______
สัพพจิตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง มีดังนี้
หน้า ๕
ผัสสเจตสิก
๑. ผัสสเจตสิก คือ การกระทบอารมณ์
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
ผุสนลกฺขโณ มีการกระทบอารมณ์ เป็นลักษณะ
สงฺฆฏฏฺนรโส มีการประสานอารมณ์ วัตถุ วิญญาณ เป็นกิจ
สนฺนิปาตปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประชุมพร้อมกัน เป็นผล
อาปาถคตวิสยปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ปรากฏ เป็นเหตุใกล้
ความหมายของผัสสเจตสิกนี้
ไม่ได้หมายเพียงแต่ว่า ของสองสิ่งกระทบกันเท่านั้น แต่หมายถึงว่าต้องมี
ธรรม ๓ ประการมาประชุมร่วมพร้อมกัน จึงจะเรียกว่าผัสสเจตสิก
ธรรม ๓ ประการนั้น คือ
อารมณ์ ๑
วัตถุ ๑
ธรรม ๒ ประการนี้กระทบ กัน และทำให้เกิด
วิญญาณอีก ๑ ด้วย ไม่ใช่แต่เพียงว่ากระทบกันเฉยๆ
เวทนาเจตสิก
๒. เวทนาเจตสิก คือการเสวยอารมณ์ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็คือ ความรู้สึก รู้สึกว่าสบายหรือไม่สบาย แยกตาม ประเภทแห่งความเป็นใหญ่ในการรู้สึก เป็น ๕ อย่าง ได้แก่
ก. สุขเวทนาเจตสิก คือความสุขสบายทางกาย
มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
อิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขขณา มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ดีเป็นลักษณะ
หน้า ๖
สมฺปยุตตฺตานํ พยูหนรสา มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเจริญ เป็นกิจ
กายิกอสฺสาทปจฺจุปฏฺฐานา มีความชื่นชมยินดีทางกาย เป็นผล
กายินฺทฺริยปทฏฺฐานา มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้
ข. ทุกขเวทนาเจตสิกคือความทุกข์ยากลำบากกาย
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
อนิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขณา มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ
สมฺปยุตฺตานํ มิลาปนรสา มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเศร้าหมอง เป็นกิจ
กายิกาพาธปจฺจุปฏฺฐานา มีความอาพาธทางกาย เป็นผล
กายินฺทริยปทฏฺฐานา มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้
ค. โสมนัสเวทนาเจตสิกคือความสุขความสบายใจ
มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
อิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ที่ดี เป็นลักษณะ
อิฏฺฐาการสมฺโภครสา มีการทำจิตให้อยู่ร่วมกับอารมณ์ที่ดี เป็นกิจ
เจตสิกอสฺสาทปฏฺจุปจฺฐานา มีความชื่นชมยินดีทางใจ เป็นผล
ปสฺสทฺธิปทฏฺฐานา มีความสงบกายสงบใจ เป็นเหตุใกล้
ง. โทมนัสเวทนาเจตสิกคือความทุกข์ใจ
มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
อนิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ
อนิฏฺฐาการสมฺโภครสา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นกิจ
เจตสิกาพาธปจฺจุปฏฐานา มีความอาพาธทางใจ เป็นผล
หทยวตฺถุปทฏฺฐานา มีหทัยวัตถุ เป็นเหตุใกล้
จ. อุเบกขาเจตสิก คือความรู้สึกเฉยๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
มชฺฌตฺตเวทยิตลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ปานกลาง เป็นลักษณะ
สมฺปยุตฺตานํ นาติอุปพยูหนมิลาปนรสา มีการักษาสัมปยุตตธรรม ไม่ให้เจริญ ไม่ให้เศร้าหมอง เป็นกิจ
สนฺตภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความเฉยๆ เป็นผล
นิปฺปิติกจิตฺตปทฏฺฐานา มีจิตที่ไม่ยินดีเป็นเหตุใกล้
สัญญาเจตสิก
๓. สัญญาเจตสิก คือ ความจำหมายอารมณ์
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
สญฺชานน ลกฺขณา มีความจำ เป็นลักษณะ
ปุนสญฺชานน ปจฺจยนิมิตฺตกรณ รสา มีการหมายไว้และจำได้ เป็นกิจ
