กลายเป็นกระแสข่าวที่โด่งดังของสังคมไทย หลังมีการประกาศใช้กฎหมาย “ห้ามนั่งท้ายกระบะ&แคป” ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลาย และแน่นอนมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บางคนถึงขั้นประชดจะขายรถกระบะไปซื้อรถสปอร์ตกันเลยทีเดียว
วันนี้ในฐานะผู้มีประสบการณ์ในวงการความปลอดภัยและการขนส่งอย่างปลอดภัยมากว่า 20 ปี ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ในมุมมองของตนเองบ้าง
ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจประโยชน์ของเข็มขัดนิรภัยก่อน.... ครั้งหนึ่งมีโอกาสได้เดินทางโดยเครื่องบินไปทำงานที่หาดใหญ่ ระหว่างที่กำลังสอนพนักงานขับรถอยู่นั้น มีบุรุษท่านหนึ่งยกมือถามผมขึ้นมา ประหนึ่งต้องการลองวิชาและท้าทายแดดลม
พนักงาน- อาจารย์ครับ อาจารย์บอกให้พวกผมคาดเข็มขัดนิรภัยสามจุดทุกครั้งก่อนทำการเคลื่อนรถฯ อาจารย์นั่งเครื่องบินมาอันตรายกว่าขับรถตั้งเยอะ ได้คาดเข็มขัดนิรภัยสามจุดหรือเปล่าครับ???
(หากให้ตอบแบบเร็วๆ โดยปราศจากความรู้และประสบการณ์ ก็คงถามไปว่า “พี่กวนทีนผมเหรอครับ” หรือไม่ก็ “แล้วเครื่องบินมันมีให้เหรอครับ เข็มขัดนิรภัยสามจุด” แต่ด้วยความเป็นอาจารย์ มันต้องมีกึ๋นและวิชาการกันหน่อย เอ้า..จัด)
อาจารย์- เป็นคำถามที่น่าสนใจครับ ไหนๆก็ถามมาแล้วขออธิบายให้เคลียร์เลยแล้วกัน ก่อนอื่นขออธิบายประเภทของเข็มขัดนิรภัยก่อนนะครับ ประเภทแรก เข็มขัดนิรภัยสองจุด คือ เข็มขัดนิรภัยที่ยึดจากพื้นหรือเบาะจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งโดยคาดผ่านหน้าตักของผู้โดยสาร ประโยชน์ของเข็มขัดนิรภัยประเภทนี้คือ ป้องกันผู้โดยสารหลุดออกจากที่นั่ง โดยเฉพาะแรงที่เกิดจากแรงเหวี่ยง ประเภทที่สอง เข็มขัดนิภัยสามจุด คือ เพิ่มเติมจากสองจุดโดยยึดเข็มขัดที่คานของตัวรถหรือด้านมุมบนของเบาะโดยคาดเข็มขัดผ่านไหล่ผู้โดยสารไม่ว่าจะเป็นไหล่ขวาหรือซ้ายอีกหนึ่งจุด ป้องกันผู้โดยสารพุ่งหรือกระแทกกับวัตถุด้านหน้า โดยเฉพาะแรงที่เกิดจากการชน ส่วนประเภทสุดท้าย เข็มขัดนิรภัยสี่จุด จะคาดผ่านไหล่ทั้งสองข้างไปยึดกับด้านหลังของตัวรถ ส่วนใหญ่ติดตั้งกับรถที่ใช้ความเร็วสูง และมีโอกาสกระแทกและพลิกคว่ำสูง เช่น รถแข่ง อธิบายซะยืดยาว ขอกลับมาที่คำถามครับ ผมนั่งเครื่องบินมาแน่นอนครับไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยสามจุด คาดแค่สองจุดครับ เนื่องจากไม่มีโอกาสเลยหรือมีโอกาสน้อยมากๆ ที่เครื่องบินจะเบรคกระทันหันแล้วหัวกระแทก หรือชนกับเครื่องบินด้วยกันแล้วพุ่งกระเด็นไปนอกตัวเครื่องบิน หากแต่มีโอกาสที่เครื่องจะตกหรือกระแทกพื่น หากตัวยังติดกับเบาะที่ออกแบบให้หลุดออกเป็นแถว โดยไม่หลุดกระเด็นออกจากตัวเบาะก็นับว่ายังมีโอกาสรอดชีวิต ซึ่งก็เคยมีตัวอย่างผู้รอดชีวิตมาแล้ว อีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รถโฟล์คลิฟท์ เราจะสังเกตได้ว่ามีเพียงเข็มขัดนิรภัยสองจุด นั่นหมายความว่า รถโฟล์คลิฟท์ไม่สามารถทำความเร็วจนหากเกิดการชนกับวัตถุใดๆจะทำให้ผู้ขับขี่พุ่งไปด้านหน้าหรือกระแทกกับพวงมาลัยได้ หากแต่มีโอกาสที่จะหลุดออกจากตัวรถได้จากแรงเหวี่ยง และนี่คือเหตุผลทั้งหมดของการคาดเข็มขัดนิรภัย และประโยชน์ของเข็มขัดนิรภัยแต่ละประเภท (จบนะ!)
