Disruption คือความชะงักงันหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งดำเนินมาแล้วถูกทำให้สะดุด ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น
Digital Disruption คือการที่เทคโนโลยีดิจิตอล เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินมาในอดีต ไม่สามารถดำเนินได้เหมือนเดิมอีกต่อไป
เช่น ทีวีสมัยก่อนเราดูสื่อทีวี โดยปล่อยให้ทางสถานีส่งสัญญาณสื่อมาที่โทรทัศน์ของเรา เรามีหน้าที่ดู สัญญาณภาพจะไหลเข้ามาเรื่อย ๆ เราเลือกไม่ได้ เลือกได้แค่เปลี่ยนช่องหรือปิดเท่านั้น ธุรกิจทีวีก็ทำการส่งเนื้อหามาพร้อมกับโฆษณา เราก็ดูไปเรื่อย ๆ และดำเนินมาแบบนั้น ไม่ว่าจะเป็นยุคทีวีดิจิตอล ก็ยังเป็นแบบนั้นเพียงแต่มีหลายช่อง จนโดนทำให้ชะงักงันจากดิจิตอลก็คือ Youtube / Netflix คนดูเลือกได้ว่าอยากดูอะไร ผ่านมือถือ ผ่านแทบเลต และ Smart TV ไม่มีใครดูทีวีแบบเดิมที่ปล่อยให้สัญญาณไหลเข้ามาแบบเลือกไม่ได้อีกแล้ว แวดวงทีวีแบบเดิมถูกทำให้ชะงักงันและอาจจะตายไปในที่สุด
การเรียนการสอนสถาปัตยกรรมก็เหมือนกัน คือแต่เดิมเรียนตามประเภทอาคาร โดยเชื่อว่า ในสังคมจะมีอาคารประเภทต่างๆ อยู่ นักเรียนสถาปัตย์ หรือสถาปนิกมีหน้าที่ในการเรียนรู้ประเภทอาคารนั้นๆ และเมื่อลูกค้าติดต่อมาก็ทำการออกแบบอาคารที่ได้เรียนมา ทำการผลิตซ้ำสิ่งที่เคยได้รู้ เพราะฉะนั้นการเรียนสถาปัตยกรรมในโลกก่อนดิจิตอล ดิสรัปชั่นคือการเรียนจากต้นแบบแล้วทำการผลิตซ้ำ
ปัญหาคือ ถ้าลูกค้ามีความต้องการที่ไม่ได้เรียนมาในโรงเรียนสถาปัตยกรรม ลูกค้ามีความต้องการใหม่ๆ ที่ในโรงเรียนไม่ได้สอน จะทำยังไง สถาปนิกจะออกแบบได้ยังไง และความต้องการใหม่ๆ เหล่านี้กำลังเกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบเพราะเรากำลังอยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี
เพราะฉะนั้นแทนที่จะไปเน้นการเรียนการสอนแบบประเภทอาคารที่ให้เรียนรู้ต้นแบบที่มีวันหมดอายุ จึงควรจะเน้นการพัฒนาทักษะอย่างน้อยสี่อย่าง (ขอเติมอีกอัน ในวิดิโอมีแค่สาม) คือ
1. ทักษะการสื่อสาร ทำให้นักเรียนสถาปัตย์มีความรู้กว้าง พูดคุยกับผู้คน เข้าใจความต้องการใหม่ๆ ของพวกเขา
2. ทักษะการร่วมมือ ทำให้นักเรียนสถาปัตย์ สามารถทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่นได้ ในโลกดิจิตอล สถาปนิกต้องทำงานข้ามศาสตร์ ไม่มีเป็นกูรูคนเดียวได้อีกแล้ว
3. ทักษะความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่โรงเรียนสถาปัตยกรรมเน้นอยู่แล้ว และเน้นต่อไป
4. ทักษะความคิดเชิงวิพากษ์ ไม่เชื่อว่าสิ่งต่างๆ มันต้องเป็นอย่างนั้น แต่วิเคราะห์ พิจารณา คิดให้ลึกซึ้งเพื่อหาหนทางใหม่ๆ ในการสร้างโปรแกรมและออกแบบ
แลกเปลี่ยนกันได้ครับ ยินดีเป็นอย่างยิ่ง
Page ครับ
