เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องแปลกใหม่ แต่เกิดจากความคิดในหัว ที่คอยตั้งคำถามและหาคำตอบให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าสิ่งที่เราเป็นอยู่มันดีแล้วอย่างนั้นหรือ ซึ่งบางคนอาจไม่เข้าใจ
สังคมทุกวันนี้ที่ผู้คนต่างแก่งแย่งแข่งขันกันเพื่อให้ตัวเองรอด ซึ่งบางคนนั้นก็รอด แต่ส่วนใหญ่นั้นกลับไม่รอดต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบากเรียกได้ว่าปากกัดตีนถีบเลยก็ว่าได้ นั่นเพราะเกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่มากขึ้นในทุกขณะ ทำให้คิดว่าที่จริงแล้วอาจเป็นเพราะระบบหรือไม่ที่เอื้อให้คนแก่งแย่งกันเพื่อเอาตัวรอดซึ่งบางคนนั้นอาจมีความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุด แต่บางคนนั้นดิ้นรนเพียงเพื่อขอให้แค่ไม่อดอยากมีที่อยู่ มีกินมีใช้พอประมาณตามสมควรไปจนสิ้นอายุไขเท่านั้น
ปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากระบบไม่มีลิมิตควบคุมการถือครองทรัพย์สินเงินทองว่ามีมากเท่าใดจึงจะเพียงพอต่อคนๆ หนึ่งที่สามาถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในเงินจำนวนนั้นๆ ไปจนสิ้นอายุไข และเหลือเป็นมรดกตกทอดตามสมควร ทำให้คนที่รวยมากอยู่แล้วมีข้อได้เปรียบทั้งในเรื่องเงินทุน และทางสังคม ใช้ข้อได้เปรียบนี้กอบโกยหาผลประโยชน์ และผลกำไรมากขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด แต่เงินในระบบนั้นก็มีอยู่เท่าเดิม การที่มีคนได้ประโยชน์นั้นย่อมต้องมีฝ่ายที่เสียประโยชน์
ตัวอย่างเช่น บริษัท A มีผลกำไรมากทำให้รวยขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่าบริษัทนั้นเป็นผู้ได้ประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์นั้นก็คือผู้ที่ซื้อสินค้าของบริษัทนี้ แต่เพราะการทำธุรกิจต้องมีผลกำไรจึงจะอยู่รอดเป็นเรื่องปกติในระบบทุนนิยม แต่ระบบนั้นไม่ได้กำหนดลิมิตสูงสุดของรายได้ว่าเจ้าของบริษัทนี้ควรมีเงินเท่าไรจึงจะเพียงพอสำหรับคนๆ หนึ่งที่จะใช้ไม่หมดไปชั่วชีวิต บริษัทนั้นๆ จึงหากำไรไปเรื่อยๆ ให้กับตัวเองและครอบครัวไม่มีที่สิ้นสุด
แต่หากกำหนดว่าคนๆ หนึ่งมีเงินซัก 100 ล้านบาทเป็นลิมิตสูงสุด แล้วรายได้ส่วนที่เหลือเกินจากนั้นสามารถยกให้ญาติพี่น้อง ลูกหลาน หรือใครก็ได้ตามความประสงค์ หากไม่ประสงค์เจาะจงให้ใครก็ให้ยกเข้าเป็นรายได้ของรัฐเพื่อใช้บริหารประเทศเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งจะเห็นว่าเป็นระบบที่เกื้อหนุนกัน ระบบนี้สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความยากไร้ด้อยโอกาสให้เป็นผลสำเร็จได้
แต่อาจมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้ก็คือผู้ที่มีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาล ส่วนผู้ที่เห็นด้วยก็คงเป็นคนยากไร้ด้อยโอกาส และกลุ่มชนชั้นกลางซึ่งมีจำนวนรวมกันมากกว่า 90% ของประชากรในประเทศ แต่ทุกอย่างย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลง และย่อมต้องมีผู้ที่ยอมเสียสละเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีกว่า สังคมที่น่าอยู่กว่า เป็นการเสียสละที่จะลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเท่าเทียมที่ยั่งยืน
...เราจะสามาถอยู่ในระบบที่ใครดีใครได้ มือใครยาวสาวได้สาวเอากันไปชั่วลูกชั่วหลานอย่างนั้นหรือ ???
