เนบิวลา
หลากหลายความสวยงามที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าที่ไกลสุดลูกหูลูกตาอย่างอวกาศ “เนบิวลา” (Nebula) เป็นอีกหนึ่งวัตถุที่เรียกได้ว่ามีความสวยงามไม่แพ้วัตถุอื่น ๆ ในอวกาศ เนบิวลาหรือกลุ่มฝุ่น แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ ที่อยู่รวมตัวกันจะมีลักษณะเป็นก้อนหมอกเมฆขนาดใหญ่ ปะปนอยู่ในกลุ่มดวงดาวที่เปร่งแสงสีสวยงาม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หมอกเพลิง”
เนบิวลาดอกกุหลาบ Rosette Nebula
Caldwell 49 หรือ "ดอกกุหลาบแห่งเอกภพ" เป็นเนบิวลาเปล่งแสง (Emission Nebula) อยู่ห่างจากโลก ประมาณ 2,600 ปีแสง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 55 ปีแสง มีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าใหญ่กว่าดวงจันทร์ถึงสองเท่า ภายในเนบิวลามีดาวฤกษ์เกิดใหม่มากมาย ดาวฤกษ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 4 ล้านปี นักดาราศาสตร์คำนวณว่าอาจจะมีดาวฤกษ์ที่มีมวลเท่าดวงอาทิตย์ประมาณ 11,000 ดวง สามารถเกิดขึ้นได้ในเนบิวลาดอกกุหลาบนี้
ที่มา : NARIT สถาบันดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย
Cr.pdamobiz.com
เนบิวลาอุ้งเท้าแมว Cat’s Paw Nebula และเนบิวลากุ้งล้อบสเตอร์
หรือ NGC 6334 (Lobster Nebula) กลุ่มเมฆสีแดงด้านขวาบนของภาพ และเนบิวลากุ้งล้อบสเตอร์ หรือ NGC 6357 กลุ่มเมฆสีแดด้านซ้ายล่างของภาพ
เราเห็น 2 เนบิวลานี้ในภาพเดียวกันเพราะมันปรากฏบนฟ้าในมุมมองจากโลกเราแบบนี้ แต่ความจริงเนบิวลาทั้งสองอยู่ห่างกันในเชิงลึกค่อนข้างมาก โดยเนบิวลาอุ้งเท้าแมวมีระยะห่างจากโลก 5,500 ปีแสง และเนบิวลากุ้งล้อบสเตอร์มีระยะห่างจากโลก 8,000 ปีแสง นั่นคือเนบิวลาทั้ง 2 ห่างกันถึง 2,500 ปีแสงเลยทีเดียว
เนบิวลาคู่นี้ส่องพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ John Herschel ตั้งแต่ พ.ศ.2380 (สมัย ร.1) โดยไม่เห็นเป็นรูปร่างชัดเจน และเพิ่งมามีชื่อเรียกว่าอุ้งเท้าแมว-กุ้งล้อปเตอร์เมื่อมีการพัฒนากล้องดูดาวให้มีกำลังขยายดีขึ้นมาตามลำดับ เมื่อเวลาผ่านมาถึงวันนี้ เรามีกล้อง OmegaCAM ขนาด 250 ล้านเมกกะพิเซล ที่สามารถถ่ายภาพเนบิลาเหล่านี้ด้วยกำลังขยายสูงจนเห็นรายละเอียดชัดเจนและเห็นสีสันแยกไปตามองค์ประกอบของธาตุในกลุ่มเมฆและดวงดาวบริเวณนั้น
ภาพนี้เป็นผลงานของหอดูดาวซีกฟ้าใต้แห่งยุโรป European Southern Observatory (ESO)
Cr.jimmysoftwareblog.com
เนบิวลา ไอซี418 อัญมณีในอวกาศ
(ภาพ-NASA and The Hubble Heritage Team)
ภาพสีสันสวยงามดุจอัญมณีในห้วงอวกาศนี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลถ่ายเอาไว้และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ของสหรัฐอเมริกา ที่นำมาเผยแพร่นี้ เป็นภาพของ ไอซี 418 ดาวฤกษ์ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนพัฒนาการขั้นตอนสุดท้าย กลายเป็น “เนบิวลาดาวเคราะห์” ที่เป็นขั้นตอนให้เกิดสีสดสวยดังในภาพ ก่อนที่จะลงเอยในบั้นปลายเป็นดาวแคระขาวในอีกหลายพันล้านปีข้างหน้า
