ขั้นตอนของวิธีแก้กรรม

ขั้นตอนของวิธีแก้กรรม

  การแก้ไขกรรม คือ การแสดงความยอมรับว่าตนได้ทำผิดล่วงเกินผู้อื่น สัตว์อื่น เป็นต้น และขอขมากรรม และสำรวมระวังต่อไป ขั้นตอนในการแก้กรรมนั้น มีดังนี้คือ

  ๑. ยอมรับความจริง คือ ยอมรับว่าเราได้ทำอกุศลกรรม ทำผิด ทำสิ่งนั้นผิดจริงๆ รู้ว่าตนผิด ผิดตรงไหน อย่างไร

  ๒. มีจิตสำนึก สำนึกผิด คือ สำนึกยอมรับว่าตนทำผิดจริง ได้ล่วงเกินสิทธิของผู้อื่นจริง เรารู้แล้ว่าสิ่งนั้นผิด และจะไม่ทำผิดสิ่งนั้นอีกต่อไป

  จิตสำนึก คือ ยอมรับว่าเราผิด เต็มใจเลยว่าเราผิด แล้วเราจะต้องรับผลที่ต้องถูกทำโทษ หรือต้องได้รับทุกข์ ยอมรับในผลกรรม ไม่ใช่รับแต่ "เหตุ" ต้องรับที่ "ผล" ด้วย ไม่ใช่เวลารับที่ผลว่า "เกินไป" "ไม่เอา" อะไรอย่างนี้ คำว่ายอมรับนี้ ต้องจริงใจ เต็มใจ และปิติ ยินดีที่จะแก้ไข เช่น ตัวอย่างต้องทำงานหนัก ๕ เดือน แต่พอทำงานหนัก ๕ เดือนแล้วบ่นไปเรื่อย แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร 

  บางคนแก้กรรมแล้ว บอกว่าท้อ จิตใจหวั่นไหว เพราะท้อ นี่แหละ "ท้อ" เป็นจุดมิจฉา เป็นตัวจุดลบ แล้วเรายังบอกว่าท้อ แล้วผลจะสำเร็จได้อย่างไร ไม่มีทางเลย จะให้ผู้รู้ชี้แนะได้เลย แล้วผู้รู้จะชี้แนะได้อย่างไร

  ๓. ขอขมากรรม คือ ขอขมากรรมต่อเจ้ากรรมนายเวร 

  ๔. ทำบุญ สร้างกุศล คือ ปฏิญาณตนจะสำรวม ระมัดระวังไม่ทำผิดสิ่งนั้นอีกต่อไป และทำบุญ สร้างกุศลส่งให้กับเจ้ากรรมนายเวร

  ๕. อโหสิกรรม คือ ไม่ถือสาเอาความ เหมือนเรื่องไม่เกิดขึ้น

  สิ่งที่ยุติธรรมก็คือ ยุติในธรรม ก็คือ สิ่งที่ผิดเราไม่ทำแล้ว นั่นแหละ "ยุติธรรม" อย่างนี้เรารู้ว่าผิดแล้วยังจะไปทำผิดอีกแล้วจะไปยุติธรรมตรงไหน มีแต่ทำต่อ
  ยกตัวอย่าง พี่นัทตีแดง แดงก็ตีพี่นัทต่อ อย่างนี้จะเรียกว่ายุติธรรมไหม?  แล้วอย่างนี้มันยุติตรงไหน มันทำต่อ นี่แหละ จองเวร ถ้ายุติก็ต้องอโหสิกรรมแก่ฉันและให้แก่เธอ อย่างนี้ก็จบ ยุติธรรม เราทำดีย่อมได้สิทธิ์ดี ต้องปกติได้ผลดี นี่แหละเป็นปกติ นี่แหละเป็นศีลแล้ว ถ้าเราไม่กระทำสิ่งที่ผิดต่อ นี่แหละคือศีล ในธรรมบอกว่าเราทำเหตุดี ย่อมได้รับผลดี นี่แหละเป็นศีล

  ศีลในความหมายปรมัตถ์ แปลว่า ปกติ หมายความว่า เป็นไปตามภาวะธรรม เราทำดีย่อมได้ดี 

  อย่างนี้ ยุติธรรมไหม? ก็ยุติ คนทั่วไปคิดว่า ยุติธรรมจะต้องเอาคืน จะต้องทำให้เขาเสียหาย อย่างนี้ไม่ยุติธรรม แก้แค้น เพื่อมาเรียกร้องความยุติธรรม อย่างนี้ถูกไหม?

  อย่างนี้เป็น "อยุติธรรม" เป็นการเอายุติธรรมมาหลอก คือ เราจะไปแก้แค้น ไม่ใช่ว่าไปทำร้ายเขาก่อนนี่ เพียงแต่เอาคืน เราไม่ได้ไปแก้แค้นนี่ แต่เราต้องการยุติธรรม อย่างนี้เป็นการถูกหลอกไหมล่ะ? ก็ต้องถูกหลอกไปอีก เพราะว่าไปแปลคำว่า "ยุติธรรม" ผิดเพี้ยนไปนั่นเอง

  ยุติธรรม ก็คือ ไม่ไปทำต่อ ก็ในเมื่อไม่ดีแล้วเราจะไปทำต่อทำไม ถ้าทำต่อก็ไม่มีทางยุติก็ต้องจองเวรไปเรื่อยๆ มันยุติตรงไหน? คำว่า "ยุติ" ก็คือ "อโหสิ"

  ยุติธรรม คือ ธรรมที่ให้เกิดยุติ คือ อโหสิ ก็จะไม่จองเวรกันต่อ พอเรายุติ เราก็จะมีศีลแล้ว ศีลก็คือปกติในภาวะธรรมนั้น เราทำดีในภาวะธรรมนี้ก็ต้องได้ผลดี นี่แหละยุติธรรมไหม? พอเรายุติ ธรรมก็จะให้สิ่งดีๆ แก่เรา

  ถ้าเราไม่อโหสิ ก็จะเป็นการจองเวรไปเรื่อยๆ แล้วจะไปยุติธรรมตรงไหน เราจองเวร เราก็ต้องผิดศีลนี่ ในธรรมเราผิดศีล เราก็โดนไปเรื่อยๆ โดนไปโดนมา อย่างนี้แหละไม่ปกติในศีล

  ศีล คือ ปกติในภาวะธรรมนั้นๆ เราทำดีเรายอมได้รับผลดีแน่นอน แต่ถ้าเราทำไม่ดีย่อมไม่ได้รับผลดีแน่นอน นี่คือปกติของศีล อย่าไปบอกว่า "ปกติๆๆๆ" แล้วแปลคำว่าปกติไม่ออก "ปกติ" ก็คือ คุณทำดีย่อมได้ผลดี คุณทำไม่ดีก็ย่อมได้รับผลไม่ดี นี่แหละปกติ ปกติของธรรมเป็นเช่นนี้แล

  พอยุติแล้ว เข้าใจแล้ว ปล่อยวางในการจองเวร ไปปฏิบัติความดี ช่วยเหลือคนอื่น ก็จะได้กลายเป็นเทวดา นี่แหละ ยุติธรรมไหม? ยุติธรรม ธรรมก็จะให้ยุติธรรม นี่แหละ คือศีล  ศีลนี่สำคัญมาก อย่าไปดูถูกศีลนะ

^_^  ..._/\_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่