พนักงาน- อาจารย์แล้วพวกผมถูกกำหนดให้ขับแค่ไม่เกิน 60 กม./ชม. รถหัวลากคันเบ้อเริ่ม เบรคยังไงก็ไม่พุ่งออกไปนอกตัวรถหรอกครับ อย่างงี้ไม่ต้องคาดก็ได้สิครับ
(นึกว่าจะจบ! สงสัยที่คิดไว้ตอนแรกจะจริงละมั้ง ถามดีมั้ย พี่กวนทีนผมเหรอครับ? อืมมม ไม่ดีกว่า... เกิดเป็นอาจารย์ต้องไม่อคติ ฮึๆ)
อาจารย์- ก็เป็นไปได้นะครับ ถ้าบนท้องถนนมีแค่รถเราคันเดียว แต่ผมให้พี่ลองนึกภาพตามง่ายๆ ถ้าเรากำลังผ่านสี่แยก แล้วมีรถบรรทุกเบรคแตกมาชนรถเรา ภาพที่เกิดขึ้นระหว่างการคาดเข็มขัดนิรภัยกับไม่คาดจะแตกต่างกันไหมครับ... เช่นกัน สำหรับผู้โดยสารที่อยู่บนรถ ถึงแม้ผู้ขับขี่จะคาดเข็มขัดนิรภัยแต่ผู้โดยสารที่นั่งด้านข้าง หรือด้านหลังไม่คาดฯ ก็ใช่ว่าเราเองจะปลอดภัย ลองนึกภาพกรณีรถพลิกคว่ำนะครับ คนที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยก็จะกลิ้งไปกลิ้งมาอยู่บนรถเหมือนลูกพินบอล ไม่ว่าเท้า เข่า ศอก ก็ถาโถมใส่ผู้ที่คาดเข็มขัดที่อยู่กับที่ ประหนึ่งนักมวยที่โดนต้อนให้จนมุม แต่ความรุนแรงคงมากกว่าหลายเท่า พอจะนึกภาพออกนะครับ
(ยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอีกมากมายระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ แต่ขอยกมาแค่นี้ก่อนละกัน)
กลับมาเรื่องกระแสประเด็นข่าวที่เกริ่นไว้ตั้งแต่แรก อยู่ที่ว่าเราจะเอาประเด็นอะไรมาเป็นเรื่องหลักกันนะครับ ถ้าเอาเรื่องความปลอดภัยเป็นที่ตั้ง แน่นอนเราปฏิเสธกันไม่ได้เลยว่า กฎหมายนี้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านความปลอดภัยเป็นอย่างสูง อย่างที่ผมพยายามยกตัวอย่างให้ท่านเห็นภาพ แต่ประชาชนบางส่วน บ้างก็ว่าตัวเองไม่เมาขณะขับรถ ตัวเองขับรถช้า ตัวเองใช้ขนส่งคนงาน ขนส่งลูกหลานก็ว่าไป แต่เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบนท้องถนนแห่งสยามประเทศเรานั้นช่างหลากหลายไปด้วยประเภทของผู้ขับขี่ การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มต้นด้วยตัวเรา ส่วนเรื่องความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นหลังจากบังคับใช้กฏหมาย ทุกคนล้วนมีเหตุผลของตน