“ไอซี 418” เคยเป็นดาวยักษ์แดง ดาวฤกษ์ซึ่งคล้ายกับดวงอาทิตย์ของระบบสุริยะ ก่อนที่เชื้อเพลิงไฮโดรเจนบนดาวหมดลง แกนกลางของดาวจะยุบตัว มวลของดาวในส่วนที่เป็นก๊าซและฝุ่นผงชั้นนอกจะถูกดีดออกกระจายไปในอวกาศ เมื่อหลายพันปีก่อนและต่อไปก็จะกลายเป็นวัตถุดิบสำหรับการก่อตัวของดาวเคราะห์และระบบดาวอื่นๆ ในอนาคต
“ไอซี 418” อยู่ห่างจากโลกไปราว 2,000 ปีแสง บนเส้นทางระหว่างโลกกับกลุ่มดาว เลปัส นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า นับตั้งแต่เกิดการยุบตัวแล้วระเบิดนั้น เนบิวลานี้ขยายตัวออกมามีความกว้างมากถึง 0.1 ปีแสง บริเวณแกนกลางที่ยุบตัวลงและมีความร้อนสูงสุดคือจุดสีขาวตรงกลาง การแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต ทำให้เกิดประกายสีม่วงกระจายออกมาเป็นวง ส่วนวงกว้างสีน้ำเงินแกมม่วงนั้นคือส่วนที่ออกซิเจนซึ่งถูกทำให้อยู่ในสภาพของไอออนกำลังกระจายตัวออกมา ต่อด้วยสีเหลืองแกมเขียวที่เป็นสีของก๊าซไฮโดรเจน ส่วนชั้นนอกสุดที่เป็นสีแดง คือก๊าซไนโตรเจนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำที่สุดในบรรดาก๊าซเหล่านี้นั่นเอง
Cr.matichon.co.th/
เนบิวลา แม่มดก้มหน้า
รูปแบบที่น่ากลัวและใบหน้าอันสยดสยองเป็นเครื่องหมายสำคัญของวันฮาโลวีน สิ่งเหล่านี้ยังคงหลอกหลอนเอกภพแห่งนี้อย่างใกล้ชิดด้วยเนบิวลารูปร่างคล้ายแม่มดก้มหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของเนบิวลาผ้าคลุมไหล่ฝั่งตะวันออกซึ่งมีขนาดปรากฏใกล้เคียงกับดวงจันทร์เต็มดวงและแผ่ขยายกว้าง 12 ปีแสง (จากปลายหมวกถึงปลายคาง) ที่ระยะห่างประมาณ 1,400 ปีแสงจากโลก ส่วนในฝั่งตะวันตกของเนบิวลาผ้าคลุมไหล่ จะจินตนาการเป็นลักษณะคล้ายด้ามไม้กวาดของแม่มด
เนบิวลาผ้าคลุมไหล่เป็นเศษซากของซูเปอร์โนวาที่มีขนาดใหญ่หลงเหลือจากการระเบิดของดาวมวลมาก และได้ขยายตัวเป็นวงกลมครอบคลุมเกือบ 3 องศาบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวหงส์ ในองค์ประกอบของข้อมูลภาพที่บันทึกผ่านแผ่นกรองแสงวงแคบทำให้เห็นการปล่อยก๊าซเรืองแสงจากอะตอมไฮโดรเจนเป็นสีแดงบริเวณส่วนโค้งด้านใน (หน้าหมวก หน้าผากและคาง)และในส่วนที่เหลือมีการปล่อยก๊าซจากอะตอมออกซิเจนในเฉดสีน้ำเงินอมเขียว
Cr.narit.or.th
“เนบิวลาผี”
“เนบิวลาผี” (Ghost nebula) หรือ “ปิศาจแห่งแคสซิโอเปีย” ซึ่งเป็นภาพของกลุ่มฝุ่นและก๊าซ IC 63 ที่ส่องแสงสว่างในกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย (Cassiopeia) ห่างจากโลก 550 ปีแสง
ส่วนของเนบิวลาที่ดูคล้ายกับหมอกควันหรือผ้าคลุมสีขาวของดวงวิญญาณนั้น ที่จริงคือก๊าซไฮโดรเจนที่สัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตจนเกิดการเรืองแสงขึ้น โดยรังสีดังกล่าวแผ่มาจากดาวฤกษ์ยักษ์สีฟ้า Gamma Cassiopeiae ที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งดาวฤกษ์นี้ปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาเท่ากับดวงอาทิตย์ 34,000 ดวง ทำให้เนบิวลาผีต้องสลายตัวไปอย่างช้า ๆ
ภาพเนบิวลาผีที่นาซาเผยแพร่นี้ เป็นภาพที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลบันทึกไว้ได้ เมื่อเดือนสิงหาคมปี 2016
