ว่าด้วย ความไม่สะดุ้งหวาดเสียว....

เพราะไม่มีอุปาทาน;

ภิกษุ ท. !  เราจักแสดง  ....  ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทาน แก่พวกเธอ.  
เธอทั้งหลาย  จงฟังความข้อนั้น  จงทไว้ำในใจให้สำเร็จประโยชน์  เราจักกล่าวบัดนี้ .... 

ภิกษุ ท. !  ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทานนั้น  เป็นอย่างไรเล่า ? 

ภิกษุ ท. !  ในกรณีนี้  อริยสาวกผู้มีการสดับ  ได้เห็นพระอริยเจ้าเป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระ
อริยเจ้า  
ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า,  ได้เห็นสัตบุรุษ  เป็นผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ  
ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ,  
ย่อมไม่ตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่ง  รูป  โดยความเป็นตนบ้าง  
ย่อมไม่ตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่งตนว่ามีรูปบ้าง  
ย่อมไม่ตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่งรูปในตนบ้าง 
ย่อมไม่ตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่งตนในรูปบ้าง  ;  
แม้ รูป นั้น  แปรปรวนไป  เป็นความมีโดยประการอื่น  แก่อริยสาวกนั้น  
วิญญาณของอริยสาวกนั้น ก็ไม่เป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของรูป  
เพราะความแปรปรวนของรูปได้มีโดยประการอื่น  ;  (เมื่อเป็นเช่นนั้น)  
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเป็นเครื่องทำความสะดุ้งหวาดเสียว  
ซึ่งเกิดมาจากความเปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของรูป ย่อมไม่ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ได้,  
เพราะความที่จิตไม่ถูกครอบงำด้วยธรรมเป็นเครื่องสะดุ้งหวาดเสียวอริยสาวกนั้น 
ก็ไม่เป็นผู้หวาดระแวงไม่คับแค้นเร่าร้อน ไม่พะว้าพะวัง และไม่สะดุ้งหวาดเสียวอยู่เพราะไม่มีอุปาทาน. 

(ในกรณีที่เกี่ยวกับการตามเห็น เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 
ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่ง รูป 
ข้างบนนี้ทุกประการ ผิดกันแต่ชื่อขันธ์เท่านั้น) 

ภิกษุ ท. !  ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มี
อุปาทาน  ย่อมมีได้  ด้วยอาการอย่างนี้ แล. 
 
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐, ๒๒-๒๓/๓๑,๓๓. 

(อีกนัยหนึ่ง)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่