(ผู้เขียนไม่ทราบเช่นกันว่าระบบนี้คือระบบอะไร อาจเป็นทุนนิยมที่มีลิมิต กึ่งสังคมนิยม จึงขอเรียกว่าเป็นระบบเกื้อกูลล่ะกัน)
ระบบทุนนิยมที่ใช้กันอยู่มันดีที่สุดแล้วหรือ ? หากมีระบบใหม่ๆเข้ามาทดแทนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม จะพบปัญหาใดบ้าง ?
สังคมทุกวันนี้ที่ผู้คนต่างแก่งแย่งแข่งขันกันเพื่อให้ตัวเองรอด ซึ่งบางคนนั้นก็รอด แต่ส่วนใหญ่นั้นกลับไม่รอดต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบากเรียกได้ว่าปากกัดตีนถีบเลยก็ว่าได้ นั่นเพราะเกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่มากขึ้นในทุกขณะ ทำให้คิดว่าที่จริงแล้วอาจเป็นเพราะระบบหรือไม่ที่เอื้อให้คนแก่งแย่งกันเพื่อเอาตัวรอดซึ่งบางคนนั้นอาจมีความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุด แต่บางคนนั้นดิ้นรนเพียงเพื่อขอให้แค่ไม่อดอยากมีที่อยู่ มีกินมีใช้พอประมาณตามสมควรไปจนสิ้นอายุไขเท่านั้น
ปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากระบบไม่มีลิมิตควบคุมการถือครองทรัพย์สินเงินทองว่ามีมากเท่าใดจึงจะเพียงพอต่อคนๆ หนึ่งที่สามาถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในเงินจำนวนนั้นๆ ไปจนสิ้นอายุไข และเหลือเป็นมรดกตกทอดตามสมควร ทำให้คนที่รวยมากอยู่แล้วมีข้อได้เปรียบทั้งในเรื่องเงินทุน และทางสังคม ใช้ข้อได้เปรียบนี้กอบโกยหาผลประโยชน์ และผลกำไรมากขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด แต่เงินในระบบนั้นก็มีอยู่เท่าเดิม การที่มีคนได้ประโยชน์นั้นย่อมต้องมีฝ่ายที่เสียประโยชน์
ตัวอย่างเช่น บริษัท A มีผลกำไรมากทำให้รวยขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่าบริษัทนั้นเป็นผู้ได้ประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์นั้นก็คือผู้ที่ซื้อสินค้าของบริษัทนี้ แต่เพราะการทำธุรกิจต้องมีผลกำไรจึงจะอยู่รอดเป็นเรื่องปกติในระบบทุนนิยม แต่ระบบนั้นไม่ได้กำหนดลิมิตสูงสุดของรายได้ว่าเจ้าของบริษัทนี้ควรมีเงินเท่าไรจึงจะเพียงพอสำหรับคนๆ หนึ่งที่จะใช้ไม่หมดไปชั่วชีวิต บริษัทนั้นๆ จึงหากำไรไปเรื่อยๆ ให้กับตัวเองและครอบครัวไม่มีที่สิ้นสุด
แต่หากกำหนดว่าคนๆ หนึ่งมีเงินซัก 100 ล้านบาทเป็นลิมิตสูงสุด แล้วรายได้ส่วนที่เหลือเกินจากนั้นสามารถยกให้ญาติพี่น้อง ลูกหลาน หรือใครก็ได้ตามความประสงค์ หากไม่ประสงค์เจาะจงให้ใครก็ให้ยกเข้าเป็นรายได้ของรัฐเพื่อใช้บริหารประเทศเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งจะเห็นว่าเป็นระบบที่เกื้อหนุนกัน ระบบนี้สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความยากไร้ด้อยโอกาสให้เป็นผลสำเร็จได้
แต่อาจมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้ก็คือผู้ที่มีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาล ส่วนผู้ที่เห็นด้วยก็คงเป็นคนยากไร้ด้อยโอกาส และกลุ่มชนชั้นกลางซึ่งมีจำนวนรวมกันมากกว่า 90% ของประชากรในประเทศ แต่ทุกอย่างย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลง และย่อมต้องมีผู้ที่ยอมเสียสละเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีกว่า สังคมที่น่าอยู่กว่า เป็นการเสียสละที่จะลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเท่าเทียมที่ยั่งยืน
...เราจะสามาถอยู่ในระบบที่ใครดีใครได้ มือใครยาวสาวได้สาวเอากันไปชั่วลูกชั่วหลานอย่างนั้นหรือ ???
(ผู้เขียนไม่ทราบเช่นกันว่าระบบนี้คือระบบอะไร อาจเป็นทุนนิยมที่มีลิมิต กึ่งสังคมนิยม จึงขอเรียกว่าเป็นระบบเกื้อกูลล่ะกัน)