คุยกับทูตหญิงฟินแลนด์ – เอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย ซาตู ซูอิกคารี–เคลเวน วัย 52 ปี คลุมไหล่ด้วยผ้าลายดอกป๊อปปี้สีฟ้าสดใส หรือดอกอูนิกโกะ ของ มารีเมกโกะ แบรนด์สัญชาติฟินแลนด์ เผยว่า ตัวละครที่ชื่นชอบในวรรณกรรมเด็กของฟินแลนด์เรื่อง “มูมิน” คือหนูนิด “ลิตเติ้ล มาย” เด็กหญิงผมแดง หน้าตาเจ้าเล่ห์และชอบสืบเรื่องชาวบ้าน
ทูตหญิงให้สัมภาษณ์ข่าวสดอิงลิชว่า เรื่องมูมินเป็นสากลและแฝงปรัชญาเกี่ยวกับค่านิยมเรื่องความอดทนและการเคารพผู้อื่น
ตัวละครหลัก คือ มู ผู้ซุกซน แต่น่ารักและมีความเห็นอกเห็นใจ แม้แต่เด็กวายร้ายอย่างหนูนิดก็มีความเข้มแข็งและเชื่อมั่นในตัวเอง ถึงจะดูร้ายแต่จิตใจดี
มูมินได้รับความนิยมอย่างสูงและผลิตเป็นสินค้าหลากหลาย ตั้งแต่หนังสือจนถึงชาไข่มุก เช่นเดียวกับมารีเมกโกะ ที่มีสินค้าประเภทเสื้อผ้าและเฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้านำเข้าจากฟินแลนด์มายังไทย
มูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศ ประมาณ 500 ล้านยูโร หรือประมาณ 16.8 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสินค้าที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักกันมากนัก เช่น ส่วนประกอบเครื่องจักรอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์การเกษตรจากไทย และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีพลังงานจากฟินแลนด์
ขณะที่ชาวฟินแลนด์นิยมมาเที่ยวไทย โดยมีนักท่องเที่ยวมาไทยประมาณ 5.53 ล้าน คนต่อปี ถือเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมนอกจากยุโรป และมีชาวฟินแลนด์มาพำนักในไทยประมาณ 2,000 คน
ท่านทูตบอกว่า กระแส “ฟลีสกัม” ในภาษาสวีเดน หรือแนวคิดว่าการเดินทางโดยเครื่องบินช่างน่าอับอาย เพราะเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมยังไม่ส่งผลกระทบต่อการมาเที่ยวไทย แต่กำลังเป็นสิ่งที่หลายคนตระหนัก นักการทูตหญิงคิดว่า คนที่ไม่มาเยี่ยมท่านอาจเป็นเพราะไม่อยากเดินทางด้วยเครื่องบินก็เป็นได้
ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมของชาวฟินแลนด์สะท้อนให้เห็นเป็นเรื่องราวในสารคดีชวนหัว เรื่อง My Stuff (2013) – มาย สตัฟฟ์ (2556) ซึ่งจะฉายให้คนไทยชมที่เอ็มควอเทียร์ วันที่ 27 ก.ย.นี้ ในเทศกาล ภาพยนตร์นอร์ดิก เป็นเรื่องราวขบขันของชายคนหนึ่งที่เก็บสมบัติ สิ่งของไว้ในห้องเก็บของ และยอมให้ตัวเองหยิบของออกจากห้องเก็บของได้วันละชิ้นเท่านั้น ส่วนภาพยนตร์จากฟินแลนด์อีกเรื่องหนึ่งคือ The Last Deal 2019 – เดอะ ลาสต์ ดีล (2562) เป็นเรื่องราวชีวิตของผู้สูงอายุกับนักธุรกิจ
ตอนท้ายทูตหญิงฟินแลนด์กล่าวถึงระบบการศึกษาของฟินแลนด์ที่ยังยอดเยี่ยมระดับโลกว่า ใช้ต่อยอดหรือนำมาประยุกต์ใช้กับนักการศึกษาไทยได้ แม้ระบบการศึกษาไทยกับฟินแลนด์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะการศึกษาไทยเป็นระบบจ่ายมากได้มาก ทำให้ลูกหลานชนชั้นกลางถึงสูงเท่านั้นที่เข้าโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนนานาชาติได้
เมื่อให้ท่านทูตสะท้อนถึงบุคลิกของชาวฟินแลนด์ ได้คำตอบว่า ชาวฟินแลนด์ ค่อนข้างเก็บเนื้อเก็บตัวและขี้อาย ช่างสังเกตสถานการณ์ต่างๆ แต่ก็มีคนช่างพูดช่างคุยจำนวนมากเช่นกัน
