เพิ่มความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั่วโลก
รัฐบาลปลื้ม! กนอ.จรดปากกาเซ็นสัญญาโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 มูลค่า 4.7 หมื่นล้านบาท กับ “กัลฟ์–พีทีที แทงค์ “ทันที หลัง ครม. ไฟเขียวโครงการ ปักมุด บูม “อีอีซี” เกิดแน่ เพิ่มความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั่วโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทันทีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบโครงการขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ด้วยการขุดลอกและถมทะเลพื้นที่ 1,000 ไร่ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 มูลค่าการลงทุนรวม 55,400 ล้านบาท ตามที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (กนอ.) เสนอนั้น กนอ.ก็ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 มูลค่า 47,900 ล้านบาททันทีเช่นกัน ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP NET Cost) โดยให้เอกชนได้รับสิทธิ์ประกอบกิจการบนพื้นที่ และจัดสรรผลตอบแทนบางส่วนให้แก่ภาครัฐตามข้อตกลง
สำหรับเอกชนที่ กนอ.ได้ลงนามในสัญญาครั้งนี้ประกอบด้วยบริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด ในเครือบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล (จำกัด) ในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยการลงนามวันนี้ (1 ต.ค.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเป็นประธานการร่วมลงนามครั้งนี้ และมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ร่วมเป็นสักขีพยาน
นายสมคิดกล่าวว่า โครงการดังกล่าว ถือเป็น 1 ใน 5 โครงสร้างพื้นฐานหลักในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) หรือ EEC Project List ที่ได้มีการลงนามร่วมลงทุนกับเอกชนที่ชนะประมูลเป็นโครงการแรก เพื่อนำร่องและเป็นการยกระดับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง(ฮับ)การลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นสูงและการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)ในอนาคต ปัจจุบันมีการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ที่มีส่วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั่วโลกมั่นใจต่อประเทศไทย
“การลงนามครั้งนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และอีก 4 โครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักที่เหลือของอีอีซี ก็คาดหวังว่าจะมีการทยอยลงนามต่อไป ผมก็คาดหวังว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะมีการ
ลงนามในสัญญาระหว่างเอกชนกับรัฐบาลได้ก่อนวันที่ 15 ต.ค.นี้ และยืนยันว่าผมไม่ได้กดดัน กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตรหรือกลุ่มซีพีให้ลงนามแต่อย่างใด เพราะแต่ละโครงการมีขนาดใหญ่จะทำอะไรก็ต้องรอบคอบ ถ้าทำไม่ได้ก็จะเป็นการทำลายความเชื่อถือของนักลงทุน”
นายสุริยะกล่าวว่า การลงทุนท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 3 (ช่วงที่ 1) มีมูลค่าลงทุน 47,900 ล้านบาท จะช่วยกระตุ้นการลงทุนของประเทศไทย เพราะท่าเรือมาบตาพุดระยะ 1-2 ที่ดำเนินการไปแล้ว มีการใช้งานเต็มศักยภาพ จึงจำเป็นต้องดำเนินการระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) เพื่อรองรับการขนถ่ายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ที่ถือเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศไทย ที่จะต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ
น.ส.สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่า กนอ. กล่าวว่า หลังการลงนามแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องดำเนินการขอใบอนุญาตดำเนินการที่สำคัญ 4 ใบ ได้แก่ ใบอนุญาตถมทะเลกับกรมเจ้าท่า ขอ โดย กนอ. ส่วนที่เหลือดำเนินการขอโดยเอกชน ได้แก่ ใบอนุญาตสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำ (ท่าเรือก๊าซธรรมชาติ) จากกรมเจ้าท่า, ใบอนุญาตนำเข้าและใบอนุญาตแปร สภาพแอลเอ็นจี จากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นต้น
สำหรับการพัฒนามาบตาพุดระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 มูลค่าการลงทุน 47,900 ล้านบาท แบ่งเป็น กนอ.ร่วมลงทุน 12,900 ล้านบาท เพื่อลงทุนขุดลอกและถมทะเล และภาคเอกชน 35,000 ล้านบาท ลงทุนท่าเทียบเรือก๊าซส่วนช่วงที่ 2 จะเป็นการลงทุนพัฒนาก่อสร้างในส่วนของท่าเรือ ซึ่ง กนอ. ยังอยู่ระหว่างการดำเนินงานหาผู้ร่วมทุน มูลค่าลงทุน 7,500 ล้านบาท แบ่งเป็นการสร้างท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 4,300 ล้านบาท และคลังสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ จำนวน 3,200 ล้านบาท
ด้านนายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กัลฟ์ กล่าวว่า กัลฟ์จะกู้เงินกับสถาบันการเงินในประเทศเป็นหลัก เพื่อลงทุนในโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 วงเงิน 13,000 ล้านบาท และจะทยอยนำเข้าแอลเอ็นจีใน 5 ปีข้างหน้า รวม 5 ล้านตันต่อปี และตลอดสัญญา 30 ปี จะนำเข้ารวม 20 ล้านตัน.
