กลัวแมลงมากๆจนเมื่อเห็นแล้วช็อค และการเกิดภาวะกลัวการกลืนนี้ก็คืออาการวิตกกังวลเวลาจะกลืนอาหารลงคอ เพราะเหตุเคยอาหารติดคอมาก่อนหรือเคยเห็นข่าวคนกินอาหารแล้วติดคอเสียชีวิต
ตัวอย่างคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดบอกว่าเริ่มแรก ให้เราค่อยๆเคี้ยวให้ละเอียด โดยเริ่มกลับไปกินอาหารที่อ่อนๆก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มระดับความแข็งของอาหารขึ้น เริ่มแรกกินคำเล็กๆก่อน อาจจะใช้ช้อนขนาดเท่าช้อนกาแฟตักกินก่อน และเคี้ยวหากละเอียดจนตัวเองรู้ว่าละเอียดจนกล้ากลืน แล้วก็กลืนลงไป และหากเมื่อไรที่รู้สึกกลัวในขณะที่กำลังกินอาหาร ก็ให้เราเคี้ยวช้าลง ก่อนกลืนก็ก้มหน้าเล็กน้อย โดยให้สายตามองไปที่ช้อนที่วางอยู่ในจานข้าวของเราที่วางอยู่บนโต๊ะ แล้วกลืนอาหารที่เคี้ยวเสร็จแล้วลงไป การก้มหน้าลงเล็กน้อยก่อนกลืนจะช่วยให้กลืนได้ง่ายขึ้น และเกิดโอกาสสำลักได้น้อย เนื่องจากการก้มคอลงเล็กน้อยเวลากลืนจะปิดหลอดลม ทำให้ไม่เกิดการสำลักค่ะ เราก็ทำตามคำแนะนำดังกล่าว และก็เริ่มกินอาหารคำเล็กๆก่อน โดยกินอาหารจำพวกโจ้ก และพวกขนมนุ่มๆในช่วงแรก และช่วงต่อมาก็เริ่มกินอาหารปกติค่ะ
เราใช้เวลาค่อยๆปรับอาหาร ปรับร่างกายและจิตใจ แต่การที่เรายังมีความกลัวไม่กล้ากลืนอยู่บ้างในช่วงแรกๆ มันก็ทำให้เวลาเรากลืนอะไร ก็ยังนึกและทำให้รู้สึกว่าเหมือนยังมีเศษอาหารติดๆค้างๆอยู่ในคอ เหมือนยังลงไปไม่สุด ซึ่งจริงๆแล้วเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากความกลัว จริงๆแล้วคืออาหารที่เรากลืนได้ลงคอไปแล้ว ไม่มีอันตรายอะไร เพียงแต่หากเป็นอาหารที่เนื้อสัมผัสแข็งๆ ตอนไหลลงคอเราไปอาจไปถูกกับกล้ามเนื้อในคอ และทำให้รู้สึกเหมือนมีเศษอะไรค้างๆได้ แต่ไม่ต้องตกใจ ผ่านไปไม่ถึงครึ่งนาที อาหารมันก้จะไหลลงไปหมดโดยไม่ต้องทำอะไรค่ะ นอกจากว่ารู้สึกว่ามันฝืดไม่ไหวจริงๆก็ดื่มน้ำตามลงไปเล็กน้อยได้ค่ะ
ตอนนี้แม้จะกลับมากินอาหารได้ทุกอย่างได้เกือบเหมือนเมื่อก่อนแล้ว แต่ก็ยังมีบางครั้งที่เกิดความกลัวขึ้นมาอีก ซึ่งโรคนี้อาการดีขึ้นแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นได้อีกนะคะ เพราะเป็นอาการแพนิคอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจมีความเครียดก็อาจจะเกิดอาการนี้ได้ แต่เมื่อเวลาเราเกิดรู้สึกกลัวเวลาจะกลืนอาหารขึ้นมา เราก็จะบอกตัวเราเองว่าไม่มีอะไรนะ เราผ่านมันมาได้แล้ว มันเป็นแค่ความกลัวในจิตใจ ตั้งใจและมีสมาธิในการกิน ไม่ทำอย่างอื่นไปด้วยขณะกินอาหาร มีสติในการกิน ค่อยๆเคี้ยวให้ละเอียดแล้วกลืนลงไป ไม่มีอะไรจะไปติดคอได้ พอนึกแบบนี้ความกังวลของเราก็จะดีขึ้น แล้วกลืนอาหารได้ง่ายขึ้นค่ะ
