รักต้องฆ่า
แมงมุมหลายชนิด ตัวผู้ต้องเสี่ยงชีวิตเพื่อผสมพันธุ์กับตัวเมีย เนื่องจากแมงมุมตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมาก และแมงมุมตัวเมียก็มีนิสัยดุร้ายเหลือเกิน ตัวผู้จะต้องเริ่มจากการเลียบๆ เคียงๆเข้าหาตัวเมีย หากไม่เป็นที่ถูกใจ ตัวผู้ก็อาจถูกตัวเมียจับกินตั้งแต่ขั้นนี้ และถึงแม้ว่าจะเป็นที่ต้องตาต้องใจของตัวเมีย มีโอกาสได้ผสมพันธุ์กัน แต่หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจตัวผู้ก็มักตกเป็นอาหารอันโอชะของตัวเมียอยู่ดี แมงมุมหลายชนิดจึงมักถูกตั้งชื่อว่า แมงมุมแม่หม้าย ด้วยเหตุนี้
สัตว์อีกชนิดที่มีชีวิตคู่คล้ายๆ แมงมุม คือ ตั๊กแตนตำข้าว ตัวผู้ต้องเสี่ยงชีวิตจากการโดนตัวเมียสังหาร เนื่องจากขณะที่ตัวผู้ขึ้นขี่หลังตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ จังหวะนี้ตัวผู้มีโอกาสลื่นไปด้านหน้า หัวของตัวผู้จะยื่นไปพอดีกับขากรรไกรของตัวเมียที่กำลังหิวโหย หัวของตัวผู้จึงถูกตัดออกจากร่างกายขณะที่ผสมพันธุ์นั่นเอง
หลายคนอาจคิดว่าการสังหารคู่ของตัวเมียเป็นกระทำที่โหดร้าย นั่นเป็นเพราะเราตัดสินการกระทำนี้จากบริบทของความเป็นมนุษย์ ตัดสินว่าการที่ภรรยาฆ่าสามีตัวเองเป็นสิ่งชั่วร้าย แต่การกระทำนี้เป็นกลไกของธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อการดำรงเผ่าพันธุ์ของ สัตว์เหล่านี้
สำหรับตั๊กแตนและแมงมุมแม้จะเป็นผู้ล่า แต่เหยื่อก็ไม่ได้หาง่ายๆ บางครั้งต้องรออยู่นานหลายวัน การให้กำเนิดทายาทจำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนมากและไม่สามารถรอช้าได้ การที่ตัวเมียกินตัวผู้ช่วยให้แน่ใจได้ว่าจะมีสารอาหารเพียงพอที่จะให้ กำเนิดลูกๆ และหล่อเลี้ยงให้เติบโตได้ แมงมุมตัวผู้เองหลังจากผสมพันธุ์แล้วก็มีชีวิตได้อีกไม่นาน การเป็นอาหารของตัวเมียเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
บางคนอาจคิดว่า ตัวผู้ยอมเสียสละตนเองเพื่อลูกๆ นั่นก็เป็นมุมมองของมนุษย์อีกเช่นกัน ตัวผู้เองก็รักชีวิตพยายามทุกวิถีทางเพื่อจะมีชีวิตรอดจากตัวเมียให้ได้ แม้จะอยู่ได้อีกไม่นานก็ตาม แมงมุมตัวผู้จะหาอาหารมาประเคนให้ตัวเมียให้มากที่สุด เพื่อที่ว่าเมื่อตัวเมียอิ่มแล้วหลังผสมพันธุ์เสร็จตัวเมียจะไม่ไล่ล่าด้วย ความโมโหหิว ไม่เกรี้ยวกราดมากนัก จะได้มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น
รักเจ็บปวด