ก็จำเป็นต้องหาทางออกอย่างเหมาะสมและไม่ขัดต่อกฎหมาย เรื่องกฏหมายความปลอดภัยถ้าบังคับใช้กับบางกลุ่ม เช่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องความไม่เห็นด้วยหรือความขัดแย้งจะมีน้อยมาก เนื่องด้วยส่วนใหญ่แล้วได้ผ่านพ้นความต้องการทางกายภาพหรือปัจจัยสี่ มุ่งสู่ความต้องการที่สูงขึ้นไม่ว่าความมั่นคง ปลอดภัย หรือการยอมรับ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฏีความต้องการ ของมาสโลว์ (Maslow's hierarchy of needs) ดังนั้นอย่าแปลกใจหากกฏหมายความปลอดภัยไม่ว่าเรื่องใดหากนำไปบังคับใช้กับคนทุกกลุ่มในสังคม จะถูกเริ่มต้นด้วยการต่อต้าน ความขัดแย้ง หรือความไม่เห็นด้วย ด้วยเหตุผลส่วนตัวต่างๆนาๆ โดยส่วนตัวผมว่ากฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยมีประโยชน์อย่างแน่นอน เพราะสุดท้ายผู้ปฏิบัติเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์ หาได้เกิดกับผู้อื่นไม่ หากแต่การขัดต่อกฎหมายนั้น อย่าด่วนสรุปทุกครั้งว่าคือความไม่ปลอดภัย เพราะความเสี่ยงสามารถบริหารจัดการได้ และความปลอดภัยมันมีเหตุผลของมัน การขนส่งคนงานจากไร่ไปอีกไร่ห่างกันแค่สองกิโลเมตรให้ใช้รถตู้ก็คงไม่เหมาะ แต่คนที่พยายามจะปฏิเสธกฎหมายนี้ หาได้มีเหตุผลเช่นนี้เสมอไป โปรดใช้วิจารณญาณให้มากครับผม
แล้วพบกันใหม่นะจ๊ะ
Dangerous Safety
อีกหนึ่งความเห็นเรื่อง กฎหมาย “ห้ามนั่งท้ายกระบะ&แคป”
วันนี้ในฐานะผู้มีประสบการณ์ในวงการความปลอดภัยและการขนส่งอย่างปลอดภัยมากว่า 20 ปี ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ในมุมมองของตนเองบ้าง
ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจประโยชน์ของเข็มขัดนิรภัยก่อน.... ครั้งหนึ่งมีโอกาสได้เดินทางโดยเครื่องบินไปทำงานที่หาดใหญ่ ระหว่างที่กำลังสอนพนักงานขับรถอยู่นั้น มีบุรุษท่านหนึ่งยกมือถามผมขึ้นมา ประหนึ่งต้องการลองวิชาและท้าทายแดดลม
พนักงาน- อาจารย์ครับ อาจารย์บอกให้พวกผมคาดเข็มขัดนิรภัยสามจุดทุกครั้งก่อนทำการเคลื่อนรถฯ อาจารย์นั่งเครื่องบินมาอันตรายกว่าขับรถตั้งเยอะ ได้คาดเข็มขัดนิรภัยสามจุดหรือเปล่าครับ???
