“What are your weaknesses?” = ข้อเสียหรือข้อบกพร่องของคุณคืออะไร
เมื่อไปสัมภาษณ์งานแล้วเจอคำถามนี้เข้าไป หลายคนอาจจะอึ้งไปเลย ไม่รู้จะตอบว่ายังไงดี ถ้าจะบอกข้อเสียของเราจริง ๆ ว่าเราเป็นคนกินจุ นอนกรน ตื่นสาย แถมขี้เกียจอีก อย่างนี้ใครเขาจะรับเราเข้าทำงาน หรือถ้าจะบอกว่าฉันไม่มีข้อเสียอะไรเลย ฉันเป็นคนเพอร์เฟ็ค สมบูรณ์แบบ ไม่มีที่ติ กรรมการ ที่สัมภาษณ์เราก็จะมองว่าเราไม่สามารถเรียนรู้งานเพิ่มเติมได้ ไม่สามารถพัฒนาอะไรได้อีก และอาจมีปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือแม้แต่การที่บอกว่า ฉันเป็นคนขยันและทำงานหนักเกินไป ซึ่งเป็นการพยายามเปลี่ยนข้อดีให้ดูเหมือนเป็นข้อเสีย ก็สามารถทำให้กรรมการคิดว่าเราดูไม่จริงใจมาก ๆ
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนนะคะว่า Weaknesses หรือข้อเสียของเราเนี่ย หมายถึง สิ่งที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ เราจำเป็นต้องเขียนออกมาก่อนว่าข้อเสียของเรามีอะไรบ้าง แต่ควรเลือกให้เหมาะสม และสามารถนำไปปรับใช้กับงานที่เราจะทำได้ หลังจากนั้นเลือก ข้อเสียมาหนึ่งอย่าง แล้วนำมาเล่าเป็นเรื่อง ที่ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก นั่นคือ WAR มีดังนี้
1. W – Weakness คือ ข้อเสีย ข้อบกพร่อง หรือจุดอ่อนที่เรากำลังเผชิญอยู่ หรือที่เคยมีแต่ตอนนี้ปรับปรุงแล้ว
2. A – Action คือ สิ่งที่เราได้ทำ เพื่อเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงข้อเสียนั้นให้ดีขึ้น
3. R – Result คือ ผลลัพธ์จากความพยายามเอาชนะข้อเสียนั้น
ตัวอย่างที่ 1
“I used to have a problem getting everything done during my work day. Now every day before work, I make a to-do list with the priorities on the top. Now I am very focused on accomplishing the most important jobs first. As a result, I now usually finish all or most of my responsibilities with time to spare and I often even have time to help my coworkers to finish their tasks”
(ฉันเคยมีปัญหากับการทำงานให้เสร็จในเวลางาน แต่ตอนนี้ในทุก ๆ วันก่อนเริ่มงาน ฉันได้ทำรายการสิ่งที่ต้องทำเพื่อเรียงลำดับความสำคัญของงาน โดยให้งานที่สำคัญที่สุดอยู่ด้านบน ฉันจึงมุ่งมั่นที่จะทำงานที่สำคัญที่สุดให้เสร็จก่อน ผลที่ได้คือ ฉันสามารถทำงานส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยและยังมีเวลาเหลือด้วย และฉันก็ยังสามารถใช้เวลาเหล่านั้นช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานคนอื่นให้ทำงานเสร็จทันเช่นกัน)
ตัวอย่างนี้ผู้พูดต้องการสื่อว่า จริง ๆ แล้วเค้าเป็นคนที่มีปัญหาในการจัดการการทำงาน แต่ก็ไม่ได้พูดตรง ๆ โดยเลี่ยงไปเล่าถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแทน ว่างานไม่เสร็จทันเวลา จากนั้นจึงอธิบายเพิ่มเติมถึงทางแก้ปัญหาและผลลัพธ์ที่ได้ และยังเพิ่มในส่วนที่ยังสามารถแสดงน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานได้อีก (แหม่ ตอบสวยไปอีกกก)
ตัวอย่างที่ 2
“I used to be very bad at dealing with angry customers. I often got defensive and upset at rude customers. That usually makes the situation worse. Once I realized that me defensiveness only makes things worse, I decided to change my approach and attitude. I started to actively listen to the customers, acknowledge them without interrupting. I did my best to resolve the problem and not take their complaints personally. I found that if I do those things, the customer will usually calm down and remain a happy customer.”
(ฉันเคยไม่รู้จะจัดการยังไงกับลูกค้าที่โมโห ฉันมักจะต้องป้องกันตัวเองและต้องหงุดหงิดอารมณ์เสียอยู่เรื่อย ซึ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง เมื่อฉันระลึกได้ว่าสิ่งที่เป็นอยู่ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ฉันจึงตัดสินใจเปลี่ยนการท่าทีการจัดการกับปัญหาและเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ฉันเริ่มจากการรับฟังและรับรู้ปัญหาของลูกค้าอย่างตั้งใจโดยไม่ขัดลูกค้า ฉันพยายามแก้ไขปัญหาอย่างสุดความสามารถและไม่เก็บสิ่งที่ลูกค้าบ่นมาเป็นเรื่องส่วนตัว ฉันพบว่าหลังจากที่ทำสิ่งเหล่านี้แล้ว ลูกค้ามักจะใจเย็นลงและพอใจการกับการบริการ)
ตัวอย่างนี้แสดงว่าผู้พูดเคยเป็นโมโหและเคยไฝว้กับลูกค้ามาก่อน แต่ผู้พูดสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้ โดยการพูดให้น้อยลงและฟังให้มากขึ้น จุดนี้เรียกได้ว่าเป็นจุดขายที่ดีมาก เพราะเห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาตนเอง และยังสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีกได้
ตัวอย่างที่ 3
“I might not speak English very well yet but I have taken English classes for 6 months. I am able to understand more and people are telling me that I can speak better than before. I know that my English will continue to improve”
(ฉันอาจจะยังพูดภาษาอังกฤษไม่ดีมากนัก แต่ฉันได้เข้าคลาสเรียนภาษาอังกฤษมา 6 เดือนแล้ว ฉันสามารถฟังรู้เรื่องมากขึ้นและคนอื่นก็บอกว่าฉันพูดได้ดีกว่าแต่ก่อน ฉันรู้ดีว่าภาษาอังกฤษของฉันจะสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้)
ตัวอย่างนี้ผู้พูดออกตัวก่อนเลยว่ามีข้อบกพร่องด้านการพูดภาษาอังกฤษ แต่ได้เน้นย้ำให้กรรมการฟังว่า กำลังเรียนเพิ่มอยู่ ภาษาอังกฤษของเค้าสามารถพัฒนาได้ ไม่ได้พูดลอย ๆ แต่คนอื่นก็บอกเช่นกันว่าผู้พูดสามารถสื่อสารได้ดีขึ้นจริง
ครบสามตัวอย่างแล้ว ตอนนี้น่าจะเห็นภาพมากขึ้นนะคะว่าควรตอบอย่างไรบ้าง อย่าลืมสิ่งที่ต้องพูด 3 ข้อด้านบนนะคะ นำมาแต่งเป็นเรื่องราวอันน่าประทับใจของเรา ค่อย ๆ เรียบเรียงออกมาเป็นคำตอบที่เป็นตัวเองมากที่สุด ไม่สร้างภาพมากจนเกินไป และไม่ควรเป็นข้อเสียที่หนักเกินกว่าจะรับได้นะคะ
พยายามเข้านะคะทุกคน ฝึกฝนบ่อย ๆ ประสบการณ์จะสอนเราเองค่ะ
สามารถไปดูการตอบคำถามแบบอื่นได้นะคะ
https://ppantip.com/topic/39207048 ----- คำถามสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ "Tell me about yourself"
สำหรับคนที่อยากเป็นแอร์โฮสเตส สามารถกดเข้าไปดูในยูทูปได้เลยนะคะ โดนถามมาแบบนี้ ควรตอบว่ายังไง อาชีพอื่นก็สามารถนำไปใช้ได้เช่นกันค่ะ
ฝากติดตามด้วยนะค๊า
คำถามสัมภาษณ์งาน ---> "คุณมีข้อเสียอะไรบ้าง?" ตอบยังไงให้ปัง
เมื่อไปสัมภาษณ์งานแล้วเจอคำถามนี้เข้าไป หลายคนอาจจะอึ้งไปเลย ไม่รู้จะตอบว่ายังไงดี ถ้าจะบอกข้อเสียของเราจริง ๆ ว่าเราเป็นคนกินจุ นอนกรน ตื่นสาย แถมขี้เกียจอีก อย่างนี้ใครเขาจะรับเราเข้าทำงาน หรือถ้าจะบอกว่าฉันไม่มีข้อเสียอะไรเลย ฉันเป็นคนเพอร์เฟ็ค สมบูรณ์แบบ ไม่มีที่ติ กรรมการ ที่สัมภาษณ์เราก็จะมองว่าเราไม่สามารถเรียนรู้งานเพิ่มเติมได้ ไม่สามารถพัฒนาอะไรได้อีก และอาจมีปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือแม้แต่การที่บอกว่า ฉันเป็นคนขยันและทำงานหนักเกินไป ซึ่งเป็นการพยายามเปลี่ยนข้อดีให้ดูเหมือนเป็นข้อเสีย ก็สามารถทำให้กรรมการคิดว่าเราดูไม่จริงใจมาก ๆ