ตัวเรือด (bedbug) แมลงในวงศ์ Cimicidae มีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ที่เผ็ดร้อน ตัวผู้และตัวเมียอาจทำร้ายกันรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ในการผสมพันธุ์ของตัวเรือด ตัวผู้ไม่ได้สอดอวัยวะสืบพันธุ์เข้าสู่ช่องเปิดของตัวเมียอย่างที่สัตว์อื่น ทำกัน แต่ตัวผู้จะแทงอวัยวะเพศที่มีลักษณะคล้ายเข็มเข้าที่ท้องของตัวเมีย แล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดซึ่งจะไปปฏิสนธิกับไข่ต่อไป เรียกวิธีการสืบพันธุ์แบบนี้ว่า "Traumatic insemination" สำหรับตัวเมียคงเหมือนกันการโดนมีดแทงที่ท้อง บาดแผลนี้หนักหนาสาหัสอาจทำให้ติดเชื้อจนตาย ดังนั้นตัวเมียจึงพยามต่อสู้เพื่อป้องกันตัวสุดฤทธิ์เมื่อตัวผู้จะเข้ามาผสม พันธุ์ การสืบพันธุ์ของตัวเรือดจึงกลายเป็นการต่อสู้ที่รุนแรงเสมอ เป็นชีวิตรักที่มีความเสี่ยงสูงมาก
หากมองจากมุมของมนุษย์อาจรู้สึกว่าเป็นการกระทำที่รุนแรงและป่าเถื่อน แต่พฤติกรรมของตัวเรือดเช่นนี้ช่วยคัดเลือก ตัวผู้ที่เข้มแขง มีกำลังมากพอที่จะล้มตัวเมียซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าได้เท่านั้น ที่จะมีโอกาสถ่ายทอดพันธุกรรมให้ลูกหลาน ในขณะเดียวกันก็เป็นการคัดเลือกตัวเมียที่มีสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกันเข้มแข็งพอที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค รอดจากการติดเชื้อที่บาดแผล เพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไป จากการคัดเลือกอันแสนสาหัสนี้ทำให้แน่ใจได้ว่ารุ่นลูกจะได้พันธุกรรมที่ดี แน่นอน
รักหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว
ปลา หรือ angler fish เป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มีชีวิตคู่ที่แปลกพิสดารมาก ปลาเป็นปลาทะเลน้ำลึกที่มีอวัยวะคล้ายเบ็ดยื่นมาด้านด้านหน้า ส่วนปลายสามารถเรืองแสงได้ซึ่งมีไว้ล่อเหยื่อให้ติดกับ เรามักเห็นปลาที่มีลักษณะดังกล่าวตามภาพยนตร์หรือการ์ตูน แท้จริงแล้วที่เราพบเห็นบ่อยๆ คือ ปลาตัวเมียเท่านั้น
นักวิทยาศาสตร์พบถุงเนื้อแปลกๆ ติดอยู่บริเวณช่วงท้องของปลาตัวเมียอยู่เสมอ เมื่อศึกษามากขึ้นจึงพบว่าถุงเนื้อเหล่านั้นที่จริงแล้วเคยเป็นปลาตัว ผู้มาก่อน
ปลาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียประมาณ 40 เท่า จึงไม่มีปัญญาล่าเหยื่อได้เอง แค่เอาชีวิตรอดไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของปลาอื่นยังไม่แน่ว่าจะรอดได้หรือไม่ ตัวผู้จึงได้แต่ว่ายน้ำตามกลิ่นฟีโรโมนที่ตัวเมียปล่อยจากร่างกาย หากว่าหลบหลีกผู้ล่า ตามหาตัวเมียจนเจอ ตัวผู้จะกัดที่ท้องบริเวณใกล้ๆ อวัยวะสืบพันธุ์ของตัวเมีย เกาะดูดกินเลือดจากตัวเมียไปตลอดชีวิต ไม่จำเป็นต้องหาอาหารกินเองอีกต่อไป จะเรียกว่าเกาะเมียกินก็คงไม่ผิดนัก
ปลาตกเป็ดตัวผู้
สิ่งที่แปลกพิสดารคือ เมื่อตัวผู้เกาะดูดกินเลือดจากตัวเมียนานๆ เข้า ร่างกายของตัวผู้จะค่อยๆ ถูกย่อย รวมเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายตัวเมีย กลายเป็นถุงๆ ที่ห้อยอยู่ข้างลำตัวที่นักวิทยาศาสตร์สังกตเห็นในตอนแรก มีเส้นเลือดจากตัวเมียไหลมาหล่อเลี้ยงถุงนี้ ซึ่งเหลือหน้าที่ต้องทำเพียงอย่างเดียว คือ ผลิตน้ำเชื้อให้ตัวเมียใช้ผสมกับไข่ต่อไป