(หากให้ตอบแบบเร็วๆ โดยปราศจากความรู้และประสบการณ์ ก็คงถามไปว่า “พี่กวนทีนผมเหรอครับ” หรือไม่ก็ “แล้วเครื่องบินมันมีให้เหรอครับ เข็มขัดนิรภัยสามจุด” แต่ด้วยความเป็นอาจารย์ มันต้องมีกึ๋นและวิชาการกันหน่อย เอ้า..จัด)
อาจารย์- เป็นคำถามที่น่าสนใจครับ ไหนๆก็ถามมาแล้วขออธิบายให้เคลียร์เลยแล้วกัน ก่อนอื่นขออธิบายประเภทของเข็มขัดนิรภัยก่อนนะครับ ประเภทแรก เข็มขัดนิรภัยสองจุด คือ เข็มขัดนิรภัยที่ยึดจากพื้นหรือเบาะจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งโดยคาดผ่านหน้าตักของผู้โดยสาร ประโยชน์ของเข็มขัดนิรภัยประเภทนี้คือ ป้องกันผู้โดยสารหลุดออกจากที่นั่ง โดยเฉพาะแรงที่เกิดจากแรงเหวี่ยง ประเภทที่สอง เข็มขัดนิภัยสามจุด คือ เพิ่มเติมจากสองจุดโดยยึดเข็มขัดที่คานของตัวรถหรือด้านมุมบนของเบาะโดยคาดเข็มขัดผ่านไหล่ผู้โดยสารไม่ว่าจะเป็นไหล่ขวาหรือซ้ายอีกหนึ่งจุด ป้องกันผู้โดยสารพุ่งหรือกระแทกกับวัตถุด้านหน้า โดยเฉพาะแรงที่เกิดจากการชน ส่วนประเภทสุดท้าย เข็มขัดนิรภัยสี่จุด จะคาดผ่านไหล่ทั้งสองข้างไปยึดกับด้านหลังของตัวรถ ส่วนใหญ่ติดตั้งกับรถที่ใช้ความเร็วสูง และมีโอกาสกระแทกและพลิกคว่ำสูง เช่น รถแข่ง อธิบายซะยืดยาว ขอกลับมาที่คำถามครับ ผมนั่งเครื่องบินมาแน่นอนครับไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยสามจุด คาดแค่สองจุดครับ เนื่องจากไม่มีโอกาสเลยหรือมีโอกาสน้อยมากๆ ที่เครื่องบินจะเบรคกระทันหันแล้วหัวกระแทก หรือชนกับเครื่องบินด้วยกันแล้วพุ่งกระเด็นไปนอกตัวเครื่องบิน หากแต่มีโอกาสที่เครื่องจะตกหรือกระแทกพื่น หากตัวยังติดกับเบาะที่ออกแบบให้หลุดออกเป็นแถว โดยไม่หลุดกระเด็นออกจากตัวเบาะก็นับว่ายังมีโอกาสรอดชีวิต ซึ่งก็เคยมีตัวอย่างผู้รอดชีวิตมาแล้ว อีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รถโฟล์คลิฟท์ เราจะสังเกตได้ว่ามีเพียงเข็มขัดนิรภัยสองจุด นั่นหมายความว่า รถโฟล์คลิฟท์ไม่สามารถทำความเร็วจนหากเกิดการชนกับวัตถุใดๆจะทำให้ผู้ขับขี่พุ่งไปด้านหน้าหรือกระแทกกับพวงมาลัยได้ หากแต่มีโอกาสที่จะหลุดออกจากตัวรถได้จากแรงเหวี่ยง และนี่คือเหตุผลทั้งหมดของการคาดเข็มขัดนิรภัย และประโยชน์ของเข็มขัดนิรภัยแต่ละประเภท (จบนะ!)