Cr. khaosod.co.th
เนบิวลากะโหลกไขว้ Skull and crossbones nebula
(เนบิวลา NGC 2467 หรือ “เนบิวลากะโหลกไขว้” ซึ่งกล้องโทรทรรศน์ MPG/ESO บันทึกภาพไว้เมื่อปี 2003 / ESO)
ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นบริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ใหม่จำนวนมากในเนบิวลากะโหลกไขว้ หรือเนบิวลา NGC 2467 ฉายา “โจรสลัดแห่งท้องฟ้าซีกโลกใต้” ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากโลก 13,000 ปีแสง
นักดาราศาสตร์ของอีเอสโอบอกว่า ส่วนที่ดำมืดเหมือนเบ้าตากลวงโบ๋ของหัวกะโหลกนั้น คือบริเวณที่มีฝุ่นหนาแน่นจนแสงจากดวงดาวที่อยู่ด้านในไม่สามารถหลุดรอดออกมาได้ นอกจากนี้ เนบิวลากะโหลกไขว้ไม่ได้เป็นเนบิวลาเดี่ยว แต่ประกอบด้วยกลุ่มดาวหลากหลายที่มารวมตัวกัน และเคลื่อนที่เกาะกลุ่มด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน
เนบิวลากะโหลกไขว้อยู่ในกลุ่มดาว Puppis ซึ่งเป็นศัพท์ที่มาจากคำว่า “ท้ายเรือ” ในภาษาฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในสามกลุ่มดาวซีกโลกใต้ที่มีความหมายเกี่ยวกับการเดินเรือ
Cr. khaosod.co.th
เนบิวลาบูมเมอแรง BOOMERANG NEBULA ที่หนาวที่สุดในจักรวาล
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบวัตถุที่เย็นที่สุดในจักรวาลเพิ่มเติม สิ่งนั้นก็คือเนบิวลาหรือกลุ่มเมฆหมอกของฝุ่น แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ ซึ่งเนบิวลานี้มีชื่อว่าบูมเมอแรง (Boomerang nebula) และถูกบันทึกเอาไว้เป็นสถิติที่น่าประหลาดใจเมื่อพบว่ามันคือวัตถุที่เย็นที่สุดในเอกภพ
เนบิวลาบูมเมอแรงนี้เป็นวัตถุที่ถูกเรียกว่า เนบิวลาดาวเคราะห์ก่อนเกิดหรือ (Protoplanetary nebula) ซึ่งเป็นระยะแรกของ Planetary nebula ที่ผิวนอกของดาวฤกษ์กำลังขยายตัวเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ เนบิวลาบูมเมอแรง (Boomerang Nebula) จัดเป็นสถานที่เย็นจัดที่สุดในเอกภพ โดยมีอุณหภูมิเพียง 1 เคลวินหรือติดลบ -272.15 องศาเซลเซียส นับเป็นอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในอวกาศอย่างมาก จากการใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา (Atacama Large Millimeter/submillimeter Array: ALMA) ที่ชิลี
เนบิวลานี้มีรูปร่างไม่สมดุล จึงได้ชื่อเนบิวลาบูเมอแรง ภายหลังเมื่อศึกษาด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ก็กลับได้เผยให้เห็นรูปร่างที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และพบว่ามันเหมือนโบว์ที่ผูกกันมากกว่า เนบิวลาบูเมอแรงนั้นอยู่ห่างจากโลก 5,000 ปีแสง ในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า (Centaurus) และค่อนข้างเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary nebula) ที่มีอายุน้อย
Cr.iill.me/
“เนบิวลารูปนกอินทรี”
