"ผู้มีศีล" ทำให้เกิดทรัพย์สิน ชื่อเสียง ได้อย่างไร?
ศีลมีอานิสงส์ คือ ถ้าเราทำถูกต้องเราก็มีความสุข มีรสแห่งความสุข ความปิติ ความมงคล แต่ถ้าเราทำผิดศีล เราก็จะมีโทษ มีทุกข์ เป็นอัปมงคล
ถ้าเรามีศีล แล้วจะมีโภคทรัพย์ได้อย่างไร? มีชื่อเสียง กิตติศัพท์?
ถ้าเรามีศีล เราก็จะได้รับการยกย่อง ได้รับสิ่งที่เชื่อถือ ยกตัวอย่างง่ายๆ เรามีศีล เราไม่ไปโกงเขา เราก็มีเครดิต ใครๆ ก็เชื่อเรา เช่น เราไปยืมเงินเขา เขาเห็นว่าเราเป็นผู้มีศีล ก็ปล่อยให้เรายืมได้ หรือให้เรากู้ไปลงทุนได้ หรือบางคนเห็นว่าเรามีศีล ก็ให้เงินเราฟรีๆ ไปตั้งตัวลงทุน
เรามีศีล เราจะหมั่นคงกับการทำดี เราจะไม่ทำผิดได้ง่ายๆ ถ้าเราไม่มีศีลกำกับ เราก็จะเผลอทำผิดง่าย
ถ้าเรามีศีล จะละได้ง่ายต่อการทำชั่ว พอเราจะทำชั่ว แต่ว่าเรามีศีล เราก็จะคิดแล้วคิดอีกในการจะทำผิดศีล ทำให้การทำชั่วได้ยาก การมีศีลจะมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการทำดีง่ายขึ้น ตัวทำชั่วจะทำได้ยากขึ้น
เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ก็จะได้รับการเคารพ นับหน้าถือตา มีเครดิต มีความน่าเชื่อถือในการทำมาหากิน คนที่อยากซื้อของ เห็นว่าเรามีศีลก็อยากจะมาซื้อของกับเรา ในทางด้านใน ก็จะมีบุญมีกุศล ในการจะนำพาเราไปสู่ภพภูมิที่สูงขึ้น ในเมื่อเรามีภูมิความรู้ต่างๆ เราย่อมพ้นจากวิบากแห่งทุกข์
เรามีศีล เราเจริญศีล เราก็แก้ไขวิบากเราไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนเราชักขาขึ้นจากน้ำ เราก็ไม่ถูกจระเข้กัดขา เขาจึงเน้นเรื่องศีล สมาธิ ภาวนา
บางคนบอกว่า ศีล แปลว่า ปกติ คนเขาจึงไม่เห็นความสำคัญ เพราะไปก้าวกระโดด
ถ้าศีลปกติ ในระดับปรมัตถ์ มันสำคัญกว่าข้างล่างอีก เพราะกำหนดตายตัว ดิ้นไม่ได้ เป็นเช่นนั้นเลย ปกติเป็นเช่นนั้นเลย ศีลเป็นไปตามภาวะแห่งธรรม เพราะภาวะแห่งธรรมเป็นอย่างไรก็กำหนดเช่นนั้นเป๊ะ!! เลย เราไม่ต้องดิ้น ฉะนั้น พระอรหันต์จึงดิ้นไม่ได้ ท่านดิ้นไม่ได้ แต่ว่าท่านทำด้วยความเข้าใจตามปกติ ทำไปโดยอัตโนมัติ
ยกตัวอย่างนิทานนิกายเซน พระอุ้มผู้หญิงข้ามแม่น้ำ ถ้าคนทั่วไปก็จะบอกว่าผิดศีล แต่ถ้าเป็นภาวะธรรมระดับปรมัตถ์ ไม่ผิดศีล เพราะศีลกำหนดว่าจะต้องช่วย ในภาวะธรรมนั้น
ในภาวะธรรมนั้น ช่วยชีวิต จะบอกว่าผิดศีลหรือทำถูกศีล ก็ต้องถูกต้องตามศีล เหมือนกับว่า กฎหมายว่าด้วยการแตะต้องผู้หญิงบอกว่าผิด แต่ถ้ามาเจอกฎหมายรัฐธรรมนูญบอกว่าช่วยชีวิตถูกต้อง ตกลงกฎหมายระดับล่างนั้นก็ล้มเลย เราก็ยึดกฎหมายรัฐธรรมนูญเพราะสูงกว่า นี่แหละ ปกติโดยธรรม เป๊ะเลย เพราะเราทำตามรัฐธรรมนูญ เพราะอันนั้นเป็นกฎหมายลูก ถูกลบล้างด้วยรัฐธรรมนูญ
คำว่า "ศีล" แปลว่า "ปกติ" แปลแบบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ไปตามภาวะธรรมนั้นๆ
กฎหมายเล็ก ก็คือ กฎหมายของกระทรวงนั้นๆ
กฎหมายใดๆ ที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นเป็นโมฆะ
ดังคัมภีร์วิสุทธิมรรค ว่า
พระพุทธโฆษาจารย์. ๒๕๕๑. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด, ๑๓-๑๔.