เพราะเหตุผลส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดภาวะกลัวการกลืนนี้ เป็นเพราะเรากังวลว่าอาหารจะติดคอถ้ากลืนลงไป เลยกล้ากินเฉพาะน้ำเพราะมันจะไหลลงคอไปได้ คิดไปเองว่าหากเคี้ยวเป็นคำๆแล้วกลืนลงไปมันจะไปอุดหลอดลมจะทำให้ติดคอ ทำให้สำลัก เลยทำให้ไม่กล้ากลืน แต่เมื่อเราได้ฟังคำแนะนำจากนักกายภาพ อธิบายว่าช่องคอของคนเรานั้นกว้าง สามารถยืดหยุ่นได้ เมื่อกลืนอาหารลงไปแบบธรรมดา แทบจะไม่มีโอกาสติดคอได้เลย ส่วนคนที่ติดคอนั้น หากไม่ปัญหาด้านสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว ก็เกิดจากความประมาท เช่น ก้มๆเงยๆทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมกันในขณะที่กิน เลยอาจเกิดการสำลัก
สาเหตุที่เมื่ออาการดีขึ้นแล้วกลับมามีภาวะกลัวการลืนนี้อีกครั้ง ส่วนใหญ่แล้วจากการที่เราสังเกตในกรณีของเรา จะกลับมามีอาการนี้ตอนที่มีเรื่องเครียดเรื่องที่วิตกกังวลหรืออยู่ในสถานการณ์กดดันเร่งรีบค่ะ เลยทำให้เข้าใจว่าจิตใจส่งผลต่อร่างกายได้เป็นอย่างมาก กระตุ้นทำให้เกิดอาการได้ค่ะ และจากที่หาข้อมูลทางการแพทย์มาก็มีการยืนยันอีกว่าการขาดสารอาหารพวกวิตามินต่างๆก็เป็นการกระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคได้ด้วยนะคะ ดังนั้นการกินอาหารให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะการกลัวนี้ หรือช่วยให้ภาวะนี้ดีขึ้นได้เร็วค่ะ
ก่อนเกิดภาวะกลัวการกลืน เราเคยศึกษาด้านโภชนาการมาบ้าง ทำให้ขณะที่มีภาวะกลัวการกลืนมากๆ ร่างกายยังคงแข็งแรง แนะนำว่าในขณะที่มีอาการกลัวอยู่และไม่กล้าทานอาหารอะไรจริงๆ ก็ควรดื่มอาหารทดแทนร่วมด้วยนะคะ เช่น พวกเอนชัวร์หรือยี่ห้ออื่นๆก็ได้ค่ะ , แล้วก็กินพวกวิตามินรวมไปด้วย แบบยี่ห้อที่เป็นเม็ดฟู่ชงละลายน้ำมาดื่ม และหานมโปรตีนสูงมาดื่มด้วยค่ะ
พยายามหาของที่มีประโยชน์มากินในระหว่างที่ยังมีภาวะกลัวนี้ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอนะคะ ราคาพวกอาหารทดแทนเหล่านี้อาจจะสูงหน่อย และหากไม่สะดวกซื้ออาหารทดแทนแบบสำเร็จรูปนี้ ก็สามารถทำอาหารทดแทนไว้ดื่มเองได้ค่ะ น้ำผักผลไม้ก็เป็นตัวเลือกที่ดีในการเลือกซื้อหรือทำดื่มในระหว่างที่มีความกลัวนี้ค่ะ ตัวอย่างเมนูที่เราทำดื่มนะคะ เช่น เรานำผักผลไม้(ก็จะได้พวกวิตามินจากผักและผลไม้) มาปั่นกับ ลูกเดือยหรือมันเทศชนิดต่างๆหรือข้าวโพด(ก็จะได้คาร์โบไฮเดตคล้ายข้าวทำให้อิ่ม) แล้วก็นำพวกถั่วแดง หรือ ถั่วเขียว หรือ ถั่วชนิดอื่นๆ หรือ น้ำเต้าหู้มาปั่นผสม (ก็จะได้รับโปรตีนแทนเนื้อสัตว์) แล้วก็ใส่ อโวคาโดครึ่งลูก หรือ เจาะรูแคปซูลน้ำมันปลา1เม็ด หรือเจาะรูแคปซูลน้ำมันถั่วดาวอินคา1เม็ด ให้น้ำมันจากแคปซูผสมกับอาหารที่จะปั่น หรือจะนำเมล็ดแฟลกซ์โดยนำมาทุปให้ป่นละเอียดจำนวน 2 ช้อนโต๊ะ แล้วใส่พร้อมกับของทั้งหมดที่จะปั่น (ก็จะได้รับไขมันดี)
ซึ่งการปั่นอาหารที่กล่าวมาก็จะทำให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนในหนึ่งมื้อได้ เพียงแต่การหาวัตถุดิบอาหารให้ครบแบบนั้นอาจยุ่งยากหน่อย แต่ก็จะประหยัดเงินได้มากกว่าซื้ออาหารทดแทนที่ขายแบบสำเร็จ อีกทั้งยังได้สารอาหารที่เพียงพอและมีประโยชน์ แบบสดใหม่ ช่วยพอทดแทนอาหารปกติในระหว่างที่ยังมีความกลัวได้ค่ะ
แม้โปรตีนจากอาหารที่นำมาปั่น อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แต่เราก็สามารถทานโปรตีนจากแหล่งอื่นได้ โดยเลือกซื้อนมโปรตีนสูงมาดื่มเพื่อเพิ่มโปรตีนได้ เช่นนมโปรตีนสูงจากนมวัว หรือนมโปรตีนสูงจากพืช โดยนำมาดื่มโดยตรงหรือนำไปปั่นร่วมกับอาหารอื่นๆที่ยกตัวอย่างมาได้ค่ะ
ภาวะกลัวการกลืนนี้ดีขึ้นและหายได้นะคะ ถึงแม้ว่าหลังจากที่ดีขึ้นแล้วอาจจะยังมีความกลัวแวบๆเข้ามาได้บ้างนานๆทีเมื่อนึกถึง ก็อาจเกิดอาการทำให้ไม่กล้ากลืนอาหารอีกได้ แต่ทุกอย่างอยู่จิตใจ ค่อยๆเคี้ยว ค่อยๆกลืน มีสมาธิในการกิน แต่ถ้าหากมื้อนั้นไม่ไหวก็ทานอาหารทดแทนหรือทำอาหารปั่นที่เราแนะนำไว้ทานก่อนได้ค่ะ เพราะเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ความวิตกกังวลาลดลง ร่างกายจิตใจก็จะค่อยๆดีขึ้นแล้วกลับมาเริ่มกินได้อีกครั้งนะคะ
ส่วนใหญ่ 90% ของคนที่มีภาวะกลัวการกลืน เกิดจากความกลัว ความกังวลในจิตใจ จากการที่เคยมีอาหารติดคอมาก่อน หรือเคยเห็นข่าวคนที่อาหารติดคอ จึงทำให้เกิดภาวะกลัวการกลืนนี้ ดังนั้นจึงไม่ใช่การมีปัญหากล้ามเนื้อในช่องปากหรือในช่องคอผิดปกติแต่อย่างใด จึงไม่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดก็ได้นะคะ เพราะอาจเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโดยไม่จำเป็นนะคะ ค่าใช้จ่ายในการรับบริการอยู่ที่หลักร้อยต่อครั้ง และระยะเวลาในการรักษาก็ประมาณ 3 ครั้งขึ้นไป แต่หากใครมั่นใจว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากช่องปากหรือช่องคอผิดปกติ และต้องการทำกายภาพบำบัด ก็สามารถลองติดต่อที่คลินิกกายภาพบำบัด เพื่อบำบัดฝึกการกลืนลำบากได้ตามลิงค์นี้นะคะ มีหลายคนถามถึงที่ที่เราฝึกบำบัดการกลืนมา เลยขอให้ลิงค์ไว้เลยนะคะ http://www.pt.mahidol.ac.th/ptcenter/contact/