ยถาคหิต นิมิตฺตวเสน อภินิเวสกรณ ปจฺจุปฏฺฐานา มีความจำได้ในสิ่งที่หมายไว้ เป็นผล
ยถาอุปฏฺฐิตวิสยปทฏฺฐานา มีอารมณ์ที่ปรากฏ เป็นเหตุใกล้
หน้า ๘
เจตนาเจตสิก
๔. เจตนาเจตสิก คือการแสวงหาหรือขวนขวายที่จะให้เป็นไปในอารมณ์ หรือความตั้งใจ หรือความสำเร็จ
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
เจตนาภาวลกฺขณา มีการชักชวน เป็นลักษณะ
อายูหนรสา มีการขวนขวาย เป็นกิจ
สํวิธาน ปจฺจุปฏฺฐานา มีการจัดแจง เป็นผล
เสสขนฺธตฺตยปทฺฐานา มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญานขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้
เอกัคคตาเจตสิก
๕. เอกัคคตาเจตสิก คือการตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
อวิกฺเขปลกฺขณา มีการไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะ
สหชาตานํ สมฺปิณฺฑนรสา มีการรวบรวมสหชาตธรรม เป็นกิจ
อุปสมปจฺจุปฏฺฐานา มีความสงบ เป็นผล
สุขปทฏฺฐานา มีสุขเวทนา เป็นเหตุใกล้
ชีวิตินทรียเจตสิก
๖. ชีวิตินทรียเจตสิก คือการรักษาธรรมที่เกิดร่วมด้วยตนให้ตั้งอยู่ตามอายุของตน
มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
หน้า ๙
สหชาตานํ อนุปาลนลกฺขณํ มีการเลี้ยงรักษาสหชาตธรรม เป็นลักษณะ
เตสํ ปวตฺตนรสํ มีความตั้งอยู่และเป็นไปได้ เป็นกิจ
เตสญฺเญวฐปนปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ได้ซึ่งสหชาตธรรม เป็นผล
เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐานํ มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญานขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้
มนสิการเจตสิก
๗. มนสิการเจตสิก คือการกระทำอารมณ์ให้แก่จิต หรือความใส่ใจในอารมณ์
มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
สารณลกฺขโณ มีการทำให้สัมปยุตตธรรมใส่ใจในอารมณ์ เป็นลักษณะ
สมฺปยุตฺตานํ อารมฺมเณ สํโยชนรโส มีการทำให้สัมปยุตตธรรมประกอบในอารมณ์ เป็นกิจ
อารมฺมณาภิมุขีภาวปจฺจุปฏฺฐาโน มีการทำให้สัมปยุตตธรรมให้มีหน้าที่เฉพาะอารมณ์ เป็นผล
อารมฺมณปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ เป็นเหตุใกล้
มนสิการเจตสิก คือ ความใส่ใจในอารมณ์นี้ ถ้ามีความใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ หรือใส่ใจในอารมณ์ด้วยอุบายอัน แยบคาย คือใส่ใจให้ถูกต้องตรงตามสภาวะแห่ง ความเป็นจริงแล้ว ย่อมก่อให้เกิดจิตที่ดีงาม
หน้า ๑๐
ความใส่ใจเป็นอันดีเรียกว่า โยนิโสมนสิการ
ถ้าไม่มีความใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ หรือใส่ใจในอารมณ์ด้วยอุบายอันไม่แยบคายแล้ว ย่อมก่อให้เกิดจิตที่ไม่ดี จิตที่ ชั่วที่บาป ความไม่ใส่ใจเป็นอันดีนี้ เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ
สาเหตุที่จะให้เกิด โยนิโสมนสิการ คือ
๑. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา เคยทำบุญไว้แต่ปางก่อน
๒. ปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่สมควร คือประเทศที่มีสัปบุรุษ
๓. สปฺปุริสูปนิสฺสย คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
๔. สทฺธมฺมสฺสวน ฟังธรรมของสัปบุรุษ
๕. อตฺตาสมฺนาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
ส่วนสาเหตุที่จะให้เกิด อโยนิโสมนสิการ ก็ตรงกันข้าม คือ
๑. ปุพฺเพ อกตปุญฺญตา ไม่ได้สร้างสม บุญไว้แต่ปางก่อน
๒. อปฺปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร (คือไม่มีสัปบุรุษ)
๓. อสปฺปุริสูปนิสฺสย ไม่ได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
๔. อสทฺธมฺมสฺสวน ไม่ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ
๕. อตฺตมิจฉาปณิธิ ตั้งตนไว้ผิด