M16 Eagle Nebula หรือ เนบิวลารูปนกอินทรี เป็นกระจุกดาวเปิดอายุน้อยในกลุ่มดาวงู และเป็นหนึ่งในบรรดาวัตถุท้องฟ้าที่มีชื่อเสียง เป็นที่สังเกตเห็นได้ง่าย ผู้ค้นพบคือ ฌอง-ฟิลิปป์ เดอ เชโซส์ (Jean-Philippe de Cheseaux) ในราวปี พ.ศ. 2288-2289 อยู่ในพื้นที่เกี่ยวเนื่องกับเนบิวลาจางๆ หรือย่านเอช 2 ที่ขึ้นบัญชีไว้ในรหัส ไอซี 4703 เป็นย่านก่อตัวของดาวฤกษ์ใหม่ที่อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 7,000 ปีแสง และมีส่วนของ “หอคอย” มีขนาดถึง 9.5 ปีแสงหรือเก้าสิบล้านล้านกิโลเมตร
(ภายในเนบิวลาอินทรีมีย่านที่เรียกว่า “เสาแห่งการก่อกำเนิด” (Pillars of Creation) ซึ่งเป็นย่านก่อตัวดาวฤกษ์ใหม่ที่ใหญ่มาก มีพื้นที่มืดเป็นส่วนเล็กๆ ที่เชื่อว่าน่าจะเป็นโปรโตสตาร์ ในปี พ.ศ. 2548)
ราวต้นปี พ.ศ. 2550 นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ที่แสดงว่า โครงสร้างเสาได้ถูกทำลายลงโดยการระเบิดของซูเปอร์โนวาแห่งหนึ่งเมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว
Cr.amarintv.com
เนบิวลาทารันทูลา
เนบิวลาทารันทูลาเป็นบริเวณก่อกำเนิดดวงดาวที่ใหญ่และซับซ้อนที่สุดในละแวกกาแล็กซีนี้ อยู่ในบริเวณของเมฆแมเจลแลนใหญ่ซึ่งเป็นกาแล็กซีบริวารรอบกาแล็กซีทางช้างเผือก รูปร่างคล้ายแมงมุมของเนบิวลานี้ทำให้มันถูกเรียกกันในนามของเนบิวลาทารันทูลา
อย่างไรก็ตาม แมงมุมทารันทูลาตัวนี้มีขนาดกว้างถึง 1000 ปีแสง และหากเรานำมันมาวางไว้ที่ตำแหน่งของเนบิวลานายพราน (1500 ปีแสง) เนบิวลานี้จะมีขนาดบนท้องฟ้าถึง 30 องศา (ดวงจันทร์เต็มดวง 60 ดวง)
จากภาพข้างบน เราจะพบรายละเอียดที่น่าสนใจมากมายของเนบิวลานี้ ขาของแมงมุมล้อมรอบกระจุกดาว NGC 2070 ที่เป็นที่อยู่ของดาวที่สว่างและใหญ่ที่สุดดวงหนึ่ง ปรากฎเป็นดาวสีฟ้าอยู่บริเวณกลางของภาพ เนื่องจากดาวขนาดใหญ่ใช้ชีวิตและดับลงอย่างรวดเร็ว จึงอาจไม่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจมากนักหากเราจะพบซากการเกิดซูเปอร์โนวาในบริเวณใกล้เคียงกับเนบิวลาทารันทูลา
Cr.narit.or.th
เนบิวลารูปหัวใจ เจ้าของฉายา ราชินีแคสสิโอเปีย
เกิดจากการรวมตัวกันของพลาสมาไอออนของไฮโดรเจนและอิเล็กตรอน จนกลายมาเป็นราชินีประจำท้องฟ้า
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 เว็บไซต์ สมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้ออกมาเผยภาพ เนบิวลารูปหัวใจ ซึ่งเป็นกลุ่มเมฆ หมอก แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ ที่รวมกันเป็นรูปหัวใจ ซึ่งเนบิวลาหัวใจนี้ อยู่บริเวณแขนเพอร์เซอุสแห่งกาแล็กซีทางช้างเผือก มองเห็นได้ในกลุ่มดาวค้างคาว หรือกลุ่มดาวแคสสิโอเปีย และได้รับฉายาว่า เป็นราชินีแคสสิโอเปีย
ทั้งนี้ เนบิวลารูปหัวใจ ถือเป็นเนบิวลาเปล่งแสง (Emission nebula) ที่เกิดจากการรวมตัวกันของพลาสมาไอออนของก๊าซไฮโดรเจน และอิเล็กตรอนอิสระ โดยที่เนบิวลารูปหัวใจ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 7,500 ปีแสง
สำหรับเส้นขอบสีแดงของเนบิวลารูปหัวใจและโครงร่างภายนอกนั้น เกิดจากการเปล่งแสงของมวลสารระหว่างดวงดาว สลับกับแถบฝุ่นควันมืด และรูปร่างของเนบิวลารูปหัวใจนี้ เกิดจากการพัดของลมสุริยะและการแผ่รังสีจากดาวยักษ์เพิ่งเกิดใหม่ในกระจุกดาว Melotte 15
Cr.hilight.kapook.com