ส่วนอันนี้เป็นลิงค์ที่อธิบายคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาภาวะกลัวการกลืน จากนักกายภาพบำบัดนะคะ สามารถลองศึกษาคำแนะนำจากตรงนี้เพิ่มได้ค่ะ https://www.gotoknow.org/posts/692537
เราอยากให้ทุกคนเชื่อมั่นในตัวเองนะคะ เชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถกลับมากลืนอาหารได้ เพราะที่ผ่านมาตั้งแต่ที่พวกเราเกิดมาก็กลืนอาหารกันได้มาตลอด เพียงแต่มีเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการที่เราอาจรู้สึกมีอาหารติดคอเลยทำให้เราไม่กล้าที่จะกลืนอีก หรือการได้รับรู้ข่าวเกี่ยวกับการมีคนเสียชีวิตเพราะอาหารติดคอ เลยทำให้คนเราเกิดความกลัวไม่กล้ากลืนอาหารเพราะกลัวจะติดคอแล้วจะเสียชีวิต ซึ่งทั้งสองความกลัวนี้ก็เคยเกิดกับเรา แต่ก็ผ่านมันมาได้แล้ว ด้วยการบอกตัวเองให้เข้มแข็ง ต้องชนะใจตัวเองให้ได้ ความกลัวเป็นแค่สิ่งที่เราจินตนาการ เราต้องชนะใจตัวเองให้ได้นะคะ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากความกลัวในจิตใจของพวกเราแค่นั้นค่ะ
เราเข้าใจว่าการทรมานเพราะทานอาหารไม่ได้เป็นยังไง ความกลัวในจิตใจส่งผลต่อการทานอาหารปกติของเราแค่ไหน เลยอยากแนะนำสิ่งที่เคยช่วงให้ผ่านพ้นมาได้ และอยากให้ทุกคนผ่านพ้นไปได้อย่างมีสุขภาพร่างกายที่ยังแข็งแรงอยู่นะคะ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ ขอให้ทุกคนได้หายจากภาวะกลัวการกลืนนี้ไวๆนะคะ เราดีขึ้นได้ ทุกคนก็ดีขึ้นได้ค่ะ เพียงแต่อดทน เข้มแข็งชนะใจตัวเอง ค่อยๆเคี้ยวและกล้ากลืนลงไปให้ได้นะคะ เชื่อมั่นในร่างกายของคนเรานะคะ เพราะพวกเรายังเคยกลืนปกติมาได้เป็นสิบๆปีเลย ดังนั้นสามารถกลับไปกลืนได้ปกติอีกได้แน่นอนค่ะ : )
ตัวเราเคยเป็นแบบอาการหนักไม่กล้ากลืนอะไรนอกจากของเหลว อยู่ 1 เดือนค่ะ ที่ดีขึ้นได้ เพราะเราสู้กับใจตัวเองค่ะ ในระยะเวลาหนึ่งเดือนที่กินอะไรไม่ได้ เรารู้สึกทรมานมากถึงขนาดไปปรึกษานักกายภาพบำบัด เราให้ข้อมูลนักกายภาพว่าเราไม่สามารถกินอะไรได้ เพราะเรากลัวติดคอ นักกายภาพก็อธิบายให้เราเข้าใจว่าในการกลืนนั้นไม่ใช่ใครก็จะสำลักได้ง่ายๆ นอกจากมีปัญหากล้ามเนื้อผิดปกติจริงๆ หรือในผู้สูงอายุที่มีโรคที่เกี่ยวพัน และนักกายภาพก็ลองให้เราฝึกท่าบริหารกล้ามเนื้อในช่องปาก คอ โดยหลังจากได้ปรึกษาและทำตามนักกายภาพบอก เราก็ยังไม่กล้ากลืนอยู่ดี เพราะสาเหตุของการไม่กล้ากลืนคือความกังวลในจิตใจ ไม่ใช่กล้ามเนื้อในช่องคอผิดปกติ
