สิ่งที่เราเรียกว่า สัญชาตญาณ เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ให้เราเพื่อความอยู่รอด แต่ในเมื่อสถานการณ์ในอดีตกับปัจจุบันมันแตกต่างกันออกไป สัญชาตญาณ จึงลดบทบาทลง
แล้วความสุข ความทุกข์ละ เราสามารถบอกได้ไหมว่าเป็นสิ่งหลงเหลือจากอดีตมาเหมือนกัน เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีการตัดสินใจได้ดีขึ้น เพราะสมองมนุษย์ทำงานโดยการเปรียบเทียบ เหมือนไม้ท่อนหนึ่ง ถ้าเราหยิบมันขึ้นมาแล้วเราบอกว่ามันยาวไป ก็แสดงว่าไม้ในใจที่เราต้องการนั้นมันสั้นกว่านี้
สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดมาจากสารเคมีและกลไกในสมองของเราเอง ถูกไหมครับ?
ความดีหรือเลวก็เช่นกัน มันเป็นสิ่งที่เราคิดขึ้นมาเอง การที่เราช่วยเพื่อนคนนึงให้ประสบความสำเร็จ อาจจะมีคนอื่นอีกหลายคนที่ล้มเหลวเพราะเพื่อนคนๆนั้น ด้วยเหตุที่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนต้องแข่งขันกันเพื่ออยู่รอด
แล้วถ้างั้นสังคมที่ไม่มีการแข่งขันกันเลยละ จะเกิดอะไรขึ้น?
ผมคิดว่ามีสองแบบคือ 1 เป็นสังคมที่พัฒนาจนถึงขีดสุดแล้ว 2 เป็นสังคมปกติแต่จะไม่เกิดการพัฒนา ไม่ก็ช้ามาก
เป็นไปได้ไหมครับที่จะเคยมีมนุษย์ที่ไม่มีทั้งความสุขและความทุกข์ แต่ได้ตายและไม่เหลือรอดมาถึงทุกวันนี้
ตามหลักของวิวัฒนาการ ถ้าเคยมีก็แสดงว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราอยู่รอดมาถึงทุกวันนี้คือ สัญชาตญาณ ความทุกข์ ความสุข
แปลว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งชั่วร้ายที่เราต้องกำจัดมันออกไปหรือป่าว?
ผมขอสมมติเรื่องนึงนะครับ
วันหนึ่งเราไปพบอารยธรรมมนุษย์แห่งใหม่ ที่แตกต่างและไม่ได้การรบกวนจากภายนอก ปรากฏว่ารูปแบบสังคมของเขาเต็มไปด้วยสงคราม แต่ที่น่าตกใจคือถ้าพวกเขาทุกคนถูกปลูกฝั่งและมีความสุขกับสงคราม สภาวะแวดล้อมก็เอื้อในการทำสงคราม เทคโนโลยีเขาสูงกว่าพวกเรามาก พวกเขามีความสุขกับความลำบากและการฆ่าฟันมาก
ถ้าเราพูดว่าสังคมของพวกเขาโหดร้าย แต่ในมุมมองของเขา เขาอาจจะบอกว่าสังคมของเราต่างหากที่นุ่มนวลเกินไป
ถ้าจะบอกว่าสังคมของเราดีกว่าเขา เราจะวัดจากอะไรละในเมื่อพวกเขาอาจจะมีความสุขมากกว่าพวกเราทุกวันนี้ก็ได้ เทคโนโลยีเขาก็สูงกว่าเรา
ในตอนนี้เราจะเอาเกณฑ์วัดความสุขของเราไปวัดกับสังคมของพวกเขาได้ไหม? ผมอยากรู้ว่าถ้าเป็นสังคมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง สามัญสำนึกของเรา หรือแม้แต่ศาสนาของเราจะเข้าใจพวกเขาหรือป่าว
ความดีไม่มีจริง? ความสุขเป็นแค่สารเคมี?
แล้วความสุข ความทุกข์ละ เราสามารถบอกได้ไหมว่าเป็นสิ่งหลงเหลือจากอดีตมาเหมือนกัน เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีการตัดสินใจได้ดีขึ้น เพราะสมองมนุษย์ทำงานโดยการเปรียบเทียบ เหมือนไม้ท่อนหนึ่ง ถ้าเราหยิบมันขึ้นมาแล้วเราบอกว่ามันยาวไป ก็แสดงว่าไม้ในใจที่เราต้องการนั้นมันสั้นกว่านี้
สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดมาจากสารเคมีและกลไกในสมองของเราเอง ถูกไหมครับ?
ความดีหรือเลวก็เช่นกัน มันเป็นสิ่งที่เราคิดขึ้นมาเอง การที่เราช่วยเพื่อนคนนึงให้ประสบความสำเร็จ อาจจะมีคนอื่นอีกหลายคนที่ล้มเหลวเพราะเพื่อนคนๆนั้น ด้วยเหตุที่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนต้องแข่งขันกันเพื่ออยู่รอด
แล้วถ้างั้นสังคมที่ไม่มีการแข่งขันกันเลยละ จะเกิดอะไรขึ้น?
ผมคิดว่ามีสองแบบคือ 1 เป็นสังคมที่พัฒนาจนถึงขีดสุดแล้ว 2 เป็นสังคมปกติแต่จะไม่เกิดการพัฒนา ไม่ก็ช้ามาก
เป็นไปได้ไหมครับที่จะเคยมีมนุษย์ที่ไม่มีทั้งความสุขและความทุกข์ แต่ได้ตายและไม่เหลือรอดมาถึงทุกวันนี้
ตามหลักของวิวัฒนาการ ถ้าเคยมีก็แสดงว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราอยู่รอดมาถึงทุกวันนี้คือ สัญชาตญาณ ความทุกข์ ความสุข
แปลว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งชั่วร้ายที่เราต้องกำจัดมันออกไปหรือป่าว?
ผมขอสมมติเรื่องนึงนะครับ
วันหนึ่งเราไปพบอารยธรรมมนุษย์แห่งใหม่ ที่แตกต่างและไม่ได้การรบกวนจากภายนอก ปรากฏว่ารูปแบบสังคมของเขาเต็มไปด้วยสงคราม แต่ที่น่าตกใจคือถ้าพวกเขาทุกคนถูกปลูกฝั่งและมีความสุขกับสงคราม สภาวะแวดล้อมก็เอื้อในการทำสงคราม เทคโนโลยีเขาสูงกว่าพวกเรามาก พวกเขามีความสุขกับความลำบากและการฆ่าฟันมาก
ถ้าเราพูดว่าสังคมของพวกเขาโหดร้าย แต่ในมุมมองของเขา เขาอาจจะบอกว่าสังคมของเราต่างหากที่นุ่มนวลเกินไป
ถ้าจะบอกว่าสังคมของเราดีกว่าเขา เราจะวัดจากอะไรละในเมื่อพวกเขาอาจจะมีความสุขมากกว่าพวกเราทุกวันนี้ก็ได้ เทคโนโลยีเขาก็สูงกว่าเรา
ในตอนนี้เราจะเอาเกณฑ์วัดความสุขของเราไปวัดกับสังคมของพวกเขาได้ไหม? ผมอยากรู้ว่าถ้าเป็นสังคมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง สามัญสำนึกของเรา หรือแม้แต่ศาสนาของเราจะเข้าใจพวกเขาหรือป่าว