---- องค์ประกอบ ชนิดที่ เกิดกับจิตทุกจิต - ผัสสะ/เวทนา/สัญญา / เจตนา/ เอกัคคตา(องค์แห่งฌาน/สมาธิ)/ชีวิตินทรีย์/มนสิการ
สัพพจิตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง มีดังนี้
หน้า ๕
ผัสสเจตสิก
๑. ผัสสเจตสิก คือ การกระทบอารมณ์
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
ผุสนลกฺขโณ มีการกระทบอารมณ์ เป็นลักษณะ
สงฺฆฏฏฺนรโส มีการประสานอารมณ์ วัตถุ วิญญาณ เป็นกิจ
สนฺนิปาตปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประชุมพร้อมกัน เป็นผล
อาปาถคตวิสยปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ปรากฏ เป็นเหตุใกล้
ความหมายของผัสสเจตสิกนี้
ไม่ได้หมายเพียงแต่ว่า ของสองสิ่งกระทบกันเท่านั้น แต่หมายถึงว่าต้องมี
ธรรม ๓ ประการมาประชุมร่วมพร้อมกัน จึงจะเรียกว่าผัสสเจตสิก
ธรรม ๓ ประการนั้น คือ
อารมณ์ ๑
วัตถุ ๑
ธรรม ๒ ประการนี้กระทบ กัน และทำให้เกิด
วิญญาณอีก ๑ ด้วย ไม่ใช่แต่เพียงว่ากระทบกันเฉยๆ
เวทนาเจตสิก
๒. เวทนาเจตสิก คือการเสวยอารมณ์ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็คือ ความรู้สึก รู้สึกว่าสบายหรือไม่สบาย แยกตาม ประเภทแห่งความเป็นใหญ่ในการรู้สึก เป็น ๕ อย่าง ได้แก่
ก. สุขเวทนาเจตสิก คือความสุขสบายทางกาย
มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
อิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขขณา มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ดีเป็นลักษณะ
หน้า ๖
สมฺปยุตตฺตานํ พยูหนรสา มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเจริญ เป็นกิจ
กายิกอสฺสาทปจฺจุปฏฺฐานา มีความชื่นชมยินดีทางกาย เป็นผล
กายินฺทฺริยปทฏฺฐานา มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้
ข. ทุกขเวทนาเจตสิกคือความทุกข์ยากลำบากกาย
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
อนิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขณา มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ
สมฺปยุตฺตานํ มิลาปนรสา มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเศร้าหมอง เป็นกิจ
กายิกาพาธปจฺจุปฏฺฐานา มีความอาพาธทางกาย เป็นผล
กายินฺทริยปทฏฺฐานา มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้
ค. โสมนัสเวทนาเจตสิกคือความสุขความสบายใจ
มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
อิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ที่ดี เป็นลักษณะ
อิฏฺฐาการสมฺโภครสา มีการทำจิตให้อยู่ร่วมกับอารมณ์ที่ดี เป็นกิจ
เจตสิกอสฺสาทปฏฺจุปจฺฐานา มีความชื่นชมยินดีทางใจ เป็นผล
ปสฺสทฺธิปทฏฺฐานา มีความสงบกายสงบใจ เป็นเหตุใกล้
ง. โทมนัสเวทนาเจตสิกคือความทุกข์ใจ
มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
อนิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ
อนิฏฺฐาการสมฺโภครสา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นกิจ
เจตสิกาพาธปจฺจุปฏฐานา มีความอาพาธทางใจ เป็นผล
หทยวตฺถุปทฏฺฐานา มีหทัยวัตถุ เป็นเหตุใกล้
จ. อุเบกขาเจตสิก คือความรู้สึกเฉยๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
มชฺฌตฺตเวทยิตลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ปานกลาง เป็นลักษณะ
สมฺปยุตฺตานํ นาติอุปพยูหนมิลาปนรสา มีการักษาสัมปยุตตธรรม ไม่ให้เจริญ ไม่ให้เศร้าหมอง เป็นกิจ
สนฺตภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความเฉยๆ เป็นผล
นิปฺปิติกจิตฺตปทฏฺฐานา มีจิตที่ไม่ยินดีเป็นเหตุใกล้
สัญญาเจตสิก
๓. สัญญาเจตสิก คือ ความจำหมายอารมณ์
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
สญฺชานน ลกฺขณา มีความจำ เป็นลักษณะ
ปุนสญฺชานน ปจฺจยนิมิตฺตกรณ รสา มีการหมายไว้และจำได้ เป็นกิจ