ดังนั้นเราจึงได้เข้าใจว่า การกลัวการกลืนนี้ก็คืออาการแพนิคอย่างหนึ่ง ซึ่งอาการแพนิคก็คือการที่คนเรากลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆจนร่างกายไม่สามารถดำเนินไปอย่างปกติได้ เช่น กลัวความสูงมากๆจนเป็นลม คนที่กลัวแมลงมากๆจนเมื่อเห็นแล้วช็อค และการเกิดภาวะกลัวการกลืนนี้ก็คืออาการวิตกกังวลเวลาจะกลืนอาหารลงคอ เพราะเหตุเคยอาหารติดคอมาก่อนหรือเคยเห็นข่าวคนกินอาหารแล้วติดคอเสียชีวิต
ตัวอย่างคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดบอกว่าเริ่มแรก ให้เราค่อยๆเคี้ยวให้ละเอียด โดยเริ่มกลับไปกินอาหารที่อ่อนๆก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มระดับความแข็งของอาหารขึ้น เริ่มแรกกินคำเล็กๆก่อน อาจจะใช้ช้อนขนาดเท่าช้อนกาแฟตักกินก่อน และเคี้ยวหากละเอียดจนตัวเองรู้ว่าละเอียดจนกล้ากลืน แล้วก็กลืนลงไป และหากเมื่อไรที่รู้สึกกลัวในขณะที่กำลังกินอาหาร ก็ให้เราเคี้ยวช้าลง ก่อนกลืนก็ก้มหน้าเล็กน้อย โดยให้สายตามองไปที่ช้อนที่วางอยู่ในจานข้าวของเราที่วางอยู่บนโต๊ะ แล้วกลืนอาหารที่เคี้ยวเสร็จแล้วลงไป การก้มหน้าลงเล็กน้อยก่อนกลืนจะช่วยให้กลืนได้ง่ายขึ้น และเกิดโอกาสสำลักได้น้อย เนื่องจากการก้มคอลงเล็กน้อยเวลากลืนจะปิดหลอดลม ทำให้ไม่เกิดการสำลักค่ะ เราก็ทำตามคำแนะนำดังกล่าว และก็เริ่มกินอาหารคำเล็กๆก่อน โดยกินอาหารจำพวกโจ้ก และพวกขนมนุ่มๆในช่วงแรก และช่วงต่อมาก็เริ่มกินอาหารปกติค่ะ
เราใช้เวลาค่อยๆปรับอาหาร ปรับร่างกายและจิตใจ แต่การที่เรายังมีความกลัวไม่กล้ากลืนอยู่บ้างในช่วงแรกๆ มันก็ทำให้เวลาเรากลืนอะไร ก็ยังนึกและทำให้รู้สึกว่าเหมือนยังมีเศษอาหารติดๆค้างๆอยู่ในคอ เหมือนยังลงไปไม่สุด ซึ่งจริงๆแล้วเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากความกลัว จริงๆแล้วคืออาหารที่เรากลืนได้ลงคอไปแล้ว ไม่มีอันตรายอะไร เพียงแต่หากเป็นอาหารที่เนื้อสัมผัสแข็งๆ ตอนไหลลงคอเราไปอาจไปถูกกับกล้ามเนื้อในคอ และทำให้รู้สึกเหมือนมีเศษอะไรค้างๆได้ แต่ไม่ต้องตกใจ ผ่านไปไม่ถึงครึ่งนาที อาหารมันก้จะไหลลงไปหมดโดยไม่ต้องทำอะไรค่ะ นอกจากว่ารู้สึกว่ามันฝืดไม่ไหวจริงๆก็ดื่มน้ำตามลงไปเล็กน้อยได้ค่ะ