เธอคือโลกทั้งใบ
ถ้าคิดว่าชีวิตคู่ของปลาแปลกแล้ว ลองดูชีวิตคู่ของ spoonworm บ้าง green spoonwoorm เป็นหนอนทะเลชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายๆ กับช้อน เฉพาะตัวเมียเท่านั้นที่สามารถสร้างสาร bonellin ซึ่ง เป็นสารพิษชนิดหนึ่ง ที่จริงการสืบพันธุ์ของหนอน spoonworm จะเรียกว่าชีวิตคู่ก็คงไม่ถูกนัก เพราะตัวผู้กับตัวเมียไม่เคยพบเจอกันเลย
ตอนที่หนอน spoonworm เกิดมา จะยังไม่มีเพศ ตัวอ่อนของ spoonworm จะถูกกำหนดเพศโดยสารพิษ bonellin ตัวเมียตัวอื่นสร้างขึ้น หากตัวอ่อนของ spoonworm ตัวใดล่องลอยอยู่ในทะเลและเติบโตขึ้นมาโดยไม่ได้สัมผัสกับ bonellin เลย นั่นหมายความว่าบริเวณนั้นไม่มีตัวเมีย ตัวอ่อนนั้นจะเติบโตเป็นตัวเมียซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า และสามารถสร้างสารพิษได้ ส่วนตัวอ่อนใดที่ได้รับสาร bonellin เข้าไป สารพิษนี้จะยับยั้งการเจริญเติบโต ทำให้ให้ตัวอ่อนนั้นกลายเป็นตัวผู้ขนาดจิ๋ว
หนอน spoonworm ตัวผู้มีขนาดเล็กจิ๋ว สร้างสารพิษอย่างตัวเมียก็ไม่ได้ การเอาตัวรอดในธรรมชาติอันโหดร้ายจึงยากเย็นยิ่งนัก ตัวผู้จึงเลือกที่จะว่ายไปตามกลิ่นฟีโรโมนไปหาตัวเมีย แต่ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมากๆ เล็กขนาดที่ตัวเมียไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของตัวผู้ด้วยซ้ำ
ตัวผู้จึงว่ายเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวเมีย ใช้ชีวิต กิน อยู่อย่างอบอุ่นและปลอดภัย ภายในร่างกายของตัวเมีย เสมือนเป็นบ้านหลังหนึ่งหรือโลกใบหนึ่ง โดยที่ตัวเมียไม่ได้รับรู้เลย ในอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวเมีย 1 ตัว อาจมีตัวผู้อาศัยอยู่มากถึง 20 ตัว เมื่อตัวผู้เติบโตเต็มที่ก็จะสร้างน้ำเชื้อซึ่งจะผสมกับไข่ของตัวเมีย โดยที่ตัวเมียไม่รับรู้อีกเช่นกัน
สัมพันธ์ในสายเลือด
สำหรับมนุษย์และสัตว์ที่มีวิวัฒนาการซับซ้อน การผสมพันธุ์กันเองในหมู่เครือญาติส่งผลลบต่อลูกหลานที่เกิดขึ้น แต่สำหรับ Adactylidium Mites ซึ่งเป็น "ไร" ชนิดหนึ่ง พี่น้องจะผสมกันเองทั้งหมด
ไข่ของไร Adactylidium จะฟักเป็นตัว ภายในร่างกายของตัวแม่ ไข่ทั้งหมด จะมีเพียงหนึ่งเดียวที่ฟักออกมาเป็นตัวผู้ ที่เหลือจะเป็นตัวเมียทั้งหมด ตัวผู้จะจับคู่ผสมพันธุ์กับตัวเมียที่เป็นพี่น้องกัน ทั้งหมดภายในร่างกายของตัวแม่ หลังจากตัว ไร Adactylidium ตัว เมียจะกัดกินร่างกายออกมาจากภายใน ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับไข่ที่ได้รับการผสมเรียบร้อยแล้ว ส่วนตัวผู้จะตายอยู่ในร่างกายของตัวแม่ ไม่ได้ลืมตาดูโลกด้วยซ้ำ
