บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ จากประสบการณ์ที่เคยเจอน้ำท่วม และได้มีโอกาสร่วมอยู่ในการประชุมแก้ไขปัญหา ตลอดจนได้รับฟังมาจากผู้หลักผู้ใหญ่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของอีกจังหวัดนึง ทำให้เราอยากจะเขียนบทความนี้ขึ้น
ก่อนอื่นเลย เราเคยอยู่ที่จังหวัดน่านมาก่อน ผ่านน้ำท่วมใหญ่ที่น่านมาแล้ว สองครั้ง และได้ย้ายมาอยู่ที่อุบลราชธานี ก็ไม่คิดค่ะว่าจะมาเจอน้ำท่วมใหญ่ ที่อุบลราชธานีด้วยในปีนี้
ในช่วงที่พายุโพดุลเข้าและทำให้ฝนตกในพื้นที่อีสานรวมทั้งจังหวัดอุบลราชธานี เราอยู่ในพื้นที่ต่างอำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี สภาพคือ ฝนตกหนักมาก เราต้องวางแผน แก้ไขปัญหาหน้างานตลอดเวลา หาเครื่องสูบน้ำ คิดหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเหตุขึ้นกับงานของเรา แต่พื้นที่ไซต์์งานเราไม่ใหญ่ ทำให้เราสามารถจะบริหารจัดการได้ และผ่านช่วงนั้นมาได้
เมื่อดูจากปริมาณน้ำจากฝนที่ตกในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดในภาคอีสาน เราทราบว่าจังหวัดร้อยเอ็ดน้ำท่วมในเขตตัวเมือง และมีอีกหลายพื้นที่ก็เกิดน้ำท่วมเช่นกัน สิ่งที่เราคิด ณ ตอนนั้น คือ จังหวัดอุบลราชธานีไม่รอดแน่ เพราะอย่างที่ทราบกันว่า จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดปลายน้ำที่จะระบายน้ำจากทั้งลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลเพื่อลงสู่แม่น้ำโขง เมื่อปริมาณน้ำในพื้นที่มีปริมาณมากอยู่แล้ว และยังต้องรับน้ำเพิ่มจากพื้นที่อื่นมาเติมอีก แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จังหวัดอุบลฯจะไม่เกิดน้ำท่วม
แต่เราก็ยังมองโลกในแง่ดี ที่ผ่านมา ประเทศไทยเกิดน้ำท่วมใหญ่มาแล้ว จนมีการออกกฏหมายมาเพื่อการนี้โดยตรง ที่เรียกว่า พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ซึ่งแน่นอนจะมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง เราก็นอนใจว่า เมื่อฝนหยุด การคำนวณปริมาณน้ำคงทำได้อย่างแม่นยำ และสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำได้ จังหวัดอุบลฯ แม้จะท่วม แต่ก็ไม่น่าจะหนักมาก
แต่ผลคือ ไม่มีการเทคแอคชั่นใดๆจากผู้บริหารระดับสูงของประเทศไทย ปล่อยไปตามยถากรรม น้ำเข้าจังหวัดไหนก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รับหน้าไป ซึ่งมันไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมย์ของกฏหมายแต่อย่างใด
และในความเป็นจริง สภาพของข้าราชการไม่ว่าจะ ทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอยู่ในพื้นที่ คือ ผู้ประสบภัยด้วยเช่นกัน การจะให้ผู้ประสบภัย ต้องมาทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน มันเรียกว่า เตี้ยอุ้มค่อมชัดๆ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด มีการตั้งศูนย์เฉพาะกิจขึ้นมา จะต้องมีการสั่งการให้ข้าราชการ ทหารและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ซึ่งไม่ประสบภัยน้ำท่วมเข้ามาประจำการเพื่อช่วยเหลือ จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ในระยะแรกไม่ได้เป็นเช่นนั้น อยู่กันตามยถากรรมจริงๆ ช่วยเหลือกันเอง เจ้าหน้าที่เทศบาลบ้านก็ถูกน้ำท่วมบ้าน แต่ก็ต้องมาทำหน้าที่ช่วยเหลือชาวบ้าน เห็นภาพแล้วหงุดหงิดใจเป็นอย่างมาก
เราไม่ได้อยากจะตำหนิใคร แต่เราอยากจะบอกว่า ในฐานะเป็นประชาชน เราก็อยากจะได้เห็นบ้านเมืองพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเรา และทำให้เราออกกฏหมายมาเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา แต่ปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นคือ ไม่มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัด จนก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมาย ซึ่งเราก็สามารถพบเห็นได้ตามสื่อต่างๆ