ตอนนี้แม้จะกลับมากินอาหารได้ทุกอย่างได้เกือบเหมือนเมื่อก่อนแล้ว แต่ก็ยังมีบางครั้งที่เกิดความกลัวขึ้นมาอีก ซึ่งโรคนี้อาการดีขึ้นแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นได้อีกนะคะ เพราะเป็นอาการแพนิคอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจมีความเครียดก็อาจจะเกิดอาการนี้ได้ แต่เมื่อเวลาเราเกิดรู้สึกกลัวเวลาจะกลืนอาหารขึ้นมา เราก็จะบอกตัวเราเองว่าไม่มีอะไรนะ เราผ่านมันมาได้แล้ว มันเป็นแค่ความกลัวในจิตใจ ตั้งใจและมีสมาธิในการกิน ไม่ทำอย่างอื่นไปด้วยขณะกินอาหาร มีสติในการกิน ค่อยๆเคี้ยวให้ละเอียดแล้วกลืนลงไป ไม่มีอะไรจะไปติดคอได้ พอนึกแบบนี้ความกังวลของเราก็จะดีขึ้น แล้วกลืนอาหารได้ง่ายขึ้นค่ะ
เพราะเหตุผลส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดภาวะกลัวการกลืนนี้ เป็นเพราะเรากังวลว่าอาหารจะติดคอถ้ากลืนลงไป เลยกล้ากินเฉพาะน้ำเพราะมันจะไหลลงคอไปได้ คิดไปเองว่าหากเคี้ยวเป็นคำๆแล้วกลืนลงไปมันจะไปอุดหลอดลมจะทำให้ติดคอ ทำให้สำลัก เลยทำให้ไม่กล้ากลืน แต่เมื่อเราได้ฟังคำแนะนำจากนักกายภาพ อธิบายว่าช่องคอของคนเรานั้นกว้าง สามารถยืดหยุ่นได้ เมื่อกลืนอาหารลงไปแบบธรรมดา แทบจะไม่มีโอกาสติดคอได้เลย ส่วนคนที่ติดคอนั้น หากไม่ปัญหาด้านสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว ก็เกิดจากความประมาท เช่น ก้มๆเงยๆทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมกันในขณะที่กิน เลยอาจเกิดการสำลัก
สาเหตุที่เมื่ออาการดีขึ้นแล้วกลับมามีภาวะกลัวการลืนนี้อีกครั้ง ส่วนใหญ่แล้วจากการที่เราสังเกตในกรณีของเรา จะกลับมามีอาการนี้ตอนที่มีเรื่องเครียดเรื่องที่วิตกกังวลหรืออยู่ในสถานการณ์กดดันเร่งรีบค่ะ เลยทำให้เข้าใจว่าจิตใจส่งผลต่อร่างกายได้เป็นอย่างมาก กระตุ้นทำให้เกิดอาการได้ค่ะ และจากที่หาข้อมูลทางการแพทย์มาก็มีการยืนยันอีกว่าการขาดสารอาหารพวกวิตามินต่างๆก็เป็นการกระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคได้ด้วยนะคะ ดังนั้นการกินอาหารให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะการกลัวนี้ หรือช่วยให้ภาวะนี้ดีขึ้นได้เร็วค่ะ
ก่อนเกิดภาวะกลัวการกลืน เราเคยศึกษาด้านโภชนาการมาบ้าง ทำให้ขณะที่มีภาวะกลัวการกลืนมากๆ ร่างกายยังคงแข็งแรง แนะนำว่าในขณะที่มีอาการกลัวอยู่และไม่กล้าทานอาหารอะไรจริงๆ ก็ควรดื่มอาหารทดแทนร่วมด้วยนะคะ เช่น พวกเอนชัวร์หรือยี่ห้ออื่นๆก็ได้ค่ะ , แล้วก็กินพวกวิตามินรวมไปด้วย แบบยี่ห้อที่เป็นเม็ดฟู่ชงละลายน้ำมาดื่ม และหานมโปรตีนสูงมาดื่มด้วยค่ะ
พยายามหาของที่มีประโยชน์มากินในระหว่างที่ยังมีภาวะกลัวนี้ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอนะคะ ราคาพวกอาหารทดแทนเหล่านี้อาจจะสูงหน่อย และหากไม่สะดวกซื้ออาหารทดแทนแบบสำเร็จรูปนี้ ก็สามารถทำอาหารทดแทนไว้ดื่มเองได้ค่ะ น้ำผักผลไม้ก็เป็นตัวเลือกที่ดีในการเลือกซื้อหรือทำดื่มในระหว่างที่มีความกลัวนี้ค่ะ ตัวอย่างเมนูที่เราทำดื่มนะคะ เช่น เรานำผักผลไม้(ก็จะได้พวกวิตามินจากผักและผลไม้) มาปั่นกับ ลูกเดือยหรือมันเทศชนิดต่างๆหรือข้าวโพด(ก็จะได้คาร์โบไฮเดตคล้ายข้าวทำให้อิ่ม) แล้วก็นำพวกถั่วแดง หรือ ถั่วเขียว หรือ ถั่วชนิดอื่นๆ หรือ น้ำเต้าหู้มาปั่นผสม (ก็จะได้รับโปรตีนแทนเนื้อสัตว์) แล้วก็ใส่ อโวคาโดครึ่งลูก หรือ เจาะรูแคปซูลน้ำมันปลา1เม็ด หรือเจาะรูแคปซูลน้ำมันถั่วดาวอินคา1เม็ด ให้น้ำมันจากแคปซูผสมกับอาหารที่จะปั่น หรือจะนำเมล็ดแฟลกซ์โดยนำมาทุปให้ป่นละเอียดจำนวน 2 ช้อนโต๊ะ แล้วใส่พร้อมกับของทั้งหมดที่จะปั่น (ก็จะได้รับไขมันดี)
ซึ่งการปั่นอาหารที่กล่าวมาก็จะทำให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนในหนึ่งมื้อได้ เพียงแต่การหาวัตถุดิบอาหารให้ครบแบบนั้นอาจยุ่งยากหน่อย แต่ก็จะประหยัดเงินได้มากกว่าซื้ออาหารทดแทนที่ขายแบบสำเร็จ อีกทั้งยังได้สารอาหารที่เพียงพอและมีประโยชน์ แบบสดใหม่ ช่วยพอทดแทนอาหารปกติในระหว่างที่ยังมีความกลัวได้ค่ะ
แม้โปรตีนจากอาหารที่นำมาปั่น อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แต่เราก็สามารถทานโปรตีนจากแหล่งอื่นได้ โดยเลือกซื้อนมโปรตีนสูงมาดื่มเพื่อเพิ่มโปรตีนได้ เช่นนมโปรตีนสูงจากนมวัว หรือนมโปรตีนสูงจากพืช โดยนำมาดื่มโดยตรงหรือนำไปปั่นร่วมกับอาหารอื่นๆที่ยกตัวอย่างมาได้ค่ะ
ภาวะกลัวการกลืนนี้ดีขึ้นและหายได้นะคะ ถึงแม้ว่าหลังจากที่ดีขึ้นแล้วอาจจะยังมีความกลัวแวบๆเข้ามาได้บ้างนานๆทีเมื่อนึกถึง ก็อาจเกิดอาการทำให้ไม่กล้ากลืนอาหารอีกได้ แต่ทุกอย่างอยู่จิตใจ ค่อยๆเคี้ยว ค่อยๆกลืน มีสมาธิในการกิน แต่ถ้าหากมื้อนั้นไม่ไหวก็ทานอาหารทดแทนหรือทำอาหารปั่นที่เราแนะนำไว้ทานก่อนได้ค่ะ เพราะเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ความวิตกกังวลาลดลง ร่างกายจิตใจก็จะค่อยๆดีขึ้นแล้วกลับมาเริ่มกินได้อีกครั้งนะคะ