https://www.facebook.com/udomkatiarch/
Digital Disruption คืออะไร เกี่ยวกับการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมยังไง
Digital Disruption คือการที่เทคโนโลยีดิจิตอล เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินมาในอดีต ไม่สามารถดำเนินได้เหมือนเดิมอีกต่อไป
เช่น ทีวีสมัยก่อนเราดูสื่อทีวี โดยปล่อยให้ทางสถานีส่งสัญญาณสื่อมาที่โทรทัศน์ของเรา เรามีหน้าที่ดู สัญญาณภาพจะไหลเข้ามาเรื่อย ๆ เราเลือกไม่ได้ เลือกได้แค่เปลี่ยนช่องหรือปิดเท่านั้น ธุรกิจทีวีก็ทำการส่งเนื้อหามาพร้อมกับโฆษณา เราก็ดูไปเรื่อย ๆ และดำเนินมาแบบนั้น ไม่ว่าจะเป็นยุคทีวีดิจิตอล ก็ยังเป็นแบบนั้นเพียงแต่มีหลายช่อง จนโดนทำให้ชะงักงันจากดิจิตอลก็คือ Youtube / Netflix คนดูเลือกได้ว่าอยากดูอะไร ผ่านมือถือ ผ่านแทบเลต และ Smart TV ไม่มีใครดูทีวีแบบเดิมที่ปล่อยให้สัญญาณไหลเข้ามาแบบเลือกไม่ได้อีกแล้ว แวดวงทีวีแบบเดิมถูกทำให้ชะงักงันและอาจจะตายไปในที่สุด
การเรียนการสอนสถาปัตยกรรมก็เหมือนกัน คือแต่เดิมเรียนตามประเภทอาคาร โดยเชื่อว่า ในสังคมจะมีอาคารประเภทต่างๆ อยู่ นักเรียนสถาปัตย์ หรือสถาปนิกมีหน้าที่ในการเรียนรู้ประเภทอาคารนั้นๆ และเมื่อลูกค้าติดต่อมาก็ทำการออกแบบอาคารที่ได้เรียนมา ทำการผลิตซ้ำสิ่งที่เคยได้รู้ เพราะฉะนั้นการเรียนสถาปัตยกรรมในโลกก่อนดิจิตอล ดิสรัปชั่นคือการเรียนจากต้นแบบแล้วทำการผลิตซ้ำ
ปัญหาคือ ถ้าลูกค้ามีความต้องการที่ไม่ได้เรียนมาในโรงเรียนสถาปัตยกรรม ลูกค้ามีความต้องการใหม่ๆ ที่ในโรงเรียนไม่ได้สอน จะทำยังไง สถาปนิกจะออกแบบได้ยังไง และความต้องการใหม่ๆ เหล่านี้กำลังเกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบเพราะเรากำลังอยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี
เพราะฉะนั้นแทนที่จะไปเน้นการเรียนการสอนแบบประเภทอาคารที่ให้เรียนรู้ต้นแบบที่มีวันหมดอายุ จึงควรจะเน้นการพัฒนาทักษะอย่างน้อยสี่อย่าง (ขอเติมอีกอัน ในวิดิโอมีแค่สาม) คือ
1. ทักษะการสื่อสาร ทำให้นักเรียนสถาปัตย์มีความรู้กว้าง พูดคุยกับผู้คน เข้าใจความต้องการใหม่ๆ ของพวกเขา
2. ทักษะการร่วมมือ ทำให้นักเรียนสถาปัตย์ สามารถทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่นได้ ในโลกดิจิตอล สถาปนิกต้องทำงานข้ามศาสตร์ ไม่มีเป็นกูรูคนเดียวได้อีกแล้ว
3. ทักษะความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่โรงเรียนสถาปัตยกรรมเน้นอยู่แล้ว และเน้นต่อไป
4. ทักษะความคิดเชิงวิพากษ์ ไม่เชื่อว่าสิ่งต่างๆ มันต้องเป็นอย่างนั้น แต่วิเคราะห์ พิจารณา คิดให้ลึกซึ้งเพื่อหาหนทางใหม่ๆ ในการสร้างโปรแกรมและออกแบบ
แลกเปลี่ยนกันได้ครับ ยินดีเป็นอย่างยิ่ง
Page ครับ https://www.facebook.com/udomkatiarch/