เนบิวลา “หมอกเพลิง” ในอวกาศความสวยงามบนท้องฟ้า
หลากหลายความสวยงามที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าที่ไกลสุดลูกหูลูกตาอย่างอวกาศ “เนบิวลา” (Nebula) เป็นอีกหนึ่งวัตถุที่เรียกได้ว่ามีความสวยงามไม่แพ้วัตถุอื่น ๆ ในอวกาศ เนบิวลาหรือกลุ่มฝุ่น แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ ที่อยู่รวมตัวกันจะมีลักษณะเป็นก้อนหมอกเมฆขนาดใหญ่ ปะปนอยู่ในกลุ่มดวงดาวที่เปร่งแสงสีสวยงาม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หมอกเพลิง”
เนบิวลาดอกกุหลาบ Rosette Nebula
Caldwell 49 หรือ "ดอกกุหลาบแห่งเอกภพ" เป็นเนบิวลาเปล่งแสง (Emission Nebula) อยู่ห่างจากโลก ประมาณ 2,600 ปีแสง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 55 ปีแสง มีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าใหญ่กว่าดวงจันทร์ถึงสองเท่า ภายในเนบิวลามีดาวฤกษ์เกิดใหม่มากมาย ดาวฤกษ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 4 ล้านปี นักดาราศาสตร์คำนวณว่าอาจจะมีดาวฤกษ์ที่มีมวลเท่าดวงอาทิตย์ประมาณ 11,000 ดวง สามารถเกิดขึ้นได้ในเนบิวลาดอกกุหลาบนี้
ที่มา : NARIT สถาบันดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย
Cr.pdamobiz.com
เนบิวลาอุ้งเท้าแมว Cat’s Paw Nebula และเนบิวลากุ้งล้อบสเตอร์
หรือ NGC 6334 (Lobster Nebula) กลุ่มเมฆสีแดงด้านขวาบนของภาพ และเนบิวลากุ้งล้อบสเตอร์ หรือ NGC 6357 กลุ่มเมฆสีแดด้านซ้ายล่างของภาพ
เราเห็น 2 เนบิวลานี้ในภาพเดียวกันเพราะมันปรากฏบนฟ้าในมุมมองจากโลกเราแบบนี้ แต่ความจริงเนบิวลาทั้งสองอยู่ห่างกันในเชิงลึกค่อนข้างมาก โดยเนบิวลาอุ้งเท้าแมวมีระยะห่างจากโลก 5,500 ปีแสง และเนบิวลากุ้งล้อบสเตอร์มีระยะห่างจากโลก 8,000 ปีแสง นั่นคือเนบิวลาทั้ง 2 ห่างกันถึง 2,500 ปีแสงเลยทีเดียว
เนบิวลาคู่นี้ส่องพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ John Herschel ตั้งแต่ พ.ศ.2380 (สมัย ร.1) โดยไม่เห็นเป็นรูปร่างชัดเจน และเพิ่งมามีชื่อเรียกว่าอุ้งเท้าแมว-กุ้งล้อปเตอร์เมื่อมีการพัฒนากล้องดูดาวให้มีกำลังขยายดีขึ้นมาตามลำดับ เมื่อเวลาผ่านมาถึงวันนี้ เรามีกล้อง OmegaCAM ขนาด 250 ล้านเมกกะพิเซล ที่สามารถถ่ายภาพเนบิลาเหล่านี้ด้วยกำลังขยายสูงจนเห็นรายละเอียดชัดเจนและเห็นสีสันแยกไปตามองค์ประกอบของธาตุในกลุ่มเมฆและดวงดาวบริเวณนั้น
ภาพนี้เป็นผลงานของหอดูดาวซีกฟ้าใต้แห่งยุโรป European Southern Observatory (ESO)
Cr.jimmysoftwareblog.com
เนบิวลา ไอซี418 อัญมณีในอวกาศ
(ภาพ-NASA and The Hubble Heritage Team)
ภาพสีสันสวยงามดุจอัญมณีในห้วงอวกาศนี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลถ่ายเอาไว้และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ของสหรัฐอเมริกา ที่นำมาเผยแพร่นี้ เป็นภาพของ ไอซี 418 ดาวฤกษ์ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนพัฒนาการขั้นตอนสุดท้าย กลายเป็น “เนบิวลาดาวเคราะห์” ที่เป็นขั้นตอนให้เกิดสีสดสวยดังในภาพ ก่อนที่จะลงเอยในบั้นปลายเป็นดาวแคระขาวในอีกหลายพันล้านปีข้างหน้า
