เอเจนซี – ตัวเลขผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่าหนึ่งศตวรรษในญี่ปุ่นเพิ่มสูงเกิน 70,000 คนเป็นครั้งแรก หลังจากขยับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 49 ปี ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงมากกว่าร้อยละ 88
วานนี้ (13 ก.ย.) รายงานจากกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ของประเทศญี่ปุ่นแจ้งว่า จำนวนประชากรอายุเกิน 100 ปีของญี่ปุ่นได้พุ่งขึ้นถึง 71,238 คนแล้ว โดยถือว่าเพิ่มขึ้นถึง 23 เท่า จากปี 2532 ที่ผู้อาวุโสอายุเกิน 100 ปี มีเพียง 3,078 คน โดยการเผยแพร่ตัวเลขนี้มีขึ้นก่อนวันผู้สูงอายุของญี่ปุ่นกำหนดให้เป็นวันหยุดประจำชาติในวันจันทร์ (16 ก.ย.)
ทั้งนี้สัดส่วนของผู้สูงอายุเกินร้อยที่เป็นเพศหญิงนั้นสูงถึงร้อยละ 88.1 จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 71,238 คน ขณะที่หากนับถึงวันพรุ่งนี้ (15) จำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงที่อายุถึงหนึ่งร้อยปี ก็จะมีมากถึง 62,775 คน เพิ่มขึ้น 1,321 คนจากปีที่แล้ว ขณะที่ผู้สูงอายุเพศชายอายุหนึ่งร้อยปีจะอยู่ที่ 8,463 คน เพิ่มขึ้น 132 คนจากปีที่แล้ว
นางคาเนะ ทานะกะ อายุ 116 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองฟุกุโอกะ บนเกาะคิวชูทางตอนใต้ของญี่ปุ่นถือว่าเป็นชาวญี่ปุ่นที่อายุมากที่สุดในเวลานี้ โดยเธอเกิดในเดือนมกราคม 2446 (ค.ศ.1903) และถูกบันทึกไว้โดยบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ว่าเป็นผู้ที่ยังดำรงชีวิตอยู่และมีอายุมากที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน
หากนับจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 100 ปีแบ่งแยกตามพื้นที่ จังหวัดโตเกียวถือว่ามีจำนวนมากที่สุดคือ 6,059 คน รองลงมาคือ คานากาวะ 3,933 คน และโอซาก้า 3,648 คน ขณะที่สถิติในปีที่แล้ว (2561) อายุเฉลี่ยของสตรีชาวญี่ปุ่นอยู่ที่ 87.32 ปี ส่วนชายชาวญี่ปุ่นอยู่ที่ 81.25 ปี
ตอนเริ่มเก็บสถิติจำนวนผู้สูงอายุวัยเกินศตวรรษเมื่อปี 2506 (ค.ศ.1963) ตัวเลขประชากรญี่ปุ่นที่อายุเกิน 100 ปีมีเพียง 153 คน ต่อมาในปี 2524 (ค.ศ.1981) ตัวเลขก็แตะ 1,000 คน และเพิ่มขึ้นถึง 10,000 คนในปี 2541 (ค.ศ.1998) และ 50,000 คน ในปี 2555 (ค.ศ.2012)
หากคิดตามสัดส่วนประชากรแล้ว ในจำนวนชาวญี่ปุ่นทุก 100,000 คน จะมีผู้อาวุโสอายุเกิน 100 ปีจำนวน 56.34 คน โดยในอดีตรัฐบาลญี่ปุ่นจะมอบแก้วเงินที่สลักชื่อนายกรัฐมนตรีเพื่อเป็นของขวัญให้กับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นทุกคน แต่นับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการเปลี่ยนของขวัญจากแก้วเงินมาเป็นจานเงินแทนเพื่อลดค่าใช้จ่าย
เครดิตคลิปจาก 朝日新聞社
เครดิตคลิปจาก KyodoNews
ข่าวจาก : MGR Online
สูงสุดเป็นประวัติการณ์! จำนวน “ผู้อาวุโส” อายุเกินร้อยญี่ปุ่นพุ่งทะลุ 7 หมื่นคน
วานนี้ (13 ก.ย.) รายงานจากกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ของประเทศญี่ปุ่นแจ้งว่า จำนวนประชากรอายุเกิน 100 ปีของญี่ปุ่นได้พุ่งขึ้นถึง 71,238 คนแล้ว โดยถือว่าเพิ่มขึ้นถึง 23 เท่า จากปี 2532 ที่ผู้อาวุโสอายุเกิน 100 ปี มีเพียง 3,078 คน โดยการเผยแพร่ตัวเลขนี้มีขึ้นก่อนวันผู้สูงอายุของญี่ปุ่นกำหนดให้เป็นวันหยุดประจำชาติในวันจันทร์ (16 ก.ย.)
ทั้งนี้สัดส่วนของผู้สูงอายุเกินร้อยที่เป็นเพศหญิงนั้นสูงถึงร้อยละ 88.1 จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 71,238 คน ขณะที่หากนับถึงวันพรุ่งนี้ (15) จำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงที่อายุถึงหนึ่งร้อยปี ก็จะมีมากถึง 62,775 คน เพิ่มขึ้น 1,321 คนจากปีที่แล้ว ขณะที่ผู้สูงอายุเพศชายอายุหนึ่งร้อยปีจะอยู่ที่ 8,463 คน เพิ่มขึ้น 132 คนจากปีที่แล้ว
นางคาเนะ ทานะกะ อายุ 116 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองฟุกุโอกะ บนเกาะคิวชูทางตอนใต้ของญี่ปุ่นถือว่าเป็นชาวญี่ปุ่นที่อายุมากที่สุดในเวลานี้ โดยเธอเกิดในเดือนมกราคม 2446 (ค.ศ.1903) และถูกบันทึกไว้โดยบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ว่าเป็นผู้ที่ยังดำรงชีวิตอยู่และมีอายุมากที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน
หากนับจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 100 ปีแบ่งแยกตามพื้นที่ จังหวัดโตเกียวถือว่ามีจำนวนมากที่สุดคือ 6,059 คน รองลงมาคือ คานากาวะ 3,933 คน และโอซาก้า 3,648 คน ขณะที่สถิติในปีที่แล้ว (2561) อายุเฉลี่ยของสตรีชาวญี่ปุ่นอยู่ที่ 87.32 ปี ส่วนชายชาวญี่ปุ่นอยู่ที่ 81.25 ปี
ตอนเริ่มเก็บสถิติจำนวนผู้สูงอายุวัยเกินศตวรรษเมื่อปี 2506 (ค.ศ.1963) ตัวเลขประชากรญี่ปุ่นที่อายุเกิน 100 ปีมีเพียง 153 คน ต่อมาในปี 2524 (ค.ศ.1981) ตัวเลขก็แตะ 1,000 คน และเพิ่มขึ้นถึง 10,000 คนในปี 2541 (ค.ศ.1998) และ 50,000 คน ในปี 2555 (ค.ศ.2012)
หากคิดตามสัดส่วนประชากรแล้ว ในจำนวนชาวญี่ปุ่นทุก 100,000 คน จะมีผู้อาวุโสอายุเกิน 100 ปีจำนวน 56.34 คน โดยในอดีตรัฐบาลญี่ปุ่นจะมอบแก้วเงินที่สลักชื่อนายกรัฐมนตรีเพื่อเป็นของขวัญให้กับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นทุกคน แต่นับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการเปลี่ยนของขวัญจากแก้วเงินมาเป็นจานเงินแทนเพื่อลดค่าใช้จ่าย