"วิสัชนาปัญหาข้อที่ ๔
ปัญหาข้อว่า ศีลมีอานิสงส์อย่างไร วิสัชนาว่า ศีลนั้นมีอันได้ซึ่งคุณเป็นอันมากมีความไม่เดือดร้อนเป็นต้นเป็นอานิสงส์ สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า “ดูก่อนอานันทะ กุศลศีลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์แล
ยังมีพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้อย่างอื่นอีกว่า – ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล มี ๕ ประการเหล่านี้ อานิสงส์ ๕ ประการนั้น คืออะไรบ้าง ?
๑. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมประสบกองแห่งโภคทรัพย์อันยิ่งใหญ่ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๒. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมฟุ้งขจรไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ของศีลสมบัติของบุคคลที่มีศีล
๓. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล เข้าไปสู่สังคมใดๆ จะเป็นสังคมกษัตริย์ก็ดี จะเป็นสังคมพราหมณ์ก็ดี จะเป็นสังคมคหบดีก็ดี จะเป็นสังคมสมณะก็ดี ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๔. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไม่หลงทำการกิริยา นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๕. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมี บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ, โลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ ของศีลสมบัติ ของบุคคลผู้มีศีล
แม้อานิสงส์ของศีลอย่างอื่นๆ เป็นอเนกประการซึ่งมีความเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจ เป็นต้น มีความสิ้นไปแห่งอาสวะเป็นที่สุด พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงมุ่งหวังอยู่ว่า ขอให้เราพึงเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจเป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญ ของบรรดาภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายนั่นเถิด”
ศีลมีคุณเป็นอันมากมีความไม่เดือดร้อนเป็นต้นเป็นอานิสงส์ ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้"
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
"ผู้มีศีล" ทำให้เกิดทรัพย์สิน ชื่อเสียง ได้อย่างไร?
ศีลมีอานิสงส์ คือ ถ้าเราทำถูกต้องเราก็มีความสุข มีรสแห่งความสุข ความปิติ ความมงคล แต่ถ้าเราทำผิดศีล เราก็จะมีโทษ มีทุกข์ เป็นอัปมงคล
ถ้าเรามีศีล แล้วจะมีโภคทรัพย์ได้อย่างไร? มีชื่อเสียง กิตติศัพท์?
ถ้าเรามีศีล เราก็จะได้รับการยกย่อง ได้รับสิ่งที่เชื่อถือ ยกตัวอย่างง่ายๆ เรามีศีล เราไม่ไปโกงเขา เราก็มีเครดิต ใครๆ ก็เชื่อเรา เช่น เราไปยืมเงินเขา เขาเห็นว่าเราเป็นผู้มีศีล ก็ปล่อยให้เรายืมได้ หรือให้เรากู้ไปลงทุนได้ หรือบางคนเห็นว่าเรามีศีล ก็ให้เงินเราฟรีๆ ไปตั้งตัวลงทุน
เรามีศีล เราจะหมั่นคงกับการทำดี เราจะไม่ทำผิดได้ง่ายๆ ถ้าเราไม่มีศีลกำกับ เราก็จะเผลอทำผิดง่าย
ถ้าเรามีศีล จะละได้ง่ายต่อการทำชั่ว พอเราจะทำชั่ว แต่ว่าเรามีศีล เราก็จะคิดแล้วคิดอีกในการจะทำผิดศีล ทำให้การทำชั่วได้ยาก การมีศีลจะมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการทำดีง่ายขึ้น ตัวทำชั่วจะทำได้ยากขึ้น
เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ก็จะได้รับการเคารพ นับหน้าถือตา มีเครดิต มีความน่าเชื่อถือในการทำมาหากิน คนที่อยากซื้อของ เห็นว่าเรามีศีลก็อยากจะมาซื้อของกับเรา ในทางด้านใน ก็จะมีบุญมีกุศล ในการจะนำพาเราไปสู่ภพภูมิที่สูงขึ้น ในเมื่อเรามีภูมิความรู้ต่างๆ เราย่อมพ้นจากวิบากแห่งทุกข์
เรามีศีล เราเจริญศีล เราก็แก้ไขวิบากเราไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนเราชักขาขึ้นจากน้ำ เราก็ไม่ถูกจระเข้กัดขา เขาจึงเน้นเรื่องศีล สมาธิ ภาวนา