ที่มา :
ไทยรัฐ
EEC - กดปุ่มโครงสร้างพื้นฐานแรก ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3
สำหรับเอกชนที่ กนอ.ได้ลงนามในสัญญาครั้งนี้ประกอบด้วยบริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด ในเครือบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล (จำกัด) ในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยการลงนามวันนี้ (1 ต.ค.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเป็นประธานการร่วมลงนามครั้งนี้ และมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ร่วมเป็นสักขีพยาน
นายสมคิดกล่าวว่า โครงการดังกล่าว ถือเป็น 1 ใน 5 โครงสร้างพื้นฐานหลักในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) หรือ EEC Project List ที่ได้มีการลงนามร่วมลงทุนกับเอกชนที่ชนะประมูลเป็นโครงการแรก เพื่อนำร่องและเป็นการยกระดับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง(ฮับ)การลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นสูงและการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)ในอนาคต ปัจจุบันมีการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ที่มีส่วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั่วโลกมั่นใจต่อประเทศไทย
“การลงนามครั้งนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และอีก 4 โครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักที่เหลือของอีอีซี ก็คาดหวังว่าจะมีการทยอยลงนามต่อไป ผมก็คาดหวังว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะมีการ
ลงนามในสัญญาระหว่างเอกชนกับรัฐบาลได้ก่อนวันที่ 15 ต.ค.นี้ และยืนยันว่าผมไม่ได้กดดัน กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตรหรือกลุ่มซีพีให้ลงนามแต่อย่างใด เพราะแต่ละโครงการมีขนาดใหญ่จะทำอะไรก็ต้องรอบคอบ ถ้าทำไม่ได้ก็จะเป็นการทำลายความเชื่อถือของนักลงทุน”
นายสุริยะกล่าวว่า การลงทุนท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 3 (ช่วงที่ 1) มีมูลค่าลงทุน 47,900 ล้านบาท จะช่วยกระตุ้นการลงทุนของประเทศไทย เพราะท่าเรือมาบตาพุดระยะ 1-2 ที่ดำเนินการไปแล้ว มีการใช้งานเต็มศักยภาพ จึงจำเป็นต้องดำเนินการระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) เพื่อรองรับการขนถ่ายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ที่ถือเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศไทย ที่จะต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ
น.ส.สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่า กนอ. กล่าวว่า หลังการลงนามแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องดำเนินการขอใบอนุญาตดำเนินการที่สำคัญ 4 ใบ ได้แก่ ใบอนุญาตถมทะเลกับกรมเจ้าท่า ขอ โดย กนอ. ส่วนที่เหลือดำเนินการขอโดยเอกชน ได้แก่ ใบอนุญาตสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำ (ท่าเรือก๊าซธรรมชาติ) จากกรมเจ้าท่า, ใบอนุญาตนำเข้าและใบอนุญาตแปร สภาพแอลเอ็นจี จากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นต้น
สำหรับการพัฒนามาบตาพุดระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 มูลค่าการลงทุน 47,900 ล้านบาท แบ่งเป็น กนอ.ร่วมลงทุน 12,900 ล้านบาท เพื่อลงทุนขุดลอกและถมทะเล และภาคเอกชน 35,000 ล้านบาท ลงทุนท่าเทียบเรือก๊าซส่วนช่วงที่ 2 จะเป็นการลงทุนพัฒนาก่อสร้างในส่วนของท่าเรือ ซึ่ง กนอ. ยังอยู่ระหว่างการดำเนินงานหาผู้ร่วมทุน มูลค่าลงทุน 7,500 ล้านบาท แบ่งเป็นการสร้างท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 4,300 ล้านบาท และคลังสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ จำนวน 3,200 ล้านบาท
ด้านนายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กัลฟ์ กล่าวว่า กัลฟ์จะกู้เงินกับสถาบันการเงินในประเทศเป็นหลัก เพื่อลงทุนในโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 วงเงิน 13,000 ล้านบาท และจะทยอยนำเข้าแอลเอ็นจีใน 5 ปีข้างหน้า รวม 5 ล้านตันต่อปี และตลอดสัญญา 30 ปี จะนำเข้ารวม 20 ล้านตัน.
ที่มา : ไทยรัฐ