“ไอซี 418” เคยเป็นดาวยักษ์แดง ดาวฤกษ์ซึ่งคล้ายกับดวงอาทิตย์ของระบบสุริยะ ก่อนที่เชื้อเพลิงไฮโดรเจนบนดาวหมดลง แกนกลางของดาวจะยุบตัว มวลของดาวในส่วนที่เป็นก๊าซและฝุ่นผงชั้นนอกจะถูกดีดออกกระจายไปในอวกาศ เมื่อหลายพันปีก่อนและต่อไปก็จะกลายเป็นวัตถุดิบสำหรับการก่อตัวของดาวเคราะห์และระบบดาวอื่นๆ ในอนาคต
“ไอซี 418” อยู่ห่างจากโลกไปราว 2,000 ปีแสง บนเส้นทางระหว่างโลกกับกลุ่มดาว เลปัส นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า นับตั้งแต่เกิดการยุบตัวแล้วระเบิดนั้น เนบิวลานี้ขยายตัวออกมามีความกว้างมากถึง 0.1 ปีแสง บริเวณแกนกลางที่ยุบตัวลงและมีความร้อนสูงสุดคือจุดสีขาวตรงกลาง การแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต ทำให้เกิดประกายสีม่วงกระจายออกมาเป็นวง ส่วนวงกว้างสีน้ำเงินแกมม่วงนั้นคือส่วนที่ออกซิเจนซึ่งถูกทำให้อยู่ในสภาพของไอออนกำลังกระจายตัวออกมา ต่อด้วยสีเหลืองแกมเขียวที่เป็นสีของก๊าซไฮโดรเจน ส่วนชั้นนอกสุดที่เป็นสีแดง คือก๊าซไนโตรเจนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำที่สุดในบรรดาก๊าซเหล่านี้นั่นเอง
Cr.matichon.co.th/
เนบิวลา แม่มดก้มหน้า
รูปแบบที่น่ากลัวและใบหน้าอันสยดสยองเป็นเครื่องหมายสำคัญของวันฮาโลวีน สิ่งเหล่านี้ยังคงหลอกหลอนเอกภพแห่งนี้อย่างใกล้ชิดด้วยเนบิวลารูปร่างคล้ายแม่มดก้มหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของเนบิวลาผ้าคลุมไหล่ฝั่งตะวันออกซึ่งมีขนาดปรากฏใกล้เคียงกับดวงจันทร์เต็มดวงและแผ่ขยายกว้าง 12 ปีแสง (จากปลายหมวกถึงปลายคาง) ที่ระยะห่างประมาณ 1,400 ปีแสงจากโลก ส่วนในฝั่งตะวันตกของเนบิวลาผ้าคลุมไหล่ จะจินตนาการเป็นลักษณะคล้ายด้ามไม้กวาดของแม่มด
เนบิวลาผ้าคลุมไหล่เป็นเศษซากของซูเปอร์โนวาที่มีขนาดใหญ่หลงเหลือจากการระเบิดของดาวมวลมาก และได้ขยายตัวเป็นวงกลมครอบคลุมเกือบ 3 องศาบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวหงส์ ในองค์ประกอบของข้อมูลภาพที่บันทึกผ่านแผ่นกรองแสงวงแคบทำให้เห็นการปล่อยก๊าซเรืองแสงจากอะตอมไฮโดรเจนเป็นสีแดงบริเวณส่วนโค้งด้านใน (หน้าหมวก หน้าผากและคาง)และในส่วนที่เหลือมีการปล่อยก๊าซจากอะตอมออกซิเจนในเฉดสีน้ำเงินอมเขียว
Cr.narit.or.th
“เนบิวลาผี”
“เนบิวลาผี” (Ghost nebula) หรือ “ปิศาจแห่งแคสซิโอเปีย” ซึ่งเป็นภาพของกลุ่มฝุ่นและก๊าซ IC 63 ที่ส่องแสงสว่างในกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย (Cassiopeia) ห่างจากโลก 550 ปีแสง
ส่วนของเนบิวลาที่ดูคล้ายกับหมอกควันหรือผ้าคลุมสีขาวของดวงวิญญาณนั้น ที่จริงคือก๊าซไฮโดรเจนที่สัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตจนเกิดการเรืองแสงขึ้น โดยรังสีดังกล่าวแผ่มาจากดาวฤกษ์ยักษ์สีฟ้า Gamma Cassiopeiae ที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งดาวฤกษ์นี้ปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาเท่ากับดวงอาทิตย์ 34,000 ดวง ทำให้เนบิวลาผีต้องสลายตัวไปอย่างช้า ๆ
ภาพเนบิวลาผีที่นาซาเผยแพร่นี้ เป็นภาพที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลบันทึกไว้ได้ เมื่อเดือนสิงหาคมปี 2016
