นักวิชาการจี้ทบทวนห้ามนั่งท้ายรถกระบะ หลังสูญเสีย 13 นศ.
30 ก.ย. 2562 สืบเนื่องจากอุบัติเหตุรถกระบะบรรทุกผู้โดยสารมาเต็มคันพลิกคว่ำที่ปากทางเข้าซอยกิ่งแก้ว 21
ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 13 ศพ ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเมื่อครั้งปี 2560 รัฐบาลเคยจะออกกฎหมายห้ามนั่งท้ายรถกระบะ
แต่ก็เป็นคนไทยจำนวนมากที่ออกมาคัดค้านกันโดยไม่ห่วงความสูญเสีย
ศ.ดร.พิชัย ธานีรณานนท์ ประธานคณะอนุกรรมการสาขาการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและการเสียชีวิต
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวถึงเรื่องนี้ว่า
“การห้ามนั่งท้ายรถกระบะ ต้องมาพร้อมกับการให้เวลาผู้ผลิตรถยนต์ 1 ปี ในการเอาแค็บหรือเข็มขัดนิรภัยมาใส่
แต่ระหว่างนี้เราจะผ่อนผัน ผู้ผลิตถ้าจะผลิตรถกระบะออกมาขายคุณต้องทำให้ดีกว่านี้ ไม่เช่นนั้นก็จะมีมาอีก
มันต้องแก้เป็นระบบ คุณก็รู้อยู่ชาวบ้านต้องเอามาบรรทุกของและบรรทุกคน ออสเตรเลียเคยมีปัญหาแบบนี้
เดินทาง 50 กิโลเมตร เขาไม่รู้จะไปยังไงก็นั่งไปกันหลังรถกระบะ แต่รถกระบะของเขาจะใหญ่กว่าของเรา
นั่งกัน 10-20 คน แต่พอเกิดพลิกคว่ำเทกระจาด รัฐบาลเขาก็เลยต้องให้ใส่คอก ไม่ให้กระเด็นออกมา”
ส่วน
นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปภ.)
วิเคราะห์ ว่า จากข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถิติการเกิดอุบัติเหตุรถกระบะพลิกคว่ำ
ที่ผ่านมาย้อนหลังช่วง 5 ปี พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เพราะนิยมใช้ในการบรรทุก ทั้งคนและสิ่งของ
สอดคล้องกับข้อมูลของกรมทางหลวง ที่พบว่าอุบัติเหตุบนท้องถนน 1 ใน 3 เป็นรถกระบะ และแนวโน้มในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
รถกระบะเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25 เป็น ร้อยละ 32
ซึ่งพื้นฐานทั่วไปของรถกระบะถือมีความเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำได้ง่ายกว่ารถประเภทอื่น
เพราะจุดศูนย์ถ่วงของรถกระบะตามปกติจะอยู่ที่ประมาณ 60 เซ็นติเมตร
หากมีการบรรทุกคนนั่งท้ายประมาณ 10 คน จะทำให้ศูนย์ถ่วงของรถเพิ่มเป็น 70 เซ็นติเมตร
แต่หากมีการยืนร่วมด้วย ศูนย์ถ่วงรถจะเพิ่มเป็น 80 เซ็นติเมตร ทำให้ความเสี่ยงที่จะพลิกคว่ำเพิ่มเป็น 4 เท่า
และหากขับมาด้วยความเร็ว จะยิ่งส่งให้มีภาวะความเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำจนนำมาสู่การสูญเสียมากขึ้น
แต่สิ่งที่ทุกคนอาจไม่พึงระวัง คือ ขนาดหรือมิติตัวรถถือเป็นส่วนสําคัญของอุบัติเหตุครั้งนี้ คือ
รถที่จุดศูนย์ถ่วงสูง (Center of Gravity) ซึ่งหากบรรทุกคน มา 10 คน เฉลี่ยน้ำหนักคนละ 60 กิโลกรัม
จะมีความเสี่ยงในการพลิกควํ่ามากกว่ารถปกติสูงกว่าปกติถึงกว่า 2.5 เท่า ซึ่งเป็นไปตามหลักฟิสิกส์พื้นฐาน
อย่างเช่นกรณีล่าสุด ที่เกิดกับนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ โดยวิเคราะห์เบื้องต้นว่า
กรณีล่าสุดอาจขับมาด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 120 กิโลเมตร/ชม.
เมื่อพลิกคว่ำทำให้เห็นแรงเหวี่ยงชัดเจน หากเปรียบเทียบเท่ากับการตกตึก 19 ชั้น
นอกจากนี้ เมื่อมีการบรรทุกคนนั่งท้ายกระบะ ซึ่งไม่มีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (เข็มขัดนิรภัย)
เมื่อเกิดการหักเลี้ยวกะทันหันก็จะเกิดแรงเหวี่ยงที่เพิ่มขึ้น จนส่งผลให้เกิดการพลิกคว่ำ
คนที่อยู่บริเวณท้ายกระบะจึงมีลักษณะเหมือนการถูกเทกระจาดไปคนละทิศคนละทาง ซึ่งเมื่อเกิดการเทกระจาด
ผู้โดยสารท้ายกระบะจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าผู้โดยสารภายในตัวรถที่คาดเข็มขัดนิรภัยถึง 8 เท่า
สำหรับแนวทางการป้องกัน นพ.ธนะพงศ์ มองว่า ควรทบทวนการอนุญาตให้บรรทุกหรือนั่งท้ายรถกระบะ
หรือหากไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเข้มงวด เพราะมีกระแสต่อต้านเหมือนที่ผ่านมา
ตัวผู้ขับขี่และผู้ซ้อนควรป้องกันตัวเอง เช่น ไม่ควรบรรทุกหรือนั่งกระบะหลังหากไม่มีอุปกรณ์โครงเหล็กหรือหลังคา
เพราะหากเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ โครงสร้างเหล็กและหลังคาจะช่วยลดความรุนแรงและการสูญเสียได้
เพราะถึงแม้ในข้อกฎหมายจะระบุไว้ว่า หากนั่งท้ายกระบะต้องไม่เกิน 6 คน และความเร็วต้องไม่เกิน 80 กิโลเมตร/ชม.
