เห็นกระทู้ช่วงนี้ มักจะมีข้อโต้เถียงว่า เศรษฐกิจดีหรือไม่ดี และ กระทู้คนเป็นหนี้เยอะ ก็เลยวิเคราะห์ดูบ้างครับ
ก่อนอื่นผมคิดว่ามี Key Word ที่สำคัญ คือ
1. ยุคสังคมบัจจุบันคือ ยุค Social Media
2. คำพูดที่ว่า รวยกระจุก จนกระจาย
3. ภาวะหนี้ภาคครัวเรือนสูง
4. ปัจจัยการแข่งขันทางการค้าทั้งในและนอกประเทศ และอื่นๆ
เราลองมาวิเคราะห์ในแต่ละข้อดู
1. ยุคสังคมบัจจุบันคือ ยุค Social Media ให้พฤติกรรมของคนในสังคมเปลี่ยนไป
- คนในสังคมมีการสร้าง "Image" ขึ้น ในโลก Online ทั้ง Facebook, Instargram หรืออื่นๆมากมาย ซึ่งเหล่านี้คือ ภาพลักษณ์ที่ทุกคนนำมาโชว์ในสังคม แตกต่างจากสมัยก่อนที่ คนทั่วไปมีลักษณะ Low profile ไม่มีภาพลักษณ์ที่กระจาย
สิ่งที่ตามมาคือ >> การบริโภคสินค้าจากร้านในระดับ Top brand หากจะขยายความคือ สินค้าที่สร้างภาพลักษณ์ให้ตัวผู้บริโภคนั้นดูดี อาจจะเป็นร้านอาหารที่มีชื่อ แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อ ห้างใหญ่มีชื่อ ซึ่งร้านเหล่านั้นมีเรื่องของ Marketing ที่ดี ทำให้ร้านอื่นๆที่เป็น Local brand ต่างๆ ขาดรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้อย่างชัดเจน
- ค่านิยม ความสะดวก ความสบาย ในการเข้าถึงสินค้า มันง่ายมากที่จะเข้าถึงสินค้าที่ต้องการโดยอาศัยแค่โทรศัพท์มือถือ และใช้การขนส่งสินค้าผ่านระบบ Logistic ต่างๆที่มีเยอะแยะมากมายในบัจจุบัน
สิ่งที่ตามมาคือ>> การบริโภคสินค้าจากร้านที่มีการสร้างตลาดทาง Online ก็เช่นกัน ร้านเหล่านี้ก็ได้แก่ร้าน Top brand ทั้งไปอีกนั้นแหละ ทำให้พวกร้านที่เป็น Local brand ต่างๆ ขาดรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้อย่างชัดเจน อีกเช่นเดิม
2. คำพูดที่ว่า รวยกระจุก จนกระจาย
จากข้อที่ 1 ที่ผมได้กล่าวไป จะเห็นได้ว่าเม็ดเงิน โดยเฉพาะเงินจากกลุ่มที่เรียกได้ว่าเล่น Social จะวิ่งไปหาปลายทางเพียงตลาดบนเท่านั้น คือ ร้านดัง ห้างดัง ที่เที่ยวดังๆ หรือกลุ่มร้านที่มีการตลาดที่แข่ง เช่น ขาย Online ราคาถูก หรืออื่นๆ จะเห็นเม็ดเงินไม่ได้กระจายไปยังร้านระดับรองๆ ล่างๆลงไป ยุคบัจจุบันทำเลกลับเริ่มไม่สำคัญอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องกินอาหารจากร้าน หรือตลาดใกล้บ้าน เพราะสามารถสั่งจากร้านดังๆได้ เพราะแค่ใช้โทรศัพท์ หรือถ้าจะออกจากบ้านก็เลือกที่จะไปเดินห้างเพื่อ Check in ถ่ายรูป สร้าง Image ในโลก Social