Cr. khaosod.co.th
เนบิวลากะโหลกไขว้ Skull and crossbones nebula
(เนบิวลา NGC 2467 หรือ “เนบิวลากะโหลกไขว้” ซึ่งกล้องโทรทรรศน์ MPG/ESO บันทึกภาพไว้เมื่อปี 2003 / ESO)
ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นบริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ใหม่จำนวนมากในเนบิวลากะโหลกไขว้ หรือเนบิวลา NGC 2467 ฉายา “โจรสลัดแห่งท้องฟ้าซีกโลกใต้” ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากโลก 13,000 ปีแสง
นักดาราศาสตร์ของอีเอสโอบอกว่า ส่วนที่ดำมืดเหมือนเบ้าตากลวงโบ๋ของหัวกะโหลกนั้น คือบริเวณที่มีฝุ่นหนาแน่นจนแสงจากดวงดาวที่อยู่ด้านในไม่สามารถหลุดรอดออกมาได้ นอกจากนี้ เนบิวลากะโหลกไขว้ไม่ได้เป็นเนบิวลาเดี่ยว แต่ประกอบด้วยกลุ่มดาวหลากหลายที่มารวมตัวกัน และเคลื่อนที่เกาะกลุ่มด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน
เนบิวลากะโหลกไขว้อยู่ในกลุ่มดาว Puppis ซึ่งเป็นศัพท์ที่มาจากคำว่า “ท้ายเรือ” ในภาษาฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในสามกลุ่มดาวซีกโลกใต้ที่มีความหมายเกี่ยวกับการเดินเรือ
Cr. khaosod.co.th
เนบิวลาบูมเมอแรง BOOMERANG NEBULA ที่หนาวที่สุดในจักรวาล
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบวัตถุที่เย็นที่สุดในจักรวาลเพิ่มเติม สิ่งนั้นก็คือเนบิวลาหรือกลุ่มเมฆหมอกของฝุ่น แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ ซึ่งเนบิวลานี้มีชื่อว่าบูมเมอแรง (Boomerang nebula) และถูกบันทึกเอาไว้เป็นสถิติที่น่าประหลาดใจเมื่อพบว่ามันคือวัตถุที่เย็นที่สุดในเอกภพ
เนบิวลาบูมเมอแรงนี้เป็นวัตถุที่ถูกเรียกว่า เนบิวลาดาวเคราะห์ก่อนเกิดหรือ (Protoplanetary nebula) ซึ่งเป็นระยะแรกของ Planetary nebula ที่ผิวนอกของดาวฤกษ์กำลังขยายตัวเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ เนบิวลาบูมเมอแรง (Boomerang Nebula) จัดเป็นสถานที่เย็นจัดที่สุดในเอกภพ โดยมีอุณหภูมิเพียง 1 เคลวินหรือติดลบ -272.15 องศาเซลเซียส นับเป็นอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในอวกาศอย่างมาก จากการใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา (Atacama Large Millimeter/submillimeter Array: ALMA) ที่ชิลี
เนบิวลานี้มีรูปร่างไม่สมดุล จึงได้ชื่อเนบิวลาบูเมอแรง ภายหลังเมื่อศึกษาด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ก็กลับได้เผยให้เห็นรูปร่างที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และพบว่ามันเหมือนโบว์ที่ผูกกันมากกว่า เนบิวลาบูเมอแรงนั้นอยู่ห่างจากโลก 5,000 ปีแสง ในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า (Centaurus) และค่อนข้างเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary nebula) ที่มีอายุน้อย
Cr.iill.me/
“เนบิวลารูปนกอินทรี”
