ทำไมคนไทยไม่เข้าใจระหว่าง “ลดอุบัติเหตุ” กับ “ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุ”

เห็นกระทู้ในพันทิป หรือเวลารัฐจะออกนโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เช่น ห้ามนั่งท้ายกระบะ(ที่ไม่มีเครื่องป้องกัน) บังคับสวมหมวกกันน็อก บังคับคาดเข็มขัด ฯลฯ จะต้องมีพวกที่มาเถียงให้ไปควบคุมความเร็วรถ ห้ามพวกเมาแล้วขับ ห้ามฝ่าไฟแดง บลาๆๆๆๆ

บางทีก็สงสารคนที่มานั่งเถียงนั่งอธิบายแทน

คือไม่ได้บอกว่าสิ่งที่คุณคิดมันผิด จำกัดความเร็ว ห้ามเมาแล้วขับ ห้ามใช้โทรศัพท์ตอนขับรถ ห้ามฝ่าไฟแดง ห้ามขี่ย้อนศร น่ะถูกต้อง มันคือการ "ป้องกันอุบัติเหตุ" หรือ "ลดอุบัติเหตุ" นั่นเอง 
แต่ๆๆๆๆๆๆ อุบัติเหตุมันป้องกันได้ไม่ 100% ไง คุณขับดี เจอพวกเมาเหล้ามาชน เจอถนนลื่นน้ำมัน เจอน้ำขัง  ฯลฯ มันก็เกิดอุบัติเหตุแล้ว

แต่ทำยังไงให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด นั่นคือ "การลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุ"
เช่น 1  ถ้าไม่สวมหมวกกันน็อก ลื่นล้มเบาๆ หัวฟาดพื้นตาย แต่ถ้าใส่ก็รอด ( จะมีคนมาเถียงอีกว่า ขับเร็วๆ ต่อให้ใส่หมวกก็คอหักตาย ถูกครับ มันไม่ได้ป้องกัน 100% ไง อย่างน้อยคนที่ขับช้าๆ ก็รอด)

2 คาดเข็มขัดนิรภัย นี่เห็นบ่อย แค่เบรคกะทันหัน เมีย ลูก ที่นั่งในรถแล้วกระเด็นหัวกระแทกกระจก ตายหรือเจ็บ บางรายขับมาเร็วๆ กระเด็นออกมาคอหักตายนอกรถ

3 นั่งท้ายกระบะ ที่เป็นประเด็นตอนนี้ ที่หลายคนบอกว่าถ้าไม่ขับเร็วคึกคะนอง หรือเมาแล้วขับ คงไม่ตาย ถูกครับ แต่มันก็กันไม่ได้ไง ก็ต้องลดความสูญเสีย คนที่นั่งในรถก็รอดตายไป

และไเข้าใจตรรกะที่ว่า ให้ไปจำกัดเรื่องความเร็วสิ ไปห้ามเมาแล้วขับโน่น
เฮ้ยคุณ ทุกอย่างมันทำพร้อมกันได้ รณรงค์ไปพร้อมๆ กัน ไม่ใช่แบบมีตัง 200 แล้วต้องเลือกว่าจะกินหมูกะทะหรือชาบู

 ช่วยกันเถิดครับ แล้วอย่าอ้างความจนหาเช้ากินค่ำเลย เพราะส่วนใหญ่แทบไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มมากมาย

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่