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนนะคะว่า Weaknesses หรือข้อเสียของเราเนี่ย หมายถึง สิ่งที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ เราจำเป็นต้องเขียนออกมาก่อนว่าข้อเสียของเรามีอะไรบ้าง แต่ควรเลือกให้เหมาะสม และสามารถนำไปปรับใช้กับงานที่เราจะทำได้ หลังจากนั้นเลือก ข้อเสียมาหนึ่งอย่าง แล้วนำมาเล่าเป็นเรื่อง ที่ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก นั่นคือ WAR มีดังนี้
1. W – Weakness คือ ข้อเสีย ข้อบกพร่อง หรือจุดอ่อนที่เรากำลังเผชิญอยู่ หรือที่เคยมีแต่ตอนนี้ปรับปรุงแล้ว
2. A – Action คือ สิ่งที่เราได้ทำ เพื่อเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงข้อเสียนั้นให้ดีขึ้น
3. R – Result คือ ผลลัพธ์จากความพยายามเอาชนะข้อเสียนั้น
ตัวอย่างที่ 1
“I used to have a problem getting everything done during my work day. Now every day before work, I make a to-do list with the priorities on the top. Now I am very focused on accomplishing the most important jobs first. As a result, I now usually finish all or most of my responsibilities with time to spare and I often even have time to help my coworkers to finish their tasks”
(ฉันเคยมีปัญหากับการทำงานให้เสร็จในเวลางาน แต่ตอนนี้ในทุก ๆ วันก่อนเริ่มงาน ฉันได้ทำรายการสิ่งที่ต้องทำเพื่อเรียงลำดับความสำคัญของงาน โดยให้งานที่สำคัญที่สุดอยู่ด้านบน ฉันจึงมุ่งมั่นที่จะทำงานที่สำคัญที่สุดให้เสร็จก่อน ผลที่ได้คือ ฉันสามารถทำงานส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยและยังมีเวลาเหลือด้วย และฉันก็ยังสามารถใช้เวลาเหล่านั้นช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานคนอื่นให้ทำงานเสร็จทันเช่นกัน)
ตัวอย่างนี้ผู้พูดต้องการสื่อว่า จริง ๆ แล้วเค้าเป็นคนที่มีปัญหาในการจัดการการทำงาน แต่ก็ไม่ได้พูดตรง ๆ โดยเลี่ยงไปเล่าถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแทน ว่างานไม่เสร็จทันเวลา จากนั้นจึงอธิบายเพิ่มเติมถึงทางแก้ปัญหาและผลลัพธ์ที่ได้ และยังเพิ่มในส่วนที่ยังสามารถแสดงน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานได้อีก (แหม่ ตอบสวยไปอีกกก)
ตัวอย่างที่ 2
“I used to be very bad at dealing with angry customers. I often got defensive and upset at rude customers. That usually makes the situation worse. Once I realized that me defensiveness only makes things worse, I decided to change my approach and attitude. I started to actively listen to the customers, acknowledge them without interrupting. I did my best to resolve the problem and not take their complaints personally. I found that if I do those things, the customer will usually calm down and remain a happy customer.”