ซาตู ซูอิกคารี–เคลเวน มาประจำการที่ไทย 3 ปีแล้ว หลังจากประจำการที่นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส
ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์
https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_2914089
คุยกับ “ทูตหญิงฟินแลนด์” ชาติกำเนิด “มูมิน-มารีเมกโกะ”
ทูตหญิงให้สัมภาษณ์ข่าวสดอิงลิชว่า เรื่องมูมินเป็นสากลและแฝงปรัชญาเกี่ยวกับค่านิยมเรื่องความอดทนและการเคารพผู้อื่น
ตัวละครหลัก คือ มู ผู้ซุกซน แต่น่ารักและมีความเห็นอกเห็นใจ แม้แต่เด็กวายร้ายอย่างหนูนิดก็มีความเข้มแข็งและเชื่อมั่นในตัวเอง ถึงจะดูร้ายแต่จิตใจดี
มูมินได้รับความนิยมอย่างสูงและผลิตเป็นสินค้าหลากหลาย ตั้งแต่หนังสือจนถึงชาไข่มุก เช่นเดียวกับมารีเมกโกะ ที่มีสินค้าประเภทเสื้อผ้าและเฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้านำเข้าจากฟินแลนด์มายังไทย
มูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศ ประมาณ 500 ล้านยูโร หรือประมาณ 16.8 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสินค้าที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักกันมากนัก เช่น ส่วนประกอบเครื่องจักรอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์การเกษตรจากไทย และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีพลังงานจากฟินแลนด์
ขณะที่ชาวฟินแลนด์นิยมมาเที่ยวไทย โดยมีนักท่องเที่ยวมาไทยประมาณ 5.53 ล้าน คนต่อปี ถือเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมนอกจากยุโรป และมีชาวฟินแลนด์มาพำนักในไทยประมาณ 2,000 คน
ท่านทูตบอกว่า กระแส “ฟลีสกัม” ในภาษาสวีเดน หรือแนวคิดว่าการเดินทางโดยเครื่องบินช่างน่าอับอาย เพราะเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมยังไม่ส่งผลกระทบต่อการมาเที่ยวไทย แต่กำลังเป็นสิ่งที่หลายคนตระหนัก นักการทูตหญิงคิดว่า คนที่ไม่มาเยี่ยมท่านอาจเป็นเพราะไม่อยากเดินทางด้วยเครื่องบินก็เป็นได้
ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมของชาวฟินแลนด์สะท้อนให้เห็นเป็นเรื่องราวในสารคดีชวนหัว เรื่อง My Stuff (2013) – มาย สตัฟฟ์ (2556) ซึ่งจะฉายให้คนไทยชมที่เอ็มควอเทียร์ วันที่ 27 ก.ย.นี้ ในเทศกาล ภาพยนตร์นอร์ดิก เป็นเรื่องราวขบขันของชายคนหนึ่งที่เก็บสมบัติ สิ่งของไว้ในห้องเก็บของ และยอมให้ตัวเองหยิบของออกจากห้องเก็บของได้วันละชิ้นเท่านั้น ส่วนภาพยนตร์จากฟินแลนด์อีกเรื่องหนึ่งคือ The Last Deal 2019 – เดอะ ลาสต์ ดีล (2562) เป็นเรื่องราวชีวิตของผู้สูงอายุกับนักธุรกิจ
ตอนท้ายทูตหญิงฟินแลนด์กล่าวถึงระบบการศึกษาของฟินแลนด์ที่ยังยอดเยี่ยมระดับโลกว่า ใช้ต่อยอดหรือนำมาประยุกต์ใช้กับนักการศึกษาไทยได้ แม้ระบบการศึกษาไทยกับฟินแลนด์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะการศึกษาไทยเป็นระบบจ่ายมากได้มาก ทำให้ลูกหลานชนชั้นกลางถึงสูงเท่านั้นที่เข้าโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนนานาชาติได้
เมื่อให้ท่านทูตสะท้อนถึงบุคลิกของชาวฟินแลนด์ ได้คำตอบว่า ชาวฟินแลนด์ ค่อนข้างเก็บเนื้อเก็บตัวและขี้อาย ช่างสังเกตสถานการณ์ต่างๆ แต่ก็มีคนช่างพูดช่างคุยจำนวนมากเช่นกัน
https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_2914089