M16 Eagle Nebula หรือ เนบิวลารูปนกอินทรี เป็นกระจุกดาวเปิดอายุน้อยในกลุ่มดาวงู และเป็นหนึ่งในบรรดาวัตถุท้องฟ้าที่มีชื่อเสียง เป็นที่สังเกตเห็นได้ง่าย ผู้ค้นพบคือ ฌอง-ฟิลิปป์ เดอ เชโซส์ (Jean-Philippe de Cheseaux) ในราวปี พ.ศ. 2288-2289 อยู่ในพื้นที่เกี่ยวเนื่องกับเนบิวลาจางๆ หรือย่านเอช 2 ที่ขึ้นบัญชีไว้ในรหัส ไอซี 4703 เป็นย่านก่อตัวของดาวฤกษ์ใหม่ที่อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 7,000 ปีแสง และมีส่วนของ “หอคอย” มีขนาดถึง 9.5 ปีแสงหรือเก้าสิบล้านล้านกิโลเมตร
(ภายในเนบิวลาอินทรีมีย่านที่เรียกว่า “เสาแห่งการก่อกำเนิด” (Pillars of Creation) ซึ่งเป็นย่านก่อตัวดาวฤกษ์ใหม่ที่ใหญ่มาก มีพื้นที่มืดเป็นส่วนเล็กๆ ที่เชื่อว่าน่าจะเป็นโปรโตสตาร์ ในปี พ.ศ. 2548)
ราวต้นปี พ.ศ. 2550 นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ที่แสดงว่า โครงสร้างเสาได้ถูกทำลายลงโดยการระเบิดของซูเปอร์โนวาแห่งหนึ่งเมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว
Cr.amarintv.com
เนบิวลาทารันทูลา
เนบิวลาทารันทูลาเป็นบริเวณก่อกำเนิดดวงดาวที่ใหญ่และซับซ้อนที่สุดในละแวกกาแล็กซีนี้ อยู่ในบริเวณของเมฆแมเจลแลนใหญ่ซึ่งเป็นกาแล็กซีบริวารรอบกาแล็กซีทางช้างเผือก รูปร่างคล้ายแมงมุมของเนบิวลานี้ทำให้มันถูกเรียกกันในนามของเนบิวลาทารันทูลา
อย่างไรก็ตาม แมงมุมทารันทูลาตัวนี้มีขนาดกว้างถึง 1000 ปีแสง และหากเรานำมันมาวางไว้ที่ตำแหน่งของเนบิวลานายพราน (1500 ปีแสง) เนบิวลานี้จะมีขนาดบนท้องฟ้าถึง 30 องศา (ดวงจันทร์เต็มดวง 60 ดวง)
จากภาพข้างบน เราจะพบรายละเอียดที่น่าสนใจมากมายของเนบิวลานี้ ขาของแมงมุมล้อมรอบกระจุกดาว NGC 2070 ที่เป็นที่อยู่ของดาวที่สว่างและใหญ่ที่สุดดวงหนึ่ง ปรากฎเป็นดาวสีฟ้าอยู่บริเวณกลางของภาพ เนื่องจากดาวขนาดใหญ่ใช้ชีวิตและดับลงอย่างรวดเร็ว จึงอาจไม่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจมากนักหากเราจะพบซากการเกิดซูเปอร์โนวาในบริเวณใกล้เคียงกับเนบิวลาทารันทูลา
Cr.narit.or.th
เนบิวลารูปหัวใจ เจ้าของฉายา ราชินีแคสสิโอเปีย
เกิดจากการรวมตัวกันของพลาสมาไอออนของไฮโดรเจนและอิเล็กตรอน จนกลายมาเป็นราชินีประจำท้องฟ้า
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 เว็บไซต์ สมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้ออกมาเผยภาพ เนบิวลารูปหัวใจ ซึ่งเป็นกลุ่มเมฆ หมอก แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ ที่รวมกันเป็นรูปหัวใจ ซึ่งเนบิวลาหัวใจนี้ อยู่บริเวณแขนเพอร์เซอุสแห่งกาแล็กซีทางช้างเผือก มองเห็นได้ในกลุ่มดาวค้างคาว หรือกลุ่มดาวแคสสิโอเปีย และได้รับฉายาว่า เป็นราชินีแคสสิโอเปีย
ทั้งนี้ เนบิวลารูปหัวใจ ถือเป็นเนบิวลาเปล่งแสง (Emission nebula) ที่เกิดจากการรวมตัวกันของพลาสมาไอออนของก๊าซไฮโดรเจน และอิเล็กตรอนอิสระ โดยที่เนบิวลารูปหัวใจ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 7,500 ปีแสง
สำหรับเส้นขอบสีแดงของเนบิวลารูปหัวใจและโครงร่างภายนอกนั้น เกิดจากการเปล่งแสงของมวลสารระหว่างดวงดาว สลับกับแถบฝุ่นควันมืด และรูปร่างของเนบิวลารูปหัวใจนี้ เกิดจากการพัดของลมสุริยะและการแผ่รังสีจากดาวยักษ์เพิ่งเกิดใหม่ในกระจุกดาว Melotte 15
Cr.hilight.kapook.com