(ฉันเคยไม่รู้จะจัดการยังไงกับลูกค้าที่โมโห ฉันมักจะต้องป้องกันตัวเองและต้องหงุดหงิดอารมณ์เสียอยู่เรื่อย ซึ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง เมื่อฉันระลึกได้ว่าสิ่งที่เป็นอยู่ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ฉันจึงตัดสินใจเปลี่ยนการท่าทีการจัดการกับปัญหาและเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ฉันเริ่มจากการรับฟังและรับรู้ปัญหาของลูกค้าอย่างตั้งใจโดยไม่ขัดลูกค้า ฉันพยายามแก้ไขปัญหาอย่างสุดความสามารถและไม่เก็บสิ่งที่ลูกค้าบ่นมาเป็นเรื่องส่วนตัว ฉันพบว่าหลังจากที่ทำสิ่งเหล่านี้แล้ว ลูกค้ามักจะใจเย็นลงและพอใจการกับการบริการ)
ตัวอย่างนี้แสดงว่าผู้พูดเคยเป็นโมโหและเคยไฝว้กับลูกค้ามาก่อน แต่ผู้พูดสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้ โดยการพูดให้น้อยลงและฟังให้มากขึ้น จุดนี้เรียกได้ว่าเป็นจุดขายที่ดีมาก เพราะเห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาตนเอง และยังสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีกได้
ตัวอย่างที่ 3
“I might not speak English very well yet but I have taken English classes for 6 months. I am able to understand more and people are telling me that I can speak better than before. I know that my English will continue to improve”
(ฉันอาจจะยังพูดภาษาอังกฤษไม่ดีมากนัก แต่ฉันได้เข้าคลาสเรียนภาษาอังกฤษมา 6 เดือนแล้ว ฉันสามารถฟังรู้เรื่องมากขึ้นและคนอื่นก็บอกว่าฉันพูดได้ดีกว่าแต่ก่อน ฉันรู้ดีว่าภาษาอังกฤษของฉันจะสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้)
ตัวอย่างนี้ผู้พูดออกตัวก่อนเลยว่ามีข้อบกพร่องด้านการพูดภาษาอังกฤษ แต่ได้เน้นย้ำให้กรรมการฟังว่า กำลังเรียนเพิ่มอยู่ ภาษาอังกฤษของเค้าสามารถพัฒนาได้ ไม่ได้พูดลอย ๆ แต่คนอื่นก็บอกเช่นกันว่าผู้พูดสามารถสื่อสารได้ดีขึ้นจริง
ครบสามตัวอย่างแล้ว ตอนนี้น่าจะเห็นภาพมากขึ้นนะคะว่าควรตอบอย่างไรบ้าง อย่าลืมสิ่งที่ต้องพูด 3 ข้อด้านบนนะคะ นำมาแต่งเป็นเรื่องราวอันน่าประทับใจของเรา ค่อย ๆ เรียบเรียงออกมาเป็นคำตอบที่เป็นตัวเองมากที่สุด ไม่สร้างภาพมากจนเกินไป และไม่ควรเป็นข้อเสียที่หนักเกินกว่าจะรับได้นะคะ
พยายามเข้านะคะทุกคน ฝึกฝนบ่อย ๆ ประสบการณ์จะสอนเราเองค่ะ
สามารถไปดูการตอบคำถามแบบอื่นได้นะคะ
https://ppantip.com/topic/39207048 ----- คำถามสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ "Tell me about yourself"
สำหรับคนที่อยากเป็นแอร์โฮสเตส สามารถกดเข้าไปดูในยูทูปได้เลยนะคะ โดนถามมาแบบนี้ ควรตอบว่ายังไง อาชีพอื่นก็สามารถนำไปใช้ได้เช่นกันค่ะ
ฝากติดตามด้วยนะค๊า