3. ภาวะหนี้ภาคครัวเรือนสูง
จากข้อ 1 และ 2 ในจึงส่งผลสะท้อนมายังข้อนี้ เพราะ สินค้าในกลุ่ม Top brand ส่วนใหญ่มีมูลค่าที่สูงตาม Demand ที่คนต้องการ การไปเดินห้างดัง หรือ ทานอาหารร้านดังย่อมแพงกว่า ร้านตามสั่งแถวบ้าน รวมถึงค่านิยมของบัจจุบันที่ต้องการสร้าง Image ดังที่กล่าวมา มันเป็นการสร้างนิสัย ใช้เงินเกินตัว และการใช้บัตรเครดิตกับโลก Social มันเป็นการใช้จ่ายหลังของระบบ Online ซึ่งมันคือ การดึงเงินอนาคตมาใช้และทำลายวินัยทางการเงิน
สุดท้ายเมื่อ ภาวะหนี้ภาคครัวเรือนสูง จึงทำให้กำลังซื้อของคนเริ่มหายไป เมื่อกำลังซื้อน้อย คนที่เริ่มลดการซื้อก็จะพยายามเลือกซื้อ โดยแสวงหาการซื้อที่คุ้มค่า คือ ซื้อน้อยลง แต่ต้องตอบโจทย์การสร้าง Image ให้กับตัวเองด้วย
4. การแข่งขันทางการค้าทั้งในและนอกประเทศ
- หลายๆธุรกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภคเท่าเดิมหรือน้อยลง แต่ผู้ขายที่จะเข้ามาแข่งขันมีมากขึ้น ซึ่งส่งผลสะท้อน เช่น กำไรของผู้ประกอบการลดลง ทำให้ต้อง Cost Saving โดยการเลิกจ้าง ในหลายๆบริษัทปรับลดคน >> กลุ่มผู้ใช้แรงงานตกงาน ไม่มีกำลังซื้อ
- ค่าเงินบาทแข็งค่า ส่งผลกระทบต่อ ธุรกิจส่งออก ในส่วนนี้ชัดเจน กำไรของผู้ประกอบการด้านส่งออกลดลง ทำให้ต้อง Cost Saving โดยการเลิกจ้าง ในหลายๆบริษัทปรับลดคนเช่นกัน >> กลุ่มผู้ใช้แรงงานตกงาน ไม่มีกำลังซื้อ
- สินค้าภาคการเกษตรตกต่ำ >> กลุ่มเกษตรกร ส่วนใหญ่ของประเทศไม่มีกำลังซื้อ
ทั้งแรงงานและภาคเกษตรกร ส่งผลต่อกลุ่มร้านค้า ผู้ประกอบการที่เป็น Local brand ทั้งหลายครับ ทำให้เม็ดเงินไม่ลงไป จึงเกิดภาระเศรษฐกิจไม่ดีในกลุ่มนี้เป็นวงจรวนเวียนไป
จะเห็นว่าความรู้สึกว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่ว่าตอนนี้ Position ของเราอยู่ในกลุ่มไหน ในวงจรของระบบเศรษฐกิจครับ ถ้าเราสามารถทำให้เราเป็น Top brand ของผู้บริโภคได้ เราก็ยังรู้สึกว่า มันก็ยังดีอยู่นะ แต่ถ้า เราอยู่ในกลุ่ม Local brand ตอนนี้ก็เหนื่อยหน่อยครับ
ทั้งนี้จาการวิเคราะห์มาผมประเมินจากสภาพแวดล้อมทั่วๆไปนะครับ ของกลุ่มๆเพื่อนๆ พี่ๆน้องๆ ใกล้ตัว บริษัทผมเองก็ผลประกอบการแย่ และต้องลดคน 20% รวมถึงบริษัทเพื่อนๆผม ก็แย่ลดคนเช่นกันหลายบริษัท เลยมาวิเคราะห์ดู ผิดพลาดประการใด ขออภัยครับ เนื่องจากไม่ได้จบมาทางนี้โดยตรง
วิเคราะห์เล่นๆว่าเศรษฐกิจตอนนี้ไม่ดีจริงรึเปล่า?