พนักงาน- อาจารย์แล้วพวกผมถูกกำหนดให้ขับแค่ไม่เกิน 60 กม./ชม. รถหัวลากคันเบ้อเริ่ม เบรคยังไงก็ไม่พุ่งออกไปนอกตัวรถหรอกครับ อย่างงี้ไม่ต้องคาดก็ได้สิครับ
(นึกว่าจะจบ! สงสัยที่คิดไว้ตอนแรกจะจริงละมั้ง ถามดีมั้ย พี่กวนทีนผมเหรอครับ? อืมมม ไม่ดีกว่า... เกิดเป็นอาจารย์ต้องไม่อคติ ฮึๆ)
อาจารย์- ก็เป็นไปได้นะครับ ถ้าบนท้องถนนมีแค่รถเราคันเดียว แต่ผมให้พี่ลองนึกภาพตามง่ายๆ ถ้าเรากำลังผ่านสี่แยก แล้วมีรถบรรทุกเบรคแตกมาชนรถเรา ภาพที่เกิดขึ้นระหว่างการคาดเข็มขัดนิรภัยกับไม่คาดจะแตกต่างกันไหมครับ... เช่นกัน สำหรับผู้โดยสารที่อยู่บนรถ ถึงแม้ผู้ขับขี่จะคาดเข็มขัดนิรภัยแต่ผู้โดยสารที่นั่งด้านข้าง หรือด้านหลังไม่คาดฯ ก็ใช่ว่าเราเองจะปลอดภัย ลองนึกภาพกรณีรถพลิกคว่ำนะครับ คนที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยก็จะกลิ้งไปกลิ้งมาอยู่บนรถเหมือนลูกพินบอล ไม่ว่าเท้า เข่า ศอก ก็ถาโถมใส่ผู้ที่คาดเข็มขัดที่อยู่กับที่ ประหนึ่งนักมวยที่โดนต้อนให้จนมุม แต่ความรุนแรงคงมากกว่าหลายเท่า พอจะนึกภาพออกนะครับ
(ยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอีกมากมายระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ แต่ขอยกมาแค่นี้ก่อนละกัน)
กลับมาเรื่องกระแสประเด็นข่าวที่เกริ่นไว้ตั้งแต่แรก อยู่ที่ว่าเราจะเอาประเด็นอะไรมาเป็นเรื่องหลักกันนะครับ ถ้าเอาเรื่องความปลอดภัยเป็นที่ตั้ง แน่นอนเราปฏิเสธกันไม่ได้เลยว่า กฎหมายนี้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านความปลอดภัยเป็นอย่างสูง อย่างที่ผมพยายามยกตัวอย่างให้ท่านเห็นภาพ แต่ประชาชนบางส่วน บ้างก็ว่าตัวเองไม่เมาขณะขับรถ ตัวเองขับรถช้า ตัวเองใช้ขนส่งคนงาน ขนส่งลูกหลานก็ว่าไป แต่เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบนท้องถนนแห่งสยามประเทศเรานั้นช่างหลากหลายไปด้วยประเภทของผู้ขับขี่ การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มต้นด้วยตัวเรา ส่วนเรื่องความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นหลังจากบังคับใช้กฏหมาย ทุกคนล้วนมีเหตุผลของตน ก็จำเป็นต้องหาทางออกอย่างเหมาะสมและไม่ขัดต่อกฎหมาย เรื่องกฏหมายความปลอดภัยถ้าบังคับใช้กับบางกลุ่ม เช่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องความไม่เห็นด้วยหรือความขัดแย้งจะมีน้อยมาก เนื่องด้วยส่วนใหญ่แล้วได้ผ่านพ้นความต้องการทางกายภาพหรือปัจจัยสี่ มุ่งสู่ความต้องการที่สูงขึ้นไม่ว่าความมั่นคง ปลอดภัย หรือการยอมรับ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฏีความต้องการ ของมาสโลว์ (Maslow's hierarchy of needs) ดังนั้นอย่าแปลกใจหากกฏหมายความปลอดภัยไม่ว่าเรื่องใดหากนำไปบังคับใช้กับคนทุกกลุ่มในสังคม จะถูกเริ่มต้นด้วยการต่อต้าน ความขัดแย้ง หรือความไม่เห็นด้วย ด้วยเหตุผลส่วนตัวต่างๆนาๆ โดยส่วนตัวผมว่ากฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยมีประโยชน์อย่างแน่นอน เพราะสุดท้ายผู้ปฏิบัติเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์ หาได้เกิดกับผู้อื่นไม่ หากแต่การขัดต่อกฎหมายนั้น อย่าด่วนสรุปทุกครั้งว่าคือความไม่ปลอดภัย เพราะความเสี่ยงสามารถบริหารจัดการได้ และความปลอดภัยมันมีเหตุผลของมัน การขนส่งคนงานจากไร่ไปอีกไร่ห่างกันแค่สองกิโลเมตรให้ใช้รถตู้ก็คงไม่เหมาะ แต่คนที่พยายามจะปฏิเสธกฎหมายนี้ หาได้มีเหตุผลเช่นนี้เสมอไป โปรดใช้วิจารณญาณให้มากครับผม
แล้วพบกันใหม่นะจ๊ะ
Dangerous Safety