แต่ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่กลับละเลยไม่คำนึกถึงความปลอดภัย
แต่ทางด้านชาวบ้านผู้ใช้รถกระบะ ได้ออกมาตอบโต้อย่างดุเดือด สรุปได้คร่าวๆ ว่า
รถกระบะเป็นของคนหาเช้ากินค่ำ
คนจนต้องใช้รถกระบะทำมาหากิน
ขับเร็วๆยังก็ตาย จะห้ามนั่งหลังกระบะทำไม
รถตำรวจยังนั่งหลังกระบะกันอยู่เลย
ชาวบ้านต่างจังหวัดต้องอาศัยนั่งท้ายกระบะตลอด
การห้ามนั่งท้ายกระบะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบ้าน
เมาแล้วขับ คือสาเหตุของอุบัติเหตุ ไม่เกี่ยวกับการนั่งท้ายกระบะ
ขับรถเร็ว เมาแล้วขับ ยังไงก็ตาย ไม่เกี่ยวกับการนั่งท้ายกระบะ
บลาบลาบลา
ทำไมคนส่วนใหญ่ ถึงไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการ กรณีห้ามนั่งท้ายกระบะ ?!?!
ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 13 ศพ ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเมื่อครั้งปี 2560 รัฐบาลเคยจะออกกฎหมายห้ามนั่งท้ายรถกระบะ
แต่ก็เป็นคนไทยจำนวนมากที่ออกมาคัดค้านกันโดยไม่ห่วงความสูญเสีย
ศ.ดร.พิชัย ธานีรณานนท์ ประธานคณะอนุกรรมการสาขาการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและการเสียชีวิต
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวถึงเรื่องนี้ว่า
วิเคราะห์ ว่า จากข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถิติการเกิดอุบัติเหตุรถกระบะพลิกคว่ำ
ที่ผ่านมาย้อนหลังช่วง 5 ปี พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เพราะนิยมใช้ในการบรรทุก ทั้งคนและสิ่งของ
สอดคล้องกับข้อมูลของกรมทางหลวง ที่พบว่าอุบัติเหตุบนท้องถนน 1 ใน 3 เป็นรถกระบะ และแนวโน้มในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
รถกระบะเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25 เป็น ร้อยละ 32
ซึ่งพื้นฐานทั่วไปของรถกระบะถือมีความเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำได้ง่ายกว่ารถประเภทอื่น
เพราะจุดศูนย์ถ่วงของรถกระบะตามปกติจะอยู่ที่ประมาณ 60 เซ็นติเมตร
หากมีการบรรทุกคนนั่งท้ายประมาณ 10 คน จะทำให้ศูนย์ถ่วงของรถเพิ่มเป็น 70 เซ็นติเมตร
แต่หากมีการยืนร่วมด้วย ศูนย์ถ่วงรถจะเพิ่มเป็น 80 เซ็นติเมตร ทำให้ความเสี่ยงที่จะพลิกคว่ำเพิ่มเป็น 4 เท่า
และหากขับมาด้วยความเร็ว จะยิ่งส่งให้มีภาวะความเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำจนนำมาสู่การสูญเสียมากขึ้น
กรณีล่าสุดอาจขับมาด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 120 กิโลเมตร/ชม.
เมื่อพลิกคว่ำทำให้เห็นแรงเหวี่ยงชัดเจน หากเปรียบเทียบเท่ากับการตกตึก 19 ชั้น
นอกจากนี้ เมื่อมีการบรรทุกคนนั่งท้ายกระบะ ซึ่งไม่มีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (เข็มขัดนิรภัย)
เมื่อเกิดการหักเลี้ยวกะทันหันก็จะเกิดแรงเหวี่ยงที่เพิ่มขึ้น จนส่งผลให้เกิดการพลิกคว่ำ
คนที่อยู่บริเวณท้ายกระบะจึงมีลักษณะเหมือนการถูกเทกระจาดไปคนละทิศคนละทาง ซึ่งเมื่อเกิดการเทกระจาด
ผู้โดยสารท้ายกระบะจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าผู้โดยสารภายในตัวรถที่คาดเข็มขัดนิรภัยถึง 8 เท่า
รถกระบะเป็นของคนหาเช้ากินค่ำ
คนจนต้องใช้รถกระบะทำมาหากิน
ขับเร็วๆยังก็ตาย จะห้ามนั่งหลังกระบะทำไม
รถตำรวจยังนั่งหลังกระบะกันอยู่เลย
ชาวบ้านต่างจังหวัดต้องอาศัยนั่งท้ายกระบะตลอด
การห้ามนั่งท้ายกระบะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบ้าน
เมาแล้วขับ คือสาเหตุของอุบัติเหตุ ไม่เกี่ยวกับการนั่งท้ายกระบะ
ขับรถเร็ว เมาแล้วขับ ยังไงก็ตาย ไม่เกี่ยวกับการนั่งท้ายกระบะ
บลาบลาบลา