ก่อนอื่นผมคิดว่ามี Key Word ที่สำคัญ คือ
1. ยุคสังคมบัจจุบันคือ ยุค Social Media
2. คำพูดที่ว่า รวยกระจุก จนกระจาย
3. ภาวะหนี้ภาคครัวเรือนสูง
4. ปัจจัยการแข่งขันทางการค้าทั้งในและนอกประเทศ และอื่นๆ
เราลองมาวิเคราะห์ในแต่ละข้อดู
1. ยุคสังคมบัจจุบันคือ ยุค Social Media ให้พฤติกรรมของคนในสังคมเปลี่ยนไป
- คนในสังคมมีการสร้าง "Image" ขึ้น ในโลก Online ทั้ง Facebook, Instargram หรืออื่นๆมากมาย ซึ่งเหล่านี้คือ ภาพลักษณ์ที่ทุกคนนำมาโชว์ในสังคม แตกต่างจากสมัยก่อนที่ คนทั่วไปมีลักษณะ Low profile ไม่มีภาพลักษณ์ที่กระจาย
สิ่งที่ตามมาคือ >> การบริโภคสินค้าจากร้านในระดับ Top brand หากจะขยายความคือ สินค้าที่สร้างภาพลักษณ์ให้ตัวผู้บริโภคนั้นดูดี อาจจะเป็นร้านอาหารที่มีชื่อ แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อ ห้างใหญ่มีชื่อ ซึ่งร้านเหล่านั้นมีเรื่องของ Marketing ที่ดี ทำให้ร้านอื่นๆที่เป็น Local brand ต่างๆ ขาดรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้อย่างชัดเจน
- ค่านิยม ความสะดวก ความสบาย ในการเข้าถึงสินค้า มันง่ายมากที่จะเข้าถึงสินค้าที่ต้องการโดยอาศัยแค่โทรศัพท์มือถือ และใช้การขนส่งสินค้าผ่านระบบ Logistic ต่างๆที่มีเยอะแยะมากมายในบัจจุบัน
สิ่งที่ตามมาคือ>> การบริโภคสินค้าจากร้านที่มีการสร้างตลาดทาง Online ก็เช่นกัน ร้านเหล่านี้ก็ได้แก่ร้าน Top brand ทั้งไปอีกนั้นแหละ ทำให้พวกร้านที่เป็น Local brand ต่างๆ ขาดรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้อย่างชัดเจน อีกเช่นเดิม
2. คำพูดที่ว่า รวยกระจุก จนกระจาย
จากข้อที่ 1 ที่ผมได้กล่าวไป จะเห็นได้ว่าเม็ดเงิน โดยเฉพาะเงินจากกลุ่มที่เรียกได้ว่าเล่น Social จะวิ่งไปหาปลายทางเพียงตลาดบนเท่านั้น คือ ร้านดัง ห้างดัง ที่เที่ยวดังๆ หรือกลุ่มร้านที่มีการตลาดที่แข่ง เช่น ขาย Online ราคาถูก หรืออื่นๆ จะเห็นเม็ดเงินไม่ได้กระจายไปยังร้านระดับรองๆ ล่างๆลงไป ยุคบัจจุบันทำเลกลับเริ่มไม่สำคัญอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องกินอาหารจากร้าน หรือตลาดใกล้บ้าน เพราะสามารถสั่งจากร้านดังๆได้ เพราะแค่ใช้โทรศัพท์ หรือถ้าจะออกจากบ้านก็เลือกที่จะไปเดินห้างเพื่อ Check in ถ่ายรูป สร้าง Image ในโลก Social
3. ภาวะหนี้ภาคครัวเรือนสูง