ยถาคหิต นิมิตฺตวเสน อภินิเวสกรณ ปจฺจุปฏฺฐานา มีความจำได้ในสิ่งที่หมายไว้ เป็นผล
ยถาอุปฏฺฐิตวิสยปทฏฺฐานา มีอารมณ์ที่ปรากฏ เป็นเหตุใกล้
หน้า ๘
เจตนาเจตสิก
๔. เจตนาเจตสิก คือการแสวงหาหรือขวนขวายที่จะให้เป็นไปในอารมณ์ หรือความตั้งใจ หรือความสำเร็จ
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
เจตนาภาวลกฺขณา มีการชักชวน เป็นลักษณะ
อายูหนรสา มีการขวนขวาย เป็นกิจ
สํวิธาน ปจฺจุปฏฺฐานา มีการจัดแจง เป็นผล
เสสขนฺธตฺตยปทฺฐานา มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญานขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้
เอกัคคตาเจตสิก
๕. เอกัคคตาเจตสิก คือการตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
อวิกฺเขปลกฺขณา มีการไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะ
สหชาตานํ สมฺปิณฺฑนรสา มีการรวบรวมสหชาตธรรม เป็นกิจ
อุปสมปจฺจุปฏฺฐานา มีความสงบ เป็นผล
สุขปทฏฺฐานา มีสุขเวทนา เป็นเหตุใกล้
ชีวิตินทรียเจตสิก
๖. ชีวิตินทรียเจตสิก คือการรักษาธรรมที่เกิดร่วมด้วยตนให้ตั้งอยู่ตามอายุของตน
มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
หน้า ๙
สหชาตานํ อนุปาลนลกฺขณํ มีการเลี้ยงรักษาสหชาตธรรม เป็นลักษณะ
เตสํ ปวตฺตนรสํ มีความตั้งอยู่และเป็นไปได้ เป็นกิจ
เตสญฺเญวฐปนปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ได้ซึ่งสหชาตธรรม เป็นผล
เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐานํ มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญานขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้
มนสิการเจตสิก
๗. มนสิการเจตสิก คือการกระทำอารมณ์ให้แก่จิต หรือความใส่ใจในอารมณ์
มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
สารณลกฺขโณ มีการทำให้สัมปยุตตธรรมใส่ใจในอารมณ์ เป็นลักษณะ
สมฺปยุตฺตานํ อารมฺมเณ สํโยชนรโส มีการทำให้สัมปยุตตธรรมประกอบในอารมณ์ เป็นกิจ
อารมฺมณาภิมุขีภาวปจฺจุปฏฺฐาโน มีการทำให้สัมปยุตตธรรมให้มีหน้าที่เฉพาะอารมณ์ เป็นผล
อารมฺมณปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ เป็นเหตุใกล้
มนสิการเจตสิก คือ ความใส่ใจในอารมณ์นี้ ถ้ามีความใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ หรือใส่ใจในอารมณ์ด้วยอุบายอัน แยบคาย คือใส่ใจให้ถูกต้องตรงตามสภาวะแห่ง ความเป็นจริงแล้ว ย่อมก่อให้เกิดจิตที่ดีงาม
หน้า ๑๐
ความใส่ใจเป็นอันดีเรียกว่า โยนิโสมนสิการ
ถ้าไม่มีความใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ หรือใส่ใจในอารมณ์ด้วยอุบายอันไม่แยบคายแล้ว ย่อมก่อให้เกิดจิตที่ไม่ดี จิตที่ ชั่วที่บาป ความไม่ใส่ใจเป็นอันดีนี้ เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ
สาเหตุที่จะให้เกิด โยนิโสมนสิการ คือ
๑. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา เคยทำบุญไว้แต่ปางก่อน
๒. ปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่สมควร คือประเทศที่มีสัปบุรุษ
๓. สปฺปุริสูปนิสฺสย คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
๔. สทฺธมฺมสฺสวน ฟังธรรมของสัปบุรุษ
๕. อตฺตาสมฺนาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
ส่วนสาเหตุที่จะให้เกิด อโยนิโสมนสิการ ก็ตรงกันข้าม คือ
๑. ปุพฺเพ อกตปุญฺญตา ไม่ได้สร้างสม บุญไว้แต่ปางก่อน
๒. อปฺปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร (คือไม่มีสัปบุรุษ)
๓. อสปฺปุริสูปนิสฺสย ไม่ได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
๔. อสทฺธมฺมสฺสวน ไม่ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ
๕. อตฺตมิจฉาปณิธิ ตั้งตนไว้ผิด