แม้ชีวิตคู่ของสัตว์ต่างๆ จะแปลกพิสดารเพียงใด แต่ทั้งหมดมีจุดประสงค์เพียงหนึ่งเดียว คือ ถ่ายทอดพันธุกรรมที่ดีไปยังรุ่นถัดไปและดำรงเผ่าพันธุ์ ไว้ให้ได้ รูปแบบของการจับคู่ต่างๆ เป็นการปรับตัวตามความเหมาะสม ตามความซับซ้อนของชีวิตทิ่วิวัฒน์ขึ้นมา
เครดิต
http://www.vcharkarn.com/varticle/42388
ชีวิตรักพิสดารของสัตว์โลก
หลายคนอาจคิดว่าการสังหารคู่ของตัวเมียเป็นกระทำที่โหดร้าย นั่นเป็นเพราะเราตัดสินการกระทำนี้จากบริบทของความเป็นมนุษย์ ตัดสินว่าการที่ภรรยาฆ่าสามีตัวเองเป็นสิ่งชั่วร้าย แต่การกระทำนี้เป็นกลไกของธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อการดำรงเผ่าพันธุ์ของ สัตว์เหล่านี้
สำหรับตั๊กแตนและแมงมุมแม้จะเป็นผู้ล่า แต่เหยื่อก็ไม่ได้หาง่ายๆ บางครั้งต้องรออยู่นานหลายวัน การให้กำเนิดทายาทจำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนมากและไม่สามารถรอช้าได้ การที่ตัวเมียกินตัวผู้ช่วยให้แน่ใจได้ว่าจะมีสารอาหารเพียงพอที่จะให้ กำเนิดลูกๆ และหล่อเลี้ยงให้เติบโตได้ แมงมุมตัวผู้เองหลังจากผสมพันธุ์แล้วก็มีชีวิตได้อีกไม่นาน การเป็นอาหารของตัวเมียเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
บางคนอาจคิดว่า ตัวผู้ยอมเสียสละตนเองเพื่อลูกๆ นั่นก็เป็นมุมมองของมนุษย์อีกเช่นกัน ตัวผู้เองก็รักชีวิตพยายามทุกวิถีทางเพื่อจะมีชีวิตรอดจากตัวเมียให้ได้ แม้จะอยู่ได้อีกไม่นานก็ตาม แมงมุมตัวผู้จะหาอาหารมาประเคนให้ตัวเมียให้มากที่สุด เพื่อที่ว่าเมื่อตัวเมียอิ่มแล้วหลังผสมพันธุ์เสร็จตัวเมียจะไม่ไล่ล่าด้วย ความโมโหหิว ไม่เกรี้ยวกราดมากนัก จะได้มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น
หากมองจากมุมของมนุษย์อาจรู้สึกว่าเป็นการกระทำที่รุนแรงและป่าเถื่อน แต่พฤติกรรมของตัวเรือดเช่นนี้ช่วยคัดเลือก ตัวผู้ที่เข้มแขง มีกำลังมากพอที่จะล้มตัวเมียซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าได้เท่านั้น ที่จะมีโอกาสถ่ายทอดพันธุกรรมให้ลูกหลาน ในขณะเดียวกันก็เป็นการคัดเลือกตัวเมียที่มีสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกันเข้มแข็งพอที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค รอดจากการติดเชื้อที่บาดแผล เพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไป จากการคัดเลือกอันแสนสาหัสนี้ทำให้แน่ใจได้ว่ารุ่นลูกจะได้พันธุกรรมที่ดี แน่นอน
นักวิทยาศาสตร์พบถุงเนื้อแปลกๆ ติดอยู่บริเวณช่วงท้องของปลาตัวเมียอยู่เสมอ เมื่อศึกษามากขึ้นจึงพบว่าถุงเนื้อเหล่านั้นที่จริงแล้วเคยเป็นปลาตัว ผู้มาก่อน
ปลาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียประมาณ 40 เท่า จึงไม่มีปัญญาล่าเหยื่อได้เอง แค่เอาชีวิตรอดไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของปลาอื่นยังไม่แน่ว่าจะรอดได้หรือไม่ ตัวผู้จึงได้แต่ว่ายน้ำตามกลิ่นฟีโรโมนที่ตัวเมียปล่อยจากร่างกาย หากว่าหลบหลีกผู้ล่า ตามหาตัวเมียจนเจอ ตัวผู้จะกัดที่ท้องบริเวณใกล้ๆ อวัยวะสืบพันธุ์ของตัวเมีย เกาะดูดกินเลือดจากตัวเมียไปตลอดชีวิต ไม่จำเป็นต้องหาอาหารกินเองอีกต่อไป จะเรียกว่าเกาะเมียกินก็คงไม่ผิดนัก
ปลาตกเป็ดตัวผู้
เธอคือโลกทั้งใบ
ตอนที่หนอน spoonworm เกิดมา จะยังไม่มีเพศ ตัวอ่อนของ spoonworm จะถูกกำหนดเพศโดยสารพิษ bonellin ตัวเมียตัวอื่นสร้างขึ้น หากตัวอ่อนของ spoonworm ตัวใดล่องลอยอยู่ในทะเลและเติบโตขึ้นมาโดยไม่ได้สัมผัสกับ bonellin เลย นั่นหมายความว่าบริเวณนั้นไม่มีตัวเมีย ตัวอ่อนนั้นจะเติบโตเป็นตัวเมียซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า และสามารถสร้างสารพิษได้ ส่วนตัวอ่อนใดที่ได้รับสาร bonellin เข้าไป สารพิษนี้จะยับยั้งการเจริญเติบโต ทำให้ให้ตัวอ่อนนั้นกลายเป็นตัวผู้ขนาดจิ๋ว
หนอน spoonworm ตัวผู้มีขนาดเล็กจิ๋ว สร้างสารพิษอย่างตัวเมียก็ไม่ได้ การเอาตัวรอดในธรรมชาติอันโหดร้ายจึงยากเย็นยิ่งนัก ตัวผู้จึงเลือกที่จะว่ายไปตามกลิ่นฟีโรโมนไปหาตัวเมีย แต่ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมากๆ เล็กขนาดที่ตัวเมียไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของตัวผู้ด้วยซ้ำ ตัวผู้จึงว่ายเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวเมีย ใช้ชีวิต กิน อยู่อย่างอบอุ่นและปลอดภัย ภายในร่างกายของตัวเมีย เสมือนเป็นบ้านหลังหนึ่งหรือโลกใบหนึ่ง โดยที่ตัวเมียไม่ได้รับรู้เลย ในอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวเมีย 1 ตัว อาจมีตัวผู้อาศัยอยู่มากถึง 20 ตัว เมื่อตัวผู้เติบโตเต็มที่ก็จะสร้างน้ำเชื้อซึ่งจะผสมกับไข่ของตัวเมีย โดยที่ตัวเมียไม่รับรู้อีกเช่นกัน
ไข่ของไร Adactylidium จะฟักเป็นตัว ภายในร่างกายของตัวแม่ ไข่ทั้งหมด จะมีเพียงหนึ่งเดียวที่ฟักออกมาเป็นตัวผู้ ที่เหลือจะเป็นตัวเมียทั้งหมด ตัวผู้จะจับคู่ผสมพันธุ์กับตัวเมียที่เป็นพี่น้องกัน ทั้งหมดภายในร่างกายของตัวแม่ หลังจากตัว ไร Adactylidium ตัว เมียจะกัดกินร่างกายออกมาจากภายใน ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับไข่ที่ได้รับการผสมเรียบร้อยแล้ว ส่วนตัวผู้จะตายอยู่ในร่างกายของตัวแม่ ไม่ได้ลืมตาดูโลกด้วยซ้ำ
แม้ชีวิตคู่ของสัตว์ต่างๆ จะแปลกพิสดารเพียงใด แต่ทั้งหมดมีจุดประสงค์เพียงหนึ่งเดียว คือ ถ่ายทอดพันธุกรรมที่ดีไปยังรุ่นถัดไปและดำรงเผ่าพันธุ์ ไว้ให้ได้ รูปแบบของการจับคู่ต่างๆ เป็นการปรับตัวตามความเหมาะสม ตามความซับซ้อนของชีวิตทิ่วิวัฒน์ขึ้นมา
เครดิต http://www.vcharkarn.com/varticle/42388