https://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/law135-281261-44.pdf
พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำ กับน้ำท่วมอุบลราชธานี
ก่อนอื่นเลย เราเคยอยู่ที่จังหวัดน่านมาก่อน ผ่านน้ำท่วมใหญ่ที่น่านมาแล้ว สองครั้ง และได้ย้ายมาอยู่ที่อุบลราชธานี ก็ไม่คิดค่ะว่าจะมาเจอน้ำท่วมใหญ่ ที่อุบลราชธานีด้วยในปีนี้
ในช่วงที่พายุโพดุลเข้าและทำให้ฝนตกในพื้นที่อีสานรวมทั้งจังหวัดอุบลราชธานี เราอยู่ในพื้นที่ต่างอำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี สภาพคือ ฝนตกหนักมาก เราต้องวางแผน แก้ไขปัญหาหน้างานตลอดเวลา หาเครื่องสูบน้ำ คิดหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเหตุขึ้นกับงานของเรา แต่พื้นที่ไซต์์งานเราไม่ใหญ่ ทำให้เราสามารถจะบริหารจัดการได้ และผ่านช่วงนั้นมาได้
เมื่อดูจากปริมาณน้ำจากฝนที่ตกในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดในภาคอีสาน เราทราบว่าจังหวัดร้อยเอ็ดน้ำท่วมในเขตตัวเมือง และมีอีกหลายพื้นที่ก็เกิดน้ำท่วมเช่นกัน สิ่งที่เราคิด ณ ตอนนั้น คือ จังหวัดอุบลราชธานีไม่รอดแน่ เพราะอย่างที่ทราบกันว่า จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดปลายน้ำที่จะระบายน้ำจากทั้งลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลเพื่อลงสู่แม่น้ำโขง เมื่อปริมาณน้ำในพื้นที่มีปริมาณมากอยู่แล้ว และยังต้องรับน้ำเพิ่มจากพื้นที่อื่นมาเติมอีก แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จังหวัดอุบลฯจะไม่เกิดน้ำท่วม
แต่เราก็ยังมองโลกในแง่ดี ที่ผ่านมา ประเทศไทยเกิดน้ำท่วมใหญ่มาแล้ว จนมีการออกกฏหมายมาเพื่อการนี้โดยตรง ที่เรียกว่า พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ซึ่งแน่นอนจะมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง เราก็นอนใจว่า เมื่อฝนหยุด การคำนวณปริมาณน้ำคงทำได้อย่างแม่นยำ และสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำได้ จังหวัดอุบลฯ แม้จะท่วม แต่ก็ไม่น่าจะหนักมาก
แต่ผลคือ ไม่มีการเทคแอคชั่นใดๆจากผู้บริหารระดับสูงของประเทศไทย ปล่อยไปตามยถากรรม น้ำเข้าจังหวัดไหนก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รับหน้าไป ซึ่งมันไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมย์ของกฏหมายแต่อย่างใด
และในความเป็นจริง สภาพของข้าราชการไม่ว่าจะ ทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอยู่ในพื้นที่ คือ ผู้ประสบภัยด้วยเช่นกัน การจะให้ผู้ประสบภัย ต้องมาทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน มันเรียกว่า เตี้ยอุ้มค่อมชัดๆ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด มีการตั้งศูนย์เฉพาะกิจขึ้นมา จะต้องมีการสั่งการให้ข้าราชการ ทหารและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ซึ่งไม่ประสบภัยน้ำท่วมเข้ามาประจำการเพื่อช่วยเหลือ จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ในระยะแรกไม่ได้เป็นเช่นนั้น อยู่กันตามยถากรรมจริงๆ ช่วยเหลือกันเอง เจ้าหน้าที่เทศบาลบ้านก็ถูกน้ำท่วมบ้าน แต่ก็ต้องมาทำหน้าที่ช่วยเหลือชาวบ้าน เห็นภาพแล้วหงุดหงิดใจเป็นอย่างมาก
เราไม่ได้อยากจะตำหนิใคร แต่เราอยากจะบอกว่า ในฐานะเป็นประชาชน เราก็อยากจะได้เห็นบ้านเมืองพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเรา และทำให้เราออกกฏหมายมาเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา แต่ปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นคือ ไม่มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัด จนก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมาย ซึ่งเราก็สามารถพบเห็นได้ตามสื่อต่างๆ
https://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/law135-281261-44.pdf