จากข้อ 1 และ 2 ในจึงส่งผลสะท้อนมายังข้อนี้ เพราะ สินค้าในกลุ่ม Top brand ส่วนใหญ่มีมูลค่าที่สูงตาม Demand ที่คนต้องการ การไปเดินห้างดัง หรือ ทานอาหารร้านดังย่อมแพงกว่า ร้านตามสั่งแถวบ้าน รวมถึงค่านิยมของบัจจุบันที่ต้องการสร้าง Image ดังที่กล่าวมา มันเป็นการสร้างนิสัย ใช้เงินเกินตัว และการใช้บัตรเครดิตกับโลก Social มันเป็นการใช้จ่ายหลังของระบบ Online ซึ่งมันคือ การดึงเงินอนาคตมาใช้และทำลายวินัยทางการเงิน
สุดท้ายเมื่อ ภาวะหนี้ภาคครัวเรือนสูง จึงทำให้กำลังซื้อของคนเริ่มหายไป เมื่อกำลังซื้อน้อย คนที่เริ่มลดการซื้อก็จะพยายามเลือกซื้อ โดยแสวงหาการซื้อที่คุ้มค่า คือ ซื้อน้อยลง แต่ต้องตอบโจทย์การสร้าง Image ให้กับตัวเองด้วย
4. การแข่งขันทางการค้าทั้งในและนอกประเทศ
- หลายๆธุรกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภคเท่าเดิมหรือน้อยลง แต่ผู้ขายที่จะเข้ามาแข่งขันมีมากขึ้น ซึ่งส่งผลสะท้อน เช่น กำไรของผู้ประกอบการลดลง ทำให้ต้อง Cost Saving โดยการเลิกจ้าง ในหลายๆบริษัทปรับลดคน >> กลุ่มผู้ใช้แรงงานตกงาน ไม่มีกำลังซื้อ
- ค่าเงินบาทแข็งค่า ส่งผลกระทบต่อ ธุรกิจส่งออก ในส่วนนี้ชัดเจน กำไรของผู้ประกอบการด้านส่งออกลดลง ทำให้ต้อง Cost Saving โดยการเลิกจ้าง ในหลายๆบริษัทปรับลดคนเช่นกัน >> กลุ่มผู้ใช้แรงงานตกงาน ไม่มีกำลังซื้อ
- สินค้าภาคการเกษตรตกต่ำ >> กลุ่มเกษตรกร ส่วนใหญ่ของประเทศไม่มีกำลังซื้อ
ทั้งแรงงานและภาคเกษตรกร ส่งผลต่อกลุ่มร้านค้า ผู้ประกอบการที่เป็น Local brand ทั้งหลายครับ ทำให้เม็ดเงินไม่ลงไป จึงเกิดภาระเศรษฐกิจไม่ดีในกลุ่มนี้เป็นวงจรวนเวียนไป
จะเห็นว่าความรู้สึกว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่ว่าตอนนี้ Position ของเราอยู่ในกลุ่มไหน ในวงจรของระบบเศรษฐกิจครับ ถ้าเราสามารถทำให้เราเป็น Top brand ของผู้บริโภคได้ เราก็ยังรู้สึกว่า มันก็ยังดีอยู่นะ แต่ถ้า เราอยู่ในกลุ่ม Local brand ตอนนี้ก็เหนื่อยหน่อยครับ
ทั้งนี้จาการวิเคราะห์มาผมประเมินจากสภาพแวดล้อมทั่วๆไปนะครับ ของกลุ่มๆเพื่อนๆ พี่ๆน้องๆ ใกล้ตัว บริษัทผมเองก็ผลประกอบการแย่ และต้องลดคน 20% รวมถึงบริษัทเพื่อนๆผม ก็แย่ลดคนเช่นกันหลายบริษัท เลยมาวิเคราะห์ดู ผิดพลาดประการใด ขออภัยครับ เนื่องจากไม่ได้จบมาทางนี้โดยตรง