ส่วนใหญ่ 90% ของคนที่มีภาวะกลัวการกลืน เกิดจากความกลัว ความกังวลในจิตใจ จากการที่เคยมีอาหารติดคอมาก่อน หรือเคยเห็นข่าวคนที่อาหารติดคอ จึงทำให้เกิดภาวะกลัวการกลืนนี้ ดังนั้นจึงไม่ใช่การมีปัญหากล้ามเนื้อในช่องปากหรือในช่องคอผิดปกติแต่อย่างใด จึงไม่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดก็ได้นะคะ เพราะอาจเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโดยไม่จำเป็นนะคะ ค่าใช้จ่ายในการรับบริการอยู่ที่หลักร้อยต่อครั้ง และระยะเวลาในการรักษาก็ประมาณ 3 ครั้งขึ้นไป แต่หากใครมั่นใจว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากช่องปากหรือช่องคอผิดปกติ และต้องการทำกายภาพบำบัด ก็สามารถลองติดต่อที่คลินิกกายภาพบำบัด เพื่อบำบัดฝึกการกลืนลำบากได้ตามลิงค์นี้นะคะ มีหลายคนถามถึงที่ที่เราฝึกบำบัดการกลืนมา เลยขอให้ลิงค์ไว้เลยนะคะ http://www.pt.mahidol.ac.th/ptcenter/contact/
ส่วนอันนี้เป็นลิงค์ที่อธิบายคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาภาวะกลัวการกลืน จากนักกายภาพบำบัดนะคะ สามารถลองศึกษาคำแนะนำจากตรงนี้เพิ่มได้ค่ะ https://www.gotoknow.org/posts/692537
เราอยากให้ทุกคนเชื่อมั่นในตัวเองนะคะ เชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถกลับมากลืนอาหารได้ เพราะที่ผ่านมาตั้งแต่ที่พวกเราเกิดมาก็กลืนอาหารกันได้มาตลอด เพียงแต่มีเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการที่เราอาจรู้สึกมีอาหารติดคอเลยทำให้เราไม่กล้าที่จะกลืนอีก หรือการได้รับรู้ข่าวเกี่ยวกับการมีคนเสียชีวิตเพราะอาหารติดคอ เลยทำให้คนเราเกิดความกลัวไม่กล้ากลืนอาหารเพราะกลัวจะติดคอแล้วจะเสียชีวิต ซึ่งทั้งสองความกลัวนี้ก็เคยเกิดกับเรา แต่ก็ผ่านมันมาได้แล้ว ด้วยการบอกตัวเองให้เข้มแข็ง ต้องชนะใจตัวเองให้ได้ ความกลัวเป็นแค่สิ่งที่เราจินตนาการ เราต้องชนะใจตัวเองให้ได้นะคะ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากความกลัวในจิตใจของพวกเราแค่นั้นค่ะ
เราเข้าใจว่าการทรมานเพราะทานอาหารไม่ได้เป็นยังไง ความกลัวในจิตใจส่งผลต่อการทานอาหารปกติของเราแค่ไหน เลยอยากแนะนำสิ่งที่เคยช่วงให้ผ่านพ้นมาได้ และอยากให้ทุกคนผ่านพ้นไปได้อย่างมีสุขภาพร่างกายที่ยังแข็งแรงอยู่นะคะ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ ขอให้ทุกคนได้หายจากภาวะกลัวการกลืนนี้ไวๆนะคะ เราดีขึ้นได้ ทุกคนก็ดีขึ้นได้ค่ะ เพียงแต่อดทน เข้มแข็งชนะใจตัวเอง ค่อยๆเคี้ยวและกล้ากลืนลงไปให้ได้นะคะ เชื่อมั่นในร่างกายของคนเรานะคะ เพราะพวกเรายังเคยกลืนปกติมาได้เป็นสิบๆปีเลย ดังนั้นสามารถกลับไปกลืนได้ปกติอีกได้แน่นอนค่ะ : )
แสดงความคิดเห็น
กลัวการกลืน ทำไงดีคะ