บางคนบอกว่า ศีล แปลว่า ปกติ คนเขาจึงไม่เห็นความสำคัญ เพราะไปก้าวกระโดด
ถ้าศีลปกติ ในระดับปรมัตถ์ มันสำคัญกว่าข้างล่างอีก เพราะกำหนดตายตัว ดิ้นไม่ได้ เป็นเช่นนั้นเลย ปกติเป็นเช่นนั้นเลย ศีลเป็นไปตามภาวะแห่งธรรม เพราะภาวะแห่งธรรมเป็นอย่างไรก็กำหนดเช่นนั้นเป๊ะ!! เลย เราไม่ต้องดิ้น ฉะนั้น พระอรหันต์จึงดิ้นไม่ได้ ท่านดิ้นไม่ได้ แต่ว่าท่านทำด้วยความเข้าใจตามปกติ ทำไปโดยอัตโนมัติ
ยกตัวอย่างนิทานนิกายเซน พระอุ้มผู้หญิงข้ามแม่น้ำ ถ้าคนทั่วไปก็จะบอกว่าผิดศีล แต่ถ้าเป็นภาวะธรรมระดับปรมัตถ์ ไม่ผิดศีล เพราะศีลกำหนดว่าจะต้องช่วย ในภาวะธรรมนั้น
ในภาวะธรรมนั้น ช่วยชีวิต จะบอกว่าผิดศีลหรือทำถูกศีล ก็ต้องถูกต้องตามศีล เหมือนกับว่า กฎหมายว่าด้วยการแตะต้องผู้หญิงบอกว่าผิด แต่ถ้ามาเจอกฎหมายรัฐธรรมนูญบอกว่าช่วยชีวิตถูกต้อง ตกลงกฎหมายระดับล่างนั้นก็ล้มเลย เราก็ยึดกฎหมายรัฐธรรมนูญเพราะสูงกว่า นี่แหละ ปกติโดยธรรม เป๊ะเลย เพราะเราทำตามรัฐธรรมนูญ เพราะอันนั้นเป็นกฎหมายลูก ถูกลบล้างด้วยรัฐธรรมนูญ
คำว่า "ศีล" แปลว่า "ปกติ" แปลแบบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ไปตามภาวะธรรมนั้นๆ
กฎหมายเล็ก ก็คือ กฎหมายของกระทรวงนั้นๆ
กฎหมายใดๆ ที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นเป็นโมฆะ
ดังคัมภีร์วิสุทธิมรรค ว่า
พระพุทธโฆษาจารย์. ๒๕๕๑. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด, ๑๓-๑๔.
"วิสัชนาปัญหาข้อที่ ๔
ปัญหาข้อว่า ศีลมีอานิสงส์อย่างไร วิสัชนาว่า ศีลนั้นมีอันได้ซึ่งคุณเป็นอันมากมีความไม่เดือดร้อนเป็นต้นเป็นอานิสงส์ สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า “ดูก่อนอานันทะ กุศลศีลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์แล
ยังมีพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้อย่างอื่นอีกว่า – ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล มี ๕ ประการเหล่านี้ อานิสงส์ ๕ ประการนั้น คืออะไรบ้าง ?
๑. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมประสบกองแห่งโภคทรัพย์อันยิ่งใหญ่ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๒. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมฟุ้งขจรไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ของศีลสมบัติของบุคคลที่มีศีล
๓. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล เข้าไปสู่สังคมใดๆ จะเป็นสังคมกษัตริย์ก็ดี จะเป็นสังคมพราหมณ์ก็ดี จะเป็นสังคมคหบดีก็ดี จะเป็นสังคมสมณะก็ดี ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๔. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไม่หลงทำการกิริยา นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๕. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมี บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ, โลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ ของศีลสมบัติ ของบุคคลผู้มีศีล
แม้อานิสงส์ของศีลอย่างอื่นๆ เป็นอเนกประการซึ่งมีความเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจ เป็นต้น มีความสิ้นไปแห่งอาสวะเป็นที่สุด พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงมุ่งหวังอยู่ว่า ขอให้เราพึงเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจเป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญ ของบรรดาภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายนั่นเถิด”
ศีลมีคุณเป็นอันมากมีความไม่เดือดร้อนเป็นต้นเป็นอานิสงส์ ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้"
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต